Case Study: การกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค


          เมื่อนักรังสีการแพทย์  ได้รับเอกสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค  ด้วยอาญาสิทธิ์แห่งใบประกอบโรคศิลปะตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕  (พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒  พ.ศ. ๒๕๔๕) แล้ว

          ข้อพึงระวังสังวรณ์ ก็คือ......  ทุกท่านจะต้องอ่านคู่มือการใช้งานดาบอาญาสิทธิ์(อ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) นี้ให้ถ้วนถี่  ตีความให้เข้าใจ  มิฉะนั้น  ดาบนั้นอาจคืนสนองกลับมาทำร้ายตัวท่านเองได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้


          อยู่มาวันหนึ่ง................

          มีผู้มาร้องเรียน (ส่งจดหมายสนเท่ห์) ถึงคณะกรรมการวิชาชีพฯ ผ่านกองการประกอบโรคศิลปะว่า 

          นาย ก  ซึ่งเป็นนักรังสีเทคนิคถูกต้องตามกฎหมาย (มีใบประกอบฯ)  เป็นหัวหน้าแผนกรังสีวิทยาที่ รพ. ข  ได้จัดตารางเวรให้ผู้ที่ไม่มีใบประกอบฯ (เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์: ประกาศนียบัตร ๒ ปี /พนักงานรังสีเทคนิค: ประกาศนียบัตร ๑ ปีหรือต่ำกว่า / ผู้ช่วยรังสีเทคนิค : ไม่ได้เรียนรังสีเลยแต่ฝึกหัดกันเอง) ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับนักรังสีเทคนิค  โดยไม่ได้ควบคุมดูแลอยู่ด้วย  อย่างนี้เป็นการผิดจรรณยาบรรณวิชาชีพฯ  นะ....ขอฟ้อง.....


หมายเหตุ : 

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ๒๕๔๗

หมวด  ๓ การประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค

ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนผู้อื่น ให้มีการประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคโดยผิดกฎหมาย


          อย่างนี้  นักรังสีเทคนิคผู้มีใบประกอบวิชาชีพทั้งหลาย  ต้องเข้าใจนะคะว่า    แม้เราไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับสมัคร หรือจ้างงานบุคลากรประเภทต่างๆ ของสถานพยาบาลที่เราปฏิบัติงานอยู่  แต่เราไม่สามารถนำเอามาเป็นข้ออ้างได้ว่า ไม่สามารถควบคุมดูแลบุคลากรที่อยู่ภายใต้อาณัติของเราซึ่งไม่มีใบประกอบฯ ได้  หรือคิดว่า การทำงานง่ายๆ อย่างนี้ ให้ใครก็ได้ทำ

          นั่นก็คือ แม้จะเป็นการทำงานทางรังสีอย่างง่าย  เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดอย่างเดียว ในการบริการตรวจสุขภาพนอกสถานที่  ก็ไม่สามารถปล่อยให้ผู้อื่นกระทำตามลำพังเพราะถือว่าผิดกฎหมาย  และเราก็ทำผิดจรรยาบรรณด้วย......


          เฮ้อ.....น่าสงสารนะ......เจ้านายเขาก็ประหยัด  ไม่ว่าจ้างนักรังสีฯ มาทำงานกันหมดหรอก  เพราะเงินเดือนแพง......หาคนที่จบ ป.ตรี ก็ยากแสนยาก

          อย่างนี้ก็ต้องทำงานเหนื่อยกันหน่อยนะจ๊ะ  และต้องรับผิดชอบมากขึ้นด้วย.......ได้อย่างก็เสียอย่างแหละเจ้าค่ะ   

                      

 

         

หมายเลขบันทึก: 311088เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ครับ ในทางปฏิบัติในโรงพยาบาลของรัฐอัตรากำลังของเรามีน้อย กระทรวงเองไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงาน บาง รพ

ไม่มีแม้แต่เจ้าหน้าที่รังสีเลย จำเป็นต้องพึ่งพวกเขา แล้วเราจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร เพราะในโรงพยาบาลของรัฐเอง ก็ยังเป็นแบบนี้ เราคงต้องช่วยกันหาทางออกครับ

น่าน...ซิคะ  แทบจะเป็นปัญหาโลกแตกทีเดียว (สำหรับประเทศไทย) หมายความว่าโลกแตกไปแล้ว  เราก็คงยังแก้ไขไม่ได้

ถ้าระบบบริหารราชการของไทยเรายังเป็นอย่างนี้

  • ทุ่มเทงบประมาณแต่เรื่องเครื่องมือ  แต่ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรอัตรากำลังและไม่สนใจเรื่องความก้าวหน้าในสายงานของวิชาชีพที่ขาดแคลน
  • ไม่มีหน่วยงานประสานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายผลิตบัณฑิตและฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต 
  • นโยบายที่สวนกันระหว่างการเข้มงวดในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน กับ การจำกัดทรัพยากรเกื้อหนุนทุกด้าน

          อย่างโรงพยาบาลเอกชน  ปัญหาไม่หนักหนามาก  เพราะเขายอมลงทุนให้กับเรื่องของคุณภาพ  โดยให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลด้วย  จะติดก็แต่ฝ่ายสถาบันผู้ผลิตเท่านั้น  ที่ผลิตบัณฑิตป้อนให้ไม่ทันตามความต้องการ

          จนด้วยเกล้า...จริงๆ ค่ะ

  

 

อาจารย์คะอยากทราบว่า การตรวจ Bone density ที่เป็นเครื่อง ultrasound mobile จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของนักรังสีไหมคะ หรือว่าสามารถให้ใครก็ได้ที่ผ่านการเทรนด์มาทำโดยลำพัง อยากทราบในแง่ของกฏหมายน่ะค่ะ

หนูจบ อนุปริญญารังสี2ปี ตอนนี้หนูก็โดนจับเรื่องนี้อยู่ค่ะ กลุ้มมาก

นายแวอดินันต์ หะมะ

อาจารย์ครับ พอดีรพช.แห่งหนึ่งไม่มีนักรังสีเลยครับถ้าจะจ้างน้องที่จบนักรังสีแต่สอบใบประกอบไม่ผ่านได้ในตำแหน่งใดได้บ้างครับ (เหตุใดถึงสอบแค่ปีละครั้งครับ ไม่เหมือนวิชาชีพอื่นเช่นเทคนิคการแพทย์ พยาบาล แบบนี้จะเสียโอกาน้องๆไหมครับ แถมโรงพยาบาลบางที่ก็รับสมัครน้องๆไม่ได้อีกผลิดมาก็น้อยแล้)ขอคำชี้แนะหน่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท