องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : ผลการเยี่ยมบ้านหลังคลอด


ศึกษาผลการดำเนินงานการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของมารดาหลังคลอดที่รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

                                   ณฐอร และทีมงาน

   เพื่อศึกษาการดำเนินงานดูแลต่อเนื่องที่บ้านของมารดาหลังคลอด ที่รับบริการโรงพยาบาลส่งเสริม พร้อมทั้ง รวบรวมปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานดูแลต่อเนื่องที่บ้านของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านในมารดาหลังคลอด

วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูล ผลการรายงานและการดำเนินงานการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของมารดาหลังคลอดย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลการดูแลตนเอง หลังคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงการป้องกันภาวะติดเชื้อ การรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อมารดาและทารกหลังคลอด นำมาวิเคราะห์ประเมินผล

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด

  • ในด้านการเลือกอาหาร , การพักผ่อน, การดูแลสภาพจิตใจ ,การใช้ยา / การเก็บรักษา พบว่าค่าคะแนนการประเมินอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มที่ดี
  •  ด้านความสะอาดของร่างกาย และภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ในปี 2550 พบปัญหาเกี่ยวกับการมีเลือดออกมากผิดปกติหลังคลอด คือ ร้อยละ 8.09 และลดลงเป็น 4.3 ในปี 2551
  • การเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ประเมินด้านวิธีการให้นมบุตร , ลักษณะการดูดนมของบุตร , พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น
  • ด้านการดูแลทารกและการป้องกันการติดเชื้อในทารก พบว่า ทารกแรกเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับตาแฉะหลังการจำหน่ายกลับไปบ้านสูง ร้อยละ 7.08,10.72 และ 2.49 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ
  • ตา ตัวเหลือง มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 6.45 ,4.2 และ 4.15 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ

ผลการประเมินการปฏิบัติตัวที่มีค่าคะแนนประเมินต่ำคือ

  • การบริหารร่างกายหลังคลอด คะแนนประเมินต่ำและมีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 41.1 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 40.23 ในปี 2551
  • การติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย ปัญหาอุปสรรคการให้นมบุตร พบว่า มารดาหลังคลอดมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านมคัด หัวนมแตกเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 2.36 ,7.23 และ 9.85 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ
  • การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 86.25 ,86.1 และ 85.8 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ
  • มารดาให้ลูกได้กินน้ำขณะให้นม ยังมีค่าคะแนนประเมินที่ต่ำ คือ ร้อยละ 45.8 ,37.4 และ 33.1 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ
  •  ผู้เลี้ยงดูเด็กที่เป็นบิดามารดา มีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 95.36, 93.93 และ 91.32 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ
หมายเลขบันทึก: 311036เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

■การเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ประเมินด้านวิธีการให้นมบุตร , ลักษณะการดูดนมของบุตร , พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น

■การติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย ปัญหาอุปสรรคการให้นมบุตร พบว่า มารดาหลังคลอดมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านมคัด หัวนมแตกเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 2.36 ,7.23 และ 9.85 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ

อ่านแล้ว สงสัยค่ะว่า จากข้อข้าบนนั้น ถ้าแนวโน้มในการให้ถูกวิธีมากขึ้น ปัญหาที่พบในข้อข้างล่างมันน่าจะลดลง

ผลมันแย้งกันอยู่หรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อ๋อ อีกข้อหนึ่งค่ะ■มารดาให้ลูกได้กินน้ำขณะให้นม ยังมีค่าคะแนนประเมินที่ต่ำ คือ ร้อยละ 45.8 ,37.4 และ 33.1 ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 ตามลำดับ / เท่าที่ทราบ มีการแนะนำ ไม่ให้กินน้ำ ไม่ใช่หรือคะ ในกรณีที่ต้องการให้นมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท