องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : การป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ


การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในแผนกบริบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8
                                                                                              ปิยนุช อ่อนสด และนิตยา แซ่ลี้

บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ โดยใช้แนวคิดการปฏิบัติตามหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice [ EBP]) ที่ดีหรือเป็นเลิศ ซึ่งผ่านการสังเคราะห์แล้ว มาพัฒนาปรับปรุงกระบวนดำเนินงานให้เข้ากับบริบทของหน่วยงาน เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในแผนกบริบาลทารกแรกเกิด ดำเนินการโดยนำกระบวนการพัฒนาคุณภาพระบบงานมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการค้นหาโอกาสพัฒนา ทบทวนวิเคราะห์หาสาเหตุ ร่วมกับพิจารณาหาแนวทางการดำเนินงาน นำไปทดลองปฏิบัติ และกำหนดเป็นมาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และสอดคล้องกับนโยบาย “ Clean Care is Safer Care” ของกระทรวงสาธารณสุข
          ผลการศึกษาทบทวนระบบการปฏิบัติเดิมและศึกษาหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice [ EBP]) ที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด โดยมีการพัฒนาเกี่ยวกับ

  • เน้นการล้างมือ
  • เพิ่มการทำความสะอาดภายในช่องปาก (oral care )
  • เน้นเกี่ยวกับวิธีการดูดเสมหะในช่องปาก ก่อนแล้วจึงดูดในท่อช่วยหายใจ
  •  การวัดความดันลมในกระเปาะท่อช่วยหายใจ
  • สายดูดเสมหะใช้เป็นครั้งเดียวทิ้ง (disposable) 
  • ใช้ 0.9 % NSS ในการ irrigate suction หรือการทำให้เสมหะอ่อนตัว และดูดออกง่าย เป็นการใช้ครั้งต่อครั้ง 
  • พัฒนาระบบการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
              จากผลการดำเนินงานหลังมีการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน

พบว่า อุบัติการณ์จากการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจยังไม่สามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากการดำเนินการแก้ไขที่หน่วยงาน ได้พัฒนาคุณภาพขึ้นนั้นเป็นการแก้ปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้คือ ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง เพราะทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย มีภูมิต้านทานต่ำเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อได้สูง ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง โดยวิเคราะห์หาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อ (Root Cause Analysis) และการดำเนินแก้ไขให้ถึงสาเหตุที่แท้จริงต่อไป เพื่อลดอุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 310960เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากได้ฉบับเต็มของงานวิจัยเรื่องนี้มาศึกษาค่ะไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรและติดต่อได้ที่ไหน

จุฬีพรรณ การุโณ

081-5424133

[email protected]

อยากได้ฉบับเต็มเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท