โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

อ่านหนังสือ "เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" โดย วิจักขณ์ พานิช


เป็นหนังสือที่บางด้วยจำนวนหน้า แต่หนาด้วยเนื้อหาและวิธีคิด

เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมซื้อมาไว้นานแล้วแต่ไม่มีเวลาอ่านครับ หนังสือเล่มนี้เขียน คำนำโดย อาจารย์ ประเวส วะสี และ ท่าน ศ. ศิวรักษ์ ซึ่งนั่นหมายความถึงความไม่ธรรมดาของผู้เขียน และเชื่อว่าเนื้อหาคงไม่ธรรมดาเช่นกัน

 

คุณวิจักขณ์ พานิช (ซ้าย) และ คุณปรีดา เรืองวิชาธร (ขวา..ผู้นำกระบวนกรของเสม ศิกขาลัย) อ้างอิงจาก web http://vichak.blogspot.com/

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วรู้สึกทึ่งในวิถีคิด ที่ฉีกกรอบแนวคิดการศึกษาแบบปัจจุบันที่ประเทศไทยทำกันอย่างมากมาย

โดยเนื้อหา ผู้เขียนสื่อถึงความหมายที่แท้จริงที่ควรจะเป็นของการศึกษา ที่ก้าวพ้นมากกว่า "เรียนไปเพื่อทำมาหากิน" หรือ"เรียนไปเพื่ออยู่เหนือกว่าผู้อื่น" หรือ "เรียนไปเพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าตัวเองมีภูมิปัญญาสูงกว่าผู้อื่น"

วิธีดำเนินเรื่องพูดถึงปรัชญาและแนวคิดประกอบกับสิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวันของคนทั่ว ๆ ไปที่ก็ใช้ชีวิตโดยไม่คิดอะไร ประโยคโดนใจผมมีหลายตอนครับ เช่น

"ดูข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยเด็กอยากเป็นดารานางแบบ อยากเป็นคนรวย เป็นคนดังมีชื่อเสียง นักเรียนอยากเข้าคณะเด่น ๆ มหาวิทยาลัยดัง ๆ ตามกระแส คนดังอยากเป็นนักการเมือง คุณนายอยากเป็นคุณหญิง เจ้าอาวาสอยากเป็นเจ้าคุณ และดูเหมือนจะไม่มีใครอยากเป็นตัวของตัวเองกันอีกตัวไป"

"การปฏิรูปการศึกษา ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงระบบที่ทำให้เกิดผลอย่างรวดเร็วซึ่งผู้เขียนมองว่าแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงาน โดยใช้อำนาจทางการเมืองทำให้เกิดผลในวงกว้าง แต่เมื่อใดที่ระบบการศึกษาขาดซึ่งรากฐานของการแสวงหาคุณค่า ความหมาย และจินตนาการของการศึกษาก็คงไม่ต่างอะไรกับระบบที่ตายแล้ว และรอวัน ล่มสลายในที่สุด" 

"การประกอบอาชีพแท้จริงคือ ผลที่สุกงอมจากการเรียนรู้ ......ก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ในด้านที่ตนถนัด เป็นการทำงานด้วยความสนุก ด้วยความรัก ด้วยความดีไปพร้อม ๆกัน"

เป็นหนังสือที่บางด้วยจำนวนหน้า แต่หนาด้วยเนื้อหาและวิธีคิด บอกกับผมว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิต ไปสู่ความเข้าใจตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในชีวิต "ด้วยใจที่ใคร่ครวญ"

หมายเลขบันทึก: 310242เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

- ยินดีค่ะที่รู้จัก

- คนเราโดยพื้นฐานมี "ความรักตนเอง" เป็นที่ตั้ง

ดังนั่นการแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองดีกว่า ดังกว่า ฯลฯ

จึงเป็นเรื่องธรรมดา ของปถุชนทั่วไป

- การสอนให้คนคิดเป็น จึงเป็นเรื่องยากและท้าทาย IQ มาก EQ ,SQ ต่ำลง

สวนกระแสความเจริญทางวัตถุจริง ๆ

ขอบคุณครับคุณเพชร

เห็นด้วยหลายประเด็นครับ คนสมัยปัจจุบัน สุขยากขึ้นถึงแม้ชีวิตปัจจุบันจะสบายกว่าพระราชาสมัยก่อนเป็นร้อยเท่า นั่นคงเป็นเพราะ ความทะยานอยาก มากกว่า การมองหาสาระของชีวิตที่แท้จริงคือการรู้จักตัวเอง

ดีมากครับหนังสือเล่มนี้

อ่านแล้ววางไม่ลง

เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระแง่คิดที่สะท้อนวิชาชีพของ "คน" ได้เป็นอย่างดีครับ

สวัสดีครับ

 

ยินดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท