สภาพอุตสาหกรรมการบินของโลก และของไทย ในปัจจุบัน ตอนที่ ๑


สภาพ สภาวะ อุตสาหกรรมการบิน ปี ๒๕๕๒

หลังจากการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือน กันยายน ที่เรียกว่า Hamburger crisis นั้น ผลกระทบของมันได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของโลกทั้งใบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งนี้เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เป็นนักบริโภคขนาดใหญ่ ที่สุดของโลก เป็นลูกค้าชั้นดีของประเทศผู้ผลิตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นยุโรป จีน ญี่ปุ่นหรือแม้กระทั่งกับประเทศไทย ของเรา

ซึ่งในปี ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา  อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกต้องเผชิญวิกฤตอย่างหนักจากปัญหาราคา น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งได้ส่งผลให้สายการบินต้องปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยผลที่ตามมาทำให้ราคาตั๋วโดยสารปรับสูงขึ้นตามไปด้วย จำนวนผู้โดยสารจึงมีทิศทางปรับลดลงมาโดยตลอด สถานการณ์ได้รุนแรงถึงขั้นมีหลายสายการบินต้องปิดตัวลงไปหรือเกิดการควบหรือรวมกิจการเข้าด้วยกัน

สำหรับอุตสาหกรรมการบินของไทยนอกจากต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่ปัญหาลุกลามไปจนถึงขั้นมีการปิดท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิและดอนเมือง ซึ่งถือเป็นประตูสำคัญใน

การต้อนรับนักท่องเที่ยวและยังเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจและการคมนาคม อีกทั้งยังต้องเผชิญกับโรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙   ยิ่งซ้ำเติมปัญหาแก่อุตสาหกรรมการบินให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลประกอบการของหลายสายการบินที่ไม่ค่อยสดใสและมีโอกาสที่ อุตสาหกรรมการบินจะยังคงต้องเผชิญวิกฤตอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง  ขอวิเคราะห์ถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในปี  พ.ศ. 2552 มีสาระสำคัญดังนี้

 

หมายเลขบันทึก: 310146เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท