ข้อคำนึงถึงการเข้าถึงความจริง


การเข้าถึงจริงสูงสุดในทางปฏิบัติจึงทำได้ยาก เราหาข้อมูลและยอมรับความจริง “ที่ดีที่สุด” เท่าที่มีในปัจจุบัน หากใครมีหลักฐานหรือทฤษฎี ก็สามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อขัดเกลาความจริงให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

หมายเหตุ : บทความนี้ได้จากความคิดบางอย่าง จึงนำมาบันทึกไว้ ยังไม่ได้มีการสอบค้นข้อมูลโดยละเอียด หากนำไปใช้ต่อควรตรวจสอบเสียก่อน

 

เรื่อง ultimate truth ด้วยข้อสรุปส่วนตัวผม คิดว่ายากจะเข้าถึงได้ทั้งหมด มากที่สุดเท่าที่เราทำได้คือส่วนเสี้ยวสำคัญ และที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เหมือนกับการคำนวณหาค่า π ที่จะใช้ค่าประมาณการหรือค่า 3.14159 หรือจะเอาแบบละเอียดที่ว่ากันว่าปัจจุบันคำนวณได้หลักทศนิยม 30 ล้านตำแหน่ง แต่นี่ก็ยังไม่ใช่ค่าที่ถูกต้องทั้งหมด ดังนั้นการจะเอาความละเอียดระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปใช้ทำประโยชน์อะไรและเพื่ออะไร และยอมรับความผิดพลาดได้มากน้อยแค่ไหน

ก็เหมือนกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ขึ้นอยู่กับทฤษฎีที่ยึดเป็นหลัก และหลักฐานใหม่ๆ ที่ค้นพบในชั้นหลัง เรื่องนี้โต้เถียงและขัดเกลาให้ถูกต้องขึ้นได้ เช่นตัวอย่าง ที่มาของคนไทย บางทฤษฎี (กรมพระยาดำรงฯ และขยายต่อโดยหลวงวิจิตรฯ) ก็ว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต แต่นักประวัติศาสตร์ในชั้นหลังก็ว่า คนไทย (ไต – หรือไท) ก็อยู่กระจายเต็มพื้นที่แถบนี้มาแต่โบราณกาลแล้ว อันนี้ก็แล้วแต่ว่า นักประวัติศาสตร์แต่ละคนจะเอาหลักฐานมาโต้เถียงหักล้างกัน

หรือข้อถกเถียงเรื่องการเปลี่ยนแผ่นดินในสมัยพระนารายณ์ , พระเจ้ากรุงธนบุรี แผ่นดินอยุธยาพ่ายสงครามเพราะความแตกแยกภายใน หรือเพราะยุทธศาสตร์เดิม [ตั้งรับ - รอน้ำหลาก - รอเมืองพระพิษณุโลกยกมาช่วย (ระบบเมืองคู่ - พระพิษณุโลกคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือ อโยธยาเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ)] ก็สุดแต่จะแสดงข้อมูลขึ้นมาโต้แย้งกัน

การเข้าถึงจริงสูงสุดในทางปฏิบัติจึงทำได้ยาก เราหาข้อมูลและยอมรับความจริง “ที่ดีที่สุด” เท่าที่มีในปัจจุบัน หากใครมีหลักฐานหรือทฤษฎี ก็สามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อขัดเกลาความจริงให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ย้อนกลับมาที่ตัวเลข π อีกครั้ง ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขธรรมชาติ เราไม่สามารถประมาณค่าที่แท้จริงของมันได้ และมีค่านี้อีกมาก ในสเกลไม้บรรทัด เลขที่เราประมาณค่าได้ก็มีมากเช่นจำนวนเต็ม จำนวนทศนิยมที่มีจุดสิ้นสุด แต่ก็จะมีตัวเลขธรรมชาติที่เราไม่สามารถประมาณค่านี้ได้สอดแทรกอยู่ด้วยเช่นกัน อาจมองว่ามีเป็นจำนวนน้อย แต่หากยิ่งขยายสเกลมากขึ้นเท่าใด (เพิ่มจำนวนทศนิยมมากขึ้นเท่าใด) ก็จะปรากฎตัวเลขที่เราไม่สามารถประมาณค่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ

สมมติมนุษย์เราไม่ได้ใช้จำนวนนับเป็นฐานคิด แต่ใช้จำนวนธรรมชาติเหล่านี้เป็นฐานคิดแทนล่ะ?

เราจะคงจะเข้าถึงความจริงตามธรรมชาติได้ (กำหนด π เป็นค่าคงที่หนึ่ง) แต่เราก็จะไม่สามารถประมาณค่าจำนวนเต็มที่เราเคยใช้ได้อีก เท่ากับว่าเราสละสิ่งหนึ่งเพื่อได้มาอีกสิ่งหนึ่ง เราไม่มีวันจะเข้าถึงทั้งสองส่วนพร้อมๆกัน

 

 

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเข้าถึงความจริงตามธรรมชาติไม่ได้ การเปิดกว้างทางความคิด และพร้อมเปลี่ยนสมมติฐานหรือทฤษฎีทางความคิดใหม่ เมื่อมีความจริงใหม่ปรากฎขึ้น ก็จะทำให้เราไต่ขึ้นบรรไดเวียนแห่งหอคอยบาเบิลที่พยายามเข้าสู่ความจริงตามธรรมชาติ

กล่าวในเชิงสังคม สภาวะแบบนี้พร้อมเปิดรับและตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้เสมอ ไม่เน่าเปื่อยเสียหาย แต่เป็นสภาพที่มีชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่เป็นแนวคิดของโอเพ่นโซไซตี้ (Open Society)

หมายเลขบันทึก: 310049เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อืม พอเข้าจาย ขอบคุนมากกกกกกกกกกกกกกกกกนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท