English pronunciation


It is never too late to mend : Long life learning

สำเนียงอังกฤษอเมริกัน

คำภาษาอังกฤษในสำเนียงอังกฤษอเมริกัน

[แก้] คำศัพท์ทั่วไป

คำอังกฤษ

คำอ่านที่ถูก

อ่านผิดเป็น

หมายเหตุ

almond

ออลมันด

แอมมอนด, อัลมอนด์

al ออกเสียงเหมือน all ออล

arch (โค้ง)

อาร์ช

อาร์ค

arch ในความหมายของสิ่งก่อสร้าง ออกเสียง ch ในความหมายอื่นออกเสียง k

archive

อาร์ไคฟ์

อาร์ชีฟ

ch ออกเสียง k

ask

แอสคฺ/อาสคฺ

แอส/อาส

ลืมออกเสียง k ท้ายคำ

bury

เบรี (อเมริกัน)

เบอรี/บูรี/บิวรี

 

bury

บรี (อังกฤษ)

เบอรี/บูรี/บิวรี

 

busy

บิซซี

บิวซี, บูซี

แยกพยางค์อ่านในลักษณะ bus.y

comfortable

ค้อมฟทะเบิล

คอมฟ้อรททะเบิล

เน้นคำที่เสียงแรก ไม่ใช่เสียงที่สอง

chaos

เค-ออส

เชาส์, ชา-ออส

ตัวอักษร ch ในที่นี้ ออกเสียงเหมือน k

cleansing

เคล็นซิ่ง

คลีนซิ่ง

มาจากคำว่า cleanse (เคล้นซ์) ไม่ใช่ clean (คลีน)

company

คัมเพอนี

คอมพานี

 

cover

คัฟเวอร์

คอฟเวอร์/คฟเวอร์

 

cruise

ครูส

ครุยส์

เสียง i ไม่ออกเสียง ออกเสียงเหมือน cruse

deal

ดีล

เดล

มักถูกออกเสียงผิดจากการสะกด

debt

เดท

เด็บทฺ

อักษร b ไม่ออกเสียง

different

ดิฟเฟร้นท์

ดิฟเฟอเร้นท์

 

discovery

ดิสคัฟเวอรี

ดิสคอฟเวอรี/ดิสคฟเวอรี

 

dove (นกพิราบ)

ดัฟ

โดฟ

dove ในความหมายถึงนก ออกเสียงเหมือน duv สำหรับกริยาอดีตของ dive (dove) อ่านว่า โดฟ

education

 

 

เสียง d ออกเสียงเหมือน [j]

elephant

เอ๊เลเฝ่นตฺ

เอเล้เฟ่น, อีเลเฟนต์

 

error

เอเรอ

เออเรอ/เออเร่อ

 

genre

จยอนเร

เจร์น

พยางค์แรกออกเสียงสั่น คล้ายตัว z

history

ฮิสทริ

ฮิสตอรี่/ฮิสตอลี่

มักจะทึกทักเอาว่าอ่านเหมือนคำว่า story (สตอริ)

island

ไอแลนดฺ

ไอสฺแลนดฺ

อักษร s ไม่ออกเสียง เช่นเดียวกับคำว่า isle

Japanese

แจพเพอนีส

เจแพนนีส

 

juice

จูซ

จุ๊ยซ์

เสียง i ไม่ออกเสียง อ่านเหมือน juce

Jew

จิว หรือ จูว

ยิว

อ่านเหมือน Joo

label

เลเบิล

ลาเบล

 

leopard

เลพเพิร์ด

ลีโอพาร์ด /เลโอพาร์ด

เสียง o ไม่ออกเสียง อ่านเหมือน lepard แต่คำว่า Leo เป็นภาษาละตินอ่านว่า ลีโอ / เลโอ

management

แมนิจเมนตฺ

เมเนจเมนตฺ

 

margarine

มาร์จเจอริน/รีน

มาร์การีน

 

medley

เมดลีย์

เมดเลย์

 

missile

มิสเซิล

มิสไซล์

มิสไซล์ เป็นคำไทย แต่ภาษาอังกฤษออกเสียง มิสเซิล

oil

ออยล์

ออย

เสียง l ท้ายคำมักจะลืมออกเสียง

owl

อาวล์

โอวล์

 

reality

รีแอลลิที

เรียลลิที

 

receipt

รีซีต

รีซีปต์

เสียง p ไม่ออกเสียง

restaurant

เรสเตอรอนต์

เรสเตอรอง

คนไทยนิยมอ่านตามเสียงภาษาฝรั่งเศส

salmon

แซ้-มึ่น

แซลมอน

อักษร l ไม่ออกเสียง

schedule

สเกจยูล (อเมริกัน)
เชจยูล (อังกฤษ)

สเกดดวล สเกดดิวล์ สเกดูล์

sch อ่านได้สองแบบคือเสียง [sk] และเสียง [ช] และขณะเดียวกันตัว d ออกเสียงเหมือน [j]

-shire

เชอร์ (เมื่อตามหลัง)

ไชร์, เชียร์

ตัวอย่างเช่น บาร์คเชอร์ ถ้าเป็นคำโดดออกเสียง ไชร์

six

ซิกซ์

ซิก

เสียง s ท้ายคำมักจะลืมออกเสียง

slave

สเลฟ

สลาฟ

a-e ออกเสียง เอ

temperature

เทมเพรเชอร์

เทมเพอเรเชอร์

 

tube

ทูบ

ทิวบ์

สำเนียงอังกฤษ ออกเสียง ทิวบ์ เหมือน (tyube) สำเนียงอเมริกันออกเสียงเป็น ทูบ

valley

แวลลี

วอลเล

 

vegetable

เวจึเทอะบึล

วีเก็ททะเบิล, เว็จเจ็ตเทเบิล

แบ่งพยางค์ veg·e·ta·ble

volleyball

วอลลีย์บอล

วอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นคำไทย

warp

วอร์พ

วาร์พ วาร์ป

 

water

ว้อ-เดอะ

วอ-เต้อ

 

whale

เวล

วาล

อ่านผิดโดยเทียบเสียงจากคำว่า วาฬ

[แก้] ชื่อเฉพาะ และ ชื่อสถานที่ เมือง รัฐ

คำอังกฤษ

คำอ่านที่ถูก

อ่านผิดเป็น

หมายเหตุ

Illinois

อิลลินอย

อินลินอยส์

เสียงสะกด l ตัวแรก อ่านเป็นเสียงสะกด ไม่เหมือนแม่กน และ เสียง s ท้ายคำไม่ออกเสียง

Chevrolet

เชฟโรเล

เชฟโรเลต

เสียง t ท้ายคำไม่ออกเสียง แต่ "เชฟโรเลต" เป็นคำไทย

Connecticut

คอนเนตติคัต

คอนเนคติคัต

เสียงตัวอักษร c ตัวที่สอง ไม่ออกเสียง

Harley Davidson

ฮาร์ลีย์เดวิดสัน

ฮาร์เลย์เดวิดสัน

 

Hawaii

ฮาวายอี

ฮาวาย

ตกเสียง i ท้ายคำ

Houston

ฮิวสตัน

ฮูสตัน

อ่านเหมือน Hyouston

Kodak

โคแดก

โกดัก

"โกดัก" เป็นคำไทย

Maryland

แมริลันด์ หรือ แมระลันด์

แมรี่แลนด์

ตัว y ออกเสียงน้อยมาก

Mercedez-Benz

เมอะเซ้ดีส เบ๊นส

เมอร์ซีเดส เบ๊นส

 

Newark

นวร์ก

นิวอาร์ค

ออกเสียง นู-อาร์ค เร็วๆ รวบๆ จนเหมือนจะเหลือพยางค์เดียว

Tucson

ทูซอน

ทัคซัน

 

Worcester

วูสเตอร์

วอร์เซสเตอร์

 

Yosemite

โยเซมีตี

โยสไมต์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทิงลิช (Tinglish) (ในบางครั้งจะเจอคำว่า Thenglish หรือ Thailish) คือรูปแบบภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาแม่ใช้ภาษาเดิมอ้างอิงถึงการใช้ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับ อิงริช (Engrish) และ สแปงลิช (Spanglish) การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้แก่ การใช้คำศัพท์ หน้าที่ของคำ และไวยากรณ์ภาษา

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ตัวอย่างที่มีการใช้ทิงลิช

ความหมายในภาษาไทย

ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

ทิงลิช

เปิด/ปิด ไฟ

to turn on/off the light

to open/close the light

ล้างรูป

to develop the film

to wash the film

ฉันกำลังสนใจฟุตบอล

I am interested in football

I am intersting in football

ฉันชอบคุณมาก

I really like you

I very like you

ฉันเคยไปภูเก็ต

I went to Phuket
I have been to Phuket before

I used to go to Phuket
I go to Phuket already

[แก้] คำศัพท์

  • ทำตัวสบายๆ - chill หรือ chill out' ใช้เป็น chill chill (ชิลชิล หรือ ชิวชิว)
  • เหมือนเดิม - same ใช้เป็น same same
  • เรียกเก็บเงิน (ภายหลังกินอาหารเสร็จ) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "เช็ก" หรือ "บิล" คำใดคำหนึ่ง ในไทยจะใช้ทั้งสองคำรวมกันเป็น "เช็กบิล"
  • คำผิดหน้าที่ เช่น This sucks. ใช้เป็น This is suck.

[แก้] การเพิ่มส่วนของคำ

เพิ่มในส่วนหน้าของคำ

  • คำว่า คุณ (ใช้ khun แทนคำว่า mister, miss หรือ mrs.) เช่น Khun Somchai will have a meeting on Friday.

เพิ่มในส่วนท้ายของประโยค

  • คำว่า ครับ และ ค่ะ เพื่อเพิ่มความสุภาพให้ประโยค ตัวอย่างเช่น Hello kha.
  • ภาษาพูด คำว่า ละ นะ จ๊ะ สำหรับการแนะนำ และลดความเป็นทางการ เช่นคำว่า Why don't you ask her la? หรือ I'm going to have dinner now, how about you la? หรือ Hello ja.

[แก้] การออกเสียง

เนื่องจากเสียงในภาษาอังกฤษส่วนหนึ่ง ไม่มีเสียงในภาษาไทยที่ตรงกัน ทำให้มีการผู้ใช้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ปรับเปลี่ยนเสียงภาษาอังกฤษเป็นเสียงที่ใกล้เคียง

  • การเน้นเสียง (stress) ยกเลิกการเน้นเสียงทั้งหมดและใช้เสียงสามัญ แล้วเน้นเสียงที่คำสุดท้ายของประโยค
  • เพิ่มเสียงโท (ไม้เอกและไม้โท) ท้ายคำ สำหรับคำภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าเสียงต้นฉบับจะมีหรือไม่มีก็ตาม เช่น Manchester - แมนเชสเต้อร์ หรือ Arsenal - อาร์เซน่อล
  • เปลี่ยนเสียง r เป็นเสียง .เรือ และเสียง l เป็นเสียง .ลิง
  • เสียงพยัญชนะเสียงสุดท้ายถูกละตามแม่สะกดของภาษาไทย เช่น เสียง l และ r กลายเป็น แม่กน เช่น บอล อ่านเป็น บอน และเสียง s กลายเป็น แม่กด เช่น is เป็น อี๊ด
  • เสียง sh และ ch รวมมาเป็นเสียงเดียวกับเสียง .ช้าง
  • เสียง g และ z ถูกเปลี่ยนเสียงเช่น dog -> dock, zoo -> sue
  • เสียง th เปลี่ยนเป็น ท.ทหาร ต.เต่า และ ด.เด็ก เช่น thin -> tin, through -> true, then -> den
  • เสียง h อ่านเป็น เฮช แทนที่เสียงที่ถูกต้อง เอช ตามเสียงของพยัญชนะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การออกเสียงคำศัพท์ที่น่าสนใจ

การออกเสียงคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์

  • Adobe อ่านว่า อะ-โด-บี่
  • Aflatoxin อ่านว่า แอฟ-ฟลา-ท๊อก-ซิน ไม่ใช่ อัล-ฟา-ท๊อก-ซิน (เนื่องจากคำนี้มักสะกดผิดเป็น Alfatoxin)
  • Alias อ่านว่า เอ-เลียส ไม่ใช่ อะ-ไล-แอส
  • Apache อ่านว่า อะ-แพช-ชี่, ไม่ใช่ อา-ปา-เช่, หมายถึง ชื่อระบบ Web Server ที่ทำงานแบบ UNIX-like
  • a posteriori อ่านว่า อา-โพส-ติ-ริ-ออ-รี่ , ภาษาลาติน หมายถึง การ Reasoning จาก Observed Facts, ถ้าแปลตรงตัวหมายถึง "from what comes before" หรือจะแปลให้รู้เรื่องมากขึ้นหมายถึง "before experience"
  • a priori อ่านว่า อา-พริ-ออ-รี่ , ภาษาลาติน หมายถึง การให้เหตุผลก่อนบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น, ถ้าแปลตรงตัวหมายถึง "from what comes later" หรือจะแปลให้รู้เรื่องมากขึ้นหมายถึง "after experience"
  • ASUS อ่านว่า อัซ-ซุส อ่านตามบริษัทแม่ที่ไต้หวัน, บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ของไต้หวัน
  • Bayesian อ่านว่า เบ-เซี่ยน ไม่ใช่ เบ-เชี่ยน, Thomas Bayes ชาวอังกฤษ
  • Cartesian อ่านว่า คา-ที-เชี่ยน ไม่ใช่ คา-ที-เซี่ยน
  • Character อ่านว่า แคร์-แหรก-เต่อร์ี หรือ คาร์-แหรก-เต่อร์ี เคยได้ยินเด็กสายคอมพิวเตอร์หลายคนอ่านคำนี้ว่า ชา-แรก-เตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวย่อของคำนี้ char มักจะอ่านผิดว่า ชา ควรอ่านให้ถูกต้องเป็น คาร์ หรือ แคร์, คำนี้ ch ไม่ออกเสียงเป็น ช.ช้าง เนื่องจากมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า caracter
  • Coaxial อ่านว่า โค-แอ๊ก-เซียล ไม่ใช่ โค-แอ๊ก-เชียล, สาย Coaxial ใช้ในการส่งข้อมูล
  • Cryptography อ่านว่า คริพ-ทอก-กรา-ฟี ไม่ใช่ คริพ-โต-กรา-ฟี
  • Data อ่านว่า เด-ต่า หรือ ดา-ต่า ก็ได้ อเมริกันอ่าน เด อังกฤษอ่าน ดา
  • Delphi อ่านว่า เดล-ฟาย เป็นภาษากรีก
  • Dijkstra อ่านว่า ไดจ์ค-สตร้า ไม่ใช่ ดิจ-สตร้า, Dijkstra's Shortest-Path Algorithm โดย Edsger Dijkstra ชาว Netherland
  • e.g. ภาษาลาติน ย่อจาก Exempli Gratia แปลว่า for example(ตัวอย่างเช่น), เวลาอ่านให้อ่านว่า for example ไม่อ่านว่า e.g.
  • Eigenvalue อ่านว่า ไอ-เก้น-แว(ฝ)ล-ยู, เป็นคำผสมของคำภาษาเยอรมัน Eigen แปลว่า Own หรือ Individual กับคำภาษาอังกฤษว่า Value
  • Error อ่านว่า เอ-เร่อร์ หรือ เออ-เร่อร์ ก็ได้ แต่นิยมอ่านว่า เอ-เร่อร์ มากกว่า
  • et al. ภาษาลาติน อ่านว่า เอต-ตอล แปลว่า and others เช่นใช้ในการเขียน Paper เช่นถ้าอ้างถึง Richard et al. หมายถึง Richard และคณะ (คนอื่นๆ)
  • etc. อ่านว่า เอด-เซ็ต-ทร่า, ภาษาลาติน ตัวย่อของ Et Cetera แปลว่า และอื่นๆ
  • File อ่านว่า ฟาย-แอล (มีเสียง 'แอล' ตามท้ายเล็กน้อย) ไม่ใช่ ไฟล์ หรือ ฟาย
  • Fourier อ่านว่า ฟู-ริ-เย, Joseph Fourier ชาวฝรั่งเศส
  • Gaussian อ่านว่า เกา-เซี่ยน ไม่ใช่ เ๊กา-เชี่ยน, Carl Friedrich Gauss ชาวเยอรมัน
  • Giga- อ่านว่า จิ-กะ หรือ กิ-กะ ได้ทั้งสองแบบ, เช่น Gigabyte
  • GNOME อ่านว่า กะ-โนม, ในสายคอมพิวเตอร์ การออกเสียงให้สอดคล้องกับการออกเสียง GNU, คำว่า GNOME ย่อมาจาก GNU Network Object Model Environment, ส่วนคำภาษาอังกฤษทั่วไป Gnome อ่านว่า โนม
  • GNU อ่านว่า กะ-นู, เป็นการย่อแบบ Recursive ของ "GNU's Not Unix" โดย Richard M. Stallman ชาวนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้ง Free Software Foundation อ่านว่า กะ-นู ส่วนคำภาษาอังกฤษทั่วไป Gnu ที่แปลว่าละมั่งแอฟริกาอ่านว่า นู
  • i.e. ภาษาลาติน ย่อจาก id est แปลว่า it is หรือ that is (นั่นคือ), เวลาอ่านให้อ่านว่า that is ไม่อ่านว่า i.e.
  • in vitro อ่านว่า อิน-วี้-โทร ภาษาลาติน แปลว่า in glass หมายถึงในห้องทดลอง
  • in vivo อ่านว่า อิน-วี้-โหว่ ภาษาลาติน แปลว่า in life หมายถึงในชีวิตหรือสิ่งมีชิวิต
  • Leopard อ่านว่า เล็บ-เปิด, ชื่อรุ่นหนึ่งของ Mac OS
  • Linux อ่านว่า ลินุกซ์ ออกเสียงตามผู้สร้าง Linus Torvalds ชาว Finland มีบางคนจากทางอเมริกาจะออกเสียงว่า ลินักซ์ หรือ ไลนักซ์ ซึ่งไม่ตรงกับการออกเสียงของผู้สร้าง ไฟล์เสียงเป็นเสียงพูดของผู้สร้าง Linus Torvalds พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux!"
  • Logic อ่านว่า ลอ-จิก ไม่ใช่ โล-จิก และ ไม่ใช่ ล๊อก-จิก, เคยได้ยินบางคนที่จบจากต่างประเทศพยายามออกเสียงให้แตกต่าง(เพื่ออยากให้คนรู้ว่าจบจากต่างประเทศ) แต่ดันออกเสียงไม่ถูกต้อง ว่า ล๊อก-จิก, วิชา Digital Logic ในสายคอมพิวเตอร์
  • Mathematically อ่านว่า แมท-ทะ-แม-ติก-ลี่ ไม่ใช่ แมท-ทะ-แม-ติก-คอล-ลี่
  • Mechanic อ่านว่า เหมะ-แค้น-นิก ไม่ใช่ แมก-คา-นิก
  • Modulation อ่านว่า มอ-จยู-เล-ชั่น ไม่ใช่ มอ-ดู-เล-ชั่น
  • OGRE อ่านว่า โอ๊ค-เก่อ, Object-Oriented Graphics Rendering Engine
  • OS X อ่านว่า โอ-เอส-เท็น (เลขสิบโรมัน) ไม่ใช่ โอ-เอส-เอ๊กซ์, ระบบ Operating System ของเครื่องคอมพิวเตอร์ Mac
  • Procedure อ่านว่า โผร่-ซี-เจยอร์ (เสียง จ และ ย ควบกัน) ไม่ใช่ โพร-ซิ-เดอร์
  • Procedural อ่านว่า โผร่-ซี-เจยอร์-รอล (เสียง จ และ ย ควบกัน) ไม่ใช่ โพร-ซิ-เดอร์-รอล , เช่น Procedural Language
  • Query อ่านว่า เควีย-รี่ หรือ แคว-รี่ ('คว' ออกเสียงควบกัน), การ Query ใน Database
  • Recognition อ่านว่า เรค-ค่อก-นี้-ชั่น ไม่ใช่ รี-คอก-นี-ชั่น
  • Register อ่านว่า เร้จ-จิส-เตอร์ ไม่ใช่ รี-จิส-เตอร์
  • Representation อ่านว่า เรพ-พรี-เซน-เท้-ชั่น ไม่ใช่ รี-พรี-เซน-เท-ชัน
  • Route อ่านว่า รูท หรือ เราท์ ได้ทั้งสองแบบ
  • Router อ่านว่า เรา-เทอร์ อ่านแบบอังกฤษจะอ่านว่า รูท-เทอร์
  • Security อ่านว่า สิ-เคี้ยว-หริ-ถี่ ไม่ใช่ เซ็ก-เคียว-ริ-ตี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรอ่านไปเน้นที่คำว่า 'เซ็ก' เพราะนอกจากจะไม่ถูกต้องแล้ว ยังดูหมกมุ่นมากเกินไป การออกเสียงที่ถูกต้องให้ออกเสียง 'สิ' นิดเดียว ไปออกเสียงเน้นที่ 'เคี้ยว' เยอะๆ
  • Silicon Valley อ่านว่า ซิ๊-ลิ-ขั่น-แว(ฝ)ล-ลี่ ไม่ใช่ ซิ-ลิ-ก้อน-วา-เล่ย
  • Skype อ่านว่า สะ-ไกพ์, โทรศัพท์อินเตอร์เน็ตที่ใช้เทคโนโลยี Peer-to-Peer
  • SOA อ่านว่า โซ-อา หรือ เอส-โอ-เอ ก็ได้, ตัวย่อของ Service Oriented Architecture
  • SQL อ่านว่า เอส-คิว-แอล หรือ ซี-ควล ก็ได้, หมายถึงภาษา Query ใน Database
  • Stochastic อ่านว่า สะ-โต-แคส-ติก (ออกเสียง สะ-โต สั้นมาก ออกเสียงเป็น สะ-ตะ ก็ได้) หมายถึง เกี่ยวกับโอกาส (Chance) หรือ ความน่าจะเป็น (Probability) รากศัพท์มาจากภาษากรีก Stochastikos ซึ่งหมายถึงมีัทักษะในการคาดการณ์
  • Swap อ่านว่า สะ-วาพ (ออกเสียงใกล้กับ สะ-วอพ) ไม่ใช่ สะ-แวพ
  • Symantec อ่านว่า ซิม-แมน-เทค ไม่ใช่ ไซ-แมน-เทค, บริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ในสหรัฐอเมริกา เน้นด้าน Security และ Information Management, นิตยสารคอมพิวเตอร์ภาษาไทย เช่น Computer World, E-World จะเขียนว่า ไซ-แมน-เทค
  • Syringe อ่านว่า เซอ-ริ้น(จ) คำนี้ได้ยินนักเรียนแพทย์และทันตแพทย์บางคนออกเสียงว่า ไซ-ริง
  • Telephony อ่านว่า เท-เล้ฟ-เฟ-นี่ ไม่ใชเท-เล-โฟน-นี่
  • Thread อ่านว่า เธรด (มีเสียง 'ดึ' ตามท้ายเล็กน้อย) ไม่ใช่ ธรีด
  • Tilde (~) อ่านว่า ทิล-ด่า ไม่ใช่ ทิล-เด หรือ ทิลด์, ภาษาลาติน
  • Topology อ่านว่า ทะ-พ้อล-โล-จี่ (เน้นที่เสียง 'พ้อล' และออกเสียง 'ทะ' ให้สั้นๆ) ไม่ใช่ โท-โป-โล-จี หรือ ไม่ใช่ ท๊อป-โป-โล-จี โดยเน้นที่เสียง 'ท๊อป' ไม่ถูกต้อง
  • Transient อ่านแบบอังกฤษ อ่านว่า ทราน-เชี่ยน อ่านแบบอเมริกัน อ่านว่า ทราน-เซี่ยน
  • vice versa ภาษาลาติน แปลว่า the other way around หรือ conversely (ในทางกลับกัน)
  • Widget อ่านว่า วิด-เจ็ด, ในสายคอมพิวเตอร์หมายถึง Graphical Interface Component ที่ผู้ใช้มี Interaction ด้วย สร้างได้ง่าย ถ้าวางบน Desktop จะเรียกว่า Desktop Widget ถ้าอยู่ใน Mobile Device จะเรียกว่า Mobile Widget บางคนเชื่อว่าคำนี้มาจาก Window+Gadget
  • Wii อ่านว่า ี, Nintendo Wii
  • WSDL อ่านว่า วิซ-ดัล หรืออ่านแยกตามปกติเป็น W-S-D-L, Web Services Description Language

การออกเสียงตัวอักษรกรีกที่ใช้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • ตารางต่อไปนี้แสดงการอ่านออกเสียงของอักษรกรีกในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในโลก โดยเสียงจะเพี้ยนไปจากการออกเสียงจริงของชาวกรีกเจ้าของภาษา ถือว่าเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษและอเมริกัน ที่พอจะใช้เป็นมาตรฐานได้ การออกเสียงจะมีปนกัน 3 ส่วน คือ บางตัวจะอ่านตาม Classical Greek บางตัวจะอ่านตาม Modern Greek (เช่น ตัวที่อ่านเป็นเสียง -ี) และบางตัว อ่านตามแบบอังกฤษซึ่งไม่เหมือนกับการออกเสียงของชาวกรีกเลย เช่นตัวอุพซิลอน กรีกจะอ่านว่าอิพซิลอน เป็นต้น

อักษรกรีกเล็ก

อักษรกรีกใหญ่

การอ่านภาษาอังกฤษ

การอ่านภาษาไทย

 

 

alpha

อัลฟ่า

 

 

beta

เบต้า

 

 

gamma

แกมม่า

 

 

delta

เดลต้า

 

 

epsilon

เอพซิลอน

 

 

zeta

เซต้า

 

 

eta

เอต้า

 

 

theta

เธต้า

 

 

iota

ไอโอตตา

 

 

kappa

แคพปา

 

 

lambda

แลมดา

 

 

mu

มิว

 

 

nu

นิว

 

 

xi

ซาย, ซี*

 

 

omicron

โอมิครอน

 

 

pi

พาย

 

 

rho

โร

 

 

sigma

ซิกม่า

 

 

tau

เทา

 

 

upsilon

อุพซิลอน

 

 

phi

ฟาย, ฟี*

 

 

chi

คาย

 

 

psi

ซาย, ซี*

 

 

omega

โอเมก้า

* ตัวอักษรกรีกสามตัวนี้ในกรณีทั่วไปจะอ่านด้วยเสียง -าย แต่ในกรณีพิเศษบางกรณีจะอ่านด้วยเสียง -ี เช่นในสาขาฟิสิกส์และวิศวกรรมที่เกี่ยวกับมุม ตัว จะออกเสียงว่า ฟี เป็นต้น

การออกเสียงชื่อนักคณิตศาสตร์

  • Abel อ่านว่า อา-บูล, Niels Henrik Abel (1802-1829) ชาว Norway
  • Agnesi อ่านว่า แอน-เย-ซี, Maria Gaetana Agnesi (1718-1799) ชาว Milan, Habsburg Empire (ปัจจุบันคือประเทศ Italy)
  • Banach อ่านว่า บา-นัค, Stefan Banach (1892-1945) ชาว Austria-Hungary (ปัจจุบันเป็นส่วนของ Poland)
  • Berkeley อ่านว่า บาค-ลี, George Berkeley (1685-1753) ชาว Ireland
  • Bernoulli อ่านว่า เบอร์-นู-ลี , Jacob/Jacques/James Bernoulli (1654-1705) ชาว Basel, Switzerland, Johann Bernoulli (1667-1748) น้องชายของ Jacob Bernoulli ชาว Basel, Switzerland เช่นเดียวกัน
  • Bolzano อ่านว่า โบล-ซา-โน่ , Bernhard Bolzano (1781-1848) ชาว Prague, Austrian Habsburg (ปัจจุบันคือ Czech Republic)
  • Cauchy อ่านว่า โค-ชี, Augustin-Loius Cauchy (1789-1857) ชาว Paris, France
  • Cavalieri อ่านว่า คา-วาล-เย-รี , Bonaventura Cavalieri (1598-1647) ชาว Milan, Habsburg Empire (ปัจจุบันคือประเทศ Italy)
  • Chairaut อ่านว่า คลา-โร , Alexis-Claude Clairaut (1713-1765) ชาว Paris, France
  • d'Alembert อ่านว่า ดา-เลม-แบร์ , Jean Le Rond d'Alembert (1717-1783) ชาว Paris, France
  • Descartes อ่านว่า เดย์-คาร์ต , Rene Descartes (1596-1650) ชาว France
  • Dirichlet อ่านว่า ดี-รี-คเล, Peter Lejune Dirichlet (1805-1859) ชาว French Empire ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Germany)
  • Euclid อ่านว่า ยู-คลิด, Euclid of Alexandria (325BC-265BC) ชาวกรีก
  • Euler อ่านว่า ออย-เลอร์ , Leonhard Euler (1707-1783) ชาว Switzerland
  • Fermat อ่านว่า
หมายเลขบันทึก: 309473เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • โอโหละเอียดมากครับ
  • ขอนำไปเผยแพร่แก่ผู้สนใจนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ด้วยความยินดีครับ...

เยี่ยมจริงๆๆค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ด้วยความยินดีครับ...และขอบคุณครับที่แวะมาอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท