แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบบูรณาการด้วย ICT โดยใช้รุปแบบ Cippa Model วิชาศิลปะ เรื่องนาฏศิลป์พื้นเมือง


แผนการเรียรู้แบบ Cippa Model

แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย ICT  โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA Model

รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน   รหัสวิชา  ศ32101

 เรื่อง  นาฏศิลป์พื้นเมือง  

จัดทำโดย

นายยอดศักดิ์  พุทธมาตย์

พนักงานราชการ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

โรงเรียนเชียงกลมวิทยา  อำเภอปากชม  จังหวัดเลย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย  เขต  1 กระทรวงศึกษาธิการ

 ------------------------------------------------------------------------------------แผนการจัดการเรียนรู้ 

                กลุ่มสาระการเรียนรู้    ศิลปะ              ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1    การแสดงพื้นเมือง       เวลา  2  ชั่วโมง

                                                                                                                                               

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ช่วงชั้นที่ 3

   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

    แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นเมืองบนพื้นฐานความงาม

2.  สาระสำคัญ

                นาฏศิลป์ คือ ศิลปะแห่งการละครและการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นอย่างมีแบบแผน  ประณีต วิจิตรงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง โน้มน้าวอารมณ์หรือความรู้สึกต่าง ๆ ของผู้ชม อันประกอบด้วยการเคลื่อนไหวอิริยาบถ การแสดงท่าทาง การร่ายรำ การขับร้อง และการบรรเลงดนตรี นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญที่แสดงถึงความเป็นชาติ โดยเฉพาะชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน มีลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนกลายเป็นรูปแบบนาฏศิลป์ประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยไปตลอด         กาลนับว่ามีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง

3.  จุดประสงค์

        1   อธิบายลักษณะการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคต่าง ๆ ของไทยได้ (K)

        2 ค้นคว้า และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยด้วยรูป

            แบบหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยี (P)

       3  รู้คุณค่าของนาฏศิลป์พื้นเมืองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน(A)

4.  สาระการเรียนรู้

                1. การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือของไทย

                2. การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานของไทย

                3. การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ของไทย

                4. การละเล่นพื้นเมืองภาคกลางของไทย

5. กิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมลเดลซิปปา (CIPPA Model) โดย ทิศนา แขมมณี

ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม

            1.  ครูให้นักเรียนดูภาพเกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นเมืองแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบว่าภาพที่เห็นเป็นนาฏศิลป์ของภาคใด มีชื่อเรียกว่าอย่างไร

                2. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ทราบว่า เมื่อจบบทเรียนนี้แล้วนักเรียนสามารถอธิบายลักษณะการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคต่าง ๆ ของไทยได้

ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่

3. นักเรียนชมการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคต่าง ๆ อีกครั้งแล้วร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับลักษณะการแสดง การแต่งกาย ท่ารำ ดนตรีหรือเพลงประกอบ และโอกาสในการแสดง

ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

 4. นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองเพิ่มเติม จากหนังสือเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 แล้วทำกิจกรรมตามใบงาน

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

1. แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายความรู้เกี่ยวนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย บันทึกผลสรุปลงในใบงาน

ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้

1.. ผู้สอนสุ่มกลุ่มนำเสนอผลสรุป  ยกตัวอย่างภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย

2.  ครูนำสนทนา อภิปราย แล้วช่วยจัดระเบียบข้อมูลสรุปเป็นของห้อง

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงาน

1.  นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยทั้ง 4 ภาค จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์  วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ  เว็บไซต์สำหรับค้นข้อมูล

2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลจากการศึกษาค้นคว้า  มานำเสนอในชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยี สรุปผลการนาฏศิลป์พื้นเมืองไทยภาคต่างๆแผนผังความคิดพร้อมภาพประกอบ  จัดทำเป็นรายงาน

3.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย และสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ และคุณค่าของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

            1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์

6.  สื่อการเรียนรู้

                1. วีดิทัศน์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคต่าง ๆ

                2. ใบงาน เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง

                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ กลุ่มสารการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

                4.  สื่อการเรียนรู้ Swish Max เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง

7. กิจกรรมเสริมการเรียนรู้

1.  นักเรียนสำรวจศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ว่ามีอะไรบ้าง

2.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้านของชุมชนที่แสดงในเทศกาลสำคัญของชุมชน อภิปรายและสรุปผลร่วมกัน เช่น รำกลองยาว  ประเพณีแห่ผีตาโขน ฯลฯ

 8. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม

                1.  ห้องสมุดดิจิตอลโรงเรียนเชียงกลมวิทยา

                2. เวบไซด์จาก Internet

                  - http://guru.sanook.com/pedia/topic/การแสดงพื้นเมือง

                 - http://www.thaigoodview.com/
                - http://natpiyaacademic.igetweb.com/
                -  http://show-organize.com/
                - http://www.m4229m.20m.com/

               3. การสำรวจศิลปะการแสดงในชุมชน /อำเภอ/  จังหวัด

9. การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

            1. วิธีการวัดและประเมินผล

                                1.1 การตรวจใบงาน

                                1.2 การทดสอบ

                                1.3  การนำเสนอผลงาน

                2. เครื่องมือวัดและประเมินผล

                                2.1 ใบงาน

                                2.2 แบบทดสอบ

                                2.3  แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

                3. เกณฑ์การวัดและเมินผล

                                ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50

 --------------------------------------------------------------------------------

10.  บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

          1.  ผลการสอน

          ………………………………………………………………………………………………………..

               

                2.  ปัญหา/อุปสรรค

                ………………………………………………………………………………………………………..

                 แนวทางแก้ไข

                ………………………………………………………………………………………………………..

               

          3.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

                ………………………………………………………………………………………………………..

                                                                                                            ลงชื่อ....................................................(ผู้สอน)

                                                                                                                                     ( นายยอดศักดิ์  พุทธมาตย์ )

 ---------------------------------------------------------------------------------

ใบความเรื่องนาฏศิลป์พื้นเมือง

นาฏศิลป์ไทย

                นาฏศิลป์ คือ ศิลปะแห่งการละครและการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นอย่างมีแบบแผน  ประณีต วิจิตรงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง โน้มน้าวอารมณ์หรือความรู้สึกต่าง ๆ ของผู้ชม อันประกอบด้วยการเคลื่อนไหวอิริยาบถ การแสดงท่าทาง การร่ายรำ การขับร้อง และการบรรเลงดนตรี นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญที่แสดงถึงความเป็นชาติ โดยเฉพาะชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน มีลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนกลายเป็นรูปแบบนาฏศิลป์ประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยไปตลอด          กาลนับว่ามีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง

                แต่เดิมนาฏศิลป์ไทย จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่

 1. มหรสพ คือ การแสดงต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องราว เช่น ละคร โขน เป็นต้น และการแสดงอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

2. ระบำรำฟ้อน คือ การแสดงที่มีลักษณะเป็นชุดสั้น ๆ อาจมีเนื้อเรื่องหรือไม่มีก็ได้

3. การละเล่นของหลวง คือ การแสดงที่นิยมแสดงเฉพาะในพระราชพิธีของหลวงเท่านั้น ได้แก่ ในงานสมโภชหรืองานมงคลต่าง ๆ เช่น แทงวิสัย กุลาตีไม้ โมงครุ่ม รำโคม เป็นต้น

4. เพลงพื้นเมืองหรือการแสดงพื้นเมือง คือ การแสดงต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำมาหากิน ขนบธรรมเนียม และมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามสภาพความเป็นอยู่  และภูมิอากาศ

การแสดงนาฏศิลป์ในยุคก่อน ๆ รูปแบบในการแสดงออกจะปรากฏในรูปแบบการรำ ระบำ และการเต้น เป็นส่วนมาก แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะดังนี้

1. การรำ คือ ศิลปะแห่งการร่ายรำ ได้แก่ การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำประกอบเพลง และการรำอาวุธ เป็นต้น

2. ระบำ คือ ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงรำพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนหรือเป็นหมู่ เช่น ระบำเทพบันเทิง ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำโบราณคดี ระบำเทพบุตรนางฟ้า เป็นต้น

3. การเต้น คือ ศิลปะแห่งการยกขาขึ้นลงให้เป็นจังหวะ เช่น เต้นโขน เป็นต้น

                การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ผ่านการวิวัฒนาการมาช้านานเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง ต่อมาได้บัญญัติศัพท์เรียกการเล่นหรือการแสดงทั้งสามรูปแบบนี้ว่า โขนละครและฟ้อนรำหรือระบำ

                1. โขน คือ ศิลปะแห่งการเต้น

                2. ละคร คือ ศิลปะแห่งการร่ายรำและการแสดงเป็นเรื่องราวต่าง ๆ

                3. ฟ้อนรำหรือระบำ คือ ศิลปะแห่งการรำที่มีความงดงาม

                โดยทั่วไปผู้ที่ชมการแสดงนาฏศิลป์มักจะเข้าใจว่าเป็นการร่ายรำเหมือนกันทั้งหมด แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้วการร่ายรำต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีกฎเกณฑ์และลักษณะวิธีการแสดงที่แตกต่างกัน อาจแบ่งประเภทของนาฏศิลป์ไทยได้ 4 ประเภทได้แก่ โขน ละคร รำและระบำ และการแสดงพื้นเมือง

                1. โขน คือ การแสดงที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน ได้แก่ ศิลปะการเต้น ศิลปะการรำ ศิลปะการขับร้อง ศิลปะการพากย์ ศิลปะการประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น

                2. ละคร คือ การร่ายรำที่แสดงเป็นเรื่องราวมีที่มาที่ไปของตัวละครในเรื่อง ได้แก่ ละครแบบดั้งเดิม ละครปรับปรุง และละครสมัยใหม่

                3. รำและระบำ

                3.1 การรำ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงไม่เกิน 2 คน เป็นการแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ ได้แก่ การรำเดี่ยว เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ รำโนราบูชายัญ เป็นต้น การรำคู่ เช่น รำเบิกโรง เป็นต้น การรำหมู่ เช่น รำสีนวล รำพัด รำวงมาตรฐาน เป็นต้น และการรำอาวุธ เช่น รำกริชคู่ รำทวน รำดาบ เป็นต้น

                3.2 ระบำ คือ การแสดงที่รำเป็นชุดหรือเป็นหมู่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นการแสดงที่มุ่งเน้นความงามของศิลปะการร่ายรำ ความสวยงามของการแต่งกาย ไม่แสดงเป็นเรื่องราวต่าง ๆ มุ่งความสวยงามและความบันเทิงใจ ระบำแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบำมาตรฐาน และระบำเบ็ดเตล็ด

                4. การแสดงพื้นเมือง คือ การแสดงอันเกิดจากประเพณีนิยม การทำมาหากิน การประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นต่าง ๆ การแสดงพื้นเมืองอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รำพื้นเมือง และเพลงพื้นเมือง ได้แก่

                4.1 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น

                4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว หมอลำ ฟ้อนภูไท ฯ

                4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น รำกลองยาว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงพวงมาลัย เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงอีแซว เพลงเหย่อย เป็นต้น

                4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เช่น โนรา หนังตะลุง ระบำร่อนแร่ เป็นต้น

                การแสดงนาฏศิลป์ไทยทุกประเภททุกชนิด ถ้าเราวิเคราะห์รูปแบบการแสดงแล้ว เราสามารถจำแนกรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย 2 รูปแบบ ได้แก่

                1. นาฏศิลป์ที่มีแบบแผน หรือนาฏศิลป์มาตรฐาน

                2. นาฏศิลป์พื้นเมือง

รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย/นาฏศิลป์

นาฏศิลป์พื้นเมือง  หรือนาฏศิลป์พื้นเมือง

นาฏศิลป์ที่มีแบบแผน หรือนาฏศิลป์มาตรฐาน

* การละเล่นพื้นเมือง                        

* การรำ

* การรำพื้นเมือง

* ระบำ

* เพลงพื้นเมือง                                                                       

โขน

* การแสดงพื้นบ้าน                                           

* ละคร

 การแสดงพื้นเมือง

                การแสดงพื้นเมืองหรือนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนมีรากฐานมาจากการละเล่นพื้นบ้านหรือการละเล่นของท้องถิ่น ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การละเล่น การรำ เพลง เป็นต้น แต่เนื่องจากการยอมรับและเลียนแบบของเมืองหลวง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นลักษณะการแสดงของเมือง โดยการรวมเอาการละเล่นพื้นบ้านหลาย ๆ ท้องถิ่นเข้ามาไว้ด้วยกัน

                การละเล่นพื้นบ้าน คือ การแสดงที่ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาตามท้องถิ่นต่าง ๆ ได้คิดค้นขึ้นและสืบทอดกันต่อมาในลักษณะตัวต่อตัว ไม่ต้องอาศัยการจดบันทึกใด ๆ ชาวบ้านที่แสดงส่วนใหญ่ก็มิได้ยึดการแสดงเป็นงานอาชีพอย่างเดียว แต่จะมีงานอื่น ๆ เป็นงานหลัก และจะแสดงกันในยามว่างจากการทำงาน ทำไร่ ทำนา การแสดงของชาวบ้านมักจะยอมรับและเลียนแบบการแสดงที่เป็นแบบฉบับและการแสดงพื้นเมืองด้วย ลักษณะการละเล่นพื้นบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่การเปลี่ยนแปลงมิได้รวดเร็วเท่ากับการแสดงพื้นเมืองที่อยู่ใกล้กับวัฒนธรรมที่มีแบบแผนหรือแบบฉบับ ถึงแม้ว่าการแสดงนาฏศิลป์ของไทยจะสามารถแบ่งรูปแบบการแสดงออกเป็นการแสดงแบบฉบับหรือมาตรฐาน การแสดงพื้นเมืองและการละเล่นพื้นบ้านก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถแยกประเภทจากกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะการแสดงแต่ละระดับต่างก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน

                การแสดงพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่นจะแฝงไว้ด้วยศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์ประจำถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตและจิตใจของคนในท้องถิ่น ๆ การแสดงพื้นเมืองแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นจึงมีลีลาการแสดงที่แตกต่างกันไป และนิยมเล่นกันในหมู่ประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในฤดูกาลหรือเทศกาลต่าง ๆ ในขณะที่กำลังเล่นผู้ชมอาจสามารถเข้าร่วมในการแสดงนั้น ๆ ได้ แต่การแสดงพื้นเมืองในปัจจุบันลักษณะการแสดงจะแตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ จะเป็นการจัดขึ้นเพื่อความมุ่งหมายใดมุ่งหมายหนึ่ง           มีการเตรียมการ มีการฝึกซ้อม มีการคัดและเลือกผู้แสดง ซึ่งเป็นการแสดงพื้นเมืองที่ผิดแปลกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

                ประเทศไทยมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีสภาพแตกต่างกันหลายท้องถิ่น จึงทำให้การดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตตลอดจนแนวคิดในการสร้างสรรค์และวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันไป นอกจากนั้นการติดต่อสัมพันธ์กับชนชาติอื่น ๆ มาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ย่อมส่งผลถึงวัฒนธรรมในปัจจุบันด้วย เช่น ภาคเหนือมีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขา อากาศเย็นสบาย ชีวิตความเป็นอยู่ของคนจึงเรียบง่าย มีนิสัยอ่อนโยน พูดจามีความอ่อนหวาน ดนตรีและศิลปะการแสดงจึงนุ่มนวล แช่มช้อยและเยือกเย็นตามไปด้วย

ซึ่งตรงกันข้ามกับคนในภาคใต้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศแปรปรวนเป็นเขตมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกเกือบตลอดปี อาศัยอยู่ตามที่ราบริมทะเล มีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับทะเล ทำมาหากินด้วยการทำอาชีพประมง ต้องผจญกับคลื่นลมแรง จึงพูดเสียงดัง ห้วน สั้น และเร็ว ค่อนข้างกระด้าง ไม่นุ่มนวลเหมือนชาวเหนือ

                นอกจากนี้อิทธิพลของวัฒนธรรมของชนชาติเพื่อนบ้านยังเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันด้วย ดนตรีและศิลปะการแสดงบางส่วนของชาวเหนือจึงมีลักษณะคล้ายกับของชาวไทย             ใหญ่หรือชาวพม่า เช่นเดียวกับทางภาคใต้จะมีความคล้ายคลึงกับของชนชาติมาเลเซีย ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคล้ายคลึงกับชนชาติลาว และชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนใต้ หรือที่เรียกว่า ชาวอีสานใต้ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ) มีลักษณะคล้ายกับเขมร เป็นต้น

                การแสดงพื้นเมืองหรือการละเล่นพื้นบ้านจะเป็นรากฐานของการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น ภายใต้อิทธิพลทางความเชื่อและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น คนภาคกลางมีอาชีพทำนาก็เกิดการแสดงพื้นเมืองที่มีลักษณะคล้ายกับการทำนา ได้แก่ การแสดงเต้นกำรำเคียว ระบำฝัดข้าว เพลงเกี่ยวข้าว เป็นต้น ท้องถิ่นใดมีอาชีพการทำประมง ก็จะมีลักษณะการแสดงคล้ายกับการประกอบอาชีพประมง เช่น เซิ้งสวิง เป็นต้น ทางภาคเหนือมีการแสดงฟ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนมาลัย เป็นต้น

                การแสดงพื้นเมืองของแต่ละภาคจะมีลักษณะของการแสดงที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ของคนในพื้นที่นั้น ๆ แต่ได้นำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้สวยงามน่าดูยิ่งขึ้น

 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

                การแสดงพื้นเมืองเป็นการแสดงที่สะท้อนวิถีชีวิตจริงของคนภาคเหนือ ให้เห็นถึงความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน การประกอบอาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือลักษณะการแสดงจะมีความอ่อนช้อย นุ่มนวล สวยงาม แต่ก็มีบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของพม่าซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน การแสดงมีหลายรูปแบบแต่ส่วนใหญ่มักเป็นการแสดงที่อยู่ในรูปของการรำพื้นเมือง ได้แก่ ฟ้อนบายศรี ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้องเจิง ฟ้อนดาบ และฟ้อนการตีกลองสะบัดชัย เป็นต้น

 

การแสดงพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

                ภาคอีสานเป็นภาคที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามรักความสนุก รื่นเริง จะเห็นว่ามีงานเทศกาล        ต่าง ๆ ตลอดปี และในเทศกาลเหล่านี้นับเป็นโอกาสดีที่จะชุมนุมคนในหมู่บ้านให้มาร่วมรื่นเริงกันชั่วคราว เช่น วันสงกรานต์ งานบุญเซิ้งบั้งไฟ เซิ้งแห่นางแมว ทอดกฐิน เซิ้งสวิง เป็นต้น

 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

                การแสดงพื้นเมืองภาคกลางส่วนมากเป็นเพลงปฏิพากย์ คือ การละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่างกลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิงด้วยกลอนสดที่คิดขึ้นโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบ เพลงเหล่านี้มีหลายชนิด มักนิยมเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ แต่ละท้องถิ่นจะมีการเล่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์และการประกอบชีพ ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อย เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงชักกระดาน เป็นต้น เพลงต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนี้มีลีลาการร้องโต้ตอบกัน เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ โทน และการตบมือเป็นต้น

การรำวงพื้นเมือง

                รำวงพื้นเมืองเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้าน เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคี เดิมเรียกว่า รำโทน ซึ่งเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ คือ โทน ต่อมาได้เพิ่มเครื่องดนตรีชนิดอื่นเข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ฉิ่ง และ กรับ ผู้เล่นจะร่ายรำไปตามจังหวะโทนเท่านั้น ไม่มีการขับร้องใด ๆ ท่ารำก็ไม่ได้กำหนดรูปแบบแน่นอน จะรำอย่างไรก็ได้ แต่ขอให้การย่ำเท้าและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตรงตามจังหวะก็ใช้ได้ นอกจากนั้นคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้รำจะยืนล้อมวงแล้วตบมือตามจังหวะไปด้วย ต่อมามีผู้คิดทำนองบทร้องมาประกอบการรำ แต่ยังยึดจังหวะโทนเป็นหลักและพัฒนามาเป็น รำวง ในปัจจุบัน และได้มีการกำหนดให้ชายหญิงรำเป็นคู่ ๆ แล้วรำเรียงลำดับกันเป็นวงกลม มีระเบียบแบบแผนในการเล่นขึ้น จึงเรียกว่า รำวงพื้นเมือง การแสดงรำวงพื้นเมืองนิยมเล่นกันในงานเทศกาลต่าง ๆ หรือเล่นเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง บทร้องส่วนใหญ่มีความหมายเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว หยอกเย้า ชมโฉมหรือรำพันถึงความรักและบทลาจากกัน ไม่พิถีพิถันเรื่องถ้อยคำมากนัก ใช้ภาษาธรรมดาสามัญ แต่มีความไพเราะกินใจและจดจำง่าย ยังคงจดจำและถ่ายทอดกันสืบมา แต่มิได้บันทึกไว้ว่าผู้ใดเป็นผู้แต่ง ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้มีการแสดงรำวงพื้นเมืองกันบ่อยนัก หรือถ้ามีการเล่นรำวงมักจะใช้บทเพลงใหม่  ๆ ทำให้บทเพลงได้เลื่อนหายไปหรือเสื่อมความนิยมไป

 

เพลงรำวงพื้นเมือง

ใกล้เข้าไปอีกนิด

ใกล้เข้ามาอีกนิด                ชิดชิดเข้ามาอีกหน่อย

สวรรค์น้อยน้อย                 อยู่ในวงฟ้อนรำ

รูปหล่อขอเชิญมาเล่น         เนื้อเย็นขอเชิญมารำ

มองมานัยน์ตาหวานฉ่ำ     (ซ้ำ)  มะมารำกับพี่นี่เอย

ยวนยาเหล

ยวนยาเหล                       ยวนยาเหล

หัวใจว้าเหว่                      ไม่รู้จะเห่ไปหาใคร

จะซื้อเปลญวนที่ด้ายหย่อนหย่อน    (ซ้ำ)                                       

จะเอาน้องนอนไกวเช้าไกวเย็น (ซ้ำ)

ช่อมาลี

อมาลี                          คนดีของพี่ก็มา

สวยจริงหนา                    เวลาค่ำคืน(ซ้ำ)

โอ้จันทร์ไปไหน                ทำไมจึงไม่ส่องแสง

เดือนมาแฝงแสงสว่าง        เมฆน้อยลอยมาบัง(ซ้ำ)

ตามองตา  ตามองตาสายตามาจ้องมองกัน                                       

รู้สึกเสียวซ่านหัวใจ

รักฉันก็ไม่รัก หลงฉันก็ไม่หลง     ฉันยังอดโค้งเธอไม่ได้

 เธอช่างงามวิไล(ซ้ำ)                เหมือนดอกไม้ที่เธอถือมา (ซ้ำ)

หล่อจริงนะดารา   

หล่อจริงนะดารา        งามตาจริงแม่สาวเอย

วันนี้ฉันมีความสุข            สนุกรื่นเริงหัวใจ

ที่นี่เป็นแดนสวรรค์           เธอกับฉันมาเล่นคองก้า(ซ้ำ)

ลอยกระทง

วันเพ็ญเดือนสิบสอง         น้ำนองเต็มตลิ่ง

เราทั้งหลายชายหญิง        สนุกกันจริงวันลอยกระทง

ลอยลอยกระทงลอยลอยกระทง     ลอยกระทงกันแล้ว                

ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง

รำวงวันลอยกระทง (ซ้ำ)                                                                  

บุญจะส่งให้เราสุขใจ (ซ้ำ)

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

                การแสดงภาคใต้ที่คนทั่วไปรู้จักกันดี ได้แก่ มโนราห์ และ หนังตะลุง

           &

หมายเลขบันทึก: 309214เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีคะ
  • เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนแบบบูรณาการ ICT แบบ CIPPA Model
  • เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เป็นต้นแบบของการจัดการเรียนรู้ได้เลยคะ
  • ร่วมเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ
  • ขอบคุณวิทยากรคนเอ่ง
  • และขอบคุณเพื่อนพ้องน้องพี่
  • ที่ให้กำลังใจกัน
  • เต็มที่ครับ
  • เก่งนะคะ
  • คุณครูยอดศักดิ์

ดีมากๆค่ะสำหรับความรู้ที่ได้

ขอบคุณมากสำหรับแนวทางที่ได้ ครูศิลปะจังหวัดนครปฐม

ดิฉันเรียนจบนาฏศิลป์มาหลายปีแล้ว แต่ตอนนี้เรียนครูปฐมวัย ที่เรียนนาฏศิลป์มาต้องเคาะฝุ่นใหม่ ต้องทบทวนถึงจะจำได้ หรือมีคนรำก่อนแล้วถึงจะจำได้ ต่อมาหลายเพลงเหมือนกันเกือบ 30 เพลง ทั้งเพลงระบำ หน้าพาทย์ เพลงต่างๆจิปาฐะ แต่ไม่ค่อยได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร กะว่าจะนำไปสอนเด็กอนุบาลเหมือนกันหากสอบบรรจุเป็นครูได้ แต่ทุกวันนี้ความรู้ที่ได้ใครถามก็บอก สอนฟรี ไม่คิดค่าแรง เด็กเขาจะเข้ามาหาหนูอยากเต้น อยากรำเพลงนั้น เพลงนี้ ให้ช่วยสอน บางทีมีโอกาสก็รับงานบ้างตามสมควร แต่ตอนนี้อยากเคาะสนิมมาก เพราะจวนจะลืมแล้วนะสิ

จากเด็กวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด รุ่นที่ 26/2549

อ่านแล้วได้ความรู้ในการเขียนแผนมากๆๆ

ได้ความรู้เพิ่มมากเลยค่ะหลังจากที่เรียนมาไม่ได้นำมาใช้เลยค่ะ จบนาฏศิลปแต่ทำบัญชีเลยลืมเกือบหมดแล้วต้องจูนกันใหม่เคาะสนิมใหม่อย่างมากๆๆเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท