ละตัว ละตน (๑)


“เราไม่ได้ทำงานของเราแล้วก็กินข้าวชาวบ้านเขา” แล้วก็จะเอาอะไรไปชี้ให้ชาวบ้านเขาสะดวกสบายอะไรอย่างนี้ นี่มันก็ไม่ถูกต้อง...

คนนี้มันทำตามความคิดนะ “มันยุ่ง”
ความคิดนี่นะ คิดดีมันก็ยุ่ง คิดมันดีก็ยิ่งอย่างนั้นแน่ะ คิดอย่างไงก็ยุ่งอย่างนั้น 
บางทีมันก็สันสนหมด แล้วแต่ใครจะปรุงแต่ง
บางทีคนลูกศิษย์ลูกหาก็ เอ๊... ฟังแล้วไม่เข้าใจเลยมันเป็นอย่างไร ไอ้เจ้านี้ก็ว่าอย่างหนึ่ง ไอ้เจ้านั้นก็ว่าอย่างหนึ่ง พอว่ามันก็มีความปรุงแต่ง แล้วแต่ใครจะปรุงแต่งอะไร เลยไม่เข้าใจ
บางทีกว่ามันจะฉลาดมันก็โง่ไปมากเหมือนกันนะของอย่างนี้...

สิ่งที่น่าเกลียดก็มี มันหลอกลวงเราไปเรื่อย อารมณ์ความสุข
มันตื่นขึ้นมามันหน้าก็โง่ ๆ เราถูกมันหลอกอยู่ตลอดวัน “ทำไมมันโง่แท้ว่างั้น...” มันหลอกอยู่อย่างนั้น
พระพุทธจึงสอนให้เรารู้จักอารมณ์ รู้จักความคิด ถ้าเราไม่รู้จักอารมณ์ เข้าใจความคิดนี้ที่ไหนมันจะสงบ สงบมันก็ไม่จริง บรรลุก็บรรลุปลอม ๆ นั้นแหละ ไม่จริงอย่างนี้
เราต้องรู้แจ้งความคิด รู้แจ้งอารมณ์ สิ่งแวดล้อม…

ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราฉลาดนะ ทำให้เราได้พัฒนา แล้วก็ทำให้เราเข้าใจอะไรชัดเจนขึ้น
เข้าใจบุคคลรู้จักสิ่งแวดล้อมอะไรต่าง ๆ มากขึ้น แล้วมันก็ไม่มีอะไรที่จะไปเชื่อ ไปยึด ไปถือ
ถ้าเราไปตามอารมณ์ตามความคิดนี่ไม่ไหวนะ เสียเวลาเรา เราพลาดโอกาสไป

อย่างเราทำการทำงาน มันไม่สงบอย่างนี้เป็นต้น อันนี้มันต้องมีสาเหตุ อันนี้มันเป็นความบกพร่อง ไม่เข้าใจ มันก็เลยเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
จะให้เทศน์ให้สอนก็ดีหรือให้อะไร ไม่สงบอย่างนี้ มันต้องมีเหตุมีปัจจัย อันนี้เราต้องศึกษา

ธุดงค์นี้เราปฏิบัติไปตามโอกาสใช่ไหมครับ...?
ไม่ใช่ธุดงค์หรอก ไปหาเที่ยวป่า...
ถ้าจะพูดอย่างหนึ่ง ต้องรู้จักธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าสอนนะ ไม่ได้หมายถึงเราไปเที่ยวตามป่า ตามเขา ตามอะไร อันนี้เราต้องเข้าใจ

ธุดงค์นี้เป็นเรื่องขูด เรื่องเกลา เรื่องแก้อารมณ์ เรื่องรู้จักอารมณ์ เรื่องที่แก้ไขตัวเอง
ที่เราไปธุดงค์กันตามป่าตามเขาเพื่อจะเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อจะสัมผัสกับธรรมชาติ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็เป็นสาเหตุให้เราคลายความเครียด ไม่อยากสึกอย่างนี้เป็นต้น
บางทีมันก็เห็นอนิจจังเห็นการเปลี่ยนแปลงไป บางทีเดินไปหลายวันเวลามันก็ผ่านไป ครบสี่เดือนห้าเดือนอายุเราก็มากไปอะไรไปอย่างนี้ ทำให้เราหมดโอกาสที่จะสึกแล้ววันเข้ามาอีกแล้วอย่างนี้นะ

ที่จริงแล้วธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน หมายถึงข้อปฏิบัติที่รัดกุม แก้ไขทางจิตทางใจโดยตรง อันนี้ไม่ได้ว่าอยู่ที่ไหนต้องแก้กันที่นั่น เป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นผู้ยินดีในธรรมตัดสินแปดประการตัวสรุปลงมา เพื่อละตัวละตนให้มันใกล้เข้ามา สั้นเข้ามา อันนี้เราต้องเข้านะ...

ธุดงค์มันไม่ดีรึ มันก็ดีนะ ถ้าองค์ไหนเห็นมั๊ยไม่ไปธุดงค์ “ส่วนมากไปเผยแผ่มันก็ได้นอนแผ่...”
การที่เรารู้จักอารมณ์ รู้จักประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน คือธุดงค์ที่เราจะแก้ไข คือ ปรมัตถ์เกิดขึ้นแก่เรา หรืออะไรอย่างนี้เป็นต้น หรืออะไรต่าง ๆ ลาภยศสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เรา อันนี้ต้องรู้จักต้องแก้ไข ละซึ่งตัวซึ่งตน
มักน้อยสันโดษตามขั้นตอน

บางทีมันมองไปไกลเกิน มันเลยไม่มีข้อวัตรปฏิบัติที่จะต่อสู้เอาชนะมันได้

เราอย่าไปคิดว่าธุดงค์ไปอะไรๆไปมันจะหมดกิเลสอะไรอย่างนั้น มันไม่หมดนะ “กิเลส” ถ้าไม่แก้ไข ไม่อะไรอย่างนี้
อยู่นานก็อยู่อย่างนี้แหละ ไม่ได้ดีขึ้น เพราะเราไม่ได้ปฏิบัติเราไม่ได้แก้ไข มันก็เลยคิดว่า เอ๊...ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้...?
ก็เพราะเราปล่อยโอกาสผ่านไป สิ่งที่จะละตัวละตน เราไม่ทำกัน จะเดิน จะนั่ง จะนอนจะอะไร ก็ล้วนแต่มีแต่ความเห็นแก่ตัว แม้แต่เทศน์อยู่สอนอยู่ก็ล้วแต่มีแต่ความเห็นแก่ตัว
อันนี้เราต้องเข้าใจว่าจุดนี้เราจะต้องแก้ไข ต้องปรับปรุงตัวเอง

ถ้าทำไม่ถูกวิธีมันกัดเหมือนกันนะเพราะของมันคม
ปฏิบัติไปเรื่อยมันยิ่งอ่อนแอไปเรื่อย มันเผชิญไม่ได้ มันสู้ไม่ได้ เพราะว่าเราทำไม่ถูกวิธี มันอาจหาญร่าเริงในธรรมไม่ได้ เพราะไม่มีธรรมที่จะไปอาจหาญร่าเริงนะ

ถ้าเรารู้วิธี เราก็ปฏิบัติอยู่ทุกหนทุกแห่ง...
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นยิ่งแข็งแกร่ง ยิ่งอะไรเร็ว ชกบ่อย อะไรบ่อย ซ้อมบ่อยอะไรบ่อย ก็ต้องย่อมแข็งแกร่งกว่าคนที่ไม่ได้ชกไม่ได้ซ้อมเลย...

การต่อสู้หรือว่าการแก้ไขอารมณ์ความคิดก็เหมือนกันอย่าไปหลงตัวเองว่าตัวเองเป็นพระ เป็นอะไร อะไร ก็ความจริงมันไม่ใช่เป็นพระทางร่างกาย พระมันอยู่ที่จิตที่ใจ อยู่ที่ข้อวัตรปฏิบัติ ที่จะละความเห็นแก่ตัวที่จะปล่อยจะวาง

การที่เราหลบเราหนีอย่างนี้เพื่อจะเอาความสุขสะดวกสบายส่วนตัวอย่างนี้ โดยไม่ได้แก้กิเลสอย่างนี้มันก็ไม่ถูก
แล้วก็เสียเวลา เสียนิสัย แล้วก็เป็นการที่ไม่ถูกจุด ไม่ถูกเป้าหมาย “เราไม่ได้ทำงานของเราแล้วก็กินข้าวชาวบ้านเขา” แล้วก็จะเอาอะไรไปชี้ให้ชาวบ้านเขาสะดวกสบายอะไรอย่างนี้ นี่มันก็ไม่ถูกต้อง...
“เราจะไปที่ไหน เราก็ต้องไปแก้ไปไขไปต่อสู้กับกิเลส”

องค์พ่อแม่ครูอาจารย์...

หมายเลขบันทึก: 307514เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท