dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การ่จัดประสบการณ์แบบโครงการสำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์แบบโครงาการ

การจัดประสบการณ์แบบโครงการให้เด็กปฐมวัย

 

 

 

                มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับเด็กปฐมวัย  โดยสรุปแล้ว  การจัดประสบการณ์แบบโครงการหรือการสอนแบบโครงการ  เป็นวิธีการสอนหรือการจัดประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ในเรื่องที่เด็ก    สนใจ  เด็กกลุ่มเล็ก ๆ  หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน  เรื่องที่เด็กค้นหาข้อมูลนั้นควรเป็นเรื่องที่มีความหมาย    ต่อชีวิตของเด็ก  การสอนแบบโครงการเป็นการบูรณาการความรู้ต่าง ๆ  ทั้งภาษาไทย  คณิตศาสตร์    วิทยาศาสตร์   ภาษาอังกฤษ  ประวัติศาสตร์  ฯลฯ  จุดเด่นของโครงการคือ  การพยายามของเด็กที่จะ     ค้นหาคำตอบจากเรื่องที่เด็กสนใจ  เด็กจะได้มีโอกาสวางแผนการสืบค้นด้วยตนเอง  โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ       และเป็นที่ปรึกษาของโครงการ ครูถือว่าเป็นผู้อำนวยการในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอน นำไปสู่ความสำเร็จ  การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ความเป็นมาของการจัดประสบการณ์แบบโครงการเกิดขึ้นและเป็นที่รู้จักกันในอเมริกา   เป็นการเรียนรู้จากการกระทำ  และมีลักษณะเหมือนกันกับการศึกษาแบบ  Open  Education  ฉะนั้นจึง ไม่ใช่ของใหม่ในการจัดการเรียนการสอน  หลักของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ให้ความสำคัญกับผู้เรียน  การจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของเด็กเป็นหลัก  เป็นการสืบเสาะแสวงหาคำตอบของเด็ก  โดยคำนึงถึงกระบวนการแสวงหาคำตอบ มากกว่า  คำตอบที่ถูกต้อง  สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องตระหนักไว้  คือ  การทำโครงการ        ไม่สามารถทดแทนหลักสูตรทั้งหมดได้  สำหรับเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์  งานโครงการไม่แยกเป็นรายวิชาแต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน สำหรับการจัดทำโครงการของเด็กปฐมวัยต้องการความช่วยเหลือจากครูเป็นอย่างยิ่ง  ครูต้องคอยชี้แนะและเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำโครงการ  เวลาที่ใช้ในการจัดทำโครงการ  อาจใช้หลายวัน  หลายสัปดาห์  หรือสัปดาห์เดียว  ซึ่งขึ้นอยู่กับความ   สนใจของเด็ก  อายุ    และหัวเรื่องของโครงการ  การจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยทั่วไปมี  3  ระยะ  พอจะกล่าวคร่าว  ๆ  ได้คือ

                ระยะเริ่มต้นโครงการ  โดยการสังเกตความสนใจของเด็ก  หรือเด็กกำหนดหัวข้อโครงการ

                ระยะพัฒนาโครงการ  เป็นระยะที่เด็กกำหนดปัญหาที่จะศึกษา  ตั้งสมมติฐานเบื้องต้น  ทดสอบสมมติฐาน  ตรวจสอบผลการทดสอบสมมติฐาน

                ระยะรวบรวมสรุป  สิ้นสุดความสนใจ  โดยการนำเสนอผลงาน  สิ้นสุดโครงการและกำหนดโครงการใหม่

 

 

                ขั้นตอนที่กล่าวทั้ง  3  ระยะ  นั้นเริ่มจากระยะเริ่มต้นโครงการหรือทบทวนความรู้  ความสนใจ  ระยะพัฒนาโครงการหรือเป็นระยะให้เด็กค้นคว้า มีประสบการณ์ใหม่ และระยะสรุปโครงการหรือทบทวนความรู้  สะท้อนกลับ  แลกเปลี่ยนโครงการ  เพื่อนำไปสู่การเริ่มโครงการใหม่  สิ่งที่สำคัญในการจัดประสบการณ์แบบโครงการ  คือ  เด็กได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา  ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง  ๆ  ได้ฝึกการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง  ๆ  จึงนับได้ว่าการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับเด็กปฐมวัยมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง

หมายเลขบันทึก: 307492เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นางสาวมณฑาทิพย์ แสงอินทร์

ดิฉันเห็นด้วยกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพราะการทำโครงการของเด็กปฐมวัย เป็นโครงการง่ายๆไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นกิจกรรม ที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสคิด ค้นคว้าหาคำตอบ ใช้คำถามหรือลงมือทำเพื่อให้ผลงานสำเร็จ โดยครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างเป็นขั้นตอนและได้แสดงความคิดเห็นในการทำโครงงานนั้นๆ ครูจึงจำเป็นต้องมีความสามารถ มีทักษะในการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็กให้มีประสิทธิภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท