สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ ได้จัดโครงการ KM Award : KM Forum นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมความรู้นวัตกรรมทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการจัดการความรู้และเป็นเวทีให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งในและภายนอกสังกัดกรมการแพทย์ ได้นำเสนอผลงานการจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่ๆ จากเรื่องราวของความรู้ที่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งน่าสนใจหลายเรื่อง บางเรื่องเป็นความรู้ที่ต่อยอดจากปีที่แล้ว บางเรื่องก็เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
1. การเยี่ยมชมบูทการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีความรู้จากบูทมากมายให้แวะเยี่ยมชม ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าจากปีที่แล้วอย่างมาก ส่งผลให้กระแสลมพัดพาความรู้ทั้งTacit Knowledge และ Explicit Knowledge อบอวลไปทั่วงาน
2. ภาพบรรยากาศของงาน มีคนบอกว่า...หนึ่งภาพ...สามารถบอกเล่าได้มากกว่าการบรรยาย ซึ่งภาพนี้มีหลายบรรยากาศ... กลัวว่าถ้าบรรยายแล้ว จะไม่เท่าคำบอกเล่าของภาพ..เล่าเรื่องเอง
3....สามัคคีกันจับ?.... ฟ้องด้วยภาพ...!!!! ...นวัตกรรมนี้ของสถาบันพยาธิ เป็นเต้านมเทียมเพื่อการศึกษาและเพื่อฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมเพื่อหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งมีมากมายหลายลักษณะ...ลองจับดู...ซิ...ครับท่าน......
4. Walk Rally ….Walk Rally เพื่อการเรียนรู้ ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี บูทนี้เป็นบูทที่น่ารัก เนื่องจากมีเด็กน้อยน่ารักอยู่หน้าบูทและมีการนำเสนอ Walk Rallyที่น่าสนใจมาก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและผู้ให้บริการมีผลงานที่มีคุณภาพ การพัฒนาความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้ร่วมกันและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ถูกต้องและเพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติทางการพยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลใหม่ ได้เข้าถึงความรู้ที่สำคัญได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งง่ายต่อการจดจำ ซึ่งมีกลยุทธ์ในการเรียนรู้ 9 ฐานซึ่งมีการจำลองรูปแบบการปฏิบัติงานจริง คิดสร้างสรรค์วิธีการถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัติจากคู่มือ Patient Safety Goals mให้ผู้ร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกและมีความสุขในการเรียนรู้
5. สถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาค ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ(ผ้ารอง BP Cuff และสงวนสิทธิ์การไหลเพื่อความปลอดภัยของคุณ หรือกล่องดวงใจ)ศูนย์มะเร็งฯชลบุรี(การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในผู้ป่วยเป็นมะเร็ง และการดูแลด้านโภชนา) ศูนย์มะเร็งฯลพบุรี(การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ) ศูนย์มะเร็งฯอุบลราชธานี(การจัดการความรู้: การพัฒนาระบบบริหารยาเคมีบำบัด) ศูนย์มะเร็งฯอุดร(แบบแผนการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบายน้ำดีผ่านทางหน้าท้องแบบองค์รวม) ศูนย์มะเร็งฯสุราษฏร์ธานี(KM ..เรื่องเล่า..เร้าความคิด...พิชิตปวด) ได้นำนวัตกรรมด้านการจัดการความรู้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรพ.ในสังกัดกรมการแพทย์ ซึ่งก็มีความน่าสนใจแตกต่างกันไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดประโยชน์ในการพัฒนางานทั้งสิ้น
6. เตือนความจำ ...ส.ว... บูทนี้ของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมการเตือนความจำผู้สูงวัย (ส.ว.) เป็นบูทที่มีสิ่งจูงใจมากมาย ที่นำใช้เพื่อฟื้นความทรงจำและพัฒนาสมองของผู้สูงวัย แต่ละอันสนุกสนาน
7. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมิตรภาพ จากภาพจะเห็นว่าแต่ละบูทได้มีมิตรภาพเกิดขึ้นระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัย พี่ซัก น้องถาม กัลยาณมิตรตอบ ซึ่งการเรียนรู้ที่เริ่มจากการเปิดใจในการเรียนรู้นี้ เป็นการเรียนรู้ที่ธรรมชาติที่สุดและเกิดความประทับใจ
8. การติ-ชม- พัฒนาต่อยอด บูทที่ดึงดูดความสนใจและมีเพื่อนๆแวะมาติ-ชม –ลูบ-คลำ เต้านมปลอมสาธิตกันมาก พร้อมซักถาม แนะนำ และลองฝึกปฏิบัติดูจึงเห็นข้อบกพร่อง ทำให้เกิดโอกาสการพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้อีก เช่นการลองคลำหาก้อนที่ผิดปกตินั้น ตัวยางพาราที่ใช้มาเป็นหุ่นให้คลำนั้นมีความหนาไปหน่อย เวลาลองกดหาก้อนผิดปกติจึงต้องใช้แรงมากและพลาดโอกาสเจอในหลายจุด จึงสอบถามวิธีการทำว่าถ้าทำให้บางกว่านี้อีกได้ไหม? จะทำให้ใกล้เคียงกับผิวของมนุษย์และสมจริงมากขึ้น ซึ่งคุณมณเฑียร บุญยืน บอกว่าสามารถทำได้และจะลองพัฒนาใหม่ในครั้งต่อไปและสามารถประยุกต์ใช้วัสดุอื่นมาใช้ได้และยังเปิดโอกาสให้มาเรียนรู้ที่สถาบันได้
อีกบูทก็คือการทำตระกร้าครอบมือของรพ.เลิดสิน ซึ่งคนทำได้เล่าให้ฟังว่า มีญาติคนไข้เห็นตระกร้า จึงคิดและนำผ้ามาหุ้มตระกร้าให้ดูสวยงามและน่าใช้และยังทำมาเผื่อคนไข้อื่นๆอีกด้วย ดังนั้นจึงได้นำมาปรับใช้กับคนอื่นๆในตึกผู้ป่วยและได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นชนิดอื่นๆได้อีก ดังนั้นการติ – ชม เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการพัฒนา
9. บูทที่ชอบ คือบูทเตือน..ความจำของ...ส.ว.. (สูงวัย) ซึ่งมีกิจกรรมให้เล่นเกมกันลืม(ย้อนยุคในอดีต) ให้ฝึกสมอง โดยใช้เกมเป็นสื่อเช่น การต่อครอบครัวหมูมี5 ตัว ให้เรียงซ้อนๆกันให้ได้ทุกคน หมูน่ารักมาก...ขนาดไม่ถึงขั้น ส.ว. ยังทำไม่ได้..ได้แต่ลุ้น..มีเกมลืมกินข้าวด้วย ว่ากันว่าถ้าทำไม่ได้ก็จะไม่ได้กินข้าว ยอมอดว่างั้น...ซึ่งก็สนุกสนานมาก
บูท รพ.เลิดสิน พี่พยาบาลประจำบูทน่ารักมาก คุยสนุกและกรุณาเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของนวัตกรมได้อย่างน่าประทับใจ และยังได้สาธิตนวัตกรรมนั้นๆกับผู้เยี่ยมชม ทดลองรัดข้อมือบ้าง ใส่ตระกร้าคลอบมือบ้าง สนุกสนาน อีกทั้งได้เล่าถึงเหตุจูงใจในแต่ละนวัตกรรมให้ฟังอย่างเป็นกันเองมากๆ จนสุดท้ายบอกขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหน่อยค่ะ..สองสาวอารมณ์ดีพร้อมใจกันยิ้ม...สวย..มาให้ชมกัน
10. บูทที่ประทับใจ คือ Walk Rally ซึ่งเป็นบูทที่เนื้อหอมมาก จัดบูทได้สะดุดตา เนื่องจากมีน้องหนูคู่แฝดน่ารักมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วยและขนเครื่องมืออุปกรณ์ประจำฐานต่างๆมากมายหลายชิ้นมาให้ชมและมีพี่ๆStaff มาเล่าถึงวิธีการทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจ มีความกระตือรือร้นกันทั้งทีม ดูอบอุ่นจริงใจและน่าประทับใจ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบ แนวคิดและวิธีการทำงานระหว่างกันด้วย ผึ้งงานได้แวะมาเยี่ยมหลายรอบเนื่องจากเรื่องราวน่าสนใจและคิดว่าจะนำไปปรับใช้กับหน่วยงานที่ทำ
11. บูทที่อยากเรียนรู้ บูทแรกคือการใช้โปรแกรม e-Learning ในการเรียนรู้และการนำเสนองานของรพ.ราชวิถี ซึ่งใช้โปรแกรม Camtasia Studio ซึ่งต่อยอดมาจากของปีที่แล้ว มีทั้งภาพผู้นำเสนอและเสียงและฉาย Power point ไปพร้อมๆกัน โดยไม่อาศัยอุปกรณ์อื่นให้ยุ่งยาก ซึงมีประโยชน์และข้อดีคือสามารถนำไปเป็นสื่อการสอนซ้ำๆกันได้รวมถึงการประชุมConference ได้ โดยใช้โปรแกรมเดียวในการนำเสนอและลดเวลาในการทำงานและสามารถเก็บเป็นองค์ความรู้ในอนาคตได้ แต่เสียดายยังไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้นำโปรแกรมไปใช้ ยังจำกัดเฉพาะคนในองค์กร
งานบุคคลวัดไร่ขิง ได้พัฒนาโปรแกรมคลังความรู้ เรื่องพัฒนาบุคลากร ทำให้สามารถเรียกดูข้อมูลของบุคลากรว่าไปอบรมที่ไหนมาแล้วบ้าง เรื่องอะไร เมื่อไหร่ ใช้งบประมาณไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในเรื่องการพัฒนาบุคลากรและการวางแผนการเพิ่มพูนศักยภาพให้บคุลากรได้ตามตัวชี้วัดและมีหน่วยงานมากมายมาศึกษาดูงานซึ่งเป็นอีกหนึ่งบูทที่น่าศึกษาและเรียนรู้มาก
ผึ้งงานรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสได้มาเป็นส่วนหนึ่งของงาน KM Awards : KM Forum 2009 ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะจัดงานไกลไปบ้างถึงรังสิต แต่ก็ได้รับความรู้มากมายรวมถึงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานอื่นๆอีกทั้งได้แนวคิดและมุมมองมากมายเพื่อมาปรับใช้ในการพัฒนางาน ต้องขอบคุณ KM Awards : KM Forum ที่ทำให้คลื่นความรู้กระจายไปทั่วงานและประทับใจในสายสัมพันธ์ KM กรมการแพทย์
สวัสดีค่ะครูธนิตย์
ผมว่าการศึกษาดูงานนิทรรศการ หัวใจอยู่ที่ตรงนี้ครับ
7. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมิตรภาพ จากภาพจะเห็นว่าแต่ละบูทได้มีมิตรภาพเกิดขึ้นระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัย พี่ซัก น้องถาม กัลยาณมิตรตอบ ซึ่งการเรียนรู้ที่เริ่มจากการเปิดใจในการเรียนรู้นี้ เป็นการเรียนรู้ที่ธรรมชาติที่สุดและเกิดความประทับใจ
8. การติ-ชม- พัฒนาต่อยอด
ส่วนใหญ่(ในวงการศึกษาจากมุมมองของผมเอง) จะไม่ค่อยมีกัน ถ้ามีสองข้อนี่ เป็นการศึกษาดูงานที่มีความสมบูรณ์มากเลยครับ
ขอชมและขอเชียร์ครับ
สวัสดีค่ะอาจารย์small man