๑๗๙.การลอกผลงานวิจัยผู้อื่น (ตอน 2)


การใช้กฎหมายและกระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาและลงโทษเรื่องการลอกเลียนผลงานวิจัยต้องมีการใช้ อย่างรอบคอบ เพราะจะทำให้การพัฒนาของประเทศที่กำลังพัฒนานั้นทำได้ยาก
      ในกระบวนการของการทำวิจัยประกอบการเรียนของนักศึกษาจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาทำ หน้าที่ควบคุมดูแลกระบวนการทำวิจัยอย่างใกล้ชิด มีหน้าที่และความรับผิดชอบให้คำแนะนำที่ถูกต้องดีงามทั้งทางด้านกฎหมาย จริยธรรม ศีลธรรม มารยาท จรรยาบรรณ กฎ ข้อบังคับต่างๆ ที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการและกระบวนการของการทำผลงานวิจัยที่ถูก ต้อง ดังนั้นกระบวนการของการทำวิจัยจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าผลของการวิจัย อาจารย์ ที่ปรึกษาต้องปลูกฝังค่านิยมของกระบวนการทำงานวิจัยที่ดีงามให้กับลูกศิษย์ ของตนด้วย และเมื่อมีข้อสงสัยเรื่องการลอกเลียนผลงานวิจัยเกิดขึ้น อาจารย์ที่ปรึกษาควรรับผิดชอบทำหน้าที่ชี้แจงให้กับนักศึกษาของตนด้วย.  ในกระบวนการของการทำวิจัยนั้นประกอบด้วยหลายขั้นตอน มีบางขั้นตอนที่หมิ่นเหม่ต่อการถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนผลงานวิจัยของผู้อื่น เช่น ขั้นตอนในบทที่ 2 เป็นขั้นตอนที่ต้องศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือไปศึกษาผลงานของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงแล้วมารวมรวมเรียบเรียง ไว้ตามแบบแผนของการเขียนรายงานวิจัยที่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของ ข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ไปศึกษามา ถ้าทำผิดแบบแผนของการเขียนรายงานการวิจัยจะเข้าข่ายการ “ลอก” หรือ “ลอกเลียน” ได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นทั้งการลอกเลียนทางกายภาพ คือ ลอกคำพูด ภาษาที่ใช้ และลอกเลียนแนวคิดและวิธีการหรือกระบวนการวิจัย แต่ถ้ามีการอ้างอิงและเขียนรายงานการวิจัยตามแบบแผนที่กำหนดไว้ ข้อกล่าวหาการลอกเลียนจะหมดไปทันที การ ศึกษาผลงานของผู้อื่นแล้วมาศึกษาต่อหรือปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการได้มาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าขาดการศึกษาจากผลงานของคนอื่นที่ได้ศึกษามาก่อนแล้วและได้สะสมเป็นองค์ ความรู้ไว้เพื่อชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาต่อๆ ไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มนุษยชาติเจริญกว่าสัตว์ การเริ่มต้นคิดใหม่ทุกเรื่องในช่วงชีวิตของมนุษย์นั้นบางเรื่องไม่สามารถ ทำได้ด้วยเวลาที่จำกัดของชีวิตมนุษย์ การศึกษาต่อเนื่องจากบรรพชนหรือคนที่เคยศึกษามาก่อนแล้วจึงเป็นการช่วยให้ ได้มาซึ่งความรู้ที่ลุ่มลึกเกินกว่าที่มนุษย์คนเดียวในช่วงชีวิตหนึ่งจะ ทำได้ ซึ่งการดำเนินการศึกษาค้นคว้าวิจัยตามแบบแผนการวิจัยนี้ แตกต่างจากการลอกเลียนผลงานผู้อื่นเอามาเป็นของตัวเอง ซึ่งการลอกเลียนผลงานผู้มาอื่นเป็นผลงานตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ควรประณาม อย่างยิ่ง


                             โดย รศ.ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ : http://www.thairath.co.th/content/edu/39132

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 306527เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ krutoiting

ขอบคุณที่มาร่วมแสดงความเห็นค่ะ

 

สิ่งที่ไม่น่าให้อภัยก็คือ คนที่เป็นอจ.มหาวิทยาลัยที่ไปเรียนระดับปริญญาเอกแล้วกลับไปลอกงานหรือเที่ยบเคียงงานโดยไม่กล้าแม้จะอ้างอิงเพื่อเป็นเกียรติกับเจ้าของงานที่ทำมาก่อน แล้วจะไปสั่งสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร ..... อจ.ที่ปรึกษางานวิจัยที่ควบคุมนั้นอาจจะเชื่อใจศิษย์ผู้นั้นจนเกินไป(บางทีอาจจะเห็นว่าอยู่มหาวิทยาลัยเหมือนกัน) ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจเครื่องมือในการวิจัย ส่วนใหญ่ท่านก็อาจจะได้ฉบับย่อจึงไม่ทราบรายละเอียด เครื่องมือที่ใช้วัดซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ ก็ไม่ทราบว่านำมาใช้ได้อย่างไร และก็ไม่ใช่้ฉบับจริง นั่นก็คือใช้ของที่แอบคว้ามาแทบทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้วแบบวัด(inventory) เป็นลิขสิทธิ์นั้นจะตีพิมพ์ออกมาในปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ก็ไม่น่าจะได้(ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์เขาไม่ยอม ....หรือนิสิตผู้วิจัยนำมาให้อจ.ที่ปรึกษา ..แต่อจ.ที่ปรึกษาก็ไม่สามารถที่จะนำไปให้ผู้อื่นใช้ต่อได้เพราะเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะงานเฉพาะตนเท่านั้น......ถ้าเราไม่เคยสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองก็คงไม่ทราบถึงความสาหัสที่กว่าจะได้ อะไรมาสักอย่างแม้แต่วรรณกรรมที่จะเขียนได้อย่างสระสรวยสักหน้า นั้นก็ไม่ง่ายนัก ไม่มีทางจะพรั่งพรูออกมาได้ภายในวันเดียวหรอก แค่หน้าเดียวบางทีต้องเป็นเดือน ๆ ก็ยังมี กว่าจะกลั่นกรองอะไรออกมาได้อย่างชัดแจ้ง .....

........... เมื่อค่านิยม วัฒนธรรม จรรยาบรรณเหล่านี้ไปอยู่ในคนที่เคยลอก....มาก่อนก็อาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดา...หรือมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร...เพราะเขาไม่เคยสร้างสรรค์งานด้วยตนเอง เขาไม่รู้จักความเหนือยยากลำบากกายลำบากใจ...ซึ่งอยากจะเรียกว่าเป็นการคอรัปชั่นอย่างหนึ่งของสังคมที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง... เพราะเขาเหล่านั้นมักจะขาดสิ่งสำคัญ ๆ ในการเรียนระดับสูง ๆ เช่นข้อจำกัดในเรื่องภาษา ข้อจำกัดในเรื่องสมอง ข้อจำกัดในเรื่องเวลา ผนวกกับวัฒนธรรมที่ตนเองซึมซับมา... ซึ่งในระดับป.โท ยังพอที่จะมองได้ว่ายังเพิ่งเริ่มต้นของการทำวิจัย การทำผลงาน แต่ในระดับที่สูงกว่า ป.โท...และอยู่ในสถานะที่ต้องควบคุมงานนิสิตต่อไปในอนาคตนี่สำคัญที่สุึด

..... ที่ยังน่าชื่นชมก็คือ ในเวบไซด์บางแห่งที่นำงานไปลงต่อเพื่อเป็น reference สำหรับงานของเขา เขายังอ้างอิงแหล่งที่มาให้ว่ามาจาก url ใด ใครเป็นคนเขียน....

.......... ขอประทานโทษที่อาจจะไปกระทบความรู้สึกของใครบางคน...แต่ถ้าได้นึกถึงคนที่ถูกคัดลอกผลงาน(ที่สร้างมาด้วยความยากลำบาก..ที่ไม่ใช่ไปลอกเขามาก่อนหน้านี้นะอย่างนั้นคงไม่รู้สึกอะำไร...)

  • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ค่ะ คุณ Cybergogy
  • ขอบพระคุณที่มาเพิ่มเติมบันทึกให้ชัดเจนและแจ่มชัดยิ่งขึ้นค่ะ
  • คนตั้งใจจริงทำด้วยตนเองจริงๆ แถมทำถูกต้องกับหลักการ แม้จะเป็นปฐมภูมิ
  • สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้กำลังใจ ที่มีความอตสาหะ มานะ มุ่งมั่น
  • ส่วนผู้ที่ทำตนน่ารังเกียจแบบที่ท่านกล่าวมา สมควรที่จะประณาม มิควรมองข้ามจุดนี้..
  • "สิ่งที่ไม่น่าให้อภัยก็คือ คนที่เป็นอจ.มหาวิทยาลัยที่ไปเรียนระดับปริญญาเอกแล้วกลับไปลอกงานหรือเที่ยบเคียงงานโดยไม่กล้าแม้จะอ้างอิงเพื่อเป็นเกียรติกับเจ้าของงานที่ทำมาก่อน แล้วจะไปสั่งสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร"
  • บอกได้คำเดียวว่า.. "เศร้า" ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท