ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>หลักการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น


บุคคลอื่น

                                          

                                หลักการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น

วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
- ศรัทธา : เชื่อใจ ไว้วางใจ

- วิริยะ : พากเพียร แข็งใจ กัดฟัน อดทน ทำจนสำเร็จ

- สติ : ระมัดระวัง ฉุกคิด ไม่เผลอ รู้ตัวตลอดเวลา

- สมาธิ : จดจ่อกับงานที่ทำ ไม่วอกแวก

- ปัญญา : พิจารณาใคร่ครวญ ว่าสิ่งใด ควรทำ/ไม่ควรทำ สิ่งใดต้องทำมาก่อน/หลัง

กาลามสูตร
1. ฟัง :อย่าเชื่อโดยการฟังบอกต่อกันมา

อย่าเชื่อตามการรับฟังต่อๆกันมา เช่นคนนี้ว่าอย่างโน้น คนโน้นว่าอย่างนี้ จงใคร่ครวญด้วยปัญญา

2. สืบ : อย่าเชื่อว่าเป็นการทำตามสืบๆ กันมา

อย่าเชื่อตามการกระทำตามๆสืบๆกันมาต้องพิจารณาว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการเพิ่มหรือลดปัญหา ถ้าเพิ่มปัญหาก็ไม่ต้องทำให้เสียเวลา เช่น แฟชั่นต่างๆ พิธีกรรมต่างๆ ที่งมงายไม่มีเหตุผล

3. ลือ :อย่าเชื่อตามเสียงเล่าลือ

อย่าเชื่อตามการเล่าลือ ข่าวโคมลอย เขาว่าอย่างโน้น เขาว่าอย่างนี้ หรือแบบกระต่ายตื่นตูม ตัวเองโง่คนเดียวไม่พอ ทำให้คนอื่นพลอยโง่ไปด้วย ต้องระวังให้มาก เช่น หมอดู เจ้าแม่ เจ้าพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ เครื่องลางของขลัง พระเครื่อง โดยมากจะมีหน้าม้าคอยโฆษณาชวนเชื่อ

4. ถือตำรา : อย่าเชื่อตามตำรา

อย่าเชื่อเพราะมีเหตุเพียงว่ามีอ้างไว้ในตำรา เพราะนั่นเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ดังนั้นในทฤษฎีที่อ้างไว้ในตำรานั้นให้ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติดูว่าผลลัพท์ที่ได้เป็นไปตามที่อ้างไว้ในทฤษฎีหรือไม่

5. ว่าคาดเดา : อย่าเชื่อตามเหตุผล/ตรรกะ /แนวโน้ม สถิติ

อย่ายึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เข้าใจเอาเอง เดาสุ่ม มั่วๆเอา

6. เหมาคาดคะเน : อย่าเชื่อตามการคำนวณ

อย่ายึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น เห็นแค่บางส่วนอย่าเหมาว่าทั้งหมดมันควรจะเป็นเหมือนกันหมด

7. โมเมตามอาการ :อย่าเชื่อด้วยการตรึกตามอาการ

อย่าเชื่อหรือรับเอามาเชื่อด้วยการตรึกเอาตามอาการ เพราะจะทำให้ถูกหลอก และเกิดกิเลสฟรีๆก็ได้ ดังนั้นต้องคิดเผื่อไว้บ้าง เช่น การแก้ปัญหาก่อนหน้านี้เคยแก้ได้ด้วยวิธีนี้ พอมาเจอกับปัญหาเดิมๆแต่กาลเวลาไม่เหมือนเดิม อาจจะไม่สามารถใช้วิธีแก้แบบเดิมได้ก็ได้ อย่าเข้าข้างตัวเอง

8. สานความเห็นเรา : อย่าเชื่อด้วยเห็นว่าข้อความนั้นเป็นไปได้หรือเข้ากับความเห็นเรา
อย่าเชื่อด้วยเพียงสักว่า ข้อความนั้นมันเป็นได้ หรือเข้ากันได้กับความเห็นของตัวเรา เพราะตัวเรานั้นยังมีกิเลสอยู่ จึงไม่บริสุทธิ์ ต้องถือตามกฎธรรมชาติเป็นหลัก จึงไม่เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ คือ ถ้ามีกิเลสแล้วตัวต้องเป็นทุกข์ทั้งนั้น แต่ถ้ามีธรรมแล้ว จิตจะไม่เป็นทุกข์ นี้เป็นกฎธรรมชาติที่ตายตัวแน่นอน และไม่เปลี่ยนแปลง พระพุทธเจ้าทรงนำมาเปิดเผยขึ้นในโลก

9. เขาน่าเชื่อถือ : อย่าเชื่อว่า ผู้พูดเป็นผู้มีลักษณะน่าเชื่อถือ

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้

10. หรือเป็นครูเรา : อย่าเชื่อว่านี่คือครูของเรา

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้ 


 สรุป : สิ่งใดที่เป็นกุศล ขอให้เชื่อสิ่งนั้น สิ่งใดไม่เป็นกุศลสิ่งนั้นไม่น่าเชื่อ


คิดอย่างไรให้เกิดปัญญา / ประสบความสำเร็จ

- สุตมยปัญญา (Open Heart) : เปิดใจรับฟัง เก็บเกี่ยวข้อมูล

- จินตมยปัญญา (Open Mind ) : นำข้อมูลไปพิจารณาขบคิด ด้วยทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นองค์ความรู้ขึ้นมา

- ภาวนามยปัญญา (Open Will) : นำองค์ความรู้นั้นไปปฏิบัติ ทดลองให้เห็นจริง

โยนิโสมนสิการ
หมายถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคายหรือการคิดเป็น ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป

1. คิดถูกวิธี : เลือกวิธีการศึกษาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเรื่องนั้น จำแนกแยกประเด็นให้ชัดเจน พิจารณาลงในรายละเอียด มีสติรู้ตัวทันปัจจุบัน

2. คิดอย่างมีระเบียบตามขั้นตอน : คิดต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ ไม่กระโดดไปกระโดดมา มีเป้าหมายชัดเจน

3. คิดอย่างมีเหตุผลเชื่อมโยง : คิดมีเหตุผลรู้เท่าถึงการณ์ เห็นผลแล้วรู้ว่ามาจากเหตุอะไร มองภาพรวมทั้งระบบไม่ด่วนสรุป ดูผลระยะยาว

4. คิดอย่างเป็นกุศล : หาส่วนดีมาทำประโยชน์ นำส่วนดีไปใช้ สร้างความหวังและให้กำลังใจ กระตุ้นเตือนตัวเอง

การแก้ปัญหาเบื้องต้น

- มองจากใกล้ไปไกล : เช่น เมื่อเกิดปัญหาที่ขบวนรถ ให้เรามองปัญหาโดยพิจารณาจากพื้นที่บริเวณใกล้ตัวก่อนคือ Driver Desk ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้มองไปที่แผงหลัง A-Car Control Panel เพื่อตรวจสอบไฟแสดงผลทั้งไฟสีแดง (Fault) และสีเหลือง (Status) ตรวจสอบ Circuit Breaker ด้วย จากนั้นให้ตรวจสอบต่อไปยังไฟข้างรถ Local Lamp เพื่อยืนยันความผิดปกติของตู้นั้นๆ ถ้าเป็นเรื่องของประตูให้ตรวจสอบต่อไปยังไฟตาแมว Fault Lamp ของประตู้นั้นๆ ต่อไป

- แก้จากง่ายไปยาก : เช่น เมื่อเกิดปัญหา Circuit Breaker Trip ให้ลองพยายามยกขึ้นดูก่อน ถ้ามันตกลงมาอีก ก็ให้ทำตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป หรือถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับประตู ก็ให้ลองเปิด-ปิด ประตูนั้นๆดูก่อน ถ้าไม่หาย ก็อาจไปล็อคประตูนั้นๆตามขั้นตอนต่อไป

                                              

คำสำคัญ (Tags): #หลักการ
หมายเลขบันทึก: 305892เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท