นักวิจัยในท้องทุ่ง : อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม


ทำ - เก็บข้อมูล - เรียนรู้ - สรุปบทเรียน ฯ จนได้สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง

        จากบันทึกที่แล้ว ไปดูชาวนาลดต้นทุนการทำนา ด้วยการไม่ไถ-ไม่หว่าน บันทึกนี้ขอนำเรื่องราวของชาวนาในจังหวัดกำแพงเพชรบางรายที่ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรชั้นแนวหน้า  ที่เราคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ หรือเป็นครูติดแผ่นดินข้าว ที่พลิกแพลงหาวิธีทำนาที่ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อความอยู่รอด โดยพึ่งพิงธรรมชาติและภูมิปัญญาของตนเองให้มากที่สุด  แม้ว่าจะยังไม่ถึงกับเป็นข้าวอินทรีย์ แต่ก็ปลอดภัยและ

  • ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ใช้สารธรรมชาติมาทดแทน

  • ไม่เผาฟางข้าว

  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง

  • ผลิตปัจจัยการผลิตบางอย่างด้วยภูมิปัญญาของตนเอง

  • และลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ลง

          ในประเด็นของการลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์นี้  ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้นำเหล่านั้นหลายท่านเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา  พบเห็นแล้วทึ่งในแนวคิดและการที่เกษตรการเหล่านั้นไม่เคยหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ในแปลงนา ด้วยการทดสอบทดลองเกี่ยวกับอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในแปลงนาของตนเอง  จะเรียกว่าเป็นการทำวิจัยในแปลงนาก็ว่าได้ แต่เป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นธรรมชาติ  อยู่ในวิถีชีวิต และมีผลได้ผลเสียกับการวิจัยนี้ เอารายได้และผลผลิตของตนเองเป็นตัวชี้วัด  จะเรียกอีกอย่างว่างานวิจัยนี้เกิดจาก "คนใน" อย่างแท้จริง

         องค์ความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับอัตราเมล็ดพันธุ์ ที่เหมาะสมในการหว่านของการทำนาในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างนี้ (จากโครงการขยายผลและลดต้นทุนการผลิตข้าว : กรมส่งเสริมการเกษตร) อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 20 - 25 กก.ต่อไร่)  และหากนำไปแนะนำเกษตรกรที่ทำนาหว่านน้ำตน  เกือบร้อยทั้งร้อยจะหัวเราะแล้วบอกว่าเขาใช้กัน  30 กก.ต่อไร่เป็นอย่างต่ำ

         ตัวอย่างของเกษตรกรต้นแบบทั้ง  2  ท่าน  และใน 3 แปลงนาที่จะนำเสนอต่อไปนี้  เป็นของจริงที่ทำโดยเกษตรกร  ในสภาพการผลิตตามปกติของเกษตรกร ที่ได้ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ลง  จนคิดว่าได้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะใช้หว่านในแปลงนาของตนเอง คือ


ครูถวิล  ศรีวัง

        เป็นเกษตรกรต้นแบบ (ครูติดแผ่นดินข้าว) ของอำเภอคลองขลุง  จังหวัดกำแพงเพชร  ทำวิจัยในแปลงนาจนได้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับแปลงนาของตนเอง  ที่ 20 กก.ต่อไร่  และใช้อัตรานี้ทุกแปลงมาหลายฤดูแล้ว  ได้ผลผลิตข้าวที่ดี และไม่ต่ำกว่าเดิม(ที่ใช้ในอัตราการหว่านที่มากกว่านี้)

  • แปลงที่ 1  พื้นที่ประมาณ 10 กว่าไร่


ครูถวิล  ศรีวัง กับนาแปลงที 1

 


อัตราการหว่าน 20 กก. ต่อไร่


  ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 1,050 กก.ต่อไร่

  • แปลงที่ 2  ของครูถวิล  ศรีวัง    ใช้อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเดียวกันคือ 20 กก. ต่อไร่

     
ต้นข้าวไม่แตกต่างกับที่เคยหว่านในอัตราที่สูงกว่านี้

 


          ครูวิชาญ  การภักดี

          เป็นเกษตรกรต้นแบบ (ครูติดแผ่นดินข้าว) ของอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร  ทำนาประมาณ 30 ไร่  ได้แบ่งพื้นที่การทำนาออกเป็น 2 ส่วน  และใช้อัตราการหว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แตกต่างกัน คือ

  • แปลงที่ 1 หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 25 กก. ต่อไร่

  • แปลงที่ 2 หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 15 กก. ต่อไร่

         เหตุที่ต้องใช้ 2 อัตราก็เนื่องมาจากคนในครอบครัว(ผบ./แม่บ้าน)ไม่เห็นด้วยที่จะลดการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ลงเหลือเพียง 15 กก.ต่อไร่ จึงต้องแบ่งเป็น 2 แปลง

         หลังจากที่ปลูกไปได้ระยะหนึ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ปรากฏว่า แปลงที่ใช้อัตราเมล็ดพันที่น้อยกว่า...เสียหายน้อยกว่า (เพราะต้นข้าที่แน่ความชื้นสูง เพลี้ยฯ ชอบ)  เมื่อเพลี้ยจากไปเกษตรกรท่านนี้ไม่ได้ไถข้าวทิ้งเหมือนเกษตรกรรายอื่นๆ  ปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตต่อไป  ปรากฏว่าข้าวแปลงที่หว่านในอัตรา 15 กก. ต่อไร่ มีการเจริญเติบโตดีกว่า  จึงได้ข้อสรุปร่วมกันระหว่างครูวิชาญและแม่บ้านว่า ต่อไปแปลงนาของเราจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้หว่านคือ 15 กก. ต่อไร่เท่านั้น (ลดต้นทุนประมาณ 200 บาทต่อไร่ : เมล็ดพันธุ์ กก.ละ 20 บาท)

          มีภาพ (ข้อมูล) มายืนยันครับ  ภาพล่าง ครูวิชาญ (คนซ้ายมือ) คุณสายัณห์ และคุณสมเดช  ร่วมลงไปเยี่ยมแปลงนา

 


 25 กก.ต่อไร่(ซ้ายมือของท่านผู้อ่าน) และ 15 กก. ต่อไร่ (ทางขวามือของท่านผู้อ่าน)

 

 
ภาพเปรียบเทียบระหว่างแปลงที่ 1   และแปลงที่ 2 (อยู่ติดกัน)....ไม่แตกต่าง

 


ต้นข้าวสมบูรณ์และไม่ได้ห่างอย่างที่ชาวนาทั่วไปกังวล

 

       นอกจากดูต้นข้าวแล้ว  ยังได้เห็นมิตรชาวนาอยู่กันอย่างสันติสุข และมีอย่างมากมาย

 

 

 

 

 

         เป็นตัวอย่างหนึ่งของนักวิจัยในท้องทุ่ง  ที่ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จริงจากแปลงนา   ทำ - เก็บข้อมูล - เรียนรู้ - สรุปบทเรียน ฯ จนได้สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง  ซึ่งเส้นทางและวิถีการเรียนรู้จะมีบริบทที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่  

          ดังนั้นการที่จะนำไปต่อยอดหรือปรับเปลี่ยน แนะนำหรือส่งเสริมฯ ในพื้นที่ใดๆ ก็ตาม  ก็คงต้องหาวิธีการ รูปแบบที่เหมาะสม  อดทน  เพื่อที่จะได้ช่องทางหรือข้อมูลที่จะเป็นสิ่งยืนยันให้ได้มากที่สุด   เพื่อให้เพียงพอกับความเชื่อมั่นที่จะเกิดขึ้นของเกษตรกรแล้วส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนต่างๆ    เพราะงานส่งเสริมฯ และพัฒนานั้นไม่มีสูตรสำเร็จ....

 

 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก  10 ตุลาคม  2552

หมายเลขบันทึก: 304681เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ สิงห์ป่าสัก

  • กำลังทานข้าวเช้าพอดี
  • เรื่องนี้คือชีวิตของพวกเรา
  • ต้องชื่นชมเป็นกำลังใจให้คณะทำงาน
  • ขอให้ประสบความสำเร็จในเร็ววัน
  • ทานมื้อเช้าด้วยกันครับ

 

ทุ่งนาข้าวเขียวขจี มองกี่ครั้งกี่ทีก็สดชื่น

.. ชื่นชม ยินดีและเป็นกำลังใจกับวิถีทางธรรมชาติค่ะ

ท่านสิงห์ป่าสัก และเกษตรกรทุกท่านค่ะ

ชุมชนเข้มแข็งเป็นแรงผลักให้ไทยก้าวต่อไป ขอบคุณค่ะ

พี่ครับ

ผมได้รับหนังสือแล้ว

ขอบพระคุณมากครับ

เริ่มอ่านไปบ้างแล้ว ได้ความรู้มาก ผมนึกไม่ถึงเลยว่าความรู้เหล่านี้จะมาจากนักส่งเสริมการเกษตรที่เป็นข้าราชการครับ

ไว้อ่านจบจะขอเขียนถึงพี่สักบันทึกนะครับ

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาชื่นชมและให้กำลังใจผู้สร้างรอยยิ้มให้เกษตรกร

สวัสดีคุณสิงห์ป่าสัก ขอให้กำลังให้ท่านและนักส่งเสริมทุกคนด้วย ที่ทำงานกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ทำงานกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งอยู่บนข้อจำกัดของธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง แมลงลง โรคระบาด

ชาวนาแถวบ้านผมใจดีครับ หว่านข้าวเผื่อนก เผื่อหนู แล้วก็เผื่อไม่งอกอีก ก็เลยต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า 25 ก.ก.ต่อไร่ :)

ถ้าใช้เมล็ดพันธุ์ดี อัตรางอกสูง คงไม่มีความจำเป็นต้องหว่านข้าวในปริมาณมากขนาดนั้น (เปลืองตังค์)

...

ผมได้รับเอกสารที่ส่งไปให้แล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ

  • อยากจะเป็น นักวิจัยในท้องทุ่ง จัง
  • แต่เป้นไปไม่ได้เสียแล้ว
  • เห็นที ..จะเป็นได้ก็เพียง..
  • นักทดลอง.ปลูกข้าวในท้องสระ...อิอิ
  • สวัสดีครับคุณ poo
  • ท้องทุ่งมองเท่าไรก็มีความสุขนะครับ
  • เสียดายที่อาชีพทำนาคนไทยรุ่นใหม่เขาหมางเมิน
  • แต่เสี่ยต่างชาติกำลังจ้องตาเป็นมัน
  • ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะคิดได้เสียที
  • สบายดีนะครับ

 

  • สวัสดีครับพี่หนานเกียรติ
  • หนังสือเขียนจากประสบการณ์ของคนทำงานภาคสนามครับ
  • บางครั้งเห็นอะไร เรียนรู้อะไรก็อยากแลกเปลี่ยน
  • ขอบพระคุณที่ให้กำลังใจ
  • และขอบพระคุณ G2K ที่ให้โอกาสในหลายๆ อย่าง
  • จะรออ่านบันทึกพี่หนานเกียรตินะครับ
  • สวัสดีครับ คุณพิทักษ์
  • ไม่ทราบว่าเขียนนามสกุลท่านถูกหรือเปล่า
  • อิอิ..
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีครับท่าน สามสัก
  • อิอิ..
  • เราก็เป็นได้แบบครึ่งๆ กลางๆ ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

  • สวัสดีครับ นายเท่ เกษตร
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
สิทธิชัย ช่วยสงค์

* ขอบคุณมากครับ...สำหรับหนังสือ...ที่ดีครับ

* ได้รับวันนี้ครับ (13 ตค.52)

* เริ่มอ่านเลยครับ แต่ยังไม่หมดครับ

* จะเผยแพร่ให้เพื่อนสมาชิก คงไม่ว่ากันน่ะ

* ได้ข้อคิดดีๆ มากเลยครับ ...เป็นประโยชน์จริงๆ ครับ

  • สวัสดีครับคุณสิทธิชัย ช่วยสงค์
  • เป็นการแบ่งปันประสบการณ์
  • และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานแนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท