ผิดแผนกับธุรกิจการค้าริมชายแดนไทย-มาเลเซีย


ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมกับธุรกิจการค้าริมชายแดนไทย-มาเลเซีย เพราะจะเป็นการสร้างงานแก่คนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นการส่งสเริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกด้วย

วันนี้คล้ายจะเป็นวันว่างของผมแต่ผมก็คิดตั้งแต่เช้าว่ายังไงคำว่า "วันว่าง" ก็ไม่เคยบรรจุในสารบบของผู้ชายคนนี้ ก็เป็นอย่างที่คิดครับ


     ตั้งใจให้วันนี้เป็นวันเพื่อตัวเองสักวันครับความจริงก็ใช่ว่าว่างครับแต่อยากทำงานที่เป็นความรับผิดชอบของตัวเอง(แต่ก็เป็นงานชาวบ้านอยู่ดีครับ... อิอิ) คือ ได้รับความไว้วางใจให้ออกข้อสอบคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานหน่วยงานเอกชนหนึ่งครับ แต่ไปๆมาๆกลับกลายเป็นว่าก็ไม่เป็นไปตามแผนครับ เพราะมีงานด่วนเข้ามาครับ คือ ให้อ่านงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรีสาขามลายูศึกษา(นายนูรมาน  จินตารา...คนนี้เป็นผู้ช่วยวิจัยของผมในทุนวิจัยของ สทศ. และ สถาบันพระปกเกล้า รับผิดชอบงานมากครับและที่สำคัญเป็นลูกหลานศิษย์เก่าโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา อ.ยะหา จ.ยะลา นี่เองครับ) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่ได้ทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาธุรกิจการส่งออกและการนำเข้าไม้แปรรูปบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย: กรณีศึกษา บริษัท นราวู้ดแลนดิ์  จำกัด  อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส" ก็ทำให้เห็นมุมมองงานวิจัยชิ้นนี้อย่างหนึ่งครับว่า เมื่ออ่านงานวิจัยทางธุรกิจแล้วทำให้เราเห็นภาพอีกมุมนึงว่าการทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจังมันสะท้อนภาพมุมคิดที่มีชีวิตและเป็นจริงบางอย่างได้อย่างมีชีวิตชีวา คือ งานชิ้นนี้ทำให้รู้ว่าธุรกิจการค้าริมฝั่งชายแดนไทย-มาเลเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งชายแดนสุไหง-โกลก ถึงแม้สถานการณ์จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทางการค้าธุรกิจนึงครับในพื้นที่แห่งนี้ คือ ธุรกิจค้าไม้นำเข้า-และส่งออก ซึ่งอันนี้น่าสนใจครับว่าทำไมผลกระทบมันมีน้อยมากเมื่องานวิจัยชิ้นนี้ได้มีคนทำการศึกษามา อ่านไปอ่านมาก็ได้คำตอบครับว่าเนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะอยู่นอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และอีกหลายจังหวัดแม้กระทั่งกรุงเทพฯ

     และอีกประเด็นนึงที่น่าสนใจคือ โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT ) ก็มีบทบาทพอสมควรต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  โดยมีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น หลังจากมีโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT ) แล้วการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เริ่มขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก อันจะเห็นได้จากการพุ่งขึ้นของจำนวนบรรดาผู้ประกอบการต่างๆ หนึ่งในธุรกิจนั้นก็คือ การค้าไม้แปรรูปนำเข้าจากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทยโดยจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีบริษัทค้าไม้แปรรูปในอำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ 40 กว่าแห่ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปในทางที่ดีแต่อาจมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยจากจำนวนยอดขายสินค้า ซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจของโลกที่ไม่คงตัว โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้...


     เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายท่าน(หรือว่าไม่มีเลย) คงคิดเหมือนผมใช่ไหม๊ครับว่า...ทำไมธุรกิจการค้าบางอย่างถึงได้ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางมรสุมที่รุมเร้าต่อปัญหาในพื้นที่ อันนี้แหละครับที่เราควรมาหาคำตอบร่วมกันเพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเป็นการสร้างงานให้ก่อเกิดขึ้นแก่ประชาชนในพื้นที่อีกทางนึง...วัลลอฮฺอะลัม

 

         งานเข้าทั้งวันครับ...ติวจนมึน วันนี้มีคนให้ติวข้อสอบแกท( GAT )ที่จะสอบพรุ่งนี้เยอะมากครับ ทั้งมากับพี่ชาย ทั้งมากับเพื่อน แล้วคนที่พามาก็ล้วนเกรงใจทั้งนั้นครับ นี่ถ้าัจัดโครงการติวคงได้หลายคนมากกว่านี้จะได้ช่วยเหลือเยาวชนเราอย่างทั่วถึง แต่เสียดายวางแผนไม่ทันครับ อิอิ เพราะไปหลายที่เกินครับเลยรู้สึกไม่ไหวกับหลายๆที่ที่พลาดไป

        "แค่ผู้ชายเดินดินกับกลิ่นไอความเป็นสาธารณะ" จริงๆครับ...

หมายเลขบันทึก: 304535เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เข้าใกล้ ผู้เชี่ยวชาญ เข้าไปอีกก้าวแล้วนะครับ...

ขอบคุณมากครับบัง

P

Mr.Direct

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...คำนี้ "ผู้เชี่ยวชาญ"  ยังห่างไกลจากผมมากครับสำหรับงานวิจัยขอเก็บเกี่ยวและเรียนรู้ต่อไปครับ

แวะมาเยี่มเยียนผู้เชี่ยวชาญครับ

ประเด็นการค้าชายแดน มีหลายคนพยายามทำวิจัยครับ และตีประเด็นไปในสาขาวิชาต่างๆ มากมายครับ แต่เรื่องนี้มันมีหลากมิติ และบางทียิ่งทำวิจัยก็เหมือนกันการไปสร้างปัญหาให้กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนครับ และบางครั้ง ผลประโยชน์ที่แท้จริงกลับตกไปยังปลาใหญ่

ผมเคยจัดสอนเสริมให้นักเรียนทั้งจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ โดยเชิญอาจารย์จากจุฬาฯมาสอน โดยออกค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง ที่พักและอาหารให้กับอาจารย์ โดยอาจารย์เหล่านั้นมาสอนให้ฟรีโดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แต่ท่านก็มีข้อแม้กับเราว่าเราจะเก็บค่าใช้จ่ายจากเด็กไม่ได้เหมือนกัน ผมของบประมาณจาก อบจ.ตกประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ต้องไปแบกชีตแจกเด็กเอง เย็นวันศุกร์ไปรอรับอาจารย์อยู่สนามบิน รับไปทานอาหาร พาเข้าที่พัก พาอาจารย์ไปส่ง เหนื่อยแสนสาหัส แต่มีความสุขที่ได้ทำครับ

สิ่งที่อาจารย์ทำให้กับเด็กนั้นยิ่งกว่าทำบุญกับสิ่งใดครับ

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ออกตัวก่อนครับว่า "ยังไกลอีกครับกับคำๆนี้...ผู้เชี่ยวชาญ"

ขอบคุณมากครับอาจารย์

 

P

จารุวัจน์ شافعى

ประเด็นเรื่องการค้าชายแดนผมไม่ค่อยถนัดครับทำได้แค่ตรวจดูงานวิจัยให้เขาครับ อิอิ

ประเด็นเรื่องปลาใหญ่ อันนี้เห็นด้วยครับเพราะงานวิจัยที่อ่านมีจุดนี้แอบแฝงอยู่น่าสนใจครับ อิอิ

ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์

P

อัยการชาวเกาะ

แต่สิ่งที่อาจารย์ทำมันก็มากมายเกินคณานะครับ...เพื่อเยาวชนและสังคมครับ

สลามคะจะไม่มีวันว่างเลยหรือไง พักผ่อนบ้างนะคะ ขออัลลอฮ์ทรงโปรดปราณด้วย

ขอบคุณมากครับคุณครู

 

P

mena

ขออัลลอฮฺตอบรับทุกๆการงานของครูเช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท