ประวัติหลวงพ่อน้ำเคือง


วัดดงตะขบ

 

 

 หลวงพ่อน้ำเคือง 

 

 

 หลวงพ่อน้ำเคือง 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

          หลวงพ่อน้ำเคือง  เป็นพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวตำบลดงตะขบ  และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา  เป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพด้านความศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่เคารพสักการะของชาวดงตะขบมานานนับร้อยปี  จึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจ ที่ชาวบ้านดงตะขบยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งทางจิตใจ  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าหลวงพ่อน้ำเคืองกับชาวดงตะขบเป็นสิ่งที่คู่กัน  จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้  โดยในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประวัติของบ้านดงตะขบ  ประวัติวัดดงตะขบ  ประวัติของหลวงพ่อน้ำเคือง

        พุทธลักษณะขององค์หลวงพ่อน้ำเคือง และเหตุผลที่ผู้คนมีความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อน้ำเคือง  โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาต่าง ๆ  ดังนี้

        บ้านดงตะขบ  เริ่มมีผู้มาอาศัยอยู่ประมาณ  300  ปีเศษ  โดยมีผู้เล่ากันว่า มีตายายคู่หนึ่ง  อพยพพาลูกหลานมาจากเมืองเก่าพิจิตร  เพื่อมาบุกเบิกพื้นที่ทำไร่  ทำนา  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์  และได้ปลูกกระท่อมรายล้อม ด้วยต้นตะขบป่า  (ตะขบป่าลักษณะเป็นไม้ยืนต้น  มีหนามแหลมคมมีผลรับประทานได้)  จากนั้นก็มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นจำนวนมากได้อพยพเข้ามาอาศัย   จนกลายเป็น หมู่บ้านใหญ่  และได้สร้างวัดใกล้กับต้นตะขบขนาดใหญ่ที่ขึ้นอยู่  โดยชาวบ้าน เชื่อกันว่าเป็นต้นแม่  เพราะบริเวณรอบ ๆ  จะมีต้นตะขบอยู่จำนวนมาก  จึงตั้งชื่อว่า “วัดดงตะขบ”  และเรียกชื่อว่าของหมู่บ้านว่า  “บ้านดงตะขบ”

1.  ประวัติวัดดงตะขบ 

     วัดดงตะขบ  ตั้งอยู่เลขที่  96  หมู่ที่  4  ตำบลดงตะขบ  อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ก่อตั้งประมาณปี  พ.ศ.  2240 และเมื่อประมาณปี  พ.ศ.  2388  มีการก่อสร้างอุโบสถ  และวิหาร  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  26  สิงหาคม  พ.ศ.  2500  มีที่ดินธรณีสงฆ์  จำนวน  2  แปลง  แปลงที่  1  มี  น.ส. 3  ก  เลขที่  7  แสดงกรรมสิทธิ์  7  ไร่  1  งาน  50  ตารางวา   อาณาเขตทิศเหนือยาว  62  วา  ติดกับถนนรถยนต์  ทิศใต้ยาว  63  วา  ติดลำคลอง   บางไผ่  ทิศตะวันออกยาว  45 วา  ติดกับบ้านเรือนราษฎร  ทิศตะวันตกยาว  45  วา   ติดกับคลองบางไผ่  แปลงที่  2  พื้นที่  4  ไร่  1  งาน  60  ตารางวา  ตาม  น.ส. 3 ก  เลขที่  6,  8

      สภาพทั่วไปและการพัฒนาของวัด  

      สภาพที่ตั้งของวัดดงตะขบเป็นที่ราบลุ่ม  ในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลท่วมในวัด  เนื่องจากทิศใต้ของวัด  (ด้านหลัง)  ติดกับลำคลองสาธารณะวัดดงตะขบได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  จนมีอาคารเสนาสนะต่าง  ๆ  เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ  และทดแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  ซึ่งมีรายละเอียดของการก่อสร้างต่าง ๆ  ดังนี้

       ในระยะแรกของการก่อตั้งคือเมื่อประมาณปี  พ.ศ.  2240  วัดดงตะขบ  ยังเป็นสำนักสงฆ์ มีสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา  และยังแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ

       วัดนอก  (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดงตะขบราษฎร์สงเคราะห์) มีหลวงตาไกร  เป็นเจ้าอาวาส  บริเวณของวัดใช้เป็นพื้นที่ทำนา  มีศาลาเป็นที่พักของคนทั่วไป  มีที่จัดการเผาศพและฝังศพ  (บริเวณสนามโรงเรียนดงตะขบราษฎร์สงเคราะห์ปัจจุบัน)

 

 

 

สนามโรงเรียนดงตะขบราษฎร์สงเคราะห์ 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

            ส่วนวัดใน  (บริเวณที่ตั้งของวัดปัจจุบัน)  มีหลวงตาดิษฐ์  เป็นเจ้าอาวาส           พ.ศ.  2346  ยายลำภู  (ไม่ทราบนามสกุล)  ได้มีจิตศรัทธา  สร้างพระปรางค์ กว้างด้านละ  3  เมตร  สูง  7  เมตร  ซึ่งจ้างคนจีนมาก่อสร้าง

 

 พระปรางค์  ซึ่งยายลำภู  (ไม่ทราบนามสกุล)  ซึ่งจ้างคนจีนมาก่อสร้าง 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม) 

        ต่อมาในปี  พ.ศ.  2366 – 2367  ได้มีการก่อสร้างเจดีย์ขึ้น  2  องค์ ขนาดกว้างโดยรอบด้านละ  2  เมตร  ปัจจุบันทั้งพระปรางค์และเจดีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

         

  เจดีย์  2  องค์  ปัจจุบันอยู่บริเวณหน้ากุฎิของพระสงฆ์ 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม) 

       ประมาณปี  พ.ศ.  2388  ได้ก่อสร้างศาลา  กุฏิพระ  (ปัจจุบันรื้อไปแล้วอยู่บริเวณริมคลองด้านใต้ของวัด  ที่หอระฆังปัจจุบัน)  ต่อมาได้สร้างอุโบสถ (บริเวณกลางวัดปัจจุบัน  ชำรุดรื้อไปแล้ว)  และได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาเป็นพระประธานในอุโบสถ  มีการก่อสร้างวิหาร  (คู่กับอุโบสถ)  เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อขาว  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น  (ปูนลักษณะสีขาวมิใช่ซีเมนต์) สร้างโดยตาคอน  ยายทรัพย์  ปานอ่อง  และมีพระพุทธบาทอยู่ด้านหลังหลวงพ่อขาว

       ประมาณปี  พ.ศ.  2390   ก่อสร้างหอสวดมนต์   ไม่ทราบความกว้าง ความยาว  (บริเวณศาลาปัจจุบัน)  รายล้อมด้วยกุฎิพระ

       ปี  พ.ศ.  2490  ก่อสร้างกุฏิ  4  หลัง  (ทิศเหนือของวัด)  ก่อสร้างหอสวดมนต์ กว้าง  8  เมตร  ยาว  14  เมตร  ทำการย้ายกุฏิเจ้าอาวาสจากที่เดิม มาอยู่ติดกับหอสวดมนต์ (ปัจจุบันได้รื้อและก่อสร้างใหม่)

 

 

  กุฏิพระสงฆ์ในปัจจุบันมีจำนวน  4  หลัง  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม) 

         ปี  พ.ศ.  2494  ก่อสร้างศาลาการเปรียญ  กว้าง  16  เมตร  ยาว  40  เมตร  ซึ่งได้รับการบูรณะ  ปรับปรุง  ต่อเติมมาโดยตลอด  ปัจจุบันยังใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ  และกิจกรรมต่าง ๆ 

 

 ศาลาการเปรียญ  ซึ่งได้รับการบูรณะ  ปรับปรุง  ต่อเติมมาโดยตลอด
ปัจจุบันยังใช้ในการประกอบศาสนาพิธีต่าง ๆ 

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

       ปี  พ.ศ.  2499  สร้างอุโบสถ  กว้าง  6.5  เมตร  ยาว  18  เมตร    

 

 อุโบสถซึ่งก่อสร้างตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2499

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

         ในวันที่  25  มกราคม  พ.ศ.  2547  ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างศาลาสันติสุข   เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งศพเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา

 

 ศาลาสันติสุขก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการสวดพระอภิธรรม

ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

รายชื่อเจ้าอาวาสปกครองวัด

           ระหว่างปี  พ.ศ.  2240 – 2465  ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเจ้าอาวาสแต่ละรูปดำรงตำแหน่งตั้งแต่เมื่อใด  แต่ทราบรายชื่อ  ได้แก่  หลวงตาดิษฐ์ หลวงตาไกร  พระครูมิ่ง 
           หลังจากปี  พ.ศ.  2465  เป็นต้นมา  ทราบรายชื่อและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง  ได้แก่

                1.  พระอุปัชฌาย์ฟุ้ง                     พ.ศ.  2465 – 2469

                2.  พระโปรง                             พ.ศ.  2470 – 2473

                3.  พระบุญธรรม                        พ.ศ.  2474 – 2481

                4.  พระทองสุข                           พ.ศ.  2482 – 2486

                5.  พระไว   ศรีสวัสดิ์                   พ.ศ.  2487 – 2489

                6.  พระสุทัศน์  แสงจันทร์            พ.ศ.  2490 – 2494

                7.  พระมหาสวิง  บุญจ้อย             พ.ศ.  2495 – 2496

                8.  พระโหม  อาวุโธ                    พ.ศ.  2497 – 2519

                9.  พระเพียน   ศรีนรา                 พ.ศ.  2520 – 2522

              10.  พระครูพิพิธปุญญาคม  (พระอธิการบุญชู  อิสสะโร)   

พ.ศ.  2523 – 2544

              11.  พระครูปริยัติวโรภาส  (บุญเรือน  พลศักดิ์)  วันที่  9  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2544 – ปัจจุบัน

 2.  ประวัติหลวงพ่อน้ำเคือง

                   ประวัติการสร้างหลวงพ่อน้ำเคืองนั้น  ไม่มีหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน ส่วนประวัติความเป็นมาก่อนที่จะประดิษฐานที่วัดดงตะขบ  มีหลักฐานจากคำบอกเล่าและรวบรวมขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรได้ความว่า  เมื่อประมาณปี  พ.ศ.  2299  มีข่าวว่ามีผู้พบพระในวัดร้างที่บ้านน้ำเคือง  (ปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลท้ายทุ่ง  อำเภอทับคล้อ  จังหวัดพิจิตร) ซึ่งเป็นวัดอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดดงตะขบ ห่างประมาณ  6 กิโลเมตร  และมีเรื่องเล่าว่ามีชาวบ้านจากที่อื่นจะมาอัญเชิญไป แต่ไม่สามารถนำไปได้ ความได้ทราบถึงชาวบ้านดงตะขบ  ซึ่งในขณะนั้นมีคุณตาทวดคอน  ปานอ่อง (ทายกวัดในสมัยนั้น)  เป็นผู้นำชาวบ้านดงตะขบเดินทางไปที่วัดน้ำเคือง  และได้พบพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร  สร้างในสมัยสุโขทัยตอนต้น  ประทับยืนอยู่ในกลางวัดปกคลุมด้วยป่าไม้  จึงได้นำแตรวงแห่อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคือง  (มาตั้งชื่อภายหลัง)  ขึ้นแป้งจี่  (เป็นล้อเลื่อนมีสองล้อ  ทำด้วยไม้ทั้งคัน)  จากวัดน้ำเคืองมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถหลังเก่า  และได้ขนานนามว่า  “หลวงพ่อน้ำเคือง”  ตามชื่อวัดเดิมซึ่งมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย  เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบาน  และก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนา  จึงมีผู้คนนับถือกันมาก

 

 หลวงพ่อน้ำเคือง
ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

         เมื่อเวลาผ่านไปอุโบสถชำรุด  ยากแก่การบูรณะ  ประมาณปี  พ.ศ.  2465  คณะกรรมการวัดนำโดยคุณตาถนอม  คุณตาไก่  ร่วมกับชาวตำบลดงตะขบ  ได้จัดสร้างมณฑปบริเวณกลางวัด และได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน พร้อมอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาประดิษฐานไว้ด้านหลัง  และนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ด้านขวาหลวงพ่อน้ำเคือง    ต่อมาเมื่อประมาณปี  พ.ศ.  2502  มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อน้ำเคืองมากขึ้น  ชื่อเสียงโด่งดังไปไกล  ทางคณะกรรมการวัดทราบข่าวจากผู้หวังดี ว่ามีพวกมิจฉาชีพต้องการนำหลวงพ่อน้ำเคืองไปขาย  ประกอบกับมณฑปชำรุดทรุดโทรมมาก  จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานบนหอสวดมนต์ มีพระคอยทำหน้าที่เป็นเวรยามดูแลความปลอดภัย  ต่อมาผู้ที่ศรัทธาต่อหลวงพ่อน้ำเคืองเพิ่มมากขึ้น  ในแต่ละวันจะมีประชาชนมานมัสการ  และมีการจุดธูปเทียนเป็นจำนวนมาก  ทางวัดเกรงว่าจะเกิดอัคคีภัย  ประกอบกับพระในวัดน้อยลงหลังออกพรรษา  คณะกรรมการวัดจึงได้สร้างกุฏิหลังใหม่ให้พระโหม  อาวุโธ  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น

        ประมาณปี  พ.ศ.  2504  ได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาส ที่จัดทำเป็นห้อง 2 ห้อง  มีประตูเหล็ก 2 ชั้น ซึ่งขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อน้ำเคืองก็ขจรกระจายไปไกลด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ มากมาย เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบานและก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนา จึงมีผู้คนนับถือกันมาก การอธิษฐานจิตคนส่วนใหญ่สัญญาว่าจะให้การแสดงลิเกแก้บนโดยนับเป็นเวลา จึงทำให้สถานที่คับแคบเกินไปสำหรับการประกอบพิธี และการเดินทางเข้ากราบไหว้ของประชาชนทั่วไป
        ประมาณปี  พ.ศ.  2506  ทางคณะกรรมการวัดได้ประชุมตกลงกันอัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่อุโบสถ

 

 อุโบสถ  ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อน้ำเคือง
ที่มา  :  (โดยสุเทพ  สอนทิม)

        และในปี  พ.ศ.  2510   เป็นวันที่หัวใจของชาวตำบลดงตะขบ  ซึ่งมีจิตใจผูกพันกับหลวงพ่อน้ำเคืองแทบจะแตกสลาย  เมื่อได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อน้ำเคืองถูกตัดเศียร  เหตุการณ์วันนั้นทำให้น้ำตาของชาวดงตะขบและผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อน้ำเคืองไหลหลั่งจนปริ่มจะขาดใจ  และได้ร่วมกันสาปแช่งโจรใจบาปที่กล้าทำร้ายจิตใจของพุทธศาสนิกชนได้ลงคอ  ต่างวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ และได้ช่วยกันสืบหาวัตถุพยาน  เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามตัวคนร้ายให้ได้   
        ต่อมานายสำเนียง  เลือดทหาร  ได้พบคนร้ายที่สถานีรถไฟตะพานหิน  ขณะที่จะขึ้นรถไฟ  จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ  และได้ติดต่อคณะกรรมการวัดมาดูเพื่อยืนยัน  เมื่อยืนยันแน่นอนว่าเป็นเศียรของหลวงพ่อน้ำเคืองจึงได้จัดงานพุทธาภิเษกจัดงานสมโภช  9  วัน  9  คืน  หลังจากเสร็จจากงานได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาสหลังเดิม
        ต่อมาในวันที่  14  เมษายน  พ.ศ.  2524   กำนันดี  จันทร์อ้น  (ไวยาวัจกรขณะนั้น)  พร้อมด้วยนายถนอม  เกตุงาม  (นายอำเภอตะพานหินขณะนั้น)  พร้อมด้วยชาวตำบลดงตะขบ  ได้วางศิลาฤกษ์มณฑป  เพื่ออัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน โดยมีการจัดงานสมโภช  7  วัน  7  คืน

 

หมายเลขบันทึก: 303592เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • ข้อมูลน่าสนใจเคยนั่งรถไฟผ่านบ่อย ๆ
  • ดีมากเลยนะที่สืบประวัติได้ยายไกล

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ชื่อหลวงพ่อแปลกดีจัง คุณครูช่วยเล่าประวัติความเป็นมาหน่อยก็จะดี

ครูสุเทพเก่งจริงๆ หนูเคยฟังแม่เล่ามาเหมือนครูเล่าเลย

ขอบคุณมากครับ ข้อมูลที่ลง ยังอยู่ระหว่างการเพิ่มเติมในเรื่องของรูปภาพครับ

ครูสุเทพ สอนทิม

ครูสุเทพคะหนูได้ข่าวว่าหลวงพ่อน้ำเคืององค์เล็กหายไปจริงหรือเปล่าคะ แล้วไม่ทราบว่าตามพบหรือยังคะ หนูก็เป็นลูกหลานดงตะขบเหมือนกันค่ะอยากทราบข่าวค่ะ

ถึง เด็ก DK ครับ

ต้องขอขอบใจในความเป็นห่วงเป็นใย สำหรับกรณีดังกล่าว แทนพี่น้องชาวดงตะขบ ด้วยนะครับ

สำหรับกรณี หลวงพ่อน้ำเคือง องค์จำลอง ที่ถูกขโมยไปนั้น ตอนนี้ ยังอยู่ในระหว่างการสืบสวน หาผู้กระทำผิดอยู่ครับ ยังไม่มีความ

เคลื่อนไหว หรือเบาะแส เพิ่มเติม

ถ้าครูได้ข่าวสาร อย่างไรเพิ่มเติม จะแจ้งผ่านเวปไซต์ นี้ได้ทราบทั่วกันอีกครั้งครับ

เด็ก DK (กรรณิการ์ สีสอน

ขอบคุณครูสุเทพนะคะที่แจ้งข่าวสารให้ทราบ ยังไงก็ขอให้พบโดยเร็วนะคะ แล้วโบสถ์หลวงพ่อสร้างเสร็จหรือยังคะแล้วมีกำหนดการฝังลูกนิมิตหรือยังคะ ถ้ามีแล้วขอรบกวนครูสุเทพแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

รู้สึกเสียใจกับการหายไปของหลวงพ่อน้ำเคืององค์จำลอง

แต่ก็ขอให้ได้กลับคืนมาโดยเร็วนะค่ะ

สาธุ...ใครที่มานขโมยไปๆ

ขอให้มานมีอันเป็นไป 7 ชั่ว โคตรๆ

สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ถึง เด็ก DK ครับ

ตอนนี้โบสถ์ยังสร้างไม่เสร็จ สร้างได้ประมาณ 99% แล้วครับ คาดว่ากลางปีหรือปลายปี 54 จะมีการฝังลูกนิมิตร

กำลังประสานงานกับทางสำนักพระราชวังฯ สำหรับข่าวหลวงพ่อน้ำเคืองตอนนี้ได้นำองค์ที่ทำพิธีเททองหล่อมาประดิษฐานหน้าโบสถ์หลังใหม่แทนแล้ว ขอบคุณครับสำหรับทุกกำลังใจและห่วงใยครับ

ขอบคุณมากค่ะครูสุเทพที่แจ้งข่าวสารให้ทราบค่ะ

สวัสดีครับครูสุเทพ ดีมากครับที่ได้ลงประวัติไว้ ผมเองเคนเขียนและคิดจะทำประวัติหลวงพ่อน้ำเคืองเช่นกันแต่ยังไม่ได้ลงเลยมาพบบทความนี้ก่อน และขอแจ้งไปยัง พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ด้วยว่าท่านเข้าใจผิด เพราะคำว่านั่งรถไฟผ่านบ่อยๆ ในความเห็น 1.นั้น เป็นคนละวัดครับ วัดที่ท่านนั่งรถไฟผ่านเป็นวัดสถานีดงตะขบ ส่วนวัดนี้เป็นวัดดงตะขบ ครับ

ขอบคุณครับ

เสกพรสวรรค์ บุญเพ็ชร

ครูสุเทพคะ งานประจำปีที่วัดดงตะขบนั้นมีเมื่อไหร่คะ หรือว่าเหมือนเช่นทุกปีคะ แต่หนูได้ข่าวว่าจะเลื่อนเป็นช่วงปีใหม่แทนจริงหรือเปล่าคะ

ขอบคุณมากนะคะ

ถึง คุณเสกพรสวรรค์ บุญเพ็ชร

ต้องขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาที่ดี ที่อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลของวัดดงตะขบนะครับ และที่สำคัญก็ต้องขอขอบคุณข้อมูลที่ช่วยยืนยันที่ตั้งของวัดนะครับ

สำหรับวัดที่สามารถมองเห็น หากนั่งรถไฟผ่านสถานีดงตะขบคือวัดสถานีดงตะขบนะครับ จะไม่ใช่วัดที่กล่าวถึงในบล็อคนี้ นะครับ

ตอบคุณ เด็ก DK [IP: 58.11.76.105] เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2553 13:06 #2260365 [ ลบ ] ครูสุเทพคะ งานประจำปีที่วัดดงตะขบนั้นมีเมื่อไหร่คะ หรือว่าเหมือนเช่นทุกปีคะ แต่หนูได้ข่าวว่าจะเลื่อนเป็นช่วงปีใหม่แทนจริงหรือเปล่าคะ

งานประจำปีวัดดงตะขบ  วันที่ 30 ธันวาคม - 2 มกราคม 54

- มีเททองหล่อพระอัครสาวก  พระโมคลาพระสารีบุตร

 

เพิ่มเติมข้อมูลในเรื่องงานประจำปีวัดดงตะขบ นั้นจัดวันที่ 30 ธ.ค.53 - 2 ม.ค 54 รวม 4 วัน 4 คืน ครับ

ภายในงานมีพิธีเททองหล่อพระอัครสาวก พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร

 

ขอเรียนเชิญลูกหลานบ้านดงตะขบและหมู่บ้านใกล้เคียง ที่แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ต่างถิ่นได้กลับมา ร่วมกันทำบุญในงานประจำปีของหลวงพ่อน้ำเคืองและร่วมกันทำบุญวันปีใหม่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วยนะครับ

ขอบคุณมากค่ะครูสุเทพที่แจ้งข่าวสารให้ทราบค่ะ ต้องกลับบ้านแน่นอนค่ะเพราะหนูก็เป็นลูกหลานบ้านดงตะขบเหมือนกันค่ะ

ปีใหม่นี้กลับบ้านตั้งแต่วันที่29-3 ม.ค. เดี่ยวจะไปทำบุญที่วัด

พ่อกับแม่เป็นคนดงตะขบแต่ดิฉันมาโตที่ชลบุรี ได้รู้ประวัติหลวงพ่อดีมากๆๆเมื่อปีใหม่ก็ได้ไปทำบุญที่วัดหลวงพ่อน้ำเคืองมาดีมากคะ ศัทธาหลวพ่อน้ำเคืองคะ 

กลับบ้านปีใหม่ไปงานที่วัด รำวงย้อนยุคมันส์มากๆ หนูอดใจไม่ไหวขึ้นเวทีไม่ยอมลงเลยค่ะ

 

หนูสอยดาว200บาท ได้พัดลม1เครื่อง ได้เสื้อ3ตัว ได้ขันเกือบ10 ด้วยค่ะ

ตอนนี้คิดถึงบ้านจัง

พัฒนาไปมากเลยนะครับเดี๋ยวนี้ ผมก็เป็นลูกศิษย์ครูสุเทพคนหนึ่งนะครับสมัยนั้น ดีใจจัง ที่จะได้กลับไปบวชที่บ้านหลังไม่ได้กลับนานมาก งั้นถือโอกาศเรียนเชิญเลยละกันนะครับ วันที่30เมษา-1พ.ค

ไอติมตาเนตรอร่อยมาก555555. ปู่ผมเอง โทร.056647119 อร่อยมากๆๆๆๆ

ถึง แทน ดงขบ

ไอติมตาเนตรไม่ได้ขายแล้วไม่ใช่หรอ ตาเริงขายแทนแล้วนะ (ถ้าจำไม่ผิด)

ถึง ครูสุเทพ สอนทิม

สงกรานต์ที่ผ่านมา ได้ไปแข่งขันกีฬามาด้วย หนูอยู่หมู่5

ปีนี้มีปีนเสาน้ำมันหนูว่าไม่ยุติธรรมเลย หมู่5จับฉลากได้ที่7 กว่าจะถึง

หมู่9ได้ไปก่อนแล้ว

ถึงครูสุเทพค่ะ

หนูก็ได้้จบจากร.รดงตะขบไปแล้ว แต่หนูก็เชื่อเรื่องหลวงพ่อนํ้าเคืองนะคะ

แล้วขอบคุณ คุณครูสุเทพด้วยนะคะที่มาเผยแพร่ประวัติหลวงพ่อนํ้าเคือง

แล้วตอนนี้วิหารย์หลวงพ่อนํ้าเคืองสร้างเสร็จแล้วหรือยังคะ

คิดถึงบ้านดงตะขบเหมือนกัน น้ำท่วมหรือเปล่า คิดถึงคุณครูที่ร.ร.ดงตะขบด้วย

ดงตะขบนำ้ไม่ท่วมด้วยบารมีของหลวงพ่อนำ้เคือง

ตอบ ศิษย์ ร.ร.ดงตะขบ ที่แรกจะสร้างเป็นวิหาร ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น อุโบสถ แล้วและอัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองขึ้นประดิษฐานแล้วเวลานี้ปิดทองที่องค์หลวงพ่อไม่ได้แล้วปิดได้แต่องค์จำลองเท่านั้น

ครูดงตะขบค่ะ อยากทราบว่า อุโบสถ ใกล้จะเสร็จแล้วหรือยังค่ะ แล้วจะมีงานหรือเปล่าค่ะ จะได้กลับไปเที่ยวที่บ้าน ไม่ได้กลับบ้านนานแล้ว คิดถึงบ้านจัง

ค่ะขอบคุณค่ะ

หนูได้ข่าวว่าที่วัดจะมีงานในวันที่19ตุลาคมจริงๆหรือป่าวค่ะ

บอกเด็กดงตะขบอุโบสถ สร้างเกือบเส็จแล้ว ยังเหลือกำแพงแก้ว และรอ กำหนดพิธีฝังลูกนิมิต และจะมีงานพุทธาภิเษกหลวงพ่อนำเคืองด้วย เปิดให้จองแล้ว เป็นรูปหล่อพร้อมหลวงพ่อเงิน เนื่อเงิน ชุดละ 5,000 บาทมีจำนวนจำกัดติดต่อได้ที่วัดดงตะขบ

ได้ความรู้มากเลยค่ะ

นายปฏฺิภาณ บุญเลิศ

บอกเด็กดงตะขบอุโบสถ สร้างเกือบเส็จแล้ว ยังเหลือกำแพงแก้ว และรอ กำหนดพิธีฝังลูกนิมิต และจะมีงานพุทธาภิเษกหลวงพ่อนำเคืองด้วย เปิดให้จองแล้ว เป็นรูปหล่อพร้อมหลวงพ่อเงิน เนื่อเงิน ชุดละ 5,000 บาทมีจำนวนจำกัดติดต่อได้ที่วัดดงตะขบผมฏ็ลูกหลานชาวดงตะขบหลานตาสนยายจันทร์  ต่ายทอง  ชวดยายน้อย  หนูหนุนคับ

เชิญร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก

งานพิธีพุทธาภิเษก เสร็จลงด้วยความเรียบร้อย ใครที่พลาดโอกาสได้เป็นเจ้าของ วัตถุมงคล มีดหลวงพ่อนำ้เคืองและตะกรุดหลวงพ่อนำ้เคือง ไม่ต้องเสียใจ รอกาสหน้ายังมี ไว้จองกันใหม่งานฝังลูกนิมิตโบสถ์ ซึ่งจะมีในโอกาสต่อไปคอยฟังข่าว  แต่จะได้มวลสาร  และเกจิอาจารย์เหมือนครั้งนี้หรือไม  คอยฟังข่าวอีกครั้ง


 

มีดสวยมาก  บูชามา 5เล่ม  เหลือตระกรุด กำลังหาอยู่ ครับ  

เมื่อคืน ไปขายปลาหมึก ที่ วัด ซึ่งเป็นคืนสุดท้าย ขายดีมากครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่มาอุดหนุนน่ะครับ 

หนูอยากทราบว่าที่วัดดงตะขบจะมีงานฝังลูกนิมิต เมื่อไหร่คะ.....และต้องสั่งจองตะกรุดกับมีดหลวงพ่อน้ำเคืองอย่างไรคะเนื่องจากไม่ได้กลับไปที่บ้านตั้งแต่งานหลวงอา มหาสนองก็ไม่ได้กลับอีกเลยค่ะ  เลยไม่รู้ว่าต้องสั่งจองอย่างไรค่ะ

ตอนนี้หมดแล้วครับมีด กับตระกรุด ถ้ากลับมาลองถามหลวงพ่อ พระครูดู  ท่านอาจจะให้ครับ งานฝังลูกนิมิตน่าจะเป็นปลายปี 2556


วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขึ้นไปไหว้หลวงพ่อ น้ำเคืาองที่วิหาร มองเห็น มีด 6-7เล่มครับ และก็ชุดกรรมการ ชุดเล็ก-ชุดใหญ่ เนื้อเงิน ยังพอมีครับ 



ดูแล้วคิดถึงตอนเป็นเด็กวัดก้อได้บุญบารมีหลวงพ่อน้ำเครืองที่ให้ที่กินที่นอน(มืด)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท