ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้


ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้

ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้

            หลายคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้ พื้นผิวของใบบัวมีลักษณะพิเศษ ตรงที่มีความขรุขระเกิดจากการมีปุ่มขนาดประมาณ 10 ไมครอนกระจายอยู่ตามผิวใบบัว โดยที่แต่ละปุ่มก็จะมีปุ่มเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ไมครอนกระจายอยู่รอบ ๆ ปุ่มใหญ่ ดังแสดงในรูป ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้การสัมผัสของหยดน้ำกับพื้นผิวใบบัวน้อยกว่าที่จะเป็น เป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์การไม่ชอบน้ำของใบบัวเกิดขึ้น (Lotus Effect)

            กล่าวง่าย ๆ คือ เพราะโมเลกุลของน้ำเป็นทรงกลมและใบบัวมีลักษณะขรุขระเล็กแค่10ไมครอนโมเลกุลของ น้ำจึงไม่สามารถจับผิวของใบบัวได้   ถ้ามีการขยับใบบัวไปมาโมเลกุลของน้ำจะพยายามอยู่เสมอจึงกลิ้งไปมาได้ครับ ว่ากันว่าแนวความคิดแบบนี้ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำมาพัฒนาเป็นกะทะที่น้ำมัน หรืออาหารก็ไหม้ไม่ติดกะทะ และตอนนี้ก็ได้มีการนำมาพัฒนาเป็นสีทาบ้านที่เคลือบเทฟลอน ซึ่งฝุ่นและสิ่งสกปรกจะไม่เกาะติดผนังบ้านทำความสะอาดก็ง่ายและล้างคราบไคล์ได้

หมายเลขบันทึก: 303114เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2009 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

นะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท