Web-based Trainning


Web-based Trainning

 

 

1. ชื่อนวัตกรรม   การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ

 (Web-Based Training : WBT)

  

เรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint

 

2. ผู้พัฒนานวัตกรรม         นายนิคม  กกขุนทด รหัส 495017160024

 

3. ที่มาของปัญหาและความต้องการ

                สภาพในปัจจุบันของการพัฒนาครูประจำการ หน่วยงานต่าง ๆ จะใช้วิธีการการฝึกอบรม ซึ่งมีกิจกรรมคือ การให้ครูเข้าร่วมการฝึกอบรมหรือร่วมสัมมนาประชุมปฏิบัติการตามหลักสูตร ซึ่งจะมีระยะเวลาในการฝึกอบรมตามหลักสูตรกำหนด เช่น ตั้งแต่ 3-5 วัน หรือ ถึง 1 เดือน ซึ่งในการฝึกอบรมดังกล่าวจะมีข้อดีคือ ทำให้ครูได้พบปะเพื่อนครูและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันซึ่งเป็นการไม่จำเจในการปฏิบัติงานประจำ แต่ปัญหาที่พบคือ การที่ให้ครูประจำการได้เดินทางเข้ารับการฝึกอบรมแต่ละครั้งนั้น ครูจะต้องละทิ้งการสอนในชั้นเรียนเพื่อมาเข้ารับการฝึกอบรม ทำให้นักเรียนไม่ได้รับการศึกษาจากครูเต็มตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเท่าที่ควร และการฝึกอบรมแต่ละครั้งนั้น หน่วยงานจำนวนมากจะต้องกำหนดงบประมาณเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจำนวนมาก และบางครั้งการฝึกอบรมให้กับบุคลากรไปแล้วไม่เกิดผลตามที่คาดหวังไว้เท่าที่ควร ซึ่งเป็นการเสียงบประมาณ เสียเวลา และโอกาสอื่น ๆ อีกมากมาย

                ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหารูปแบบการพัฒนาครูประจำการแบบใหม่ที่สามารถพัฒนาครูไปพร้อม ๆ กับครูได้ปฏิบัติหน้าที่คือการสอนนักเรียนของตนไปด้วย (พลสัณฑ์ โพธิ์ศรีทอง, 2541 : 11) และเครื่องมือและวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับงานทางด้านการฝึกอบรมและการเรียนรู้คือ การใช้การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT)

                การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT)  เป็นการสอนหรือการฝึกอบรมเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม เป็นลักษณะของการเรียนการสอนโดยสื่อหลายมิติ บทเรียนมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนและสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป นอกจากนี้ผู้เรียนยังเป็นผู้ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในเรื่องของสถานที่และเวลา โดยบทเรียนและเนื้อหาวิชาในการฝึกอบรมผ่านเว็บนั้นจะมีการปรับ เปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ในบทเรียนหรือโปรแกรมการฝึกอบรมผ่านเว็บที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบด้วยข้อความหลายมิติ สื่อหลายมิติ คอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม และการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวไม่จำเป็นจะต้องมีทั้งหมดในโปรแกรมการฝึกอบรมผ่านเว็บ อาจมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดเลยก็ได้ (จรัสศรี รัตนะมาน , การฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ )

                จากความสำคัญของการอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) ประกอบกับความจำเป็นในการพัฒนาครูโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาในการพัฒนาครูโดยไม่ต้องให้ครูออกนอกชั้นเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) โดยการเลือกเรื่องที่จะฝึกอบรมผ่านเว็บ คือ เรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint  

 

4. วัตถุประสงค์

                1. เพื่อพัฒนาครูโดยไม่ต้องการให้ครูออกนอกชั้นเรียน

                2. เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในด้านของค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าวิทยากร เป็นต้น

                3. เพื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ต้องเสียเวลาในการทำงานของตนเอง และเข้ารับการฝึกอบรมได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และสามสามารถเลือกหัวข้อวิชาที่จะฝึกอบรมได้ (เป็นการฝึกอบรมตามความต้องการของตนเอง)

 

5. แนวคิดหรือทฤษฎี

  1. 1.              การฝึกอบรม

เป็นที่ยอมรับว่าการฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มักใช้รูปแบบการฝึกอบรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา ฝึกฝน เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในหน่วยงานทั้งทางด้านทักษะ หรือทางด้านวิชาการ สำหรับความหมายของการฝึกอบรมนั้นมีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความหมายของการฝึกอบรมไว้อย่างหลากหลาย ดังเสนอพอสังเขป ดังนี้

                      วิจิตร อาวะกุล (2537) กล่าวว่า การฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่ช่วยเพิ่มพูนความถนัด ความรู้ทางธรรมชาติ ทักษะ หรือความชำนาญ ความสามารถของบุคคลให้มีเทคนิควิชาการ ในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดพฤติกรรมใหม่ หรือเพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง การฝึกอบรมหมายถึง การพัฒนาหรือฝึกฝนอบรมบุคคลให้เหมาะสมหรือเข้ากับงานหรือการทำงาน

                      พงศ์ หรดาล (2539) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคลเพื่อที่จะปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) และทัศนคติ (attitude) อันเหมาะสม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                     จากการที่มีนักวิชาการได้ให้ความหมายการฝึกอบรมไว้หลากหลายนั้น สรุปได้ว่า การฝึกอบรม หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคลที่มุ่งเน้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความสามารถ และทัศนคติของบุคคล ให้ไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่าง ๆ ในปัจจุบันและอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

  1. การฝึกอบรมบนเว็บ (Web-Based Training : WBT)

การฝึกอบรมผ่านเว็บจะมีพื้นฐานมาจากคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม (Computer-Based

Training : CBT) และการฝึกอบรมแบบสื่อประสม (Multimedia-Based Training) โดยมีการนำเว็บและอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม

                      ลักษณะของการเรียนการสอนสื่อหลายมิติ  บทเรียนมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนและสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป นอกจากนี้ผู้เรียนยังเป็นผู้ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในเรื่องของสถานที่และเวลา โดยบทเรียนและเนื้อหาวิชาในการฝึกอบรมผ่านเว็บนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ในบทเรียนหรือโปรแกรมการฝึกอบรมผ่านเว็บที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบด้วยข้อความหลายมิติ สื่อหลายมิติ คอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม และการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวไม่จำเป็นจะต้องมีทั้งหมดในโปรแกรมการฝึกอบรมผ่านเว็บ อาจมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดเลยก็ได้

                       จากการศึกษาแนวคิดของคลาร์ค (Clark, 1996) พบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตหรือเว็บฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) คือ เป็นการสอนรายบุคคลที่ส่งข้อมูลเป็นสาธารณะหรือเป็นการส่วนตัวด้วยคอมพิวเตอร์ และแสดงผลโดยการแสดงด้วยหน้าจอของเว็บ การถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปตามความต้องการในการฝึกอบรม โดยการเก็บข้อมูลในแหล่งจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้โดยระบบเครือข่าย เว็บฝึกอบรมสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ทันสมัยได้รวดเร็วและเข้าถึงข้อมูลการฝึกอบรมควบคุมได้โดยผู้ออกแบบการฝึกอบรม

                       แนวคิดของ ไดรสคอลส์ (Driscoll, 1997) พบว่า การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรม เป็นการใช้ทักษะหรือความรู้ต่าง ๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น (อ้างถึงใน ปรัชญนันท์ นิลสุข : 2544)

                      ฮอร์ตัน (Horton, 2000) กล่าวว่า หลายองค์กรหันมาสนใจการฝึกอบรมผ่านเว็บ เพราะการฝึกอบรมผ่านเว็บได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ หลายองค์กรหันมาสนใจการฝึกอบรมผ่านเว็บ เพราะการฝึกอบรมผ่านเว็บได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ใช้งานง่ายและให้ประสบการณ์ที่ดี

                     ฟิชเชอร์ (Fisher, 1999) กล่าวว่า การฝึกอบรมผ่านเว็บมีประโยชน์ คือ สามารถฝึกอบรมได้ทุกที่ทุกเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สามารถจัดฝึกอบรมส่งตรงให้แก่ผู้เรียนได้กว้างขวางโดยไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ตอบสนองความต้องการเรียนแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม และสามารถปรับปรุงเครื่องมือฝึกอบรมได้ง่ายและรวดเร็ว

                       จากความหมายและแนวคิดของนักวิชาการที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) หมายถึง การฝึกอบรมโดยการใช้เว็บเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย เสนอความคิดเห็น โดยใช้เครื่องมือผ่านเวิลด์ไวด์เว็บที่ได้รับการออกแบบและจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีกระบวนการเหมือนกับการฝึกอบรมในห้องอบรมทั่วไป แต่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้าอบรมกับผู้จัดการอบรมโดยระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถฝึกอบรมได้ทุกที่ทุกเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกบทเรียนในการฝึกอบรมตามความสนใจของตนเองได้

  1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagnea’s Instructional Model)

ก.       ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

กานเย (Gagne, 1985 : 70-90) ได้พัฒนาทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ ซึ่งมี 2 ส่วน

ใหญ่ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ อธิบายว่า ปรากฏการณ์การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

1)            ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ 5

ประเภท คือ ทักษะทางปัญญา (intellectual skills) ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง ความสามารถด้านต่อไปนี้คือ กลวิธีในการเรียนรู้ (cognitive strategy) ภาษาหรือคำพูด (verbal information) ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) และเจตคติ (attitudes)

2)            กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัด

กระทำข้อมูลในสมอง ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งและขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน กานเยจึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน

ข.      วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้อย่างดี รวดเร็ว

และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน

ค.      กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

 การเรียนการสอนตามรูปแบบของกานเย ประกอบด้วยการดำเนินการเป็น

ลำดับขั้นตอนรวม 9 ขั้นตอน ดังนี้

                                ขั้นที่ 1 การกระตุ้นและดึ่งดูดความสนใจของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะเรียนรู้ได้ดี

                                ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้รับความคาดหวัง

                                ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม เป็นการช่วยให้ผู้เรียนดึงข้อมูลเดิมที่อยู่ในหน่วยความจำระยะยาวให้มาอยู่ในหน่วยความจำเพื่อการใช้งาน (working memory) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

                                ขั้นที่ 4 การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่ ผู้สอนควรจะจัดสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเห็นลักษณะสำคัญของสิ่งเร้านั้นอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการเลือกรับรู้ของผู้เรียน

                                ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจกับสาระที่เรียนได้ง่ายและเร็วขึ้น

                                ขั้นที่ 6 การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสาระที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน

                                ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน

                                ขั้นที่ 8 การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด

                                ขั้นที่ 9 การส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการให้โอกาสผู้เรียนได้มีการฝึกฝนอย่างพอเพียงและในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่น ๆ ได้

ง.       ผลทีผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

เนื่องจากการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ จัดขึ้นให้ส่งเสริมกระบวนการ

เรียนรู้และจดจำของมนุษย์ ดังนั้นผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้สาระที่นำเสนอได้อย่างดี รวดเร็วและจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้นาน นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เพิ่มพูนทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมายของข้อมูล รวมทั้งการแสดงความสามารถของตนด้วย

 

6. ขั้นตอนและกระบวนการพัฒนานวัตกรรม

  1. สร้างและพัฒนา Web page และออกแบบกำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์

ในระบบ On-line ได้แก่ e-mail, Web-board, Chat Room, Web-blog ฯลฯ  โดยใช้โปรแกรมจัดทำบทเรียนออนไลน์ โปรแกรม Moodle

  1. ออกแบบหลักสูตรและเนื้อหาการฝึกอบรบผ่านเว็บ  เรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วย

โปรแกรม Microsoft PowerPoint  โดยมีเนื้อหาในการฝึกอบรมดังนี้

                        ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint

                        การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft PowerPoint

                        ส่วนประกอบของ Microsoft PowerPoint

                        การพิมพ์ข้อความเพื่อสร้างงานนำเสนอ

                        การปรับขนาดกล่องข้อความ

                        การตกแต่งข้อความโดยการใช้สี

                        การเพิ่มสไลด์

                        การเปลี่ยนสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่ใช้เป็นหัวข้อเรื่อง

                        ขั้นตอนการจัดเก็บงาน (บันทึก & บันทึกเป็น)

2.10 การสร้างงานโดยใช้ TemPlate

2.11 การตกแต่งสไลด์ด้วยภาพ

2.12 การสร้างข้อความศิลป์ (WordArt)

2.13 การตกแต่งพื้นหลังสไลด์

2.14 การใส่เอฟเฟคให้กับพื้นหลังสไลด์

2.15 การใช้รูปแบบเป็นพื้นหลังสไลด์

2.16 การสร้างแผนภูมิและผังองค์กร

2.17 การกำหนดสไลด์โชว์ (Slide Show)

2.18 การจัดการกับเอฟเฟควัตถุในสไลด์

2.19 การจัดลำดับภาพสไลด์ด้วย Slide Sorter

2.20 การลบสไลด์

2.21 การแทรกสไลด์ด้วยการคัดลอกสไลด์

2.22 งานนำเสนอกับการพิมพ์

 

สำหรับรูปแบบการฝึกอบรม ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model) ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน 9 ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นที่ 1 การกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะเรียนรู้ได้ดีขึ้น

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การออกแบบ Web page และบทเรียนโดยการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สีของพื้นหลัง ภาพกราฟิก ฯลฯ ให้เหมาะสม น่าสนใจ อ่านง่าย สวยงาม และออกแบบเนื้อบทเรียนโดยยึดการเรียนรู้และเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนเป็นสำคัญ

                ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน ให้ผู้เรียนทราบเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ความคาดหวัง

                กิจกรรมนี้ คือ การแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบจุดประสงค์และการเรียนรู้ที่คาดวังที่ได้กำหนดไว้ในการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) เรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

                ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิมเป็นการช่วยให้ผู้เรียนดึงข้อมูลเดิมที่อยู่ในหน่วยความจำระยะยาวให้มาอยู่ในหน่วยความจำเพื่อการใช้งาน (working memory) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การสอบถามผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในเรื่องเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้อินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อการปรับแต่งภาพและตัวหนังสือ  เพื่อจะได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อจะได้ช่วยแนะนำ โดยได้จัดทำกระดานสนทนา (Web-Board), ห้องสนทนาออนไลน์ (Chat Room) เพื่อตอบคำถามและให้ข้อเสนอแนะกับผู้เข้ารับการอบรมก่อนการศึกษาบทเรียน

                ขั้นที่ 4 การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่ ผู้สอนควรจะจัดสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเห็นลักษณะสำคัญของสิ่งเร้านั้นอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการเลือกรับรู้ของผู้เรียน

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ จัดทำบทเรียนเรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ตามเนื้อหาการฝึกอบรมที่ได้กำหนดไว้ บันทึกเป็นไฟล์เอกสารต่าง ๆ ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง โดยบทเรียนนั้นได้อธิบายขั้นตอนการใช้โปรแกรมตามเนื้อหาบทเรียนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจกับบทเรียนในแต่ละเนื้อหาได้อย่างชัดเจน และถูกต้อง พร้อมเตรียมกระดานสนทนา (web board) และห้องสนทนาออนไลน์ (chat room) เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับข้อสงสัยหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม

                ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมายเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความเข้าใจกับสาระที่เรียนได้ง่ายและรวดเร็ว

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ตามเนื้อหาบทเรียนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยง (Link) กับตัวอย่างผลงานที่ได้มีการจัดทำด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint จากเว็บไซต์ต่าง ๆ และตัวอย่างที่ได้เตรียมไว้ในระบบ เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เข้ารับการอบรม

                ขั้นที่ 6 การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสาระที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การให้แบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เข้าอบรมทดลองสร้างผลงานตามเนื้อหาที่ได้กำหนดไว้ และส่งผลงานโดยการอัพโหลดส่งทางเวบไซต์ เพื่อตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ให้กับผู้เข้าอบรมทราบผลและมีความเข้าใจมากขึ้น

                ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การตรวจสอบผลงานของผู้เข้ารับการอบรมที่ได้จัดส่งตามแบบฝึกหัดที่ได้กำหนดไว้ พร้อมให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้เข้ารับการอบรมยังไม่เข้าใจ

                ขั้นที่ 8 การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การให้ผู้เข้าการอบรมทำแบบทดสอบ โดยการให้ผู้เข้าอบรมสร้างผลงานจากความรู้ที่ได้รับทั้งหมด แล้วอัพโหลดส่งผ่านทางเวบไซต์เพื่อตรวจสอบให้คะแนน และมอบเกียรติบัตรให้ผู้เข้ารับการอบรมต่อไป

                ขั้นที่ 9 การส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการให้โอกาสผู้เรียนได้มีการฝึกฝนอย่างพอเพียงและในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่น ๆ ได้

                กิจกรรมในขั้นนี้ คือ การจัดทำแบบสรุปภาพรวมของบทเรียนเรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้งานต่อไป  

 

 

 

  1. จัดทำคู่มือการฝึกอบรมผ่านเวบไซต์ (Web-Besed Training :WBT)
  2. นำหลักสูตรและเนื้อหาการฝึกอบรมผ่านเว็บที่ออกแบบไว้เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ

ตรวจสอบ ประเมินและให้ข้อเสนอแนะ

  1. นำข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
  2. นำหลักสูตรและเนื้อหาการฝึกอบรมผ่านเว็บ พร้อมสื่อประกอบการฝึกอบรมที่

ปรับปรุงแล้ว มาประยุกต์และดัดแปลงให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Media) เพื่อนำเข้าสู่ระบบการจัดการที่ใช้ในการอบรมทาง Internet ในระบบ Web Based Training : WBT โดยผ่านโปรแกรม Moodle เพื่อใช้ในลักษณะ e-Training และสร้างตารางนัดหมายการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดหลักสูตร

  1. ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง และปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ ขออนุมัติใช้จากสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 เพื่อใช้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมต่อไป

 

7. การใช้นวัตกรรม

                1. ผู้ที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมผ่านเว็บสามารถสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่เวบไซต์ http://www.pathum1.net/elearning  ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถศึกษาวิธีการฝึกอบรมจากคู่มือการเข้ารับการฝึกอบรมที่ได้จัดทำไว้ให้ในหน้าเวบไซต์

                2. เมื่อเข้าสู่วิชาที่จะฝึกอบรมผ่านเว็บ จะมีรายละเอียดต่าง ๆ แจ้งไว้ในหน้าเวบเพจ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติ เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ สิ่งที่จะต้องเตรียมในการฝึกอบรม และมีขั้นตอนการฝึกอบรมไว้ชัดเจน

                   

9. สรุปผลที่เกิดของการใช้นวัตกรรม

                1. จากการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPiont กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยบุคลากร และศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 สามารถที่จะพัฒนาบุคลากรตามหัวข้อวิชาที่กำหนดได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดได้ในระดับหนึ่ง

                2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านเว็บมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ เนื่องจากเป็นรูปแบบการฝึกอบรมอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างจากที่เคยได้รับการฝึกอบรมที่ผ่านมา

                3. ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว เช่น คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้อย่างคุ้มค่า

 

10. อภิปรายผล

                จากการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) เรื่อง เทคนิคการพิมพ์เอกสารด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint และได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร และศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 จากการสอบถามผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพอใจในระดับหนึ่ง เพราะสะดวกในการใช้โดยที่ไม่ต้องไปฝึกอบรมในห้องประชุม หรือสถานที่อื่นไกลจากที่ทำงานและสามารถเรียนรู้ได้ที่ทำงานหรือที่บ้านได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้จากเวบไซต์ที่ได้พัฒนาขึ้น แต่มีข้อเสนอแนะจากผู้เข้ารับอบรมสรุปได้ดังนี้

1)            รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บที่ได้ออกแบบไว้ยังเป็นแบบการอ่านบทเรียนที่จัดทำเป็น

ไฟล์เอกสาร เวลาเปิดไฟล์ต่าง ๆ ต้องใช้เวลานานมาก

2)            รูปแบบหน้าเวบเพจยังขาดความน่าสนใจ ควรมีการแบ่งเนื้อหาบทเรียนออกเป็นตอน

หรือเป็นบท พร้อมมีกิจกรรมในแต่ละบทเรียน ควรเพิ่มเติมในลักษณะบทเรียนที่มีภาพการสาธิต พร้อมเสียงคำบรรยายในแต่ละบทเรียน หรือในลักษณะ Multimedia

3)            ในการดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมควรมีการจัดทำตารางนัดหมายกิจกรรมหรือการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อได้มีการสื่อสารกันในห้องสนทนาออนไลน์ (Chat room) หรือกระดานเสวนา(Web Board)   เพื่อสอบถามกับวิทยากรโดยตรง หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ในการฝึกอบรม

 

10. ข้อเสนอแนะ

                1. ควรมีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการฝึกอบรมให้กับบุคลากรที่ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย

                2. ควรมีการขยายผลในการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) ในหลักสูตรวิชาอื่น ๆ ที่เหมาะสม

                3. การฝึกอบรมผ่านเว็บเหมาะสำหรับการฝึกอบรมในทักษะด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Skills) เท่านั้น หากเป็นทักษะทางด้านเทคนิคการปฏิบัติ (Psychomotor Skills) และทักษะทางด้านเจตคติ (Attitudinal Skills) แล้วนั้น การฝึกอบรมผ่านเว็บจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ ทั้ง 2 ทักษะดังกล่าวนั้นควรใช้ในการฝึกอบรมในรูปแบบอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์ตามที่มุ่งหวังมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการฝึกอบรม

                4. ควรมีการวิจัยรูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) ในแนวคิดทฤษฎีอื่น ๆ เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรมที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 

…………………………………………..

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ

1. นายทรงเดช ขุนแท้                        ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1      

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรูปแบบการฝึกอบรม

                2. นายชัยยงค์  สัมมเสถียร               ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดไพร่ฟ้า

                                                                                ผู้ทรงคุณวุฒิ

คำสำคัญ (Tags): #web-based training
หมายเลขบันทึก: 303109เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2009 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ....

อยากได้โครงสร้างครับ พอจะให้ความรู้ได้มั้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท