การทำ Vacuum ในระบบเครื่องทำความเย็น


การทำ Vacuum ในระบบเครื่องทำความเย็น

การทำ Vacuum ในระบบเครื่องทำความเย็น

                การทำ Vacuum คือการทำให้ระบบทำความเย็นเป็นสุญญากาศ โดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศซึ่งสามารถ              แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

  1. 1.        เครื่องสุญญากาศแบบธรรมดา ( Low Vacuum Pump )

 เป็น Vacuum Pump แบบธรรมดา ที่ใช้สำหรับดูดอากาศโดยทั่วไป Vacuum Pumpแบบนี้จะดูดอากาศออกจากระบบได้หมดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นสุญญากาศที่สมบูรณ์ คือไม่สามารถดูดอากาศออกจนกระทั่งเข็มของเครื่องวัดชี้ที่ 29 นิ้วปรอท แต่เครื่องทำ Vacuum แบบนี้จะดูดอากาศจนกระทั่งเข็มของเครื่องวัดตกลงมาเพียงไม่เกิน 27 นิ้วปรอท

ก่อนที่จะทำการบรรจุสารทำความเย็นจะต้องใช้เครื่องดูดระบบให้เป็นสุญญากาศเสียก่อนและการใช้เครื่องทำ Vacuumไม่เพียงแต่การดูดอากาศออกให้หมดอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูดความชื้นออกมาด้วยเรียกว่า การ Dehydrating ตัว Filter Drier จะทำหน้าที่ดูดความชื้นซึ่งจะต่ออยู่ระหว่างทางออกของเครื่องควบแน่นและทางเข้าของตัวควบคุมสารทำความเย็น

  

  1. 2.        เครื่องดูดสุญญากาศแบบพิเศษ ( High Vacuum Pump )

 เพื่อที่จะทำให้ระบบทำความเย็นถูกดูดอากาศออกให้หมด และความชื้นหรือละอองไอน้ำที่มีอยู่ในระบบกลายเป็นแก๊สจะถูกดูดออกไปหรือให้มีอยู่น้อยที่สุด  โดยให้ระบบเป็นการขจัดน้ำแผงจะต้องใช้ Filter Drier เพื่อช่วยดูดเอาความชื้นและกรองเศษขี้ผงซึ่งอาจจะเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น การเชื่อมระบบท่อทางเอาไว้ เป็นต้น ซึ่งระบบการขจัดน้ำแฝงนั้นมีการกระทำดังต่อไปนี้

-          ใช้ High ซึ่งจะสามารถจะดูดอากาศออกได้ถึง 27 นิ้วปรอทแล้วเติมแก๊สไนโตรเจนปราศจากน้ำหรือสารทำความเย็นชนิดไม่มีความชื้น เช่น สารทำความเย็นจากถังใหม่ที่บรรจุจากโรงงานผลิตโดยตรงแล้วทำการปล่อยสารทำความเย็นนี้ผ่านเข้าสู่ระบบและดูดความชื้นที่มีต่อและปล่อยให้สารทำความเย็นนี้ทิ้งไปให้เกือบหมดแต่อย่าให้ลงถึง 0 ปอนด์ /ตารางนิ้ว แล้วใช้เครื่อง Vacuum อีก ดูดอากาศและความชื้นออกให้หมดแต่จะต้องเปลี่ยน Filter Drier ทุก ๆ ครั้งที่มีการบรรจุสารทำความเย็นใหม่

 

ขั้นตอนการทำแวคคั่ม

                การดูดอากาศและความชื้นควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เมื่อตรวจรอยรั่วและทำการซ่อมทำเรียบร้อยแล้วให้นำถังไนโตรเจนออก
  2. เปิดวาล์วทางด้าน Low ส่วนวาล์วทางด้าน High ปิด
  3. ค่อย ๆ หมุนทาง Low ทวนเข็มนาฬิกาให้แก๊สไนโตรเจนออกผ่าน Compound Gauge และทางออกของสาย Gauge
  4. เอาเครื่องปั๊มสุญญากาศมาต่อโดยทางดูดต่อเข้ากับสาย Gauge
  5. หมุนวาล์วทาง Compound Gauge ออกให้หมด
  6. เดินเครื่องแวคคั่ม ทำการดูดอากาศและความชื้นอย่างน้อยประมาณ 45 นาที
  7. สังเกตดู Compound Gauge จะต่ำลงกว่า 0 ไปเป็นสเกล Vacuum  คือจะลงมาถึง 29 นิ้วปรอท
  8. เมื่อเดินเครื่อง Vacuum ประมาณ 15 นาที ปิดวาล์วที่เกจทาง Low และทาง High และนำสารทำความเย็นที่จะบรรจุเข้ามาต่อเข้าแล้วเปิดวาล์วทาง Low ของเกจให้สารทำความเย็นเดินเข้าระบบจนเกจชี้ที่ psig
  9. ปิดวาล์วทาง Low ของเกจแล้วนำเครื่อง Vacuum มาทำการต่อทำ Vacuumใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งเวลาไม่ต่ำกว่า 45 นาที และเข็มของเกจชี้ต่ำกว่า 29 ปรอทนิ้ว
  10. ขณะทำการ Vacuumให้เอาไฟขนาด 100 วัตต์เพื่อให้ความร้อนกับอีแวปปอเรเตอร์แล้วเอาหัวแก๊สเชื่อมให้ความร้อนกับเครื่องควบแน่นเพื่อให้ความชื้นหรือละอองไอน้ำที่มีอยู่ภายในระบบกลายเป็นไอและถูกเครื่อง Vacuum ดูดทิ้งไป
  11. เมื่อเดิน Vacuum ประมาณ 45 นาทีและเข็มของเกจทาง Low ชี้ต่ำกว่า 29 นิ้วปรอท ให้ทำการปิดวาล์วของ   เกจทาง Low
  12. เตรียมการบรรจุสารทำความเย็นต่อไป

  

ข้อควรระวังในขณะดำเนินการ Vacuum

1.    ในการทำ Vacuum ทุกครั้งจะต้องแน่ใจว่าวาล์วที่จะเปิด – ปิดนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

2.    ช่วงระยะเวลาในขั้นตอนปฏิบัติการทำ Vacuum สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการในระบบ           

  1. การใช้ Low Vacuum Pump ในตอนแรกถ้าใช้วิธีหยุดแล้วบรรจุสารทำความเย็นอย่างเดียวกับระบบนั้นใช้ทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้ทำ Vacuumใหม่ประมาณ 3 ครั้งจะทำให้ระบบไม่มีอากาศและมีความชื้นน้อยที่สุดได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ High Vacuum Pump ก็ตาม
  2. เมื่อทำ Vacuum ระบบเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการบรรจุสารทำความเย็นทันทีเลยไม่ควรปล่อยระบบทิ้งไว้ในลักษณะเป็นสุญญากาศ
หมายเลขบันทึก: 302076เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียบง่ายดีคร๊าฟ!!!~

ของคุงฮ่ะ ที่เอาข้อมูลดี ๆ มาบอก!!~

Fr. เด๊ก......เกษมโป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท