หัวข้อที่ 1: Sick around the world


Sick around the world

ระบบบริการสาธารณสุขของ 5 ประเทศในโลก

1.ประเทศอเมริกา

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ค่าใช้จ่าย =   8.3  รัฐบาลจ่ายเบี้ยประกันสำหรับพลเมืองโดยใช้กองทุนจากภาษี  ในบริการสุขภาพแห่งชาติ (NSA) พลเมืองจะจ่ายเงินพียงเล็กน้อยจากค่าใช่จ่ายทั้งหมด  โดยเด็กและผู้อายุไม่ต้องจ่ายซึ่งโยทั่วไปต้องให้หมอเป็นผู้ระบุในการรักษาแต่ละครั้ง  ซึ่งรวมถึงระยะเวลาการรอคอยและข้อจำกัดการเลือกดูแลคนไข้ด้วย

2. ประเทศญี่ปุ่น

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ค่าใช้จ่าย =  8.0  ญี่ปุ่นใช้ “ระบบประกันสังคม”  โดยทุกครอบครัวต้องจ่าย  $ 280 ต่อเดือนสำหรับการจ่ายเบี้ยประกัน และอีก 30%  ของค่าใช้จ่ายของขั้นตอนการชำระเงินทั้งหมดและค่าใช้จ่ายรวมในแต่ละเดือนตามรายได้  ซึ่งโรงพยาบาลที่อยู่ในภาคเอกชนจะทำงานโดยไม่ได้รับผลประโยชน์ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตกลงกับแพทย์เพื่อตั้งค่าราคามาตรฐานในการรักษาแต่ในละครั้ง โดยที่ทุกคนสามารถไปพบแพทย์ทุกเมื่อและบ่อยครั้งตามที่ต้องการ ข้อดีของระบบบริการ คือ

- ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลถูก

- มีมาตรฐานในการรักษาอาการป่วยเป็นค่าเดียวทั่วประเทศ โดยมีคู่มือเป็นตัวกำหนด

- ประชาชนทุกคนจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกองทุนประกันสังคม

 

3. ประเทศเยอรมันนี

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ค่าใช้จ่าย =  10.7 เยอรมันนีใช้ระบบประกันสังคมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่น โดยที่พวกเขาต้องจ่าย $ 750 ต่อเดือน และราคาของเบี้ยประกันนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนรายได้  สำหรับการชำระเงินนั้นต้องชำระทุก 3 เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15  ชาวเยอรมันนีสามารถที่ซื้อประกันได้จากบริษัทซึ่งมีมากกว่าสองร้อยบริษัท โดยที่บริษัทจะไม่คิดกำไรและในขณะเดียวกันผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ซึ่งจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขการชำระเงินของบริษัทประกัน

ข้อดีของระบบบริการ คือ

- ระยะเวลาในการรับบริการพยาบาลรวดเร็ว

- เป็นระบบคนรวยช่วยคนจน

- ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในระบบบริการ

- ค่ายาถูกกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา

4. ประเทศไต้หวัน

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ค่าใช้จ่าย =  6.3  ไต้หวันจะใช้ระบบ “ประกันสุขภาพแห่งชาติ” ในปี 1995  ซึ่งระบบนี้จะคล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นและเยอรมันนี  ซึ่งประชาชนจะประกันตนกับรัฐบาล  โดยเฉลี่ยแล้วประชาชนจะต้องจ่ายเบี้ยประกันประมาณครอบครัวละ $ 650 ต่อปี  ซึ่งเป็น 20% ของการชำระเงินค่ายา  ยกเว้นบางกรณี เช่น การคลอดบุตร คนยากจน ทหารผ่านศึกและเด็ก  ประชาชนชาวไต้หวันจะมีบัตรสมาร์ทการ์ด สำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลทางการแพทย์เพื่อดูประวัติและสิทธิการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย

5. ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ค่าใช้จ่าย = 11.6  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีระบบประกันสังคม โดยที่ผู้ประกันสังคมจะต้องจ่ายเบี้ยประกัน $ 750 ต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดจำนวนการจ่ายเบี้ยประกันสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย  โดยให้จ่ายเพียง 10%  ของจำนวนที่ต้องชำระทั้งหมด ซึ่งบริษัทประกันไม่ได้รับอนุญาตให้มีการคิดกำไรเกินควร  และผู้ป่วยสามารถที่จะไปพบแพทย์และดำเนินการตามขั้นตอนการรักษาของแพทย์ได้ ภายใต้เงื่อนไขบริษัทประกันภัย

           

 

หมายเลขบันทึก: 302070เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท