โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ๖ : เรียนแล้วได้อะไร?


            สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนเชื่อว่าด้วยวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ บรรยากาศการเรียนรู้ใหม่ และกระบวนการเรียนรู้ใหม่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในท้องถิ่นที่มีโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นทั้งในชีวิตส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน

            สิ่งที่ผู้เรียนได้จากโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตมีดังนี้

๑. ได้ความสุข  เรียนแล้วมีความสุข ไม่เครียด สนุก เพราะเรียนแบบธรรมชาติ เรียนจากสิ่งที่ปฏิบัติในชีวิตจริง ตามหลักการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่โดยเฉพาะ หรือที่ในวงการวิชาการศึกษาผู้ใหญ่เรียก Andragogy (คำ andr- แปลว่า ผู้ใหญ่) ไม่ใช่ Pedagogy หรือที่เรียกกันในบ้านเราว่า “ครุศาสตร์” (คำ Ped- แปลว่า เด็ก) สถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากมีหลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว แต่จัดการเรียนการสอนแบบเดียวกับที่จัดสำหรับนักศึกษาปกติ (ที่เพิ่งจบมัธยมศึกษา) ใช้หนังสือและสื่อการสอนชุดเดียวกัน (ทั้งยังเอาวิชาเป็นตัวตั้งแบบเดียวกัน)

 เรียนแล้วได้ความสนุกสนาน

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตให้ความสำคัญไม่เพียงแต่การแก้ปัญหาปัจจัยการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้เรียน อาทิ การงาน การเงิน สุขภาพ (วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิตเป็นวิชาแรกในกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปที่ทุกคนต้องเรียน) แต่ยังให้ความสำคัญกับ “การรู้จักตนเอง” โดยบรรจุวิชาการรู้จักตนเองไว้ในวิชาศึกษาทั่วไปให้ทุกคนต้องเรียนในภาคเรียนที่สองของปีแรก  เพื่อให้ทุกคนที่เริ่มเห็นแนวทางแก้ปัญหาพื้นฐานทางวัตถุและทางกายภาพแล้ว ได้กลับมาพิจารณา “ชีวิตด้านใน” ของตนเอง (กิเลสของตน) อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านคุณธรรม ให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้น” ตามศักยภาพของแต่ละคน

เรียนแล้วได้รู้จักตนเอง

ในวิชาที่เกี่ยวกับชุมชนก็ให้ผู้เรียนได้พิจารณาทุกข์หรือปัญหาของสังคม เข้าใจเหตุแห่งทุกข์ เกิดมโนภาพของความพ้นทุกข์ (ความพอเพียง ทางสายกลาง กระบวนทัศน์พัฒนายั่งยืน) และเกิดปัญญาค้นพบแนวทางที่จะร่วมกันปฏิบัติเพื่อการพ้นจากทุกข์หรือปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 

๒. ได้ความรู้จริง จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ความรู้มือหนึ่งที่ตนและกลุ่มสร้างเอง (tacit knowledge)

 เรียนแล้วได้รู้ความจริง

๓. ได้เพื่อน การได้มาเรียนในโครงการนี้ทำให้ผู้เรียนได้พบ ได้รู้จัก และได้เครือข่ายในท้องถิ่น ในจังหวัด ในประเทศ

 เรียนแล้วได้เพื่อน

๔. ได้กินได้ใช้ เรียนแล้วได้กินใช้ได้เลย เช่นในวิชาเศรษฐกิจพอเพียง (และวิชาการวางเป้าหมายแผนชีวิต) ทุกคนต้องกลับไปสำรวจตู้เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และของใช้อื่นๆ ว่ามีพอประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ และตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไร เช่น หากคนเดียวมีเสื้อผ้าถึง ๒ ตู้ จะทำอย่างไร จะสะสางอย่างไร จะต้องบริจาคหนึ่งตัวทุกครั้งที่ซื้อใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร จะทำกินทำใช้ในครอบครัวให้ได้สักหนึ่งในสี่ตามที่ในหลวงตรัสอย่างไร อะไรที่สามารถลงมือทำได้ทันที เช่น การสร้างสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือกันเองโดยการตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในศูนย์เรียนรู้ (การสร้างภูมิคุ้มกัน) การปลูกพืชผักสวนครัว ที่นอกจากลดรายจ่ายแล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพ

 เรียนแล้วได้กินได้ใช้
นักศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต“ทุกคน”ลดการกินผักตลาด
โดยปลูกผักสวนครัว

๕. ได้ขายได้เงิน เมื่อจัดการเป็นก็จะมีรายได้ด้วย เช่น การทำวิสาหกิจชุมชน

 เรียนแล้วได้ขายได้เงิน
ผลผลิตของนักศึกษาศูนย์เรียนรู้ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

๖. ได้ความคิด เรียนแล้วคิดเป็น คิดเป็นระบบ วิเคราะห์(แยกแยะ)ได้ สังเคราะห์(เชื่อมโยง)ได้

 เรียนแล้วได้ความคิด

๗. ได้วิธีการเรียนรู้ ที่สำคัญคือการสามารถสร้างความรู้ใหม่ ที่เป็นความรู้มือหนึ่ง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตด้วยความมั่นใจ ทำอะไรด้วยความรู้ด้วยปัญญา

 เรียนแล้วได้วิธีการเรียนรู้

๘. ได้แรงบันดาลใจ ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนทุกคนได้รับการปลุกให้ตื่นขึ้นมา ซึ่งเป็นพลังปัญญา นำพาชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจและมั่นคง 

 เรียนแล้วได้แรงบันดาลใจ

นักศึกษาที่สำเร็จจากสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนเมื่อได้สิ่งต่างๆ ทั้ง ๘ ประการที่กล่าวมาแล้ว จะสามารถเป็นผู้นำตนเอง นำครอบครัว และนำชุมชนท้องถิ่นไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้.

หมายเลขบันทึก: 301553เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ได้ยินชื่อ"มหาวิทยาลัยชีวิต" มานานพอสมควร แต่ก็ยังไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของ "ม.ชีวิต" เสียที

มีคนรู้จักหลายคน กล่าวถึง ม.ชีวิต ก็สนใจ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองบ้าง

เพราะ"อยากเรียนต่อ..แต่ยังไม่พอมีทุน.."

ขอบคุณครับ

นายจำนงค์ พันธ์พงศ์

เรียน ดร.เสรี เคารพกระได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันพุทธที่9 มีนาคม 54 รู้สึกดีมากกระผมอยากเรียนแต่ไม่รู้ว่าที่สุรินทร์มีสาขาหรือเปล่าครับถ้ามีกระผมจะเรียนทันหรือมัยครับกระผมขอความอนุเคราะห์รายละเอียดด้วยครับตามที่อยู่ต่อไปนี้     161  ม.9   บ้านแสนสุข    ต.แสลงพันธ์     อ. เมือง    จ.สุรินทร์     32000

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท