ทักษะการกระตุ้นให้คิด


ทักษะการกระตุ้นให้คิด

ทักษะการกระตุ้นให้คิด

     จุดมุ่งหมายของทักษะกระตุ้นให้คิด 
1.  เพื่อให้ผู้ฝึกรู้วิธีในการส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียน
2.  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ    

3.  เพื่อให้ผู้สอนตระหนักถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
4.  เพื่อฝึกให้ผู้สอนและผู้เรียนมีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
5.  เพื่อให้ผู้สอนรู้จักแบบของการคิดและพฤติกรรมของการคิดชนิดต่าง ๆ ที่จะสามารถนำไปฝึกปฏิบัติรวมทั้งฝึกให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ด้วย
     รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
1.  การสร้างความคิดรวบยอด (Concept Attainment) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดแบบอนุมาน มีเหตุผลสามารถพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเองและความสามารถในการวิเคราะห์

2.  การคิดเชิงอุปมาน (Inductive Thinking) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของสมอง เพื่อให้มีเหตุผลยิ่งขึ้น
3.  การฝึกการคิดค้นหาคำตอบ (Inquiry Training) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการในการคิดค้นด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
4.  การพัฒนาความรู้ (The Developing Intellect) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่โดยให้เป็น ไปตามพัฒนาการของผู้เรียนตามวัย

5.  การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการคิดค้น การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดหรือเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาและสามารถออก แบบการแก้ปัญหา 
6.  การคิดค้นทางสังคมศาสตร์ (Social Science Inquiry) จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักเรียน ให้รู้จักคิด วิเคราะห์ และหาทางแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีระบบตามวิธีการสืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ที่เข้าใจตรงกัน
7.  การคิดค้นทางชีววิทยา (Biological Science Inquiry model) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ในสาขาวิชาชีววิทยารวมทั้งมีทักษะและความสามารถในการแสวงหาความรู้   ค้นคว้าหาคำ ตอบได้อย่างมีระบบตามระเบียบวิธีวิจัยทางชีววิทยา

8.  การใช้กลุ่มสืบเสาะหาความรู้ (Group Investigation Model) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านเนื้อหาความรู้และด้านกระบวนการทางสังคม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นหลัก รวมทั้งกระบวนการประชาธิปไตยและพลังกลุ่มเพื่อให้ได้เรียนรู้และทำงานร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 301465เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค้า ทั้งหมดของการกระตุ้นให้คิดต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท