นโยบายและแผนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย


นโยบาย การศึกษาปฐมวัย ยุทธศาสรตร์ แผนการศึกษา

         นโยบายและแผนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย   ที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ได้เห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีอัตราของพัฒนาการที่สูง     เด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูและพัฒนาอย่างถูกต้องในช่วงเวลานี้   เมื่อพ้นวัยแล้วโอกาสทองเช่นนี้จะไม่หวนกลับมาอีกเลย      แต่ผลการประเมินพบว่า  หลายหน่วยงานที่จัดบริการสำหรับเด็กปฐมวัย    ยังต้องปรับปรุงคุณภาพในด้านการบริหารจัดการและมาตรฐานคุณภาพที่เหมาะสม       และถูกต้องตามหลักวิชาอีกในหลาย ๆ ด้าน  จึงจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเร่งด่วน การศึกษาในระดับนี้เป็นการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน   ให้เป็นพื้นฐานของชีวิตที่สมบูรณ์ และการส่งเสริมให้ชุมชนหรือสถาบันหรือองค์กรในท้องถิ่น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันครอบครัว  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาควบคู่ไปด้วย   นอกจากนี้นโยบายและแผนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ยังได้ระบุสภาพปัจจุบันและปัญหาต่าง ๆ เช่น

 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2540  มาตรา 53  ระบุไว้ว่าเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่มีผู้ดูแล  มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ      มาตรา80 ระบุไว้ว่า รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน - หน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  มีทั้งภาครัฐและเอกชน   แต่ยังไม่สามารถจัดบริการได้ตรอบคลุมทั่งถึงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  ขาดการประสานงานและไม่มีเอกภาพของนโยบาย -ขาดการประบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ       -  ผลการประเมินการจัดบริการพัฒนาเด็ก 3-5 ปี  พบว่าด้วยคุณภาพทั้งในด้านการบริหารและจัดการ ขาดคุณภาพในเรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การเร่งสอนอ่าน เขียน  คิดเลข  เพื่อให้สอบเข้าชั้นป.1  -ขาดการให้ความรู้แก่พ่อแม่   ผู้ปกครองอย่างทั่วถึง  -ขาดการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง -ขาดการทอนแผนไปสู่การปฏิบัติ   ฯลฯ

   ยุทธศาสตร์ : เด็กปฐมวัย                                                                          -เด็กอายุต่ำกว่า  3  ปี  ใช้หลักการบ้านเป็นฐานในการเลี้ยงดู ( home  based  approach )-เด็กอายุ 3-5 ปี  ให้ผู้ดูแลเด็กมีลักษณะเป็นมืออาชีพ  และร่วมมือกับพ่อแม่   ผู้ปกครองและครอบครัว   -การพัฒนาที่ดีและมีคุณภาพต้องมีระบบการส่งต่อเพื่อเชื่อมโยงจากบ้านไปศูนย์พัฒนาเด็กหรือโรงเรียนงเรียน - การพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ที่เกียวข้องกับเด็ก  -การสร้างความพร้อมให้ชุมชนและท้องถิ่น

    เงื่อนไขสู่ความเร็จ                                                                                  -รัฐประกาศนโยบายที่ชัดเจน  ในการจัดสรรงบประมาณ  การพัฒนาเด็กโดยถือเป็นการลงทุนที่สำคัญ   -ทุกส่วนต้องตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กอายุ 0-5 ปี และเห็นความจำเป็นในการวางรากฐานที่มั่นคงต่อชีวิต -ต้องมีความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในทุกส่วนของสังคม -ต้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียดพร้อมทั้งกำหนดตัวบ่งชี้และติดตามผล    -กำหนดมาตรฐานของการพัฒนาเด็กปฐมวัยและมีการประเมินผลอย่างครบวงจร

     นั่นเพราะชีวิตที่มีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่เด็กกำเนิดขึ้นมาในครรถ์มารดา  ด้วยการมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์  ครอบครัวมีความพร้อม  และพัฒนาต่อยอดมาถึงโรงเรียน หรือสถานศึกษาต่าง ๆ การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็กทุกคน  เช่นเดียวกับต้นกล้าที่มีคุณภาพย่อมเกิดจากเมล็ดพันธ์ที่ดี   และสภาพแวดล้อมที่อำนวยตั้งแต่ยังเล็ก หากเพราะรอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้วนั้นเอง

    ปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่น่ารักที่สุดของเด็ก  หากผู้ใหญ่รักอย่างเข้าใจ    รู้ถึงความต้องการ  มีเทคนิคการควบคุมที่ดี   เด็กทุกคนก็พร้อมจะเชื่อฟังและพัฒนาศักยภาพตามวัยอย่างสนุกสนานและมีคุณภาพ   ลองมองในจุดดี  หาจุดเด่นของเด็ก  และหาวิธีการที่เหมาะสมให้เกิดขึ้น  ไม้ที่ยังอ่อนทุกต้นก็จะสามารถดัดได้ตามต้องการแต่คำถามที่ยังคงส่งสัยนั้นคือ  เราตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เริ่มต้น มากกว่าการตามแก้ปัญหาในวัยอื่น ๆ แล้วหรือยัง

หมายเลขบันทึก: 300918เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท