Voice over IP (VoIP) คืออะไร


เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocol

หลักการพื้นฐานของเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

TCP/IP ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

   1.TCP (Transmission Control Protocol) มีหน้าที่ในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ส่ง และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้รับ ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน หากมีการสูญหายของแพ็กเก็ตข้อมูล ก็จะมีการแจ้งให้ต้นทางทราบแล้วทำการส่งแพ็กเก็ตที่สูญหายมาให้ใหม่

   2.Internet Protocol (IP) โดยมีหลักการทำงาน คือ แบ่งข้อมูลที่จะส่งเป็นชิ้นเล็กเล็กๆ หรือเรียกว่าแพ็กเก็ต แล้วทำการส่งแพ็กเก็ตไปยังเส้นทางที่เหมาะสมทีละแพ็กเก็ตถึงปลายทาง แต่ละแพ็กเก็ตอาจจะใช้คนละเส้นทางในการเดินทางถึงปลายทางก็ได้ ขึ้นอยู่กับ การพิจารณาเลือกเส้นทางของเราเตอร์ในช่วงต่างๆ หากเกิดการผิดพลาด ณ ช่วงเวลาการส่งใด เราเตอร์ที่รับผิดชอบการส่งช่วงนั้นก็จะทำการส่งแพ็กเก็ตใหม่ให้อัตโนมัติ เมื่อถึงปลายทางระบบจะทำการรวบรวมแพ็กเก็ตกลับให้เป็นเนื้อข้อมูลดังเดิม

ลักษณะการทำงานของ IP (Internet Protocol)

   จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่จะใช้รับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย และทำการตรวจสอบที่อยู่ของผู้รับ โดยใช้ข้อมูลขนาด 4 Byte เป็นตัวกำหนดแอดเดรส หรือที่เรียกว่า IP Address ซึ่งโพรโตคอล TCP จะทำงานอยู่ในชั้น Transport Layer ตัวแพ็กเก็ต TCP จะประกอบด้วย ส่วนหัว (Header) และส่วนข้อมูล (Data) ส่วนโพรโตคอล IP จะทำงานอยู่ในชั้น Network Layer ตัวแพ็กเก็ต IP จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนหัว (IP Header) จะประกอบด้วย IP แอดเดรสของเครื่องต้นทางและปลายทาง และส่วนข้อมูล (IP Data) จะเป็นที่เก็บโพรโตคอล TCP เนื่องจากโพรโตคอล TCP/IP จะถูก Encapsulate ให้มาอยู่ในส่วนแพ็กเก็ต IP 

   การสื่อสารผ่านเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึงปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น (Quality of Service: QoS) เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ ซึ่งจะเห็นการพัฒนาของอุปกรณ์เน็ตเวิกส์ในปัจจุบัน สวิตช์ในปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Port QoS (Quanlity of Service) มาด้วยในหลายยี่ห้อ


วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

   Email หรือจดหมายอิเล็กใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร หรือส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันทั้งภายในและนอกองค์กร มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ สามารถแนบไฟล์ต่างๆไปถึงผู้รับ

   Chat คือ การส่งข้อความสั้นๆ เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่างบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกัน สามารถเขียนข้อความโต้ตอบกันคล้ายกับการพูดคุย แต่เป็นการใช้ข้อความสั้นๆแทนการใช้เสียง เช่น MSN Messenger สามารถต่อกล้องเว็บแคมป์เพื่อเห็นหน้าคู่สนทนาได้อีกด้วย

   VDO Conference เป็นการสื่อสารทั้งภาพและเสียง โดยสามารถนำมาใช้ในการประชุมทางไกล เช่น ผู้บริหารที่อยู่สำนักงานใหญ่ สามารถใช้ VDO Conference เพื่อประชุมกับสาขาต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปทุกๆสาขา ทำให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย

   และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต่อมา คือ เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP หรือเรียกว่า เทคโนโลยี Voice over IP (VoIP) จนสามารถใช้งานได้ดีขึ้น VoIP ได้มีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนาด้วยเสียงระหว่างกันผ่านเครือข่ายได้ รวมถึงสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานได้ คุณภาพของเสียงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเทียบเท่าระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งรายละเอียดของ VoIP จะกล่าวถึงในเนื้อหาในบทถัดไป
 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการนำ VoIP มาใช้งาน

1.การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป

2.การพัฒนารูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันกว้างไกลยิ่งขึ้น

3.การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการใช้ติดต่อสื่อสาร

4.การใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นในปัจจบัน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน

5.ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก ทั้งด้านข้อมูล, ด้านเสียง ,แฟกซ์ แม้ว่าบุคคลนั้นจะย้ายไปอยู่ที่ใดก็ยังใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ

6.การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กรได้ เช่น การโทรศัพท์หาลูกค้า หรือลูกค้าต้องการโทรติดต่อกับผู้ค้า หากใช้ VoIP ก็จะทำให้ลูกค้าและผู้ค้าได้ประโยชน์ร่วมกันได้ในเรื่องของค่าใช้จ่าย

7.การเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่าย Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้กลุ่มนี้ต้องการการติดต่อสื่อสารที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้นตลาดกลุ่มนี้จึงเป็นโอกาศของ VoIP
 

คุณสมบัติสำคัญของ VoIP เมื่อเทียบกับระบบโทรศัพท์แบบเดิมในองค์กร

ระบบโทรศัพท์แบบเดิม

   ระบบโทรศัพท์แบบเดิมเป็นระบบ Analog ใช้งานผ่านตู้สาขา (PBX) ช่วยให้องค์กรใช้งานคู่สายโทรศัพท์ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถต่อจ่ายเบอร์ให้กับผู้ใช้มากกว่าคู่สายจริง เปรียบเสมือนการแบ่งใช้คู่สายโทรศัพท์ โดยมี PBX เป็นตัวจัดการ เช่น องค์กรมีคู่สายจริง 1 เลขหมาย และติดตั้ง PBX เพื่อแบ่งเลขหมายติดต่อกันภายในองค์กร ติดต่อระหว่างแผนก เรียกว่าเบอร์ภายใน จำนวนเลขหมายภายในขึ้นอย่กับตู้ PBX ที่ใช้งานว่าต้องการใช้งานเลขหมายภายในกี่เบอร์ ก็เลือกซื้อตู้ PBX มาใช้งานขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร ในที่นี้ยกตัวอย่างว่ามีเบอร์ภายใน 10 เลขหมายสามารถติดต่อกันระหว่างแผนกต่างผ่านบริการของตู้ PBX โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เมื่อแต่ละแผนกต้องการติดต่อไปยังเลขหมายภายนอกองค์กร ตู้ PBX ก็จะทำการให้บริการโดยจับคู่เลขหมายภายในกับคู่สายจริงที่ว่างอยู่แล้วทำการ เรียกไปยังเลขหมายภายนอกที่ผู้ใช้ต้องการ แต่สามารถใช้งานโทรออกภายนอกได้ครั้งละ 1 คู่สายในเวลาเดียวกัน เนื่องจากเรามีเลขหมายจริงเพียง 1 เลขหมายในการหมุนออกนอกองค์กร หากต้องการใช้งานพร้อมๆกันมากขึ้นก็ต้องเพิ่มคู่สายจริง ทั้งหมดนี้ PBX จะเป็นตัวจัดการให้ คุณสมบัติต่างๆ ของระบบโทรศัพท์ คือ โอนสายและวอยซ์เมลล์

ระบบโทรศัพท์แบบ VoIP

   ระบบ VoIP คือการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงระบบ Digital ผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย IP (Internet Protocol) โดยมีระบบฝากข้อความแบบ E-Mail และ Fax มีคุณสมบัติต่างดังนี้

-สามารถโอนสายไปเครื่องอื่น หรือเข้าระบบวอยซ์เมลล์อัตโนมัติเมื่อไม่มีผู้รับสาย

-สามารถตั้งลำดับการรับสายได้ เช่น เมื่อมีการโทรเข้าเริ่มจากเครื่อง IP Phone (โทรศัพท์ที่ใช้ในระบบ VoIP), โทรศัพท์มือถือ, เบอร์บ้าน, หากยังไม่มีการรับสายก็ส่ง Massage เข้ามือถือหรือ E-Mail

-สามารถแสดงเบอร์โทรศัพท์ หรือ IP Address เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ผู้รับสายเห็นเบอร์คู่สนทนาได้

-สามารถใช้งานโทรศัพท์ผ่านทางเครื่อง IP Phone หรือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้

-สามารถตรวจข้อความ E-Mail, Voice Mail, Fax ผ่านแ แอพพลิเคชั่นบนคอมพิวเตอร์ได้

-สามารถส่ง Fax ผ่านเครื่อง Fax หรือแอพพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

Voice over IP (VoIP) คืออะไร

   Voice over IP (VoIP) ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 1996 ในนิตยาสาร CTI Magazine (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Communication Solutions Magazine.) ได้วิจารณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์และการโทรศัพท์สามารถทำงานร่วมกัน ซึ่งมีการใช้งานครั้งแรกในธุรกิจ Call Center โดยเป็นการทำงานร่วมกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ

   Voice over IP คือเทคโนโลยีการนำสัญญาณเสียงมาผสมกับสัญญาณข้อมูล เพื่อส่งไปบนระบบเครือข่าย IP (Internet Protocol) ปกติจะใช้ IP ในการส่งสัญญาณข้อมูลเท่านั้น เทคโนโลยี VoIP นี้ได้พัฒนาจนสามารถสื่อสารสัญญาณเสียงผ่าน IP ได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของเครือข่ายโทรศัพท์ได้มากขึ้น ซึ่งการติดต่อสื่อสารแบบเดิมเป็นแบบ Analog ทำให้สิ้นเปลืองเวลาและอุปกรณ์ เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์ระหว่างปลายทางและต้นทาง เมื่อระบบเชื่อมต่อโทรศัพท์ได้แล้วหมายความว่า ช่องทางการติดต่อจองคู่สายนี้จะถูกจองทั้งสาย ไม่สามารถรับการเชื่อมต่อจากคู่สายอื่นได้จนกว่าจะจบการเชื่อมต่อของคู่สนทนา สายโทรศัพท์เส้นนี้จึงจะว่าง หากเป็นระบบ digital ไม่ใช่เป็นการเพิ่มสายให้มีช่องทางมากขึ้น เพียงแต่เสมือนการแบ่งเลน ให้มีหลายช่องจราจร มีหลายระดับความเร็วแบ่งกันใช้ เมื่อเอาโทรศัพท์ที่สามารถใช้ระบบ IP

  Telephony มาเชื่อมต่อก็เหมือนกับว่าโทรศัพท์ 2 เครื่องต่อผ่านสายโทรศัพท์ 1 เส้น แต่การส่งสัญญาณไปกลับจะถูกแบ่งเป็นแพ็กเก็ต แล้วทยอยส่งเป็นช่วง ช่วงว่างก็เป็นโอกาศให้ผู้อื่นส่งบ้าง เรียกว่าไปด้วยกัน แบ่งเลนกัน แบ่งเวาลกัน ดังนั้นช่วงเวลาเท่าๆกัน ระบบ IP Telephony สามารถคุยกันได้

   VoIP สามารถประยุกต์ใช้กับข้อกำหนดของการสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ตั้งแต่การติดต่อภายในองค์กร ระหว่างองค์กร ระหว่างประเทศ อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายที่ใช้งานและใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และที่สำคัญต้องสามารถใช้ร่วมกับระบบโทรศัพท์แบบเดิมได้ด้วย ยังคงต้องใช้ควบคู่กับไป เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่ องค์กรต่างๆยังคงใช้ระบบโทรศัพท์แบบเดิมอยู่ ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งระบบ VoIP และระบบโทรศัพท์แบบเดิม

แนวทางการนำระบบ VoIP ไปใช้งาน

แนวทางของเทคโนโลยีในการใช้งานของระบบ VoIP แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1.การพัฒนาเครือข่าย IP เดิม ให้มีส่วนที่เชื่อมต่อกับระบบสัญญาณเสียง (Voice enable IP Network) โดยการใช้ Voice interface บนอุปกรณ์เครือข่าย IP

2.การพัฒนาระบบเครือข่าย PBX เดิม ด้วยการเพิ่มเติม IP Interface ให้เป็น IP enabled PBX เพื่อสามารถรับส่งสัญญาณเสียงเข้าไปใน IP Network ได้

   ซึ่งการพัฒนาระบบเครือข่าย PBX เดิมเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้กับระบบ VoIP จึงจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับองค์กรที่ใช้งานระบบเครือข่าย PBX อยู่แล้ว ด้วยฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ต่างๆบน PBX ก็ยังคงนำมาใช้งานได้อย่างปกติ โดยระบบ PBX จะมองเครือข่าย IP เป็นเพียงเส้นทางรับส่งสัญญาณทางหนึ่งเท่านั้น ซึ่งระบบ IP-enable PBX สามารถประกันคุณภาพของสัญญาณเสียง มีการตรวจสอบเครือข่ายก่อนส่งข้อมูลออกไป และจะเปลี่ยนเส้นทางหากมีการจราจรหนาแน่นของเส้นทางเดิม เช่น ถ้าเครือข่าย IP ข้อมูลหนาแน่นก็จะเปลี่ยนการส่งข้อมูลเสียงออกไปทาง ISDN หรือ Frame relay

คำสำคัญ (Tags): #voip
หมายเลขบันทึก: 300860เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท