การดำเนินการจัดการความรู้ในสถานศึกษา


ความสำคัญของการจัดการความรู้

จากกรณีศึกษา

การจัดการความรู้ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา

                การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบุคคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษา คือการจัด การศึกษาและพัฒนาบุคคลากรเชิงบูรณการ  เพราะการศึกษา คือชีวิต  วิถีชีวิต คือกระบวน การเรียนรู้ อย่างเป็นกระบวน การในการจัดการความรู้ในสถานศึกษา  ควรมีการวางแผน ตั้งแต่การสร้างวิสัยทัศน์ บริหาร จัดการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ ให้ผู้เรียนมี ขีดความสามารถสูงสุดต่อการพัฒนาและการเรียนรู้โดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่เชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมสารสนเทศ ของระบบทุนนิยมกับบริบทของชุมชนภายใต้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้เกิดความสมดุลในองค์ความรู้ใหม่พอเพียงและมีภูมิคุ้มกันในฐานความรู้ที่ทันโลก   สร้างโรงเรียนเป็นองค์กรนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์  สร้างฐานความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเชิงมิติสัมพันธ์   3  มิติคือ  มิติด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญา   มิติด้านกระบวนการมีส่วนร่วมและระบบเครือข่าย   สร้างพลังศรัทธาและความเชื่อมั่น เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันเหตุการณ์และการเปลี่ยน แปลงของสังคม   ใช้หลักการจัดการเรียนรู้ในการจัดการจัดการศึกษา ใช้การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหาร ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมองค์กร  และกระบวนทัศน์ใหม่ของบุคลากร ให้เป็นองค์กรนวัตกรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้   ผู้บริหาร เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง   ครู / บุคลากร มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดนอกกรอบ คิดกว้างและลึก  นักเรียน เป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้  มีภูมิคุ้มกันมีฐานความรู้ที่ทันโลก  พัฒนาองค์ความรู้จากฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในบริบทของชุมชนเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมของกระแสโลกาภิวัตน์  เพื่อสร้างความสมดุลอย่างมีเหตุมีผลและสมเหตุสมผล 

แนวคิด/ วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา

1.   จัดให้มีระบบข้อมูล สารสนเทศให้ครอบคลุมการใช้งานในสถานศึกษา และเป็นปัจจุบัน

2.   ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ

3.   ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ และมีการดำเนินงานตาม

       แผน

4.   พัฒนาครู/บุคลากร ในวิชาชีพที่สอน อย่างน้อย 20 ช.ม. /ปี และบริหารงานให้เป็นระบบ

ครบวงจร PDCA

5.   มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและนำผล

        การประเมินไปใช้

6.   มีการดำเนินงานตามแผน

7.   ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครู/นักเรียน ทำวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

8.   พัฒนาครูให้มีความรู้ในการทำวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

9.   จัดสรร/สรรหางบประมาณเพิ่มให้แก่การทำวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ (ให้ปรากฏใน

        แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ)

10.  มีการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ไปใช้ประโยชน์

11.  จัดระบบการรวบรวมผลงานของครูในการทำวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ควรสัมพันธ์

        กับวิชาชีพที่สอน

12.  จัดให้มีการแสดง/ประกวดผลงานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ในและนอกสถานศึกษา

        เพื่อเผยแพร่งานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ของครู

  1. พัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์

 

ประโยชน์ต่อสถานศึกษาที่คาดว่าจะได้รับ

 

  1. ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

  1. ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

  1. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

  1. กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ 

และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู   สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

                  5.    สถานศึกษาการประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงการสร้างความมั่นใจโดยการใช้ข้อมูล

สารสนเทศและองค์ความรู้และการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดตั้งแต่ในขั้นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การติดตาม ตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อให้มีการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพผลผลิต การจัดทำรายงาน และนำเสนอข้อมูลการประเมินสำหรับ การตัดสินใจในระดับต่างๆ และ สำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในระยะต่อไป

 

บรรณานุกรม

 

รุ่ง  แก้วแดง ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช จำกัด 2544

สมคิด  พรมจุ้ย และสุพักตร์  พิบูลย์ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา นนทบุรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2544

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก

                  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร  บริษัทพิมพ์ดี จำกัด 2544

                 . แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก

                  กรุงเทพมหานคร  บริษัทพิมพ์ดี จำกัด 2543

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2543

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กรอบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2544

วิชาการ,กรม.(2544).  การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.   

                 กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษา.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 300821เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท