ฐานข้อมูล Scopus >>Part 1


เป็นประโยชน์สำหรับผู้กำลังทำวิจัย

   วันที่  25  กันยายน  2552  กองบริหารงานวิจัย  ร่วมกับสำนักหอสมุด  จัดอบรมการใช้งาน  ฐานข้อมูล  Scopus  และฐานข้อมูล ISI  โดยมี  รศ.ดร.รัตติมา  จีนาพงษา  (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด)  ได้มาให้ความรู้ความเข้าใจ  ตอนแรกผู้เขียนไม่เคยได้ยิน  คำๆนี้  แต่แวดวงนักวิจัยคงเข้าใจกันเป็นอย่างดี  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาขออธิบายขั้นตอนที่ทางผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ได้อธิบายไว้ดังนี้    จริงๆ  ผู้เขียนเอง  นั่งฟังไปทำใส่  word  ไป  แล้วกลับมานั่งประมวลความรู้ต่อที่บ้าน         

     Scopus  เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลด้านการตีพิมพ์  การอ้างอิง  ค่า  h-index  รวมถึงการวิเคราะห์วารสาร  นอกจากนั้น  ยังสามารถใช้ในการค้นหาบทความทางวิชาการที่ต้องการได้  และหากบทความที่ต้องการนั้นมีอยู่ในฐานข้อมูลที่สถาบันบอกรับ  ผู้ใช้ก็สามารถ Download  บทความฉบับเต็ม  ได้เลย  (อ้างอิงจาก  สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยนเรศวร)    

1. ขั้นแรกเข้า  www.lib.nu.ac.th  (ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทดลอง  สามารถใช้ได้ถึงวันที่  15  ตุลาคม  2552 บุคลากรในมหาวิทยาลัย สามารถเข้าใช้ได้เลยนะค่ะ ช่วงนี้  เพื่อประโยชน์สูงสุดค่ะ)   

 2. เข้าเว็บ  scopus  (http://www.scopus.com/home.url

 

3. คลิกเลือก Affiliation Search  (เป็นการค้นหาองค์กร/สถาบันที่อยู่ในเครือข่ายฐานข้อมูล)    โดยในที่นี่จะค้นหาบทความที่ตีพิมพ์ในมหาวิทยาลัยนเรศวร  หรือ  “naresuan  university”  และคลิก  search  ตามรูปภาพ

 

 4. คลิก  box  หน้าชื่อมหาวิทยาลัยที่เราพิมพ์  และเลือก  show  document  โดยจะแสดงผลการค้น ในที่นี่  ทั้งหมด  617  บทความ  จากปรากฏดังรูป

 

 5. หากเราต้องการรายการทั้งหมด  617  บทความ  วิธีการนำข้อมูล  ออกมาให้ คลิก  all   และ คลิก output

 จะปรากฏดังรูป  และคลิกที่  Export  โดยเลือก

 

 เมื่อคลิก  Export  แล้วจะถามให้  save

 ให้ตั้งชื่อ โฟรเดอร์  ในที่นี่ตั้งชื่อว่า  “naree”  แล้วเข้าไป save  ชื่อไฟล์ที่เรา Export  ว่า  “nupaper”

 

 6.  และในที่นี่เราต้องการ Export  ข้อมูลไว้ในโปรแกรม  endnote  โดยเข้าไปเรียกเปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมา 

 

จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม  Endnote   คลิก  create  new  library 

 

 แล้วหาโฟรเดอร์  “naree”  ที่เราตั้งเมื่อสักครู่นี้  และตั้งชื่อไฟล์อะไรก็ได้ในที่นี่ตั้งว่า  “nupaper”   กด save  จะได้ดังรูป

 

 กลับมาโฟลเดอร์ “naree”  และคลิกไฟล์ของ socpus  ที่ได้เราได้ save  ไว้

 

 เมื่อกลับไปเปิด โปรแกรม  Endnote  จะได้ดังรูป  ซึ่งข้อมูลจะถูกดึงเข้ามาทันที ทั้งหมด  617  รายการ

 

 โดยโปรแกรม  endnote  สามารถเรียงตามลำดับ  โดยคลิก  ที่  author  หรือ  year  แล้วแต่ความต้องการ

 6.  หากเราต้องการนำโปรแกรม  Endnote  ไปใช้งานในโปรแกรม  word  ทำได้ดังนี้

 

  จากนั้น  เปิดโปรแกรม  word  ขึ้นมาแล้ว  วาง  จะได้รายการบรรณานุกรม  ดังรูป

 

 หรือหากต้องการรูปแบบอื่นๆ  นอกจากนี้  ทำได้ดังนี้

เช่น  ต้องการรูปแบบ  APA  (เป็นประเภทของการเขียนบรรณานุกรม) 

จะได้รังรูป  โดยจะเหมาะสำหรับสาขาสังคมศาสตร์  ถ้าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์  จะใช้  แบบ Vancouver โดยต้องการรูปแบบไหนให้ทำตามขั้นตอนที่อธิบายทุกประการ  โดยต้องไม่ลืม  Copy  formatted  ทุกครั้งด้วย

    ตอนต่อไปจะพูดถึง  การใช้ฐานข้อมูล  Scopus  ด้วยการค้นหาจากการค้นหาแบบ basic  search และการค้นหาจากผู้แต่ง   ตอนสุดท้าย  คงจะอธิบายถึงฐานข้อมูล  ISI 

คำสำคัญ (Tags): #ฐานข้อมูล scopus
หมายเลขบันทึก: 300820เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพิ่งใช้ฐานข้อมูลนี้ไม่นานเท่าไหร่ มีประโยชน์มากเลยค่ะ สะดวกเวลาโหลด fulltext หลายๆรายการพร้อมกันได้ด้วย เห็นที่มข ใช้ Scopus อ้างอิงผลงานอาจารย์ ที่ติพิมพ์นานาชาติตามตัวชี้วัด KPI ด้วยค่ะ เพราะมหาวิทยาลัยกลุ่มวิจัยจำเป็นต้องใช้มาก

ต้องลองเล่นดูบ้างแล้วเนี่ย...พอดีไม่ได้เข้าอบรม เลยยังไม่รู้เรื่องฐานนี้เลย

  • โอ้โห ยอดเยี่ยมไปเลยค่ะ สรุปใจความได้กระทัดรัดเข้าใจง่ายดีค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะได้น้องเตี้ยเป็นนักประชาสัมพันธ์เพิ่มอีกคนล่ะ
  • ฐานข้อมูลนี้เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับคณาจารย์ และนักวิจัย เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลที่รวบรวมผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารในหลายสาขาวิชา โดยฐานข้อมูลนี้จะครอบคลุมมากกว่า ISI Web of Science เนื่องจากจะคลุมถึงวารสารที่มี abstract เป็นภาษาต่างประเทศอื่นๆ ด้วย

นอกจากนี้นโยบายมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติตามที่ สกอ.ได้กำหนดไว้นั้นระบุว่าการนับผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่จะอ้างอิงตามฐานข้อมูล SCOPUS  

อีกทั้งยังสามารถใช้ค้นหาว่างานวิจัยของเรามีใครอ้างอิงถึงบ้าง รวมทั้งรู้จักตัวชี้วัดคุณค่าของบทความในรูปของ H-Index ที่มีแนวโน้มจะใช้ในการชี้วัดนี้มากขึ้น นอกเหนือจาก Impact Factor 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท