ระหว่างรอมฎอนที่ผ่านไปกับรอมฎอนที่กำลังจะมาถึง


การพยายามนำการปฏิบัติที่ดีๆในเดือนรอมฎอนมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้จนกระทั่งเราได้รับเกียรติให้เข้าสู่เดือรอมฎอนอีกครั้ง (อินชาอัลลฮฺ) จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง และไม่มีอะไรจะดีไปกว่านี้

ในแง่หนึ่งเดือนรอมฎอนเปรียบเสมือนสถาบันแห่งการ "ฝึกอบรมและขัดเกลา" ผู้ที่เข้าสู่เดือนดังกล่าว โดยเริ่มจากการ "เปลี่ยนแปลง" ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน เริ่มจาก

  • เวลาตื่นนอน รอมฏอนปลุกให้เราตื่นเร็วขึ้นจากปกติ ประมาณตี 4.00 ของทุกวัน บางคนอาจจะตื่นก่อนเวลาดังกล่าว

  • เวลารับประทานอาหาร อาหารเช้า (สะโห) ต้องรับประทานให้เสร็จก่อนเวลาละหมาดศุบฮฺ หรือก่อนเวลา 04.50 น. และรับประทานอาหารค่ำ (ละศีลอด) หลังจากเข้าเวลาละหมาดมัฆริบแล้ว ประมาณเวลา 18.30 น. ตลอดเดือนรอมฎอนผู้ถือศีลอดต้องงดอาหารเที่ยง และงดกินดื่มหรือปฏิบัติสิ่งฮาลาลต่างๆที่อนุญาตในเดือนอื่นๆ ในระหว่างเวลาหลังละหมาดศุบฮฺจนถึงเวลาก่อนเข้าเวลาละหมาดมัฆริบ (ระหว่างเวลา 04.55-18.29 โดยประมาณ) เช่น ข้าวปลาอาหาร น้ำ ชา กาแฟ ขนม หรือของกินอื่นๆ รวมถึงแม้แต่การหลับนอนระหว่างสามีภรรยาในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว

  • มีข้อสังเกตสำคัญตรงนี้ก็คือ อิสลามให้เราฝึกไม่กิน ดืม หรืองดไม่กระทำในสิ่งที่ฮาลาล (อนุมัติ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักระงับ ยับยั้งตนเองตาม "คำสั่ง" หรือ "เงื่อนไข" ที่กำหนดไว้โดย "อัลลอฮฺ" และ "รอซูล" (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เป็นเวลา 1 เดือนทุกปี ซึ่งเราสามารถนำเอา "ทักษะในการรู้จักระงับยับยั้ง" ที่ฝึกฝนตลอดทั้งเดือนรอมฎอนมาใช้ในชีวิตประจำวันหลังเดือนรอมฎอน การที่เราสามารถระงับยับยั้งไม่กระทำตามเงื่อนไขที่กำหนดสำหรับเดือนรอมฎอนแม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ฮาลาล ย่อมเป็นการเพียงพอแล้วที่เราจะมี"ภูมิคุ้มกัน" ที่จะไม่กระทำ "สิ่งที่ฮารอม" หรือ "สิ่งต้องห้าม" ตามบทบัญัติอิสลาม

  • ผู้ที่ไม่เข้าใกล้หรือกระทำสิ่งที่อิสลามห้าม (ฮารอม) หลังจากเดือนรอมฎอนคือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรแห่งความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมจากสถาบันรอมฎอน

  • และตลอดเดือนรอมฎอนเราจะ "อ่านอัลกุรอาน" มากเป็นพิเศษ และรวมถึง "ฟังอัลกุรอาน" อย่างน้อยคืนละ 1 ญุซุอสำหรับคนที่ไปร่วมละหมาดตะรอวีหฺ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่เราได้ยืนฟัง "พระบัญชา" จากพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องต่างๆ

  • มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า ภายหลังเดือนรอมฎอน "อัลกุรอาน" ก็ยังคงเป็น "พระบัญชา" ของพระผู้เป็นเจ้าและนอกเดือนรอมฎอนพระองค์ก็ยังทรงดำรงอยู่มิได้ไปใหน เหตุใดเราจึงละทิ้งและไม่สนใจจะอ่านอัลกุรอาน ดั่งเช่นที่ปฏิบัติในเดือนรอมฎอน หากว่า การอ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งที่ดีงาม การอ่านในเดือนอื่นก็เป็นสิ่งที่ดีงามเช่นเดียวกัน เพราะเป็นพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า

  • การพยายามนำการปฏิบัติที่ดีๆในเดือนรอมฎอนมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้จนกระทั่งเราได้รับเกียรติให้เข้าสู่เดือรอมฎอนอีกครั้ง (อินชาอัลลฮฺ) จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง และไม่มีอะไรจะดีไปกว่านี้

หมายเลขบันทึก: 300656เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณบันทึกดีๆ มีคุณค่าครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์จารุวัจน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท