ประชุม EMS / ER จังหวัดขอนแก่นเดือนกันยายน 2552


การกำหนดนโยบาย การสื่อสาร การปฏิบัติ การติดตามผลลัพธ์ ผลกระทบ เป็นสิ่งที่ต้องทำของงาน ER EMS จังหวัดขอนแก่น

วันนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมประชุม 2 งาน 

ช่วงเช้า ประชุม EMS Day จังหวัด ช่วงบ่ายประชุม ER จังหวัด ที่โรงพยาบาลขอนแก่น

กลับถึงที่ทำงาน 17.00 น.  รายงานให้ผู้ตรวจการรับทราบแล้ว ตามลำดับดังนี้

1.  เพิ่มงานรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  เนื่องจาก ช่วงออกพรรษา ลอยกระทง  ปีใหม่ จะมีการบริโภคสุรา การทะเลาะ  การทำร้ายร่างกาย และเมาแล้วขับกันมากขึ้น

2.  โปรดนำความรู้ที่ได้จากการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง อุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 มาปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ตระหนักต่อปัญหาความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร  และที่ประชุมมีสื่อ VDO อุบัติเหตุ "ทางโค้ง" ให้สมาชิกนำไปเปิดให้ผู้ใช้บริการดูระหว่างรอตรวจ

3.  เลื่อนเวลาส่งเอกสารและเงินค่าทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มของสมาชิกหน่วยกู้ชีพจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ขอให้หัวหน้าหน่วยกู้ชีพตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการลงนามลายมือชื่อ ในแบบฟอร์มสมัครและสำเนาบัตรจะต้องตรงกัน และชื่อผู้รับผลประโยชน์ต้องเป็นญาติสายตรงตามกฎหมายเท่านั้น

4.  ด้านกฎหมาย  ขอให้สมาชิกกู้ชีพปฎิบัติงานด้วยความระมัดระวัง  โดยเฉพาะการขับขี่รถในชุมชน การขับรถฝ่าไฟแดง การขับรถย้อนศร  รถพยาบาลสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินเองทั้งหมด ขอให้มีสติ ไม่ประมาท 

5.  ด้านการควบคุมกำกับ ขอให้นำตัวชี้วัดคุณภาพมาใช้ในการพัฒนางานต่อเนื่อง  โดยเฉพาะความรวดเร็ว ความสะดวกในการเข้าถึงระบบบริการ และความเหมาะสมในการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุแลระหว่างการนำส่งต่อโรงพยาบาล

6.  แพทย์ EP มาบอกเล่าประสบการณ์การทำคลอดฉุกเฉิน ให้สมาชิกในที่ประชุมรับทราบ

7.  เชิญชวนสมาชิกกู้ชีพส่งผลงานนำเสนอในกิจกรรม SHA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะจัดวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น  โดยประเด็นการนำเสนอเน้น 2 ลักษณะ

  • เชิงคุณภาพ   เป็นลักษณะการเล่าเรื่อง (Story Telling) บอกกระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานของเรา
  • เชิงปริมาณ   ต้องมีตัวเลขกำกับ และหลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจน 

 

8. สสจ. เล่าเรื่องเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมการใช้โปรแกรม ITEMS ของ FEBO โดยมีแผนจะนำมาทดลองใช้ใน 7 จังหวัดนำร่องในวันที่ 1 ตุลาคม 2552  จังหวัดทำแผนรองรับการทดลองใช้ ฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การขยายให้เครือข่ายต้องดูความเป็นไปได้ ต้องรอโปรแกรมเสถียรและผลทดลองเป็นที่พึงพอใจ  ลดขั้นตอนการทำงานได้จริง

9. งบประมาณ  ยังโอนมาไม่ครบ เงินไม่เพียงพอ รอ สพฉ.  ให้พิจารณาโอนเงินค่าตอบแทนบริการให้กับหน่วยกู้ชีพท้องถิ่นเป้นลำดับแรกก่อน 

10. การจัดทำคู่มือฝึกปฏิบัติการ EMS Rally ขณะนี้จัดทำฉบับร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ขอให้ตรวจสอบ กรณีไม่ครบขอให้ส่งข้อมูลเพิ่มเพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มต่อไป

11. การติดตามผลดำเนินงาน ER / EMS  ขอให้ทุกหน่วยบริการส่งผลการดำเนินงาน ER ของปี 2551 และ 2552  มาให้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม 2552  ส่วนข้อมูล EMS ให้ใช้ข้อมูลจากโปรแกรมเขต 10 และ 12 

12. แพทย์ EP นำเสนอผลการทบทวนการดูแลผู้ป่วยส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนถึงโรงพยาบาลศูนย์  และสรุปบทเรียนรู้ มีประเด็นพัฒนาต่อเนื่องดังนี้

  • พัฒนาบุคลากร   ให้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร แพทย์ พยาบาล ให้มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน วิกฤติ ทั้งเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ทั้งหลักสูตร ACLS / ATLS / Prehospital Care / Refferal System / Critical Care  มอบหมายให้โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นสถาบันฝึกอบรมให้กับบุลคากรของจังหวัดต่อเนื่อง  โดยเฉพาะบุคลากรน้องใหม่
  • ใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังผู้ป่วยขณะส่งต่อ ควรมีเครื่องมือเฝ้าระวังและการประสานรายงานขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน  เช่น   การให้ออกซิเจน  การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน  การติดเครื่อง EKG ประเมินการเต้นของหัวใจ เป็นต้น 
  • การกำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน  SOP = Standard of Practice  ควรมาจากการพูดคุยตกลงร่วมกันระหว่างทีมผู้ร่วมดูแลรักษาผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มโรค (Consensus)
  • การประสานงานการส่งต่อ ควรมีการประสานงานล่วงหน้าให้โรงพยาบาลศูนย์รับทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับผู้ป่วย  เช่น  เตรียมเลือดพร้อม Set ผ่าตัด เพื่อช่วยชีวิต ผู้ป่วยอุบัติเหตุ เป็นต้น 
  • ควรมีการทำ AAR สรุปบทเรียน  เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ร่วมกัน 

13.  เสนอให้มีการเพิ่มกิจกรรม MM Conference ทุกเดือน  โดย หน่วย OPD Call Center รับทำหน้าที่ประสานแพทย์ EP  แพทย์โรงพยาบาลที่ส่งต่อ และพยาบาล ER / EMS เข้าร่วมกิจกรรม 

14. โรงพยาบาลขอนแก่น เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในงานบริการทางคลินิก จะจัดที่โรงพยาบาลในวันที่ 5 - 9 ตุลาคม 2552  โดยความร่วมมือจาก สพร.  สสส สกว และ สวรส วันแรก เป็นภาคบรรยายจากกูรูผู้รู้  วันต่อๆ ไปมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในคลินิกให้เรียนรู้มากมาย

ที่ประชุมรับทราบ

ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

กัญญา

 

หมายเลขบันทึก: 299891เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะน้องไก่

ขอบคุณค่ะ

ER / EMS มีงานมากมายต้องทำไม่รู้จบ เผชิญกับภาวะสุขภาพทุกช่วงของชีวิต ที่ สปป.ลาว เขาเรียกห้องนี้ว่า "ห้องมอระสม"ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ พี่สาว

คิดถึงและเป็นกำลังใจให้พี่ เสมอนะคะ

สู้ๆค่ะ .... ประชาชนรออยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องพอลล่า

  • ขอบคุณค่ะที่เข้าใจงาน
  • งานหนักงานเยอะ ขอเพียงมีคนเข้าใจ กำลังใจมาเป็นกองเลยค่ะน้องพอลล่า

หวัดดีค่ะพี่ไก่

  • มาร่วมเป็นกำลังใจให้อีกแรงค่ะ
  • สู้ๆ ค่ะ *^__^*

ขอบคุณค่ะน้องจ๋า พิชชา

ดีใจที่เห็นตัวเป็น ๆ กันในงานค่ะ

  • สวัสดีครับแวะมาอ่านเรื่องของพี่ทุกเรื่องเลยครับ
  • เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้วยครับ ตอนนี้ผมมาอบรมหลักสูตรEMT-Bอยู่ที่วสส.ขอนแก่นครับดูภาพจากบล็อกของพี่เห็นอาจารย์ที่สอนผมหลายท่านเลยครับอ.อ้อย อ.กี้ และอีกหลายท่าน อิอิ วันศุกร์นี้อาจารย์จะพาไปดูงานที่รพ.ขอนแก่นอาจจะได้พบกับพี่ครับ

ขอบคุณที่แจ้งมาให้ทราบนะคะ

ชาวขอนแก่นยินดีต้อนรับชาวพะโต๊ะนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท