สุรชาติ ถึกสถิตย์
นาย สุรชาติ สุรชาติ ถึกสถิตย์ ถึกสถิตย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                      มืออาชีพในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จากบทความของ ท่านดร. คนึงนิจ  อนุโรจน์  เห็นว่ามีประโยชน์จึงช่วยเผยแพ่ความรู้

ขออนุญาตเของเจ้าของบทความนะครับ

             หัวใจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมืออาชีพนั้น คือการสร้างคนเก่งคนดีของสังคม  ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญต่อนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย

             บทความต่อไปนี้ เป็นบทบาทที่มุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของการแสดงบทบาทหน้าที่ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการเป็นผู้ร่วมวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร (Strategic Partner) ได้อย่างมืออาชีพ บนพื้นฐานความสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งในที่นี้จะนำแนวคิดของ Maslow, Herzberg และ Covey มาบูรณาเพื่อใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าหรือเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ขององค์กรต่อไป

             เริ่มต้นจาก แนวคิดทฤษฎีของ Maslow  ที่ ชี้ให้เห็นถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมนุษย์จะ เริ่มมีความต้องการมาตั้งแต่เกิดคือ เริ่มจากความต้องการปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองปัจจัยพื้นฐานแล้วมนุษย์จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นไปเป็นลำดับคือ ต้องการความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต หน้าที่การงาน ความต้องการความรักความผูกพันและการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง ซึ่งความต้องการในขั้นตอนนี้จะเห็นได้ว่ามนุษย์มีการพัฒนาจาก การพึ่งพาผู้อื่น (independence) สู่การพึ่งพาตนเองได้ (dependence) เมื่อมนุษย์สามารถพึ่งพาตนเองได้แล้วจะเริ่มมองออกจากตัวเองสู่สังคม สู่การพึ่งพากันและกัน  (interdependence) ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ Covey ณ จุดของ Interdependence นี้ นอกจากต้องการได้รับการยอมรับจากสังคมแล้วมนุษย์ยังต้องการการได้รับกายยกย่องชมเชย และความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุดของมนุษย์

             บนความต้องการของมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี  Two Factor Theory ของ Herzberg  ที่ชี้ให้เห็นถึงการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในแต่ละระดับอย่างชัดเจน คือ ในการบำรุงรักษามนุษย์ให้คงอยู่กับองค์กรได้นั้น  ต้องเริ่มตั้งแต่การมองความต้องการพื้นฐานและตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือน รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ที่จำเป็น ตามความต้องการขั้นพื้นฐาน ตามด้วยการตอบสนองให้มนุษย์รู้สึกและรับรู้ว่ามีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและหน้าที่การงานที่ทำอยู่ ซึ่งความต้องการพื้นฐานเหล่านี้เมื่อได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์จะเกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร (engagement) ตามมา ซึ่งการบริหารจัดการให้องค์กรมีคุณลักษณะที่บุคลากรทุกระดับในองค์กรเห็นความปลอดภัยในชีวิตและความมั่นคงในหน้าที่การงานนั้น เป็นสิ่งที่ยากและมีความสำคัญที่สุดทั้งนี้จะต้องมีระบบบริหารจัดการในองค์กรรองรับอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งไม่ขอกล่าว ณ ที่นี้ 

             เมื่อคนในองค์กรเกิดความรู้สึกยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรแล้ว การบริหารจัดการที่ยากต่อมาคือการรักษาคนเก่งหรือ Talent หรือที่นักวิชาการบางท่านใช้คำว่า High Performance People ให้คงอยู่กับองค์กรต่อไป   โดยความต้องการของ Talent  คือ  ต้องการการยอมรับ การยกย่องชมเชย และต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจกับคนเก่งได้  

             แนวทางง่าย ๆ ในการจูงใจ Talent หรือคนเก่งคือ Talent ไม่ชอบงานง่าย ๆ ผู้บริหารจึงต้องมอบหมายงานที่ท้าทาย งานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง ๆ  ซึ่งเป็นงานระดับขุนพล เพราะโดยพื้นฐานคนเก่งเหล่านี้มักจะทำงานระดับนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่เขาจะได้ดีหรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากคนเก่งยังแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคื อ กลุ่มที่มีความรับผิดชอบในการทำงานและอีกกลุ่มไม่มีความรับผิดชอบ การใช้ทฤษฎีแรงจูงใจจึงเข้ามามีส่วนสำคัญ เพราะจะเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจและเป็นตัวกระตุ้นให้เขาเหล่านั้น ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยกลุ่มที่ความรับผิดชอบต่ำผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าไปสนับสนุนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ  ที่สำคัญเมื่องานประสบความสำเร็จแล้ว เขาหล่านั้นยังต้องการการยกย่องชมเชย ผู้บริหารที่ดีจึงต้องรู้จักชมเชยลูกน้องของตนที่สามารถทำชื่อเสียงให้กับองค์กรหรือทำงานได้สำเร็จบรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจที่จะทำให้ลูกน้องทำวันพรุ่งนี้ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และวันหนึ่งเขาหล่านั้นจะเติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป 

     ทั้งนี้การบริหารจัดการมนุษย์นั้นอย่าลืมเติมแต่งความดีลงไปด้วยทุกขั้นตอนของการพัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง อย่ามุ่งสร้างแต่คนเก่งโดยมองข้ามการสร้างคนดีควบคู่ไปด้วย เพราะถ้าเรามองข้ามจุดนี้ท้ายสุดเมื่อเราได้คนเก่งแต่ขาดความดี  องค์กรของเราในอนาคตก็จะได้ผู้บริหารที่ไร้คุณธรรมมาบริหารจัดการองค์กร

 

คนเก่งคนดีสร้างได้ด้วยมือเรา  

และนี่คือหัวใจสำคัญของการเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพ

หมายเลขบันทึก: 299769เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท