กำเหนิดหมอลำอีสาน


เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมาได้มีโอกาศไปชมการแสดงลำเรื่องต่อกลอนที่ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

กำเหนิดหมอลำอีสาน

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาศไปชมการแสดงลำเรื่องต่อกลอนที่ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ซึ่งทางศูนย์จัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรมเป็นประจำ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 เป็นต้นมา หมุนเวียนการแสดงทางวัฒนธรรมเพื่อให้สังคมได้เข้าใจและเรียนรู้ที่จะยอมรับ เคารพชื่นชมในความแตกต่างมากมายในสังคมไทย ซึ่งวันนี้เป็นการแสดงลำเรื่องต่อกลอน เรื่อง ท้าวสีทน มโนราห์ จากคณะสาเกตุนคร โดยวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นการแสดงที่แสดงออกถึงความสวยงามทางด้านภาษา การสัมผัสของภาษาอีสาน ความอ่อนช้อยของท่ารำที่แสดงออก เป็นวัฒนธรรมการแสดงที่สวยงานจริง ๆ ครับ ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่า ใครนะเป็นคนแรกที่คิด หรือเริ่มต้นในการออกแบบการแสดงหมอลำ ด้วยความอยากรู้เลยไปค้นมาเล่าสู่กันฟังครับ

หมอลำ  เมื่อพูดถึงความหมายของหมอลำ  ได้มีผู้ให้คำนิยามที่หลากหลายไว้ เช่น หมอลำ หมายถึงผู้ชำนาญในการขับร้อง/ผู้ชำนาญในการเล่านิทาน หรือผู้ที่ท่องจำเอาคำกลอนมาขับร้องหรือลำ หรือ มหอลำหมายถึง การขับลำนำด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบเสียงดนตรี แคน

โดยสรุป หมอลำคือผู้เชี่ยวชาญในการขับลำนำหรือการขับร้องท่องจำจากกลอนลำ หรือบทกลอนที่มีผู้ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาถิ่นอีสานหรืออาจหมายถึงการแสดงศิลปะการแสดงพื้นเมือง หรือมหรสพอย่างหนึ่งของชาวอีสาน

กำเหนิดหมอลำ หมอลำเกิดขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัดเพราะไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักอักษร แต่กล่าวว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความเจริญของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีการสันนิษฐานไว้ 3 ประการ คือ

1. เกิดจากความเชื่อเรื่องผีฟ้า ผีแถน และผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าผีเหล่านี้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ สามารถบันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติและความเจ็บป่วยแก่มนุษยได้ มนุษย์จึงทำพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยตามวิธีการของหมอผี คือการขับ ลำผีฟ้า ลำส่อง ลำทรง แล้วพัฒนาการเป็นลำพื้น และลำกลอนตามลำดับ

2. เกิดจากธรรมเนียมการอ่านหนังสือผูก และการเทศน์ลำ หนังสือผูกคือวรรณกรรมพื้นบ้านที่มีการจารลงในใบลาน เรื่องราวที่จารอาจเป็นชาดก นิทานพื้นบ้านที่สนุกสนาน เช่น สังข์สินไช กำพร้าผีน้อย ฯลฯ สมัยก่อนในภาคอีสานมักจะมีการอ่านวรรณกรรมพื้นบ้านในที่ประชุมเพลิง โดยเจ้าภาพจะหาหมอลำมาอ่านขับลำนำหนังสือให้ผู้มาร่วมงานได้ฟังคล้ายมหรสพ หรือแม้แต่ในงานสมโภชสตรี ที่เรียกว่า งันหม้อกรรม คือการอยู่ไฟหลังคลอด เมื่อมีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมหรือแสดงความยินดี ก็มักมีการจับกลุ่มอ่านหรือฟังนิทานจากหนังสือผูก ซึ่งจากความนิยมนี้เองทำให้เกิดการคิดวิธีการอ่านให้หน้าสนใจ หรือคิดการแสดงประกอบการเล่าเรื่องแล้วต่อมาก็มีการใช้แคน เป็นดนตรีประกอบจนเกิดเป็นการแสดงที่เรียกว่าลำพื้นขึ้น

3. เกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว เนื่องในโอกาสต่าง ๆ กัน เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว การเข็นฝ้าย หรือในงานนักขัตฤกษ์ โดยหนุ่มสาวได้มีโอกาสสนทนากันโดยโวหารที่ไพเราะ และมีความหมายลึกซึ้ง ที่เรียกกันว่า ผูกผญา หรือจ่ายผญา (ผะ-หยา คือคำคมหรือสุภาษิตภาคอีสาน)

 

เดี่ยวจะไปเก็บมาฝากอีกครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 299766เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณค่ะ
  • อยู่อีสานมาสิบกว่าปีเรียกว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้ค่ะ
  • หมอรำ  ไม่ใช่พยาบาลรำเนอะ *^__^* อิอิ

มาชม

เป็นมุมคิดดีนะ

ผมเคยฟังหมอลำเรื่อง ตอนบวชเป็นสามเณรน้อย ๆ อยู่ภาคอีสานนั้นละ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท