ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

ผู้สัมผัสโรคกาฬหลังแอ่น ปฏิบัติตัวอย่างไร


       เมื่อวานอยู่เวรประสานงานเฝ้าระวังโรคติดต่อรุนแรง เช่นไข้หวัดใหญ่ H1N1  กำลังจะกลับบ้านช่วงประมาณ 18.45 น  ปิดสำนักงานแล้ว กำลังสตาร์ทรถมอเตอร์ไซด์ คู่กาย ถูกตามด้วยโทรศัพท์ บอกว่ามีผู้ป่วยสงสัยโรคกาฬหลังแอ่น เป็นผู้สัมผู้ป่วยกาฬหลังแอ่น แรงงานไทยที่เพิ่งเดินทางมาถึงที่ถึงแก่ชีวิต

       พอได้รับแจ้ง ทำอย่างไร ต่อ หิวข้าวก็หิว จะไปทานข้าวก่อนให้คนไข้รอ ก็จะดูไม่ดีและโรคนี้รุนแรงด้วย ตั้งสติได้ สอบถาม ผู้รายงาน และเกิดความสงสัยว่าผู้สัมผัสโรคที่สงสัยว่าป่วย  เดินทางออกมาจากสนามบินได้อย่างไร หรือออกมาก่อนที่จะประกาศให้ผู้โดยสารตรวจจร่างกายและสอบสวนโรค   ได้อ่านข่าวแล้ว คิดว่าอย่างไรก็คงจะไม่มีผู้สัมผัสโรคเดินมาถึงขอนแก่นแน่นอน  เมื่อได้รับรายงานแล้ว ขั้นตอนการสอบสวนโรค ทำอย่างไรบ้าง อยากให้ผู้รู้ช่วยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันนะคะ

ขั้นตอนการสอบสวนโรคที่ได้ดำเนนการในวันนั้นคือ

  1. ตรวจสอบข่าวว่าจริงไหม โดยโทรศัพท์ถามไปที่สำนังานป้องกันควบคุมโรคที่  6 ขอนแก่น เพื่อประสานงานกับสำนักระบาด และสถาบันบำราศนราดูร 
  2. ปรึกษาผู้เชียวชาญ ให้แนวทางการสอบสวนโรค  ต้องสอบถามว่านั่งเครื่องบิน ที่นั่งแถวที่เท่าไหร่ เป็นเพื่อนกับคนตายไหม ทำงานด้วยกันไหม
  3. สอบถามอาการของผู้สัมผัสโรค อาการของของคนในครอบครัว
  4. คุณหมอตรวจร่างกายคนไข้  และครอบครัว
  5. ปรึกษาแพทย์โรคติดเชื้อ พิจารณาความเหมาะสมในการให้ยาป้องกัน
  6. ให้คำแนะนำผู้สัมผัสโรค ให้สังเกตอาการ  งดกิจกรรม ในที่ชุมชน ให้อยู่ในบ้านก่อน ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ หรือตามรถ โรงพยาบาลไปรับที่บ้าน
  7. นัดให้มาตรวจอีกหนึ่งสัปดาห์ หรือ สามวัน
  8. ให้ยาป้องกัน
  9. ขอเบอร์โทรศัพท์  เพื่อติดตามสอบถามอาการทุกวัน
  10. ประสานงานรายงานอาการผู้ป่วย แจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ให้เครือข่ายเฝ้าระวังโรค คืองานระบาด สสจ.ขอนแก่น ติดตามเฝ้าระวังโรคต่อไป พอดี ผู้สัมผัสรายนี้ไม่อยู่ในเขตที่รับผิดชอบ เป็นผู้ป่วยต่างอำเภอ

 

ผื่นเป็นจุดแดง เหมือนไข้เลือดออก มักจะพบตามแขน ขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย

ผื่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จาง

ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก

ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป รูปทั้งสองได้จากThe South Australian Department of Health  ขอบคุณภาพจาก http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/menincoccal_disease.htm

         อาการประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง  ผื่นจะมีลักษณะ เป็นจุดแดง หรือดำคล้ำ บางที่เป็นตุ้มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายในเนื่องจากโรคดำเนินเร็วมาก หากมีอาการดังกล่าวตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น คือ

  • ผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันพกพร่อง
  • ผู้ที่สัมผัสกับโรค
  • ผู้ที่ท่องเที่ยวไปเหล่งระบาด

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคคือ การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน การดื่มแก้วเดียวกัน หรือการจูบปากกัน

แหล่งข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/34133

สธ.แถลงข่าวพบแรงงานไทย 1 ราย เสียชีวิตจากโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดรุนแรง หลังเดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง พร้อมจัดทีมเฝ้าระวังผู้สัมผัสอีก 17 ราย

วันนี้(18 ก.ย.) ที่สถาบันบำราศนราดูร  จ.นนทบุรี   นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย  จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์ปรีชา  ตันธนาธิป  ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร นายแพทย์ทวี  โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส  การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป และแพทย์หญิงจริยา  แสงสัจจา รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร แถลงข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของแรงงานไทย  หลังเดินทางกลับจากประเทศแอฟริกาใต้

นายแพทย์หม่อมหลวงสมชายชาย  กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 กันยายน  2552 กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจพบชายไทยอายุ 24 ปี มีอาชีพเป็นช่างเชื่อมโลหะ  เดินทางไปทำงานที่ประเทศแอฟริกาใต้ใกล้เมืองโจฮันเนสเบิร์ก เป็นเวลา 1 เดือน และเดินทางออกจากประเทศแอฟริกาเมื่อวันที่ 18  กันยายน  2552 ด้วยสายการบินเคนยา เที่ยวบินที่ KQ 886 ก่อนเดินทางกลับมีอาการไม่สบายอยู่ 3 วัน มีอาการไข้ มีผื่นขึ้นที่ตามลำตัว และเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 18  กันยายน  2552 เวลา 12.00 น. แพทย์ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค ที่สุวรรณภูมิ ได้ทำการตรวจคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าตามระบบ  พบผู้ป่วยดังกล่าวมีอาการไม่สบายมาก  จึงได้รับตัวส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลราชวิถีวินิจฉัยว่า อาจจะเป็นโรคติดต่อที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

หลังจากให้การรักษาเบื้องต้น จึงส่งต่อผู้ป่วยมายัง สถาบันบำราศนราดูร  เวลา 15.00 น. วันเดียวกัน ในการดูแลดังกล่าว แพทย์ได้นำตัวเข้าห้องแยกโรค  และตรวจอาการพบมีอาการช็อก กระสับกระส่าย วัดสัญญาณชีพไม่ได้ และมีอาการท้องอืด  อาเจียนเป็นเลือดเก่าสีคล้ำ คล้ายน้ำโค๊ก ตามผิวหนังทั่วตัวและใบหน้ามีจ้ำเลือด และเลือดออกในตาขาว ทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการไตวาย ผลการตรวจเลือดพบมีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงถึง 39,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์ซีซี (คนปกติมีระหว่าง 5,000-10,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์ซีซี)  

ผลเอ็กซเรย์ปอด พบลักษณะคล้ายปอดบวมที่บริเวณด้านล่างปอดทั้ง 2 ข้าง หรืออาจเกิดจากมีเลือดออกในปอด แพทย์พยายามช่วยชีวิตเต็มที่ แต่เนื่องจากมีอาการหนักมาก ได้เสียชีวิตเมื่อเวลา 06.53 น. ในวันที่ 19 กันยายน 2552

จากการซักประวัติพบว่า ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อนแพทย์ได้ส่งตัวอย่างเลือดและเสมหะของผู้เสียชีวิตตรวจ เพาะเชื้อแบคทีเรียที่สถาบันบำราศและส่งตรวจหาเชื้อไวรัสที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 19  กันยายน  2552 ระหว่างรอผลแลปได้ประสานงานกับองค์การอนามัยโลก และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ เพื่อเตรียมพร้อมในการตรวจวินิจฉัยเชื้อในขั้นสูงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่าผลทางห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่าเป็นเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ จึงได้ส่งตรวจหาชนิดของสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าจะทราบผลอย่างเร็วในเย็นวันนี้ หรือพรุ่งนี้เช้า 

สำหรับโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Severe  Meningococcal Infection) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน มีอาการปรากฏได้ 2 ลักษณะ คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะเกิดอาการทางระบบประสาท เช่น คอแข็ง อาเจียน ซึม มีอัตราตายร้อยละ 5 อีกลักษณะหนึ่งคือ อาการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง อวัยวะภายในมีเลือดออก มีจ้ำเลือดตามตัว ลักษณะนี้จะรุนแรงมาก จะเสียชีวิตได้ภายใน 1-2 วัน จากอาการช็อก มีอัตราตายร้อยละ 30-50 ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ซึ่งในไทยมีรายงานปีละประมาณ 50 ราย โรคดังกล่าว มียาปฏิชีวนะรักษาหายได้หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก ในช่วง 8 เดือนปี 52 นี้พบป่วย 34 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ เสียชีวิต 1 รายที่แม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้ โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก แต่พบมากที่แอฟริกาแถบตอนกลาง เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน ติดต่อกันโดยการสัมผัสละอองน้ำมูกน้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย อาการจะมีไข้สูงทันที ปวดศีรษะมาก เจ็บคอ คอแข็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มักมีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนังร่วมกับจ้ำเลือดขึ้นตามแขนขา ในรายที่รุนแรงจะซึมและช็อก เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง หลังมีอาการ ในการป้องกันโรค ผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น ก่อนเดินทาง 2 สัปดาห์ และไม่ควรเข้าไปอยู่ที่ที่มีผู้คนหนาแน่น แออัด

สำหรับการควบคุมป้องกันโรคหลังพบผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เดินทางมากับเครื่องบิน กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานกับสายการบินเคนย่า เพื่อติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิต มีจำนวนผู้โดยสารที่ลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ  50 คน  โดยมีผู้ที่นั่งใกล้ผู้เสียชีวิตทั้งแถวหน้าและหลัง 17 คน ตามตัวได้ทุกราย ได้ให้หน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภูมิลำเนาที่กลับบ้าน ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เฝ้าระวังติดตามอาการต่อไปอีก 3- 5 วัน  โดยมี 5 รายที่ใกล้ชิดมาก และสัมผัสผู้ป่วยตลอดการเดินทาง ได้รับไว้ดูอาการที่สถาบันบำราศนราดูร และให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแล้ว รวมทั้งผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร ประมาณ  30 คน และจะเฝ้าดูอาการต่อไป 3-5 วัน ขณะนี้ทุกรายปกติ                     

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุข ขอแนะนำให้ประชาชนไทย และผู้ใช้แรงงานที่จะไปทำงานที่ประเทศที่มีรายงานการระบาดโรคไข้กาฬหลังแอ่น ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่สถาบันบำราศนราดูร ก่อนเดินทาง 2 สัปดาห์ แม้ว่าประเทศปลายทางจะไม่มีข้อบังคับก็ตาม วัคซีนมีผลป้องกันได้ 2-3 ปี และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

หมายเลขบันทึก: 299663เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

น่ากลัว

คงไม่ระบาดในประเทศไทยนะครับ

แค่ไข้หวัดใหญ่ 2009/ไข้เลือดออก / มาลาเรีย ก็หนักหนาสาหัสแล้ว

เฮ้อ

กลายพันธ์กันได้เร็วจริงๆ

น่ากลัวจังเลยนะ

หวังว่าเมืองปักกิ่งคงไม่มีนะไก่

เดือนหน้าจะเดินทาง

โรคนี้น่ากลัวนะคะ 3 ปีที่แล้ว เคยมีผู้ป่วยสงสัยและไปรักษาที่รพ.ต่างจังหวัด แต่เป็นนักศึกษาที่มข. มาเรียนและสอบในห้องเดียวกัน ครั้งนั้นผู้สัมผัส เกือบ 300 ร้อยคน ครั้งนั้นควบคุมโรค ยากมาก ทุกคนกลัวและเข้ารับยาที่โรงพยาบาบลจนไม่มีให้ ผลสรุปสุดท้าย ก้จะให้ยาป้องกันเฉพาะผู้สัมผัสใกล้ชิดจริง ๆ โชคดีที่รายนี้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ใช่

พอมามีบทเรียนในคร้งนี้ ต้องรีบควบคุมโรค ประสานงาน สอบถาม ข่าวบอกว่าตามผู้สัมผัสครบ พอสัมภาษณ์ผู้สัมผัสรายนี้แล้ว บอกว่ากลับมาก่อนที่จะถูกตรวจร่างกายและให้ยาป้องกัน โชคดีที่เพื่อนอีกคนที่เดินทางมาด้วยกันเป็นคนอุ้มคนไข้ลงมาจากเครื่องบินโทรมาบอก จึงได้มารายงานตัวที่รพ.ศรีนครินทร์ และได้ยาป้องกัน ติดตามสังเกตอาการต่อ รายงานการป้องกันควบคุมโรคตามขั้นตอนต่อสสจ.ขอนแก่น รายงานสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 และรายงานต่อ สำนักระบาดวิทยา ตามลำดับนะคะ ซึ่งการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะมีเครือข่ายระบาดวิทยา เชื่อมโยงข้อมูลกันนะคะ สามารถตรวจสอบ ประสานงานช่วยกันได้

น่ากลัว มั่กๆ ค่ะ

พี่ประกายจ๋า บันทึกสองออกแล้วนะคะพี่ อิอิ

ตามไปถอดเลยค่ะ

2. หนานเกียรติ

สวัสดีคะคุณหนานเกียรติ

โรคนี้น่ากลัวคะ โรคนำเข้า ยังไม่เคยเห็นผู้ป่วยโรคนี้แต่มีประสบการณ์ เมื่อต้องป้องกันควบคุมโรคติดตามผู้สัมผัสนะคะ

1. คนทำงานสนับสนุนบริการสาธารณสุข
เมื่อ อ. 22 ก.ย. 2552 @ 20:14

สวัสดีคะคุณธวัชชัย

ลำพังโรคที่มีอยู่ก็ควบคุมป้องกันจนบางวันกลับบ้านตอนเที่ยงคืน ถ้ามีโรคนี้มาอีก ยังคิดไม่ออกนะคะว่าจะเตรียมการอย่างไร ต้องอ่านศึกษาเรื่องโรค การติดต่อเพิ่มเติม ไม่งั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็จะไม่อยากทำงานแล้วคะ

สวัสดีคะนาง

ปักกิ่งไม่น่าจะมีนะคะ

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคก่อน

ไก่ก็ยังไม่เคยเจอเหมือนกันนะคะ

สวัสดีคะน้องพอลล่า

ตามไปอ่านคะ

ชอบมาก ๆ

5. ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
เมื่อ อ. 22 ก.ย. 2552 @ 21:07

ทำอย่างไรก็ไม่มีรูปผู้ที่แสดงความติดตามมาเหมือนแบบเดิม ใครรู้บอกที่ ว่าจะต้องทำอย่างไรบาง อย่าบอกว่าดาวน์โหลดภาพของแต่ละท่านขึ้นไฟล์นะคะ

  • น่ากลัวเหมือนกันนะครับ
  • เมื่อสามปีก่อนเคยได้ยน
  • นึกว่าหายไปแล้ว
  • ดันกลับมาอีก

11. ขจิต ฝอยทอง

เห็นภาพแล้วน่ากลัวนะคะ พี่ไก่ก็ไม่เคยเห็นคนไข้นะคะ และไม่อยากเห็นด้วย หวังว่าคงจะไม่มีรายต่อไปในเมืองไทยนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ประกาย

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มากๆค่ะ /ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะน้องหนูรี

กำลังจะปิดหน้าจอ

ชอบคุณนะคะที่ติดตาม

คิดถึงขนมคะ

สวัสดีค่ะ  มาส่งความคิดถึงค่ะ

ไม่ค่อยดีเวลาแต่ก็คิดอยู่เสมอ  แล้วจะแวะมาใหม่นะคะ

ไม่ได้เจอกันซะนาน คิดถึง

สวัสดีค่ะพี่ไก่ งานหนักจังเลย แต่อาศัยความคล่องตัวและการตั้งใจทำงานของพี่ ทำให้งานออกมาดีมากๆ อย่ามาระบาดอีกเลยเนาะพี่

จะหาไปฝากนะคะ สิงห์โต สมอหิน

 

 

15.

PKRUPOM
 สวัสดีคะครูป้อม คิดถึงเช่นกัน เห็นหายหน้าไปหลายวัน สบายดีนะคะ ไม่ไข้ ไม่ป่วย

16.

Pแดง
 ขอบคุณคะน้องแดง เครือข่าย ทุกคนมีส่วนร่วมคะ ลำพังพี่คนเดียวทำงานไม่สำเร็จหรอกคะ ทุกคนในโรงพยาบาลช่วยกันคะ

พี่ไก่ ฝากทีมงาน ช่วยดูให้หน่อยนะคะ ว่าเกิดอะไรขึ้น ตัวหนังสือจึงกระจายออกเป็นหลายบันทัดมากคะ

  • มาเยี่ยมค่ะ น้องประกาย
  • ที่จริงโรคนี้ยังพบประปรายในบางพื้นที่ของประเทศไทย
  • พื้นที่หลายพื้นที่ที่ประสบภัยธรรมชาติก็อาจจะเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะพบคนเกิดโรคค่ะ
  • ตอนที่ภาคใต้พบกับสึนามิก็มีการเฝ้าระวังโรคนี้ร่วมไปด้วยในพื้นที่
  • หลังสึนามิราวๆปีสองปีก็ได้พบคนป่วยบ้าง
  • การเฝ้าระวังทำให้ไม่เกิดการระบาด
  • หน่วยปฏิบัติการสอบสวนโรคเร็วจึงเป็นคนสำคัญมากค่ะน้อง
  • โรคนี้รังโรคอยู่ในคน...ติดจากคนสู่คน...การติดตามเร็วจะคุมอยู่
  • เครือข่ายควบคุมโรคที่เร็วจึงสำคัญมากๆๆๆๆ
  • .........
  • ดูแลสุขภาพให้สม่ำเสมอไว้นะคะ
  • ด้วยความห่วงใยค่ะ

20.

Pหมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
เมื่อ จ. 28 ก.ย. 2552 @ 19:44

สวัสดีคะ

คุณหมอเจ๊ ขอโทษคะที่มาตอบและทักทายช้าไปหน่อย ไปร่วมประชุมสสัมนาวิชาการงานระบาดวิทยาและการจัดการความรู้ที่จังหวัดอุดรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท