ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

เราจะวางเฉยหรือไม่ ถ้าใครสักคนใช้อำนาจผิดที่


อุเบกขาไม่ได้หมายถึงการเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หรือชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ แต่มันคือการดูสถานการณ์ หรือรอเวลาที่เหมาะสมโดยใช้ปัญญาเข้าไปวิเคราะห์สถานการณ์ และจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามหลักอริยสัจ ๔: คืออะไร เกิดจากอะไร จะหมดปัญหาอย่างไร และจะแก้โดยวิธีใด

เมื่อกล่าวถึงอำนาจ มี ๒ อย่าง คือ อำนาจที่เกิดจากตำแหน่ง หรือที่มากับตำแหน่ง  (Position Power) กับ อำนาจส่วนตัว หรืออำนาจเฉพาะตัว (Personal Power) ผู้บริหารมักจะใช้อำนาจทั้งสองเป็นเครื่องมือในการบริหาร แต่ปัญหาที่เกิดก็คือ เรามักจะใช้อำนาจสองอย่างผิดที่ผิดทาง กล่าวคือ บางสถานการณ์แทนที่จะบริหารโดยใช้ตำแหน่งกลับใช้เรื่องส่วนตัวไปตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเห็นความไม่ชอบมาพากลจากการใช้อำนาจ เราอาจจะใช้กุศโลบายอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกระตุ๊กหนวดแมว แต่ธรรมชาติของแมว คือ ความดื้อ (ตามสายตามนุษย์) เมื่อ ดึงบนลงล้าง ดึงล้างขึ้นบน ดึงหัวไปทางหาง เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผู้บริหารแบบนี้ คิดว่ามีอำนาจเหนือเรา (Power Over) จึงไม่ใส่ใจต่อข้อคิดเห็น หรือควาห่วงใจของเรา แม้เราจะหากุศโลบายแล้ว ถ้าโชคดี เจ้านายบางคนที่มี "ยางอาย" (หิริโอตตัปปะ) ก็อาจจะระมัดระวัง และใส่ใจการใช้อำนาจมากขึ้น

ปัญหาคือ ผู้บริหารที่ไร้ "ยางอาย" หรือขาดธรรมาภิบาลจะทำอย่างไร หน้าที่ของเราไม่ใช่ "เอาหูไปนา เอาตาไปไร่" แต่คือการดูสถานการณ์ หรือรอเวลาที่เหมาะสม (อุเบกขา) โดยใช้ปัญญาเข้าไปวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามหลักอริยสัจ ๔: คืออะไร เกิดจากอะไร จะหมดปัญหาอย่างไร และจะแก้โดยวิธีใด

หากความผิดที่เกิดจากการใช้อำนาจทั้งสองอย่างได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์กร หน่วยงาน สังคม และชาติบ้านเมืองจนยากที่จะเยียวยาได้แล้ว  เรามีเครื่องมือหลายอย่างที่บัญญัติเอาไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก เพื่อจะดำเนินการจัดการกลุ่มคนดังกล่าว ซึ่งมีทั้งเปิดเผยตัวเรา และไม่จำเป็นต้องเปิดเผย

แต่ปัญหาก็คือ เรามีความ "กล้าหาญทางจริยธรรม" มากน้อยเพียงใด ที่จะเข้าไปช่วยเหลือประเทศชาติของเรา สังคมของเรา และเพื่ออนาคตที่ดีกว่า  การเกิดเป็นมนุษย์นี่ยากแล้ว แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นก็คือ การใช้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในการช่วยเหลือประเทศชาติ และสังคม  สักวันหนึ่ง มนุษย์ทุกคนจะต้องตายตามกฎธรรมชาติ แต่ก่อนจะตายถ้าเราได้สร้าง "ธรรมเจดีย์" หรือ "อนุเสาวรีย์แห่งความดีงาม" เอาไว้ให้ลูกหลาน และอนุชนรุ่นหลัง  เราคิดว่า "คุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์" หรือไม่?

หมายเลขบันทึก: 299629เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Dear Beduin,

Thank you very much for the message you kindly sent me. Hope to hear from you soon.

ในฐานะคนดี เราไม่ควรวางเฉยต่อการใช้อำนาจที่ผิดๆ ของคนที่มีอำนาจ ควรแสดงอาการที่ไม่ยอมรับหรือต่อต้าน (แบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น) เราอยู่ในสังคมควรยืดหยัด "ยกย่องคนดี ประณามคนชั่ว" เพื่อให้สังคมอยู่รอด และคนดีจะได้มีกำลังใจทำความดีต่อไปครับ

ของคุณพระคุณเจ้านะครับที่มา comment ให้กระผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท