(ร่าง) โครงการฟันสวยยิ้มสดใส ได้ด้วยตัวเรา (ม.เชียงใหม่)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

โครงการ   ฟันสวย   ยิ้มสดใส   ได้ด้วยตัวเรา (ม.เชียงใหม่)

    คลินิกส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นสถานศึกษาที่เปิดสอนให้กับนักเรียนปกติและสถานศึกษาที่เปิดสอนสำหรับผู้ด้อยโอกาส ทำให้ได้เห็นความแตกต่างในกลุ่มเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะที่ โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้น ในวาระพระราชสมภพครบ 100 ปี ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ โดยมีนักเรียนทั้งหมด 250 คน โดยร้อยละ 83 เป็นเด็กผู้พิการที่ต้องนั่งบนเก้าอี้สำหรับผู้พิการ และนอกจากนี้เด็กนักเรียนร้อยละ 25 เป็นเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
     คลินิกส่งเสริมฯ จึงมีความประสงค์จะพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่เด็กด้อยโอกาสกลุ่มนี้ โดยผนวกกับการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่นักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยมีนักสุขศึกษาประจำคลินิกฯ ร่วมเรียนรู้และจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเป็นทีมส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปาก สำหรับผู้พิการทางร่างกายและช่วยเหลือตนเองไม่ได้เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้มีสุขภาพช่องปากที่ดีเท่าเทียมกับเด็กปกติต่อไป
ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ หรือระเบียบวิธีวิจัย (โดยละเอียด) (เพิ่มได้)
               กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)
ช่วงเวลาดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในกลุ่มบุคลากรของคลินิก
สิงหาคม 2552
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในกลุ่มบุคลากรของคลินิกและคณะครูของโรงเรียน
สิงหาคม 2552
3. จัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานที่ประกอบด้วยบุคลากรคลินิกส่งเสริมฯ และคณะครูร่วมดำเนินงาน
สิงหาคม 2552
4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
สิงหาคม 2552
5. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกัน (สัปดาห์การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก)
17 – 21  สิงหาคม  2552
6. อบรมคณะครูของโรงเรียนเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม    
      ณ  โรงเรียนศรีสังวาลย์
     ณ   คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
เช้า    สิงหาคม 2552
เช้า    สิงหาคม 2552
7. อบรมนักเรียนของโรงเรียน เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ณ   โรงเรียนศรีสังวาลย์
กันยายน – ธันวาคม  2552
8. จัดทำสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนศรีสังวาลย์
กันยายน 2552
9. จัดทำอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมแก่นักเรียนศรีสังวาลย์
ตุลาคม 2552
6. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1
ตุลาคม 2552
7. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกันต่อ
ตุลาคม – ธันวาคม  2552
8. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2
มกราคม 2553
9.  สรุปผลการเรียนรู้ส่ง สสส.  ปิดโครงการ
มกราคม  2553
10.  โครงการดำเนินต่อไปโดยคณะกรรมการผู้ดำเนินงาน
2553

 

หมายเลขบันทึก: 299532เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1.หลักการและเหตุผลโครงการ (สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ 1.1 นับเป็นแนวคิดที่ดีในการผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนการสอนและการนำเรื่องสร้างเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในผู้ป่วยจริง หากเป็นไปได้ ควรมีข้อมูลเพิ่มเติมแนวคิดว่า แนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสจะมีความแตกต่างจากกลุ่มปกติอย่างไรและมีแนวคิดสำคัญอย่างไรในการส่งเสริมให้นักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์มีแนวทางในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ และควรระบุถึงแนวคิดของการมีส่วนร่วมหรือแนวคิดของการสร้างเสริมพลังอำนาจว่าจะมีการนำไปใช้ในโครงการนี้

2.วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ ข้อที่หนึ่ง ไม่แน่ใจว่าจะบรรลุภายใต้โครงการนี้ได้โดยตรงหรือไม่ อาจจะยกเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้รั

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 ในวัตถุประสงค์ข้อที่สอง ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก แต่ตัวชี้วัดระบุเพียงการแปรงฟันที่ถูกวิธี (เสนอว่าอาจปรับวัตถุประสงค์ให้เล็กลง หรือจะเพิ่มตัวชี้วัดที่ครอบคลุมต่อการบรรลุพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม

3.2 ขอให้บอกวิธีการประเมินตัวชี้วัดด้วย (ค่าตัวเลขเป้าหมายควรอยู่ในคอลัมน์ตัวชี้วัด)

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 ไม่มีรายละเอียดกิจกรรม อาจเป็นเพราะว่ายังไม่สามารถคาดเดาได้หรือไม่ แต่ขอให้ทางผู้จัดทำโครงการแสดงให้เห็นว่าได้มีการนำแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมหรือการสร้างเสริมพลังอำนาจไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ อย่างไรบ้าง

4.2 หากเป็นไปได้ น่าจะมีกระบวนการที่นร. ผช. ทพ. ได้มีโอกาสทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กนักเรียน/ครูผู้สอนในโรงเรียนนี้เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกัน

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 โปรดระบุวิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้จากกิจกรรมนี้

5.2 ขอให้นำประสบการณ์ข้างต้นเขียนเล่าเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนในวงกว้างที่ gotoknow.org/blog/ismile

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

6.1 แม้ว่าทางโครงการไม่สามารถแสดงรายละเอียดของสื่อและอุปกรณ์การทำความสะอาดของเด็กได้ (เข้าใจว่า ขึ้นกับความเหมาะสมภายหลังการดำเนินงานมาระยะหนึ่ง) แต่เชื่อมั่นว่า จะมีการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท