เวชระเบียน หัวใจโรงพยาบาล ผู้อาภัพ...ตอนที่ 2


           ก็มาถึงตอนที่ 2 ของการกล่าวถึง เวชระเบียน ชื่อฟังดูแล้วอาจเข้าใจง่าย ๆ ว่า "เอกสารต่าง ๆ ทางการแพทย์" ถ้าแปลตามตัวหนังสือ แต่เวชระเบียนอย่างที่กล่าวมาในตอนที่ 1 ว่า มีอะไรมากกว่าเรื่องของการจัดการเอกสารทางการแพทย์มาก เพราะเป็นหน่วยงานสำคัญที่สามารถจะดูได้ว่าสถานบริการสาธารณสุข นั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพราะการดูจากเวชระเบียนนั้นเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ในการที่จะวัดผลของการให้การบริการ การรักษาพยาบาล การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ผลการรักษาของผู้ป่วย เวลาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขนาดไหน นอกจากนี้ยังรวมถึงการสั่งการ การสื่อสาร การปรึกษาหารือกันต่าง ๆ ของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า เวชระเบียน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ คือ -ระเบียนทางการแพทย์ -สถิติ -วิจัยทางการแพทย์ -เวชสารสนเทศ และ -คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์  การจะวัดประสิทธิภาพของสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆ จึงสามารถดูได้จากส่วนต่าง ๆ ของงานทางด้านเวชระเบียน ที่เดียวจบ ไม่ต้องดูอย่างอื่นให้วุ่นวายก็ทราบทันทีว่า สถานบริการสาธารณสุขเหล่านั้นให้การบริการเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

           การเห็นคุณค่าของเวชระเบียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด ในการพัฒนาการให้บริการสาธารณสุข เพราะถ้าเวชระเบียนถูกพัฒนาไปทุก ๆ ส่วนตามที่กล่าวมา ก็สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขไปโดยอัตโนมัติ แต่ที่ผ่านมาการพัฒนาองกรค์ทางเวชระเบียนมีไปตามมีตามเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะอาจมีหลายฝ่ายที่มองเห็นว่า เวชระเบียนเป็นงานประจำของห้องบัตรที่มีการทำเป็นปกติทุกสถานบริการสาธารณสุขอยู่แล้ว การพัฒนาส่วนอื่น ๆ ก็แยกกันทำไม่ได้ทำอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำให้กระบวนการการพัฒนางานด้านเวชระเบียนก็ไม่ได้มีการพัฒนาไปอย่างที่ควรจะเป็น เหตุผลหลัก ๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่าสถานบริการสาธารณสุขทีมีขนาดเล็กมาก ๆ เช่นคลินิค หรือร้านหมอโดยทั่ว ๆ ไป เวชระเบียนอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับความคิดของแพทย์ เนื่องจากทุกอย่างจัดการอยู่ที่แพทย์คนเดียว บุคลากรที่จะมาจัดการทางเวชระเบียนนั้น อาจเป็นลูกจ้างร้านหมอที่ทำหน้าที่ทุกอย่าง รวมถึงเวชระเบียนด้วย การมองเห็นคุณค่าของงานเวชระเบียนจึงอาจน้อยมาก และสำหรับสถานบริการสาธารณสุขที่มีการเห็นว่า เวชระเบียนคืองานทำบัตร-นัดผู้ป่วย-ช่วยบันทึกและจัดเก็บค้นหา ก็คงไม่มีความสำคัญมากนักเพราะอาจให้ผู้ช่วยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ไม่มีที่ลงมาดูแล และทำงานร่วมกับลูกจ้างของสถานบริการสาธารณสุข และงานที่คนอื่นมองเห็นก็มีเพียงเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงต้องยอมรับว่า งานเวชระเบียนที่เข้าใจแบบนั้นคงไม่มีความหมายมากนัก แต่ถ้าให้ความสำคัญกับงานเวชระเบียน และมีการพัฒนาไปทุก ๆ ส่วนของงานเวชระเบียน ก็จะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นหัวใจของสถานบริการสาธารณสุขอย่างแท้จริง ยังมีต่อในตอนต่อไปอย่าลืมติดตาม.....

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29919เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท