ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

อย่าปล่อยให้หลุดมือไปโดยไร้ค่า..


เช้านี้แจ่มใสทั้งภายในและภายนอก มองไปรอบทิศรู้สึกเบาสบาย

ก็คงพิจารณาว่าวันนี้  ณ  เวลานี้จะทำอะไรบ้างกับชีวติที่หยัดยืนอยู่

เพื่อไม่ให้เวลาขณะผ่านไปแบบลมๆแล้งๆ

นึกถึงพุทธสุภาษิตบทหนึ่งว่า

ขโณ มา โว อุปจฺจคา

อย่าให้เวลาล่วงเลยเราท่านไปโดยไร้ประโยชน์

สุภาษิตบทนี้ สอนให้บุคคลเป็นผู้รู้จักกาลอันสมควรอันได้นามว่า

กาลัญญูชน ชนผู้รู้จักกาลสมัยและเวลาอันสมควร

และเหมาะแก่ภาวะของกิจการทั้งปวงได้

และทั้งเป็นไปในคติโลก  และคติธรรมนำให้ประสบผล

สมควรแก่การที่ตนได้กระทำไว้ เพราะ กาลัญญูชนเท่านั้น

 ย่อมเป็นผู้รู้จักหลีกเลี่ยงความหายนะ

ภัยพิบัติทั้งปวงไม่ให้มีช่วงโอกาสเกิดขึ้น  

ดำเนินสู่วิธีแห่งประโยชน์ที่จะได้รับ    และประโยชน์ที่มีอยู่แล้ว 

ให้เจริญยิ่งขึ้นตามลำดับฯ แต่ผู้ไม่รู้จักกาลเวลา

แม้เมื่อจะทำกิจการ ย่อมทำให้ผิดสมัย

คือ  ด่วนทำเสียก่อนยังมาไม่ถึง

การงานนั้นย่อมมีผลไม่ไพศาล หรืออีกอย่างหนึ่ง

เมื่อถึงคราวที่ตนจะต้องทำแล้ว แต่อาศัยความเกียจคร้าน

หรือความท้อแท้ปล่อยให้กาลล่วงไปเสีย

จึงปรารภจะทำเมื่อภายหลัง

 เช่นนี่ตนก็เป็นผู้คลาดจากประโยชน์อันจะพึงได้พึงถึงเช่นเดียวกันฯ

บุคคลผู้ไม่รู้จักกาล ถึงคราวก็ไม่ประกอบกิจหรือทำให้ผิดเวลาไป

ด่วนไปบ้าง ช้าไปบ้างย่อมได้รับความเสื่อมเสีย

หรือได้รับบ้างก็ไม่พอแก่ประโยชน์ของการงานนั้นฯ

ส่วนบุคคลผู้กาลัญญูรู้จักสมัยเวลา ทำธุระให้เหมาะแก่กาล  

ย่อมจะได้บรรลุความเจริญงอกงามตั้งแต่ต้น

ที่ลงมือกระทำแล้วอย่างแน่นอน

ธรรมะสวัสดีขอรับ..

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 298586เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

กราบนมัสการท่านธรรมฐิตค่ะ

ไม่ได้เข้า gotoknow มาหลายวัน วันนี้เริ่มต้นด้วยการเข้ามารับธรรมะค่ะ

อ่านบันทึกท่านแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเวลาใดที่เหมาะสมแก่ภาวะของกิจการนั้นๆ ตามที่ท่านยกตัวอย่าง ถ้าไม่ทำเพราะเกียจคร้านย่อมเป็นการปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ แต่ที่ท่านบอกว่า ด่วนทำเสียก่อนยังมาไม่ถึง เราจะพิจารณาได้อย่างไรว่า สิ่งใดควรลงมือกระทำหรือว่าสิ่งใดที่ควรจะรอเพื่อให้ถึงเวลา มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรคะ?

เมื่อเรารู้จักตริตรองเหตุและผลอย่างนิ่มนวล

เราจักรู้ว่าเวลาไหนควรทำสิ่งใดก่อนสิ่งใดหลัง

และสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำขอรับ..

สาธุๆๆ

นมัสการเจ้าค่ะท่านธรรมฐิต

ยากยิ่งเจ้าค่ะ ติดตัวขี้เกียจอยู่ กำลังพยายามเลิกคบตัวขี้เกียจอยู่เจ้าค่ะ

ต้องค่อยๆเปลี่ยน เพราะการปฏิบัติยังไม่ถึงไหน ยังมีวิจิกิจฉาติดตัวมา ยังเกรงคนรอบข้างจะแตกตื่นอยู่เจ้าค่ะ

ทำดียังต้องรอ นี่แหละผู้อกาลัญญู แล้วจะเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ในการทิ้ง อะ...ให้เป็นกาลัญญู เจ้าค่ะ

ขอบพระคุณท่านผู้ชี้แนะ ทางสว่างแก่สัตว์โลก

  • กราบนมัสการ ท่านธรรมฐิตค่ะ
  • มารับธรรมะยามค่ำเรื่องสัปปุริสธรรม ๗ ค่ะ
  • อ่านแล้วก็กระตุ้นจิตใจให้รู้ตื่น  รู้เบิกบานค่ะ

สาธุขอรับ..พี่นก..

..ความสำเร็จอยู่ที่ไหน..ความพยายามอยู่ที่นั่น..

ธรรมฐิตก็ยังโง่อีกเยอะขอรับ..

ขออนุโมทนาขอรับ..พี่ครูธรรมทิพย์..

นมัสการพระคุณเจ้า

  • การรักษาเวลาและโอกาส..
  • เป็นเรื่องสำคัญต่อการดำเนินชีวิตนะเจ้าคะ
  • ขออนุญาตฝากลิงค์บันทึกใหม่เจ้าค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/299071

สาธุขอรับพี่ครูตามไปอ่านมาแล้วกับบันทึกดีๆ..

ขอบพระคุณค่ะที่เตือนสติ  ตอนนี้เหมือนกับอะไรก็เร่งรีบทุกอย่าง  งานก็เหมือนกับมีแต่ด่วน  กับด่วนที่สุด  อย่าว่าแต่เวลาแต่ละนาทีเลยมีค่า  ต้องบอกว่าทุกวินาทีมีค่า (ไม่เชื่อถามคนที่ตกรถไฟดูซิ)

นมัสการ

ก็เอาเป็นว่าถาม..พี่ไก่..นี้แหละจะรู้ทันทีเลย..

สาธุๆๆ

  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา

อามนฺตา

Pกราบคารวะท่านอาจารย์ที่แวะมาทักทาย..

กะว่าออกพรรษาจะท่องยุทธจักรแล้วจะแวะไปหานะขอรับ..

เอวํ  โหตุ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท