ไม่ต้องการคนเห็นใจ ไม่อยากให้ใครสงสาร


ถ้าหมอแป๊ะ"ผีบ้าแห่งอมก๋อย"ยังเป็นลูกจ้างประจำ แสดงว่าหลักเกณฑ์ฯการจ่ายเงินค่าตอบแทน(ฉบับที่6)นี้ กล้าลืมบุคลากรสาธารณสุขที่ทุกคนล้วนสรรเสริญ
(คำชี้แจง บทความนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล  ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานบังคับบัญชาและตำแหน่งหน้าที่ของผู้เขียนหรือผู้ใด)
         ในถิ่นที่ทุรกันดารนั้น มีหน่วยบริการสุขภาพหลายประเภท มีบุคลากรสาธารณสุขหลายระดับ  ขอเริ่มต้นที่ “พนักงานเยี่ยมบ้าน”ของกรมอนามัย เขาเป็นคนในพื้นที่ที่ชุมชนนั้นๆคัดเลือกมาอบรมหลักสูตรระยะสั้นๆเพื่อคนที่โลกแคบในป่ากว้างเรียกเขาว่า “หมอ”เขาเป็นคนมีความสามารถสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่เยี่ยมบ้าน ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ไม่มีที่ที่ให้พัก ให้ใช้เป็นที่ทำงาน ชีวิตของเขาต้องพเนจรร่อนเร่ไปเรื่อยๆ เขาจึงเป็นเสมือน “เจ้าที่ไม่มีศาล”คิดไปก็ทรมานความรู้สึก  ณ วันนี้ บางคนไปเรียนต่อ ได้กลายเป็นข้าราชการ แต่ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เรียนต่อแต่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งรับราชการเป็นลูกจ้างประจำ เปลี่ยนชื่อเป็น “ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข”ทำงานอยู่ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้าง สถานีอนามัยบ้าง ทำหน้าที่เชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
           สถานบริการสาธารณสุขชุมชน หรือสำนักงานสาธารณสุขชุมชน มีชื่อย่อว่า “สสช”เป็นหน่วยงานระดับล่างสุดของกระทรวงสาธารณสุข สร้างขึ้นมาเพื่อขยายบริการด้านสาธารณสุขสู่พื้นที่สูงและชายแดน ตามโครงการสาธารณสุขเพื่อความมั่นคง
มีพนักงานสุขภาพชุมชน ลูกจ้างประจำซึ่งเป็นคนในพื้นที่ที่ชุมชนนั้นๆคัดเลือกมาอบรมหลักสูตรระยะสั้นๆ 2 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง เพื่อคนที่โลกแคบในป่ากว้างเรียกเขาว่า “หมอ”เช่นกัน เขาเป็นเสมือน “เจ้าที่ ที่มีศาลให้อยู่”ทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนๆและเท่าๆกับสถานีอนามัย
          ในถิ่นที่ทุรกันดารนั้น เป็น สนามขุนศึกฝึกหัด ของหนุ่มสาวชาวสาธารณสุขที่เรียนจบใหม่ มีไฟอุดมการณ์แรงสูง อยากทำโน่นทำนี่ตามความใฝ่ฝัน เขาเหล่านี้ยังไม่มีประสบการณ์ ภาษานักเลง(ไม่ใช่อันธพาล)ว่ากันว่า ไร้เดียงสา เขี้ยวงายังไม่งอก หรืองอกยาวไม่พอที่จะกล้าเรียกร้องผลประโยชน์ใดๆชีวิตนี้มีแต่ยืนตัวตรง มือกุมเป้าเอาแต่คับ(ครับ)ไม่เคยหลวมและ ค่ะ ไม่(โชว์)ขาๆๆๆกับเจ้านาย
          ในถิ่นที่ทุรกันดารนั้น เป็น สุสานคนเป็น ของหมออนามัยที่มีความประพฤติไม่ดีและทำผิดวินัยที่ผู้บังคับบัญชายังปรานีลงโทษให้หนีไปอยู่ไกลๆเมื่อมีปัญหาแต่ไม่กล้าอาละวาดเพราะกลัวพลาดตกเก้าอี้มนุษย์เงินเดือน
          ในถิ่นที่ทุรกันดารนั้น เป็นถิ่นหมออนามัยเกณฑ์ ของคนที่ไม่มีพวกพ้อง มีลิ้นสั้นจึงไม่ชอบทานก๋วยเตี๋ยว ก้มหน้าก้มตาทำงาน ไม่ชอบสุงสิงกับใคร แบบว่าชีวิตพอเพียงไม่เถียงกับใคร
          หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2552 
ฉบับเจ้าปัญหา ไม่ครอบคลุมและไม่เป็นธรรม ต่อบุคลากรและหน่วยงาน ดังนี้
1.สถานบริการสาธารณสุขชุมชน หรือสำนักงานสาธารณสุขชุมชน มีชื่อย่อว่า 
  “สสช”เป็นหน่วยบริการสาธารณสุข ทำทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนสถานีอนามัยทุกประการ
   มีบุคลากรหลายตำแหน่งไปอยู่คือ
  1.1.พนักงานสุขภาพชุมชน(ลูกจ้างประจำ) ที่ยังหลงเหลืออยู่ ไม่สามารถไปเรียนต่อ
      ในหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อปรับและบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ
 1.2.พนักงานสุขภาพชุมชน(ลูกจ้างประจำ)ที่เรียนจบแล้วและกลับมาปฏิบัติงานที่เดิม
     ด้วยความรักและผูกพันกับชุมชนในตำแหน่งใหม่ที่เป็นตำแหน่งข้าราชการ
1.3.นักเรียนทุนในหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไปปฏิบัติงานในสถาน
     บริการสาธารณสุขชุมชนหรือสำนักงานสาธารณสุขชุมชนตามความจำเป็นเพราะ
     ขาดแคลนบุคลากร มีทั้งในฐานะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่ง
     ข้าราชการ
2.พนักงานเยี่ยมบ้านหรือผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานสุขภาพชุมชน
   ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำที่ทำงานอยู่ในสถานีอนามัยและผู้ช่วยเหลือคนไข้(ชุดเหลือง)
   ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน เป็นบุคลากรสาธารณสุข
   ที่มีบทบาทหน้าที่ มีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากตำแหน่งข้าราชการต่างๆ
          วันนี้ (ขออนุญาตเอ่ยนาม) ถ้า หมอแป๊ะ “ผีบ้าแห่งอมก๋อย”ยังเป็นลูกจ้างประจำ แสดงว่า หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ(ฉบับที่ 6)ฉบับนี้
กล้าลืมแม้กระทั่งบุคลากรสาธารณสุขที่ทุกคนล้วนสรรเสริญ  
วันนี้ยังมีบุคลากรหลายๆคนแม้ไม่เก่งกาจเท่าหมอแป๊ะ แต่ทุกคนที่เสียสละความสุขส่วนตนไปค้นหาผู้ป่วยและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
กลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากกระทรวงสาธารณสุขซึ่งทำเป็นไม่สนใจใยดีเหมือนเขาเหล่านั้นไม่มีคุณค่าอะไรเลย 
เขาเหล่านั้น ไม่ต้องการคนเห็นใจ ไม่อยากให้ใครสงสาร
เพราะความเห็นใจ ความสงสาร ช่วยอะไรไม่ได้ 
เขาเหล่านั้นไม่มีกลุ่มก้อนที่จะไปเรียกร้องสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ และไม่ได้โทษผู้บริหารระดับสูง
เพราะทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของคนหรือกลุ่มคนที่ชงเรื่องขึ้นเสนอเพื่อตนเองเท่านั้น
อย่าน้อยใจเลย“อยู่ที่ใดไหนเล่า จะมีความสุขเท่า อยู่ในหัวใจประชาชน”
หมายเลขบันทึก: 298546เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

<address><img src="http://gotoknow.org/file/o-chin/m124826.jpg" alt="" width="330" height="190" /></address><address></address><address>อย่าน้อยใจเลย&ldquo;อยู่ที่ใดไหนเล่า จะมีความสุขเท่า อยู่ในหัวใจประชาชน&rdquo;</address><address></address><address>มาเป็นกำลังใจให้ผู้มีความฝัน และอุดมการณ์ แม้มันกินไม่ได้แต่มันสุขใจที่ได้เห็นคุณภาพชีวิตของประชาชนคนร่วมแผ่นดินดีขี้น</address><address>ทำไปเถอะค่ะ&nbsp; </address>

สวัสดีค่ะ

  • มาส่งกำลังใจค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่ไปเยี่ยมให้กำลังใจพี่คม
  • พี่คม...ทำงานบนเขาเช่นกันค่ะ
  • แต่ละวันขับรถขึ้นเขาไปโรงเรียนเกือบร้อยโลค่ะ
  • เหมือนคุณ...จินตนา คงเหมือนเพชร ค่ะอุดมการณ์ แม้มันกินไม่ได้แต่มันสุขใจ
  • สวัสดีค่ะ คุณเสือภูเขา
  • มาชื่นชมผลงานดี ดี
  • อยู่ที่ใดไหนเล่า จะมีความสุขเท่า อยู่ในหัวใจประชาชน ชอบมากกับประโยคนี้ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีครับ

มาให้กำลังใจครับ

ชีวิตตามป่าตามด้อย ก็คงคล้ายกับผมนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้อีกคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท