ผ่านไปแล้วค่ะ..การเยี่ยมตรวจของ สรพ


Re-acredit
วันนี้ 17 กันยายน 2552
ท่านอาจารย์เรวดี ศิรินคร มาเยี่ยมตรวจหอผู้ป่วยเคมีบำบัด ของเรา อาจารย์สอบถามถึง...
การใช้ห้อง waiting room ว่าเรามีเป้าหมายในการใช้ห้องอย่างไร เราจะเพิ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มคุณค่าอย่างไร... นอกเหนือการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนรับยาเคมีบำบัด 

เราจัดห้องนี้ไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยมาถึงแล้วได้นอนเตียงเลย จะได้เตรียมผู้ป่วย โดยให้ข้อมูลเรื่องการดูแลตนเองก่อนรับยาเคมีบำบัด แพทย์จะมาเยี่ยมตรวจร่างกาย ดูผล lab และสั่งยาเคมีบำบัด

เดินดูสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย  ดูห้องให้คำปรึกษาของเรา... สวยงามดี

เราได้งบประมาณจาก สปสช ในห้องนี้ทั้งแพทย์ พยาบาลจะมาให้คำปรึกษาหรือพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วยได้และมีหนังสือหลายชนิดให้ผู้ป่วยได้อ่าน ผ่อนคลาย ระหว่างมาอยู่ในโรงพยาบาล นอกจากนี้เรายังมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้ผู้ป่วยสามารถศึกษาหาข้อมูลเรื่องต่างๆได้

เดินไปดูห้องจัดยาสำหรับผู้ป่วย...  อาจารย์ถามเรื่อง  การให้บริการผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้าง เนื่องมีทั้งกลุ่มอายุรกรรม ศัลยกรรม ฯลฯ 

น้องๆเราตอบว่า เรามีผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดที่มารักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด

อาจารย์ถามต่อว่า.. ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค เราได้เรียนรู้อะไร มีอะไรที่แตกต่างกันบ้างในกลุ่มโรคที่เราดูแล

น้องๆตอบว่า การดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค มีความแตกต่างของยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด เราจะต้องรู้ว่ายาเคมีบำบัดแต่ละตัว มีอาการข้างเคียงที่เฉพาะแตกต่างกันอย่างไร เราจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดและสังเกตอาการ โดยเฉพาะอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น การเกิด Extravasation Hypersenstivity ฯลฯ

การรับยาเคมีบำบัดจากหน่วยผสมยา เราทำอย่างไรให้ปลอดภัย

เราจะมีรถตาข่ายไปรับยา และมีกล่องที่มีฝาปิดขณะนำยาจากห้องเตรียมยา มาที่ตึก

จากประสบการณ์ของการให้ยาเคมีบำบัด เราได้ความรู้ที่เป็น tacit knowledge อะไรบ้างที่จะต้องมาจัดทำเป็นคลังความรู้ไว้ให้คนอื่นได้มาเรียนรู้ร่วมกับเราได้

ความรู้หลายเรื่อง โดยเฉพาะเทคนิกการบริหารยา ตั้งแต่การแทงเส้น การเลือกเส้นเลือดที่จะให้ยา การเรียงลำดับการให้ยาเพื่อลด side effect ของยาเคมีบำบัด ความรู้เหล่านี้เราได้นำไป ลปรร กับแพทย์ เภสัชกรและ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการให้ยาเคมีบำบัด ใน CoP IV Chemotherapy

ถึงเวลาดูเอกสาร อาจารย์ถามเรื่อง.. การวางแผนการจำหน่าย ทำอย่างไรให้มีความโดดเด่นและเป็น Best practice 

เราทำวิจัย โดยนำโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดที รพ ใกล้บ้านอย่างถูกต้อง ตรงเวลาตามแผนการรักษาและปลอดภัย นอกจากนี้เรายังได้นวัตกรรม แผ่นซีดีการสอนและคู่มือ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเตรียมตัวก่อนมารับยาเคมี โดยไม่ต้องนอนรักษาใน รพ นอกจากนี้นวัตกรรมของเราได้เผยแพร่ให้เครือข่าย รพ ในภาคอิสาน เพื่อนำไปให้ข้อมูล เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถรับการรักษาที่ รพ ใกล้บ้านได้แล้วค่ะ

อาจารย์แนะนำว่า...เราสามารถตั้งเป้าหมายเพิ่มได้อีก เช่น การให้บริการที่ปลอดภัย ต่อเนื่อง ตรงเวลาที่ควรจะได้รับยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษา ถ้าไม่ได้ตามวัน สามารถยืดหยุ่นได้กี่วัน
อาจารย์เรวดี น่ารักมากๆ แนะนำดี พวกเราจะนำไปพัฒนาต่อไปค่ะ

 

เบื้องหลังการเตรียมตัว งานที่ภาคภูมิใจของเราค่ะ

น้องๆ หลายคนฝึกพูดถึงงานของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 298467เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ใช่ค่ะพี่เเก้ว อาจารย์เรวดีน่ารักค่ะ กุ้งได้เจออาจารย์เมื่อครั้งไปเเลกเปลี่ยนในโครงการ SHA อาจารย์ไปช่วยเเม่ต้อยทุกภาค อาจารย์เก่งด้วยค่ะ เเละอาจารย์พูดถึงการเตรียมตัวรับการเยี่ยมตรวจด้วยค่ะ ว่าในเรื่องการดูแลมิติจิตใจ จิตวิญญาณ อาจส่งภาพกิจกรรมเเล้วทำในลักษณะ multivision เพราะจะสัมผัสด้วยใจได้ดีกว่า วันนี้ทีมเด็กไปนำเสนอการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาจารย์ก็ขอเรื่องเล่า จริงๆเเล้วพี่นิดให้เตรียมไว้ตั้งเเต่เมื่อวาน เป็นเเฟ้มเลยค่ะ เรื่องเล่าของทีมที่กุ้งเขียนตอนนี้มี 6 เรื่อง จึงส่งให้อาจารย์หมดเลยค่ะ เเล้วก็ multivision ด้วยค่ะ อาจารย์บอกว่าการเยี่ยมตรวจจะเป็นเเบบ humanize อาจารย์ก็เป็นแบบนั้นจริงๆค่ะ วันนี้เสียดายไม่ได้ไปด้วยค่ะ พรุ่งนี้เจอกันค่ะพี่เเก้ว

ทีมเด็กเก่งอยู่แล้วค่ะ น้องกุ้ง ยินดีกับความสำเร็จนะคะ ในที่สุดก็ผ่านไปได้ 80% หลายที่ต้องทำต่อ ...พวกเราต้องทำอีก 20% สู้ๆๆๆนะ

เมื่อวาน สรพ มาเยี่ยม รพ เรา อาจารย์ถามว่าจะดึง tacit K มาให้คนอื่นเห็นอย่างไร เราตอบว่าเรามีการถอดบทเรียนจากเรื่องเล่าของแต่ละคน จากการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแล้วมาบันทึกไว้เป็นคลังความรู้ (K assets) แล้วแขวนไว้ใน G2K และ KKU web เพื่อให้คนอื่นได้เข้ามา ลปรร ต่อไป

แต่มีบางส่วนที่อาจารย์เสนอแนะให้เราดึง K capture ให้ออกมาให้ตรงจุด เราจะได้อะไรดีดี อีกมาก  และเป็น model ของเราเอง

ให้ทุกหน่วยงานรวบรวมผลงานและสรุปบทเรียนให้ รพ ภายใน 28 กันยายน 2552 จะได้ส่ง สรพ ภายใน 6 เดือน จะได้มาตรวจเฉพาะส่วนที่เหลือ

หน่วยจ่ายกลาง

  • ควรจัดเก็บเครื่องมือให้เป็นระบบ
  • สิ่งแวดล้อมจะต้องสะอาด
  • การวัดอุณหภูมิและความชื้นให้ได้มาตรฐาน ไม่เกิน 18-22 องศา
  • เครื่องนึ่งที่อยู่ในห้องจะต้องอยู่ในห้องที่สะอาด
  • การรับส่งเครื่องมือแพทย์ ควรขยายเวลา เพื่อให้ส่งหน่วยงานได้ทุกครั้ง
  • การล้างของในหอผู้ป่วย ให้งด ให้ล้างที่จ่ายกลางเท่านั้น
  • ติดแอร์แยก เพื่อควบคุมอุณหภูมิ
  • สอบเทียบเครื่องนึ่งทั้งหมด
  • การตวจสอบอุปกรณ์ ถ้าไม่ผ่านให้สอบทวน
  • ให้ Outsource การ Pack ของ สำลี
  • ฝ้าเพดานจะต้องเรียบ
  • น้ำล้างเครื่องมือจะต้องมีเครื่องกรอง

เพิ่มเครื่องล้างอีก 2 ตัว

ผ้าที่ห่อของจะเป็นรูมาก ควร Pack กระดาษแทนผ้า ใช้แล้วทิ้ง

หอผู้ป่วยต้องมีตู้ฝาปิดทั้งหมด เก็บของ sterile

 

ต่อ

  • Set ที่จะแลกได้ ให้แลกเลย โดยไม่ต้อง Pack เอง
  • การ seal ถุงพลาสติกจะไม่ทำ เพราะจะเป็นพิษต่อผู้ทำ ไม่ควร stock ของมาก
  • เครื่องมือที่ไม่ควร stock ให้คืนได้เลย
  • การจัดเก็บของ sterile จะต้องควบคุมอุณหภูมิ  จะรู้ได้อย่างไรว่าของนี้ sterile จริง เราก็ดูจาก tape 
  • การส่งเครื่องมือไปหน้างาน จะต้องให้พอเพียงจะได้ไม่ต้อง stockมาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท