การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารเทศในการจัดการเรียนการสอน


ห้องเรียนไร้พรมแดน
  
     
               
 
 

 













Soft FM89
HITZ 95.5
Smooth FM105
Easy FM105.5
Peak 88.0
HotWave 91.5
EFM 93.5
Bangkok Radio 94.0
Music Box 94.5
Green Wave
103.5 Modern Love
GET 102.5
FAT
88.5FM Max
93 Cool FM
106 Life FM
ลูกทุ่ง FM





ช่อง 3
ช่อง 5
ช่อง 7
ช่อง 9
ช่อง 11
ไอทีวี
UBC
Nation
iPTV

 
 

MULTIMEDIA หรือสื่อประสมเพื่อการศึกษา

ปัจจุบันวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาในสังคมไทยท่ากลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้นในแง่ลบอันมีผลกระทบเชื่อมโยงจาก
บริบทสังคมโลก การพัฒนาคุณภาพคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แม้กรศึกษาจะเป็นกระบวนการสำคัญ ในการพัฒนาคนแต่ระบบการ
ศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่านั้น จึงจะเอื้ออาทรต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ ของ
คนที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาจำเป็นต้องปรับเพื่อให้การจัดการศึกษา
บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่พึงประสงค์โดยการให้การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ในรูปแบบและวิธีการหลากหลาย โดยเน้นการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาการศึกษา ให้โอกาสผู้เรียนมีบทบาทใน
การพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ความมุ่งหวังดังกล่าว มีผลให้องค์ประกอบหนึ่งของการจัดการศึกษา ที่เรียกว่าเทคโนโลยีทาง
การศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องและพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนา
การศึกษาในปัจจุบัน

โดยที่เทคโนโลยีทางการศึกษา มีบทบาท ในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและส่งเสริมกระบวน การเรียนการสอน โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่า
จะยึดเนื้อหา
วิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องโสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้
อุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาตนเอง

สื่อ (MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้เหตุการณ์ แนวความคิด สถานการณ์ ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้อง
การส่งไปยังผู้รับสารสื่อการสอน (INSTRUCTION MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนหรือแหล่ง
ความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้การเรียน การสอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มัลติมีเดียหรือสื่อประสม

(MULTIMEDIA) เป็นการนำเอาตัวกลางหลายๆ ชนิดที่ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ มาสัมพันธ์
กัน ซึ่งแต่ละชนิดมี คุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ป้องกันการเข้าใจความหมายผิดเป็นการให้
ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันสามารถตอบสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ มีการจัดระเบียบของ
ตัวกลาง
(MEDIA) เพื่อใช้ให้เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาของสื่อแต่ละชนิด เพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นประโยชน์และน่าสนใจ
แก่ผู้เรียน องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบการจัดระบบสื่อประสมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแต่การใช้เครื่องมือทางโสตทัศน์มากกว่า
2 ชนิด ขึ้นไปเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการประสานความสัมพันธ์ของสื่อที่ใช้ เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและความสามารถ หรือ
ศักยภาพของสื่อแต่ละชนิดนั้นให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทำให้สื่อแต่ละชนิดที่ใช้นั้นอำนวยประโยชน์แก่ดันและกัน ทำให้เกิดการ
เรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น

ประเภทของสื่อประสม

อาจจำแนกตามจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ได้ดังนี้
1. จำแนกตามจุดมุ่งหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่างสื่อประสมประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่ร่วมกันแล้วใช้สอนได้หลายเรื่องเรียกว่า "ชุดอุปกรณ์" (Kit) เช่น ชุดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ใช้สอนการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าก็ได้ สอนการผสมสารเคมีบางอย่างเพื่อพิสูจน์
สมการเคมีก็ได้
1.2 ใช้เพื่อจุดหมุ่งหมายเฉพาะอย่างประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกันแต่สอนได้เพียงเรื่องเดียว เรียกว่า"ชุดการสอน"
  (Learning package)
2. จำแนกตามลักษณะของสื่อและลักษณะการใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสอนโดยใช้สื่อประสม เป็นการสอนที่ใช้สื่อหลายอย่าง ทั้งสื่อที่เป็นวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ
2.2 การเสนอสื่อประสม (Multi-media presentation) เป็นการเสนอสื่อประเภทฉาย เช่นสไลด์ ภาพยนตร์ควบคู่กับสื่อเสียง

ความจำเป็นและบทบาทของสื่อประสม

1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้เนื้อหาต่าง ๆ ได้ดีเกือบทุกเรื่องจากแหล่งหลายแหล่ง โดยถือว่าสื่อแต่ละอย่างมีเนื้อหาและรูปแบบแตกต่าง
กัน
2. ช่วยประหยัดเวลาทั้งผู้สอนและผู้เรียน
3. ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ ตามความสามารถและความพร้อมของแต่ละบุคคล
4. ช่วยดึงดูดความสนใจ เพราะสื่อประสมจะเป็นการผสมผสานกันของสื่อที่มีการนำเอาเทคนิคการผลิตแบบต่างๆ มาใช้ทำให้
น่า
สนใจ

การเลือกสื่อประสม

สื่อที่เรานำมาใช้ในชุดสื่อการสอนแบบสื่อประสมมักจะประกอบด้วย เอกสารการสอน แผนภูมิ หุ่นจำลอง ชุดแผ่นโปร่งใส สไลด์และ
เทปเสียง บทเรียนสำเร็จรูป ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ ชุดบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติ
ที่แตกต่างกันออกไป จะทำให้เกิดการเรียนรู้ตามพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่มหรือของแต่ละบุคคล ที่แน่นอนคือสื่อประสมหลายอย่าง
ย่อมช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าสื่อประเภทเดียว

การประยุกต์ใช้สื่อประสม (Multimedia Appllcation)

ปกติการนำเสนอสื่อประสม ถ้าจะบรรจุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะใช้สื่อประเภทเดียว (Conventional Use) แต่เรา
อาจจะใช้สื่อหลายประเภทก็ได้ (MuttimediaUses) เช่น ใช้ภาพกราฟิกในรูปของสไลด์แสดงถึงหลักการแล้วต่อมาฉายเป็น
ภาพยนตร์สั้นๆเพื่อแสดงการประยุกต์ของหลักการนั้นๆ โดยบทสรุปอาจจะใช้แผ่นโปร่งใสข้ามศรีษะเหล่านี้เรียกว่าเป็นการนำไปใช้
(Appllcations)

การใช้กับกลุ่มผู้เรียนจำนวนมาก (Group Uses) อาจใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ได้แก่สไลด์ แผ่นโปร่งใส ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ เครื่อง
เล่นเทปเสียง โดยเราจะต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเตรียมการอันหมายถึง การสร้างวัตถุประสงค์ การเลือกเนื้อหา ให้สนองวัตถุประสงค์ การจัดเรียงลำดับภาพและบทสคริปท์ท้ายสุดก็คือ การจัดหาบุคลากรในการช่วยวางแผน และดำเนินการตามโปรแกรมที่วางไว้


การใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Indivldual Use) การเรียนตามระดับความสามารถหรือความสนใจของผู้เรียน โดยศึกษาจากสื่อประสมภายในกล่อง (Package) ซึ่งประกอบด้วย
1. ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
2. บอกถึงขึ้นตอนลำดับของการศึกษา หรือบอกถึงเนื้อหาตามลำดับขั้นซึ่งผู้เรียนจะสามารถเลือกหัวข้อที่จะศึกษาเองตามวิธีการเรียน
   ของแต่ละบุคคล
3. ผู้สอนไม่เพียรแต่ต้องตระเตรียมหัวข้อต่าง ๆ แต่ยังรวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เหมาะสมด้วย

เนื่องจากการจัดทำสื่อประสมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบง่ายที่สุดจนไปถึงแบบที่มีความซับซ้อนที่ใช้สื่อประเภทวัสดุ
กับประเภทเสียงเพียง 2 อย่าง หรือมากกว่า 2 อย่างขึ้นไป และได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ในรูปแบบความสามารถหรือศักยภาพ
ของสื่อ และการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมากมาย อันเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมทั้งวงการอื่น ๆ ก็ยังสนใจนำไปใช้
ประโยชน์อย่างมากมาย เช่นวงการบันเทิง การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อมัลติมิเดีย
ในยุคเดิมที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาททางการศึกษาไม่มากนัก แต่สามารถช่วยให้การเรียนการสอนประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยใช้สื่อมัลติมีเดียแบบเดิม

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา

ในทางการศึกษายุคปัจจุบัน และอนาคตบทบาทของครูผู้สอนที่ทำหน้าที่สอนในห้องเรียนเหมือนในสมัยก่อนจะลดบทบาทไป แต่จะ
ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยคอยให้คำแนะนำกับผู้เรียนในการเรียนรู้ ตลอดจนการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนในบางครั้ง การเรียนการสอนแบบเอกัต
บุคคล (INDIVEDUALIZAED INSTRUCTION) ที่พึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการฝึกอบรม
ต่างๆ การจัดโปรแกรมการฝึกอบรมรายกลุ่มแบบปกติ จะลดบทบาทลงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยสนับสนุนการฝึกอบรม
เป็นรายบุคคลที่เน้นถึงความสามารถเฉพาะตัวจะเข้ามาแทนที่โดยเริ่มทีละน้อยๆ จนครบกระบวนการในที่สุด เทคโนโลยีด้าน
คอมพิวเตอร์เริ่มมาจากการคิดค้นวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาจึงไม่แปลอะไรที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้กับวงการศึกษาในทุก
สาขาวิชาทั้งที่ใช้ในงานวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งการบริการ การจัดการศึกษาและการบริการทางวิชาการ

การใช้คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน สามารถแบ่งออกได้หลายลักษณะ

1. สอนเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ซึ่งอาจแบ่งเป็นรายวิชาต่างๆ กันตามลักษณะของผู้เรียนที่จะนำไปใช้งาน

2. ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน :CAI (Computer-Assisted Instruction) มีลักษณะเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนสำเร็จรูป เนื้อหาเรื่องราวเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ โดยเน้น
การเรียนเป็นรายบุคคลศึกษาด้วยตนเอง

3. ใช้จัดระบบการเรียนการสอน (Computer-Managed Instruction : CMI) เป็นการนำคอมพิวเตอร์เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ โดยจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับ
ผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถและความถนัดของตน

การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน มีประโยชน์สำคัญ ๆ หลายประการ คือ

1. ทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้มีความสนใจและกระตือรือร้นมากขึ้นดังจะเห็นได้จากการ
มีมักจะมีนักศึกษาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่จนมืดค่ำ ในสถานศึกษาต่างๆ

2. ทำให้นักศึกษาสามารถเลือกบทเรียนและวิธีการเรียนได้หลายแบบ ทำให้ไม่เบื่อหน่าย เช่น ถ้าเบื่ออ่านหรือฟังคำบรรยายก็เปลี่ยน
เป็นเล่นเกมส์ หรือเล่นโปรแกรมอย่างอื่นได้

3. ทำให้ไม่เหลืองสมองในการสท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องท่องจำ

4. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับความต้องการของนักศึกษาแต่ละคน

5. ทำให้นักศึกษามีอิสระในการที่จะเรียนไม่ต้องคอยเวียนแวะแนะนัดกับเพื่อนร่วมชั้นและครูอาจารย์จะเรียนกับคอมพิวเตอร์เมื่อไรก็
ทำได้อย่างอิสระ

6. ทำให้นักศึกษาสามารถสรุปหลักการ เพื่อหาสาระของบทเรียนแต่ละบทได้สะดวกเร็วขึ้น

7. ทำให้นักศึกษาได้ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนรู้

8. ทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากการวิจัยของบริษัท IBM ที่กระทำกับผู้เข้าฝึกอบรมด้วยบทเรียนช่วยสอนด้วย
คอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมการฝึกอบรมแบบปกติ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
ของกลุ่มที่ใช้บทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์สูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง 10%

ความหมายของ CAI (COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION)

สื่อมัลติเดียที่ถูกสร้างขี้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นำมาใช้การเรียนการสอน CAI (CAI,Computer-Assisted Indtruction)
แต่ปัจจุบันมีผู้นิยมคำว่า CBT (Computer Based Teaching หรือComputer Based Training) มากกว่า คำใหม่นี้ถ้า
แปลตามตัวก็คงหมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมโดย ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนอกจากนี้ในอเมริกาก็ยังมีคำนิยมใช้กันอีกคำหนึ่ง
คือCMI (Compuyter Managed Instruction) หมายถึงการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้ ส่วนในยุโรปมักจะใช้คำ
แตกต่างจากในอเมริกันในยุโรปในปัจจุบันคือ CBE (Computer Based Education) หมายถึงการศึกษาโดยอาศัยคอมพิว-
เตอร์เป็นหลักนอกจากนี้ก็มีอีกสองคำที่แพร่หลายเช่นกัน คือ CAL (Computer assisted Learning) และ CML
(Computer Manager Learlming) เป็นการเรียน (Learning) สำหรับในประเทศไทยนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องมักนิยมใช้คำว่า CAI
มากกว่า CBT หรือคำอื่น ๆ ส่วนในภาษาไทยนั้นจะใช้แตกต่างกันไป เช่น ใช้คำว่าบทเรียน CAI ตรงตัว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน บทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์ บทเรียนสำเร็จรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของ CAI (COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION) การใช้งานของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่จะ
หนักไปทางการเรียนด้วยตนเองมากกว่า แม้ว่าจะชื่อบทเรียนช่วยสอนก็ตาม กล่าวคือผู้เรียนจะเป็นผู้ใช้บทเรียน CAI หรือผู้เข้าฝึก
อบรมจะใช้เป็นบทเรียน CBT แนวคิดของ CAI เกิดขึ้นจากนักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ประยุกต์เข้ากับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ
การศึกษาโดยแท้จริงแล้วพื้นฐานของ CAI ก็คือ เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) การมีเครื่องช่วยสอนทำให้ต้องมี
โปรแกรมที่เป็นเนื้อหาแบบฝึกหัด และข้อทดสอบ ที่จะใช้กับเครื่องช่วยสอน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ ก็มีการใช้บทเรียนสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) บทเรียนโมดูล (Module Instruction) ชุดการเรียนการสอนสำเร็จรูป(IMP lnstruction package) เป็นต้น โดยเป็นความพยายามที่จะหาวิธีที่จะ
ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วนตนเอง ตามความสามารถของตน จะใช้เวลามากน้อยต่างกันอย่างไรไม่ว่าจึงเกิดการพัฒนา
บทเรียนสำเร็จรูปเหล่านี้ขึ้นโดยแทนที่จะใช้เครื่องช่วยสอนเป็นตัวเสนอเนื้อหา ก็ใช้หนังสือ (Programmed Text) เป็นตัว
เสนอเนื้อหาโดยออกแบบวิธีการเสนอเนื้อหาให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ใช้เทคนิคของการเสริมแรงและหลักการทาง
จิตวิทยาการเรียนรู้หลาย ๆ อย่างมาประกอบกันอย่างเป็นระบบอย่างไรก็ตามจุดอ่อนของบทเรียนสำเร็จรูปเหล่านี้ก็คือ ความน่าเบื่อ
หน่ายซึ่งเกิดจากความจำกัดของกิจกรรมความจำกัดของสื่อที่นำมาใช้ ความจำเจ อันเกิดจากการอ่านเพียงอย่างเดียวการต้องเปิด
หน้าหนังสือกับไปกลับมา ความจำเจที่สุดได้แก่ ความยากในการสร้างที่จะทำให้เกิดบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะ
ต้องใช้เวลาในการพัฒนา ในด้านของการควบคุมผู้เรียน ขณะใช้งานก็เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมี
ความรับผิดชอบที่ดีจึงจะใช้บทเรียนสำเร็จรูปดังกล่าวได้ผลเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาขึ้น ทำให้นักการศึกษาหันไปมอง
หาวิธีการขจัดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาแทนบทเรียนสำเร็จรูปซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์
เป็นตัวเสนอเนื้อหาทำให้ได้เปรียบบทเรียนสำเร็จรูปในด้านต่าง ๆ เหล่านี้

1. เสนอเนื้อหาได้รวดเร็วฉับไว แทนที่ผู้เรียนจะต้องเปิดหนังสือบทเรียนสำเร็จรูปทีละหน้าหรือทีละหลาย ๆ หน้า ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์
ก็เพียงแต่กดแป้นพิมพ์ครั้งเดียวเท่านั้น
2. คอมพิวเตอร์สามารถเสนอรูปภาพท่เคลื่อนไหวได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการเรียนสังกัป (Concept) ที่สลับซับซ้อนหรือเหตุการณ์
ต่างๆ
3. มีเสียงประกอบได้ ทำให้เกิดความน่าสนใจ และเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียนภาษาได้อีกมาก
4. สามารถเก็บข้อมูลเนื้อหาได้มากว่าหนังสือหลายเท่า
5. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการโต้ตอบระหว่างบทเรียนกับผู้เรียนได้ สิ่งนี้ทำให้ CAI สามารถควบคุม
ผู้เรียนหรือช่วยเหลือผู้เรียนได้มากในขณะที่บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) ไปได้ แต่ CAI ผู้เรียนจะทำอย่างนั้นไม่ได้
6. CAI สามารถบันทึกผลการเรียน ประเมินผลการเรียน และประเมินผลผู้เรียนได้ ในขณะที่บทเรียนโปรแกรมทำไม่ได้ ผู้เรียนต้อง
เป็นผู้ประเมินผลตัวเอง
7. สามารถนำติดตัวไปเรียนในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่
8. เหมาะสำหรับการเรียนการสอนผ่านการสื่อสาร เช่น การจัดการศึกษาทางไกล (Distance Leaming) ผ่านทางดาวเทียม หรือ
การสื่อสารอย่างอื่น

CAI ไม่ใช่บทเรียนโปรแกรมที่นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรมใดๆ ที่นำเสนอเนื้อหาออก
จอภาพทีละหน้า ๆ จนครบบทเรียน โดยที่ผู้เรียนทำหน้าที่แต่เพียงกดแป้นพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาไปที่ละหน้าเท่านั้น แม้ว่าบทเรียน
CAI จะได้แนวความคิดมาจาก บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) ก็ตามแต่ CAI สามารถทำในสิ่งที่บทเรียนโปรแกรม
ทำไม่ได้ในหลาย ๆ ประการ ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนของบทเรียน CAI จึงแตกต่างกับบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียน
สำเร็จรูปต่างๆ โดยการออกการเรียนการสอนของ CAI จะพยายามใช้คุณสมบัติพิเศษ (Attribute) ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อลักษณะเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ส่วนหนึ่งได้แก่ การเสนอภาพที่เคลื่อนไหวได้ การสร้างเสียงประกอบ และส่วนที่สำคัญ
ได้แก่การโต้ตอบได้ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (MULTI MEDIA COMPUTER)

ความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องเดียวหรือติดตั้งในลักษณะที่เป็น
เครือข่าวคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเครื่องขนาดใหญ่
อย่างมินิหรือเมนเฟรมแล้วการลงทุนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จะมีข้อได้เปรียบมากกว่า ทั้งในแง่ของการลงทุน การนำไปใช้ การบำรุง
รักษา และอื่น ๆ ความสามารถในการสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถที่จะผสม
ผสานสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ กราฟิค ภาพเคลื่อนไหว ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์
มัลติมีเดียนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การสื่อความหมายต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ว่าต้องเป็นข้อความ อาจจะมีการสื่อสารด้วยเสียง ภาพยนตร์และข้อความรวมกัน ผลที่ได้คือการสื่อความหมายที่
ชัดเจนมากกว่า มัลติมีเดียจึงมีความเป็นไปได้อย่างดียิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูล การสื่อสาร
การฝึกอบรม การเรียนการสอน หรือแม้แต่ในงานที่เกี่ยวกับความบันเทิงหรือการโโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การศึกษาเรื่องมัลติมีเด

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29837เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท