พรรณไม้ในพุทธประวัติ - 19 สีเสียด


พรรณไม้ที่มีเหตุการณ์สัมพันธ์กับพุทธประวัติ

ชาวฮินดูเรียกสีเสียดว่า กคร

เมื่อพระพุทธองค์สำเร็จพระโพธิญาณได้ 8 พรรษา ได้เสด็จไปประทับที่ ภูสกภวัน (บางเล่มเรียก เภสกลาวัน) คือป่าไม้สีเสียด ใกล้สุงสุมารคีรีในภัคคฏฐี (บางเล่มว่าในแคว้นภัคคะ)

พบนกุลบิดา และนกุลมารดา ทั้งสองเป็นคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี สองสามีภรรยาเมื่อแรกพบพระพุทธองค์ ก็เกิดความสนิทสนม ราวกับว่าพระพุทธองค์เป็นบุตรตน

เมื่อครั้งนกุลบิดาเจ็บป่วย พระพุทธองค์ประทานพระดำรัสว่า ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราไม่ป่วย

................................................................................

อ้างอิงเรื่องและรูป

พนิตา อังจันทรเพ็ญ พระพุทธประวัติ สมุดภาพจิตรกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนีร เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร

ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 298320เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สีเสียดที่คนแก่ กินกับหมาก ใช่ไหมคะ  คุณย่า ของครูอ้อย เคยกินค่ะ  คุณย่า จะใช้มีดฟันมัน สีเสียด เป็นเลือกไม้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ที่ทำให้คิดถึง คุณย่า บุดดี ที่น่ารักของครูอ้อย

 

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

“ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราไม่ป่วย”

ดีมากๆ ครับ

ขอบคุณครับ

  • มาเติมความรู้แล้ว
  • ขอบพระคุณ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท