หาทางออกร่วมกัน หกขั้นในการแก้ปัญหานักเรียน


แนวทางการแก้ไขปัญหานักเรียนแบบมีส่วนร่วม

 

     เมื่อเดืนกรกฏาคม   ผมได้ประชุมสภานักเรียนระดับจังหวัด โดยได้เชิญประธานสภานักเรียน และ คุณครูที่รับผิดชอบมาด้วย  ได้ระดมความคิดเห็นระหว่างความต้องการของคุณครู และ ความต้องการของนักเรียน

 

 

     ผลปรากฏว่ามีช่องว่างระหว่างความต้องการอยู่มาก ผมจึงได้สรุปความต้องการดังกล่าว ให้ทุกโรงเรียนทราบ  เพื่อหาทางออกของความพอดีร่วมกัน  ระหว่างครูและ นักเรียน 

 

      โดยผมเองก็คิดยังไม่ออกว่าจะมีวิธีการอย่างไร  ที่จะเคลียร์ปัญหาของแต่ละฝ่ายออกมาได้

 

     มาวันนี้  ผมได้อ่านหนังสือวิธีพูดและสอนเด็ก

 

    

       ทำให้พบทางออกของปัญหาดังกล่าว 6 ขั้นตอน  ดังนี้ครับ

 

 1.    ฟังความรู้สึกและความต้องการของนักเรียน

 

2.    สรุปแนวความคิดของนักเรียน

 

3.    แสดงความรู้สึกและความต้องการของครู

 

4.    ชวนนักเรียนในห้องให้ระดมความคิดกับครูเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

 

5.    จดบันทึกแนวความคิดทั้งหมดของนักเรียน โดยไม่มีการประเมินผล

 

6.    ตัดสินใจร่วมกันว่าจะใช้ความคิดใด และ วางแผนว่าจะนำแนวความคิดนั้นๆ ไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร

 

      ทั้ง 6 ขั้นตอน  ค่อนข้างจะสอดคล้องกับวิธีการของเวทีครอบครัวสุขภาวะ ที่ผมดำเนินการอยู่เลยครับ   ผมว่าถ้านำไปใช้จริงในห้องเรียน น่าจะได้ผลดีครับ

 

  แต่จะใช้ได้ผลดี ผมว่าคงจะต้องสร้าง

 

            "พื้นที่ที่ปลอดภัย"

 

           "พื้นที่แห่งความไว้วางใจ" 

 

     เสียก่อนนะครับ  นักเรียนจึงจะกล้าพูด  กล้าแสดงออก กล้าเปิดใจ   อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน

 

 

     

      ผมเองยังไม่เคยลองนำไปใช้  จึงไม่มีประสบการณ์จริงมาเล่าให้ฟัง 

 

    แต่จะพยายามนำไปขายความคิดดูครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 298204เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีครับท่านรอง

มีเรื่องทำนองนี้มาแบ่งปันครับ (อาจไม่เกี่ยวกันซะทีเดียว)

วันนึงครูสมมุติสถานการณ์ขึ้นมา

ให้นักเรียนเขียนจดหมายถึงแม่ บอกว่าตัวเองพบรักแท้ ไม่อยากเรียนแล้ว จะไปแต่งงานใช้ชีวิตกับแฟนหนุ่ม ซึ่งร่ำรวยมาก มีเงินใช้ตลอดชาติก็ไม่หมด ครูย้ำว่า ต้องให้เหตุผลที่ทำให้แม่คล้อยตามเห็นด้วย...

วันที่สอง

ครูสมมุติให้นักเรียนเป็นแม่ หลังจากที่แม่ได้รับจดหมายแล้ว ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของลูก

และเขียนจดหมายถึงลูก อธิบายเหตุผลให้ลูกจากจุดยืนของแม่

...

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...

เรื่องมีประมาณนี้ครับ จำได้เลา ๆ เลยเล่าได้ไม่เร้าใจ คนเล่าให้ผมฟังเล่าน่าสนใจกว่านี้ครับ

คุณหนานเกียรติครับ

เป็นความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากครับ เกี่ยวกันโดยตรงเลยครับ สำหรับ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เสริมเติมเต็มได้ตรงประเด็น ตรงจุดเลยครับ

ขอบคุณมากครับ

* เด็กๆสมัยนี้เขาต้องการพื้นที่ได้แสดงออกทางความคิดและกล้านำเสนอในสิ่งต่างๆมากขึ้นค่ะ
* สำหรับวัฒนธรรมการเรียนในชั้นของ Pually จะมีการวางกฎ-กติกา-มารยาท ร่วมกัน และมีบทลงโทษหากละเลยบทบาทหน้าที่ของตน  ให้อิสระในการคิดและจัดการเรื่องต่างๆด้วยตนเอง  โดยมีครูคอยช่วยชี้แนะและช่วยปรับให้เป็นไปตามกรอบของเนื้อหาเพื่อก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ค่ะ
                                           

คุณK.Puallyครับ

จากที่เล่ามา ต้องขอชมเชยจากใจจริงครับ เป็นคุณครูแนวใหม่ใจกว้าง สรรค์สร้างการพัฒนาเด็กให้เขากล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก ดีมากเลยครับ

ขอแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ...อ่านความเห็นของคุณหนานเกียรติ...เลยนึกถึงเทคนิคการสลับบทบาท...ซึ่งนำมาใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน...โดยจำลองเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ที่ผ่านมา แล้วให้สองฝ่ายสลับบทบาทกัน...ว่าหากสถานการณ์เกิดขึ้นกับเขาอย่างนี้เขาจะมีความรู้สึกอย่างไร และโต้ตอบกลับไปอย่างไร เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าใจสถานภาพเข้าใจความรู้สึกของกันและกัน...และให้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น

ขอบคุณมากค่ะ...

อาจารย์ Vij ครับ

ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาช่วยเสริมเติมเต็มความคิดของคุณหนานเกียรติ ช่วยเสริมแนวคิดในการแก้ปัญหาเด็กในการหาทางออกร่วมกันด้วยครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ผมอ่านแล้วได้ข้อคิดดีๆครับ

" เปิดใจครู รับรู้ปัญหา.. กล้าเผยความใน ให้หนทางแก้

จดแม้แนวคิด พิจารณาร่วมกัน สร้างสรรค์สิ่งที่ดี" ครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดดีๆ ครับ

คุณณัฐวรรธน์ครับ ตรงนี้สุดยอดเลยครับ

เปิดใจครู รับรู้ปัญหา.. กล้าเผยความใน ให้หนทางแก้

จดแม้แนวคิด พิจารณาร่วมกัน สร้างสรรค์สิ่งที่ดี"

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านความคิดเห็นดี ๆ มีประโยชน์ค่ะ

อีกแนวคิดหนึ่งคือ แนวคิด "เพลิน" หรือ Play & Learn ของท่านดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช ค่ะ 

เด็กมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการเล่น...ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ อ. small man

มาเยี่ยมแล้วค่ะ

"พื้นที่ที่ปลอดภัย"

"พื้นที่แห่งความไว้วางใจ"

ชอบมากๆค่ะ

สองพื้นที่ไม่ต้องมากมาย...แค่มีความปลอดภัยและไว้วางใจ..ความอบอุ่นก็เกิดในรั้วโรงเรียนได้ค่ะ

คุณคนไม่มีรากครับ

แนวคิดเพลิน(เพลย์ แอนด์ เลิร์น) เป็นแนวคิดที่ดีมากเลยครับ ท่านเขียนไว้หลายปีมาแล้ว ถ้าคุณครูนำมาใช้ละก็ เด็กจะมีความสุขกับการเรียนครับ

ขอบคุณครับ

ครูจิ๋วครับ

มาช่วยกันสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย และ พื้นที่แห่งความไว้วางใจกันนะครับ

ขอบคุณมากครับ

คุณนกทะเลครับ

มีความปลอดภัย และ ความไว้วางใจ ความอบอุ่นเกิดในโรงเรียนแน่นอนครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับท่านรองฯ

ความไว้วางใจ เป็นที่มาของการเกิดพื้นที่ปลอดภัยครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณอาจารย์คมสันครับ

ท่านรองฯ..เห็นด้วยกับครูที่ปรึกษา(ประจำชั้น)ที่ดูแลนักเรียนไปทุกระดับจนจบชั้นเรียนดีหรือไม่ค่ะ...กับการไม่ได้สอนชั้นนี้แต่ได้มาประจำชั้น...ส่งผลดีและผลเสียหรือไม่..อย่างไร..

คุณRindaครับ

เรื่องการประจำชั้นของครู ขอตอบตอบความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ(อาจจะผิดก็ได้) ผมมีความคิดเห็นว่า ถ้าได้ครูดีครูก็น่าจะประจำชั้นเด็กไปจนจบชั้นเรียน(ถ้าเป็นไปได้) เพราะคุณครูจะรู้จักกับเด็กดี ติดตามแก้ไขได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่นี้ สมมติว่ามีคุณครูที่เด็กไม่ชอบ ประจำชั้นตลอดไป ก็จะสร้างปัญหาให้เด็กชั้นนั้นไปตลอดเหมือนกัน

มีอยู่โรงเรียนหนึ่งครับ เด็กย้ายหนี ไป 1 ปี เพราะไม่ชอบครูประจำชั้นคนนี้ พอพ้น 1 ปี ขึ้นชั้นใหม่ ก็ย้ายกลับมาโรงเรียนเดิมครับ

ทำไมถึงพลาดอ่านเรื่องนี้   แนวความคิดนี้เยี่ยมมากค่ะ  อาจจะเคยทำแบบนี้บ้างแต่มันไม่เป็นระบบ  หรือทำได้ไม่ครบทุกขั้นตอน   ทำได้ครึ่งๆกลางๆ  แล้วก็เปลี่ยนไปทำแบบอื่น  โดยไม่ได้ดูผล  จะนำแนวความคิดนี้ไปใช้อีกครั้งค่ะ  /ขอบคุณมากๆ

.ใช้แล้วได้ผลอย่างไร อย่าลืมนำมาแชร์กันบ้างนะครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท