ภูมิปัญญา..ชาวนาไทย(เวทีสรุปผลของครูติดแผ่นดินข้าวกำแพงเพชร)


เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

      เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (28 สิงหาคม  2552) ผมได้จัดกิจกรรมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวของจังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งเป็นการขยายผลการลดต้นทุนจากเกษตรกรต้นแบบ  ซึ่งถือว่าเป็นครูติดแผ่นดินข้าว  ที่มีการทำนาต้นทุนต่ำอยู่แล้ว  ขยายผลไปสู่เกษตรกรข้างเคียงในอัตรา  1 : 10  จังหวัดกำแพงเพชร  มีเป้าหมายครู 9 คน  เกษตรกรขยายผล 90 คน ใน 9 อำเภอ (เป็นการนำร่อง) 

     ประเด็นของการลดต้นทุนนั้นในภาพรวมจะมีอยู่ 4 ประเด็นหลักๆ ตามภาพด้านล้างนี้

          ในกระบวนการทำงานจะมีการประชุมก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้นแบบหรือครูติแผ่นดินข้าว  ส่วนในภาคสนามจะมีการจัดเวที ลปรร.ระหว่างเกษตรกรต้นแบบ / เกษตรกรขยายผล และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจันวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย

  1. เวทีหลักคิด

  2. เวทีหลักวิชา

  3. เวทีปฏิบัติ และ

  4. เวทีการสรุปผล

         ผมช่วยดูแลในเวทีที่ 2 เวทีหลักวิชา  ซึ่งเป็นการตรวจพิกัดด้วยเครื่อง GPS เพื่อให้ทราบชุดดิน  แล้วทำการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินอย่างง่าย  จากนั้นก็คำนวณสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมของแต่ละแปลง  ซึ่งหน้าตาของผลการปฏิบัติงานในเวทีที่ 2 จะได้ตามแบบนี้ครับ http://gotoknow.org/file/yutkpp/soil_kpp.xls  ซึ่งผมออกแบบใหม่ให้ง่ายต่อการใช้ประโยชน์

        ทั้งเวทีประชุมก่อนเริ่มดำเนินโครงการ  และการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในครั้งนี้  ผมจะเชิญนักวิชาการในพื้นที่เข้าร่วมเสมอเพราะปัจจัยของความสำเร็จของงาน  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมในพื้นที่นั้นมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก  กิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ และดำเนินการมี 3 เรื่องหลักๆ คือ

  • การทบทวนและนำเสนอภาพรวมของการดำเนินกิจกรรม  ปัญหา-อุปสรรคต่างๆ


การสรุปผลการดำเนินงาน

 

  • การนำเสนอข้อคิดเห็นต่อกิจกรรมที่ดำเนินการ  ซึ่งภาพรวมต่างเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีกิจกรรมต่างๆ ตรงกับความต้องการทั้งของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเอง และความต้องการสนใจใคร่รู้ของเกษตรกร     


ดีครับดี..มีการใช้หลักวิชาและกระบวนการที่เหมาะสม

 

  • การสรุปบทเรียนและถอดองค์ความรู้ที่ได้ใช้ในแต่ละพื้นที่แล้วได้ผล  เป็นภูมิปัญหาหรือความรู้ที่ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ


การนำเสนอเทคนิควิธี/ภูมิปัญญาชาวนาที่ใช้จริงและได้ผลมาแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

         เนื่องจากเวลาค่อนข้างจำกัดเพียง 1 วัน   ในประเด็นของการเล่าประสบการณ์และถอดองค์ความรู้  ผมก็เลยต้องใช้วิธีให้เกษตรกรต้นแบบ(ครูติดแผ่นดินข้าวทั้ง 9 ทานจาก 9 อำเภอ) ช่วยบันทึกรายละเอียดลงในแบบ/กระดาษไว้เพื่อที่ผมจะได้นำมาจัดพิมพ์รวบรวมไว้ใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่สู่เกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป  ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น

  • การเลี้ยงหอยเชอรี่ (ครูวิรัตน์  พรหมศรี  จากอำเภอปางศิลาทอง)

  • การทำน้ำหมัก พด.2 ย่อยสลายฟาง (ครูถวิล  ศรีวัง  จากอำเภอคลองขลุง)

  • การใช้เชื้อราขาวบิวเวอร์เรียปราบเพลี้ยกระโดด (ครูบรรจง  จากอำเภอลานกระบือ)

  • การใช้ราเขียวเมตาไรเซี่ยม 

  • การขยายเชื้อบีทีกำจัดหนอนกอ/ห่อใบข้าว(ครูภิญโญ  เทียนชัย อำเภอเมือง)

  • การใช้ปูนขาวช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงฯ(ครูวิรัตน์  พรหมศรี จากอำเภอปางศิลาทอง)

  • การป้องกันหอยเชอรี่ในระยะหว่านข้าว (ครูสมศักดิ์  บุญเกิด  อำเภอทรายทองวัฒนา)

  • การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดด้วยสารธรรมชาติ (ครูจำนง  กิจการ  อำเภอขาณุวรลักษบุรี)

  • การย่อยสลายฟางด้วยแสงแดด (ครูสมศักดิ์  บุญเกิด  อำเภอทรายทองวัฒนา)

  • การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวแบบผสมผสาน (ครูอาด  ดาษดา  อำเภอไทรงาม) 

  • สารระเบิดดิน (ครูสมหมาย  พลอาจ  อำเภอพรานกระต่าย)

  • ฯลฯ

        จากการได้ลงพื้นที่ ลปรร.กับเกษตรกรต้นแบบหรือครูติดแผ่นดินข้าวของแต่ละอำเภอ   ได้เห็นได้สัมผัสกับความสนใจไผ่รู้และการทดลองปฏิบัติของเกษตรกรแกนนำ  ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง  และมีน้ำใจที่จะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ให้แก่เพื่อนบ้าน  พร้อมทั้งได้พบเห็นนวัตรกรรม  ภูมิปัญญาและความรู้ต่างๆ มากมาย สมกับที่เราได้ยกย่องท่านเหล่านั้นให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ หรือครูติดแผ่นดินข้าวของชาวนาไทย  และหวังว่ากิจกรรมดีๆ เหล่านี้น่าจะได้ขยายผลให้เต็มพื้นที่ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์..ป่าสัก 15 ก.ย. 52

หมายเลขบันทึก: 297974เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พี่ครับ

ผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่ ที่อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการฯ กับสันติอโศก

น่าสนใจมากครับ

ชาวบ้านที่นั่นปรับเปลี่ยนชีวิตตามหลักการที่ได้ฝึกอบรมมา

ปีที่ผมไปดู ชาวบ้านไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดมาสามปีแล้ว ซึ่งดินเริ่มฟื้นความสมบูรณ์

ปู ปลา สัตว์น้ำก็เริ่มกลับมา

ผลผลิตที่ได้ไม่ต่างจากช่วงที่ใช้สารเคมี เพียงแต่ต้นทุนต่ำกว่ากันมาก

  • ผมเสียดายของดีๆเก่าๆ ที่มีประโยชน์ในการทำงานเชิงลึกมากมาย มหาศาล แต่..
  • ถูกลืมและทิ้งไป เช่น COF..MER ฯ ของกรมฯนี้
  • โดยวัฒนธรรมของชุมชนชนบท โดยทั่วไป คนที่เป็นต้นแบบ ก็คือ ผู้ที่ได้รับเคารพนับถือ-ยกย่องจากสังคม/ชุมชนนั้น เป็นส่วนใหญ่
  • ปัดฝุ่น ปรับระบบ ประยุกต์วิธีการขั้นตอนให้เข้ากับสถานการณ์...เอาใช้.งานจะดี มีเอกภาพและมีพลัง..ผมคิดอย่างนั้น
  • เพียงชื่อเรียกกัน ..มันเปลี่ยนไปตามยุค ตามสมัย ต่างหน่วยงาน จนชุมชนก็งงๆ..ทำให้ดูเหมือนว่า..เป็นเครื่องที่ไม่ยอมจะเสถียรเสียที..อิอิ
  • เอ...แวะมาเยี่ยมหรือแวะมาบ่นความในใจ แต่เช้าเชียว...
  • ขอขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณแทนกรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีคนสานต่อความคิด สู่การกระทำที่ต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

จะพยายามไปปลุก "ครูติดแผ่นดิน" ขึ้นมาใหม่

ตอนนี้ก็พยายามให้เกิด คู่มือฉบับชาวบ้าน......บางที่ก็เดินเร็วได้ บางทีต้องอาศัยปัจจัยหลายๆๆๆๆๆอย่างเข้ามาช่วย

ขอบคุณจากใจค่ะ

น่าสนใจมากคะ

ใฝ่ใจวิถีไทยชนบทมานานแล้วคะ

อยู่กับกลุ่มเกษตรกรในบางช่วงของชีวิตคะ

  • สวัสดีครับพี่หนานเกียรติ
  • ธรรมชาติล้วนเกื้อกูลกัน
  • แต่ก็ถูกเปลี่ยนแปลงจากน้ำมือของคนเรานะครับ
  • เยี่ยมมากเลยนะครับที่มีชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยน
  • อยู่กับธรรมชาตินั้นเป็นความไผ่ฝันของทุกๆ คน
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับท่านสามสัก
  • ของดีนั้นมีมากมาย
  • แต่การทำงานบางอย่างเราก็เลือกไม่ได้
  • แต่หากคิดนอกกรอบไปบ้าง
  • สิ่งไหนดีก็ไม่ทิ้ง เกาะติด ทำอย่างต่อเนื่อง
  • พยายามอยู่นะครับตามกำลัง
  • เท่าที่จะทำได้
  • ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนและให้กำลังใจน้องๆ เสมอ
  • สวัสดีครับคุณ evergreen
  • ไม่ได้เจอกันนาน
  • สบายดีนะครับ
  • สิ่งไหนดี และเหมาะสมเราก็ทำต่อยอดไปเรื่อยๆ
  • บางงานการใช้กรอบปีงบประมาณมากำหนด
  • งานอาจไม่สำเร็จ (แต่เสร็จ)
  • แต่ชาวบ้านไม่ได้อะไร (แต่คนทำงานได้นะ..อิอิ)
  • ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ
  • ขอเอาใจช่วย
  • ปัญหานั้นย่อมมีอยู่
  • หากเรามีกำลังใจ..อะไรก็หยุดเราไม่ได้
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณยุพดี ศรีจันทร์
  • วิถีไทย...คือวิถีของเรานะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

 

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจค่ะ

มีบริษัทขายเคมีภัณฑ์การเกษตรบริษัทหนึ่งให้วาดภาพพืชผลเพื่อประกอบเวบให้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะเราแค่วาดภาพผัก ผลไม้ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

แต่พอมาคิดอีกที คล้ายๆไปช่วยเค้าโฆษณาเลยค่ะ ว่าถ้าอยากให้ผลผลิตออกมาสวยงามอย่างในภาพ ต้องใช้สารเคมีนานับชนิด ทั้งบำรุง ทั้ง "อารักขา" ให้ปลอดภัย

เลยรู้สึก...แปลกๆค่ะ

  • ขอบคุณมากนะคะที่นำมาแบ่งปันทั้งกระบวนการและองค์ความรู้
  • พี่ไปประชุมสรุปผลโครงการที่สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้ากับพี่แมวมา ทั้งเขตและส่วนกลางชมเชยและอยากให้ขยายไปยังพืชอื่น ๆอีก
  • สวัสดีครับคุณ ณัฐรดา
  • เดี๋ยวนี้เกษตรกรใช้กันจนชิน-ติด
  • จะปรับเปลี่ยนอาจต้องใช้เวลามาก
  • และอาจจะได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
  • ขอบคุณครับที่แวะมาให้กำลังใจ
  • สวัสดีครับผอ. ธุวนันท์ พานิชโยทัย
  • เห็นด้วยครับ
  • เพราะตรงกับควงามต้องการของเกษตรกรในปัจจุบันมาก
  • ถ่ายทอดความรู้อย่างเดียวไม่พอครับ
  • ต้องมีกิจกรรมที่สามารถสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการยอมรับด้วย
  • วันที่ 24 คงได้ไปเยี่ยมเยียนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท