โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของอาชีวศึกษา (ส่วนกลาง) รุ่นที่ 1 ระยะที่ 1


การทำงานในวันนี้ต้องต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายแบบมียุทธศาสตร์

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ที่รักทุกท่าน

            ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสทำงานอย่างต่อเนื่อง คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ "โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของอาชีวศึกษา (ส่วนกลาง) รุ่นที่ 1 ระยะที่ 1" ในระหว่างวันที่ 15 - 17 กันยายน 2552 ณ โรงแรมชลพฤกษ์ รีสอร์ท จ.นครนายก ซึ่งต่อเนื่องจากงานสำคัญในครั้งที่แล้วที่เป็นการพัฒนาในระดับผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศกว่า 140 คน สำหรับครั้งนี้ยังคงได้รับเกียรติให้มาร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาข้าราชการพลเรือนในส่วนกลางซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนผลงานและความเป็นเลิศขององค์การใหญ่ของเราสู่สาธารณชน

            ผมต้องขอขอบพระคุณท่านเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ท่านเป็นผู้นำที่เล็งเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเสมอมา ขอขอบคุณท่านรองฯ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร ที่เป็นส่วนสำคัญให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้น และที่ขาดไม่ได้ต้องขอขอบคุณ ผอ.จรัญ พรมเสน และทีมงาน อ.อนงค์ กมลจิตรวี อ. ศิริรัตน์ หวังศักราทิตย์ที่เป็นผลักดันให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องแบบมียุทธศาสตร์ สุดท้ายขอขอบคุณลูกศิษย์ทุกท่านที่สนใจและไม่หยุดนิ่งกับการเรียนรู้ ขอให้การเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นส่วนช่วยให้ท่านสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ สู่สังคมของเราต่อไป และขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเราครับ

                                                                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552

กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร วิทยากร และผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดย อ.ศิริรัตน์ หวังศักราทิตย์

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รองฯ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร รองเลขาธิการ สอศ. และ ผอ.จรัญ พรมเสน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดฯ และให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

 

 

 

ผอ.จรัญ พรมเสน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา กล่าวรายงานการดำเนินโครงการฯ ในฐานะเจ้าภาพผู้จัดโครงการฯ

 

รองฯ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร รองเลขาธิการ สอศ.ในฐานะผู้นำองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญนี้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดฯ และแสดงปาฐกถา เรื่อง การเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ของบุคลากรอาชีวศึกษา

  

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะผู้ออกแบบและจัดหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ และในฐานะโค้ชและวิทยากรหลักของโครงการฯ กล่าวต้อนรับและพุดถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนรู้ในครั้งนี้

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มอบหนังสือเป็นของที่ระลึกแก่ รองฯ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร

 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มอบหนังสือเป็นของที่ระลึกแก่ ผอ.จรัญ พรมเสน

 

 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มอบหนังสือเป็นของที่ระลึกแก่ผู้บริหารในสังกัด สอศ. ที่ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการฯ

 

 ภาพบรรยาการการถ่ายภาพร่วมกัน

 ภาพบรรยากาศในการเรียนรู้

 

 

ภาพบรรยากาศ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552

บรรยากาศ งานเลี้ยงต้อนรับ

 

ภาพบรรยากาศ การบรรยายของอาจารย์ดำเกิง ไรวา

หมายเลขบันทึก: 297520เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (90)

เรียนท่าอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     ผมเป็นคนหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ ซึ่งชื่นชมและภูมิใจในตัวท่านอาจารย์ที่ขยันและทำงานหนักเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีการพัฒนาและแข่งขันได้ในตลาดโลก

    สำหรับผมจะพยายามศึกษา ติดตาม พยายามทำเรื่องการพัฒนา"ทุนมนุษย์"และถ้ามีโอกาสก็จะพยายามช่วยอีกแรงหนึ่งครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

สิ่งที่ได้รับวันนี้คือ การคิดบวก และการมองไปข้างหน้า

ทิพากร รื่นบรรเทิง 083-839-4990

การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่

นายสานิตย์ นาควัชระ 081-922-9647

การที่พัฒนาตัวเราเองและบุคคลอื่นนั้น ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน

สุนันทา พลโภชน์ 089-892-5563

คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร จึงต้องมีความศรัทธาและจริงใจในการพัฒนาคน

วันนี้ได้ข้อคิดจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือได้ทราบถึงองค์กรที่ดีจะต้องมีผู้บริหารมีคุณธรรม

การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในระดับเดียวกัน

นฤมล ปิยะกมลนิรันดร์

สิ่งที่ได้จากการฟังบรรยายครั้งนี้ คือ การเข้าใจ ยอมรับในความคิดของบุคคลอื่น

เยาวลักษณ์ ดอนสุวรรณ์

การทำงานต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จะทำให้ผลของงานที่ออกมาเกิดประสิทธิภาพ

การทำงานประสานกันระหว่างสำนัก

ถ้าคนได้รับการพิจารณาส่งเสริมก็จะมีศักยภาพสูงขึ้น มีความสามารถเพิ่มขึ้น มีความพึงพอใจในตนเองสูงขึ้น รู้สึกตัวว่ามีคุณค่า

หนึ่งเรื่องที่ได้ในวันนี้คือ การเพิ่มแรงเสริม ปลุกจิตสำนึกให้มองภาพการทำงานแล้ว ส่วนรวมได้รับอะไร

นายทิพากร หน่อแก้วบุญ 084-144-2072

การพัฒนาองค์กรหรือการนำองค์กรไปสู่เป้าหมายหลัก จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรทุกระดับให้มีวิสัยทัศน์

นายมนต์ชัย มนูธาราม 082-374-5486

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ให้เปิดความคิดให้กว้างไกล อย่ายืดติดกับระเบียบ

จิตรลดา นิธิภัทรารัตน์

ได้ความคิดที่แตกต่างและคิดในทางสร้างสรรค์

การสร้างทีมงานให้มีคุณภาพ

การทำงานแบบมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันคิด จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน

จิตฤดี ชินเวโรจน์ 081-843-1070

แนวคิดในการทำงานของส่วนกลางของอาชีวศึกษา

อำนวย อยู่ไทย 081-903-5997

หลักและวิธีการคิดในการส่งเสริมและพัฒนาทีมงานเพื่อก้าวไปพร้อมกันให้ได้

สิ่งที่ได้รับจากวันนี้คือ แนวคิดการเชื่อมโยงระหว่างตัวเราและเครือข่าย

พัชรีภรณ์ บางเขียว

ภาวะผู้นำกับการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา

การพัฒนาคน แนวทางการพัฒนาคนของ สอศ

เป้าหมายการทำงาน คือทำงานให้ได้ผลที่สุด

ผู้นำ 8 ประการ ของ เนลสัน เมนเลล่า และการไปปรับใช้

แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาอาชีวะ

การรักของคนในองค์กรให้มีความจงรักภักดี เสียสละต่อองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะองค์กรจะอยู่รอด สามารถดำเนินภารกิจให้สำเร็จได้ ต้องอาศัยคนในองค์กรร่วมแรง ร่วมใจ และเสียสละ ดังนั้น การปกครองด้วยความยุติธรรม ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง ให้โอกาสในการพิสูจน์ความสามารถในการทำงาน รวมทั้งปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีและไม่ละเลยการให้รางวัล สวัสดิการ ผลประโยชน์ที่ควรได้รับ จำเป็นสิ่งที่จะทำให้คนในองค์กรอยู่กับองค์กรในระยะยาว

จากแนวคิด เมนเดลล่า สามารถนำมาประยุกต์กับตนเองได้ 3 ประการ คือ

1 ความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำต้องมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักการและเหตุผล

2. จัดการบริหารศัตรู การทำงานร่วมกันบางครั้งเราก็รู้ว่าเขาไม่ชอบเรา แต่เราต้องพยายามทำดีกับเขา เนื่องจากงานที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน หากไม่สามารถเข้ากันได้ก็จะเกิดความเสียหายต่องานที่ปฏิบัติอยู่

3. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ผู้นำต้องมีบุคลิกภาพภายนอกที่ดี เพื่อให้เกิดความเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับถึงแม้ว่าบางครั้งเราจะมีแต่เรื่องทุกข์ใจ แต่เราจะต้องแต่งกายให้ดูดี และยิ้มได้กับทุกคน แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ชอบเราก็ตาม

สิ่งที่ได้รับจากการดู CD คือคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ต้องมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน ดังนั้น การที่จะบริหารองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า จะต้องมีการพัฒนาที่บุคลากรก่อน เช่นเดียวกับงานของอาชีวะ จะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในทักษะที่ปฏิบัติงานอยู่โดยการจัดให้มีการฝึกอบรมตั้งแต่ระดับ่างขึ้นไปจนถึงผู้บริหาร

ประธานและกรรมการฯ โครงการฯ รุ่นที่ 1

 

1. นางเจิดฤดี  ชินเวโรจน์                 สมอ.              ประธานรุ่น

2. นายทิพากร หน่อแก้วบุญ               สนผ.              กรรมการฯ

3. นางเรณู สันตโยภาส                    สสอ                   "

4. นางสุนันทา พลโภชน์                    สอ.                  "

5. นายสานิตย์  นาควัชระ                  สอ.                  "                  

6. นางสาวฉวีวรรณ ไชยญาธรรม         สอ.                  "

7. นางทิพากร  รื่นบรรเทิง                 สตอ.                "

8. นางสาวสมฤทัย ทรงสิทธิโชค          สตน.               "

9. นางพัชรีภรณ์ บางเขียว                 สมอ.                 "

10. นายอำนวย อยู่ไทย                    สม.                  "

แนวคิดของ Mendela กับภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลาง

1 ผู้นต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี

ผู้บริหารระดับกลางมักได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง ให้เข้าประขุมเป็นผู้แทนองค์กร ในภาระงานต่างๆ ทั้งภายในและนอกหน่วยงานซึ่งต้องพบปะกับบุคลากรต่างๆ ดังนั้น การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องได้รับการพัฒนา

2 ผู้นำต้องรู้จักการประนีประนอม

การเป็นผู้นำต้องมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ต่างซึ่งแต่ละคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ไม่ควรขัดแย้งกัน ดังนั้น การรู้จักประนีประนอม หาทางออกร่วมกันอย่างมีเหตุมีผลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นำควรมี

3 ผู้นำต้องยกย่องให้เกียรติผู้ที่เขายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ผู้บริหารระดับกลาง มีบทบาทเป็นทั้งลูกน้อง และหัวหน้า และได้รับมอบหมายงานหลายด้าน ดังน้น การมอบหมายงานต่อให้ผู้ใต้บังคับบัญขารับผิดชอบ จึงมีความจำเป็น

การยกย่องให้เกียรติ สร้างความภาคภูมิใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการให้อำนาจในการตัดสินใจ การเสนอแนะและความคิดที่เป็นประโยชน์และทำให้ประสบความสำเร็จ

จุรีรัตน์ บินหะซัน

สิ่งที่จุดประกายความคิดจากการชมเทปโทรทัศน์การสนทนา ระหว่าง ดร.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทำให้ดิฉันตระหนักอย่างชัดเจนว่าคนเป็นสมบัติที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร ลากรที่จะผลักดันในองค์กรให้มีคุณค่าเป็นที่ยาก จะต้องใช้ศิลปะและศาสตร์ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคลที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน

ประเด็นที่นำไปสานต่อเพื่อประโยชน์ต่อบุคลากรในส่วนกลางคือการสร้างอุดมการณ์ร่วมกันของคนในองค์กร เพื่อผลักดันองค์กรให้เด่นไปสู่จุดหมายได้รวดเร็วขึ้น

ที่ผ่านมา เราได้พยายามสร้างอุดมการณ์ให้กับนักศึกษาอาชีวะให้เป็นคนที่เสียสละทำงานเพื่อสังคมโดยใช้วิชาชีพ แต่เรายังไม่เห็นชัดว่าบุคลากรส่วนกลาง รวมทั้งบุคลากรในสถานศึกษา มีอุดมการณ์อยู่อยู่ในจุดใด

สิ่งที่ได้จากการดูเทปคุณพารณ

จากการที่ได้ชมเทป

1 ความทันสมัยในการมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยามนุษย์เมื่อ 15 ปีกับยุคปัจจุบันมีความสอดคล้องกับแปนพัฒนาเศรษฐกิจกและสังคมฉบับที่ 8,9 และ 10 ซึ่งเป็นโดยตลอด แต่ความชัดเจนที่เป็นรูปธรรมจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

2 องค์กรที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีส่วนร่วมทุกภาพส่วนขององค์กรโดยจะต้องอาศักยความรักและหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาขับเคลื่อนในการพัฒนาองค์กรซึ่งปัจจุบันภารกิจสูงได้เริ่มดำเนินการแล้ว บางส่วนและคาดว่าสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจะองค์องค์กรแห่งความรักและเอื้ออาทรในอนาคตอันใกล้นี้

ภาวะผู้นำระดับ 8 ของ สอศ.

1 มนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความเอื้ออาทรกับทีมงานและเติมเต็มในส่วนที่ขาดซึ่งกันและกัน

2 มีความเสียสละมีทีมงานจะต้องมีความสุขและยอมรับในข้อผิดพลาดของทีมงานเป็นคนแรก

3 มีหลักคุณธรรมประจำใจ เช่น พรมวิหาร 4 อิทธิบาท

4 ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่ข่มขู่หรือยกตนข่มท่าน

5 มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและชื่นชมความสำเร็จของทีมงานทุกครั้ง

6 มีความรักและเป็นเจ้าขององค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความรัก (คนรักทำให้โลกหมุน)

7 มีความยืดหยุ่นผ่อนปรนประสานความเข้าใจระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่างได้อย่างสอดคล้อง

8 มีสุขภาพพลานามัยทีสมบูรณ์ทั้งร่างการและจิตใจ

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

คุณลักษณะของซี 8 ที่พึงประสงค์ 3 เรื่อง ได้แก่

1 ความรู้ ความสามารถจากการสั่งสมประสบการณ์และการใฝ่รู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีมุมมองวิธีคิดที่สร้างสรรค์ซึ่งตรงกับประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้อความกล้าหาญ

2 ความสามารถในการบริหารจัดการความรู้ ทั้งการสอนงาน การถ่ายทอดความรู้ในระหว่างปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจาการทำงาน โดยให้ผู้ร่วมงานได้ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการแก้ปัญหาจากประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผุ้ร่วมงานมีความมั่นใจและภูมิใจในความสามารถของตน ซึ่งตรงกับประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้อการนำอยู่ข้างหลัง

3 ความยืดหยุ่น ในการทำงานมุมมอง วิธีคิด ประสบการณ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนจะมีเป้าหมายเดียวกัน คือความสำเร็จของงาน ดังนั้น การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การระดมความคิดและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งตรงกับประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้ออย่าไปเน้นถูกหรือผิดแบบ 100%

แนวคิดของ Mandela กับคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลางที่พึงประสงค์ คือ

1.การวางตัวที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนที่ผมเห็น เพราะการวางตัวดีจะเป็นประตูด่านแรกที่จะทำให้คนทั่วไปสนใจ สร้างศรัทธา ความน่าเชื่อถือ พร้อมที่จะเป็นมิตรและเป็นเพื่อร่วมงานที่ดีต่อกัน

2. การเปิดเผยตนเอง การยอมรับตนเองและผู้อื่น คือ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและความรู้จากผู้อื่นเพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเอง การถ่ายโอนสู่เพื่อนร่วมงานเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า

3. การเอื้ออาทรต่อกันต้องเข้าใจ รักลูกน้อง และเพื่อนร่วมงาน ไม่อคติ ไม่อาฆาต ไม่คิดว่าเขาโง่ หรือเขาจะมีดี มีความเก่งเหนือเราต้องทำจิตให้เป็นกลาง

เยาวลักษณ์ ดอนสุวรรณ์

วิเคราะห์ภาวะผู้นำกับอาชีวศึกษาส่วนกลางเปรียบเทียบกับแนวคิดของ Nelson Mandela เหมือนกันอย่างไร 3 ประการ

1. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี คือ มีการวางตัวที่เหมาะสม สง่างาม เพราะจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อบุคคลภายนอกในการเข้าสังคม เป็นที่ยอมรับ และเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร

2. ความกล้าหาญ ผู้นำที่มีความกล้าหาญจะทำให้สามารถที่จะจุดประกายให้ผู้อื่นสามารถที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กร กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อจะพาองค์กรอยู่รอด

3. การเป็นผู้นำ อย่าไปเน้นถูกผิดแบบ 100% ในการทำงานจะต้องมีการเกิดข้องผิดพลาดได้แต่เราก็จะต้องมีทางออก มีการประนีประนอม หาทางตกลงกันให้ดี เกิดความรู้สึกที่ดี ให้มองที่เจตนาของคนนั้นเป็นหลัก และถ้าตกลงกันได้โดยให้เกิดความรู้สึกที่ดีทั้งสองฝ่ายก็จะทำให้การทำงานราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จากการฟังเทปสัมภาษณ์คุณพารณ สิ่งที่จะนำไปใช้ในอาชีวศึกษา คือ การสร้างความผูกพันในองค์กร การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด มีการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะเป็นการรักษาคนให้อยู่กับองค์กรจะทำให้องค์กรยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

จุรีรัตน์ บินหะซัน

ภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่ม / หัวหน้างานที่พึงประสงค์

1. คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ เพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรตลอดเวลา

2. มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ

3. มีการปรับตัวให้ก้าวทันการเปลียนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

4. หยุดทำเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นเรื่องยาก อย่าสร้างเงื่อนไขให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน

5. เป็นนักประสานงานและทำงานเป็นทีม

จากการฟังเทปสัมภาษณ์คุณพารณ สิ่งที่จะนำไปใช้ในอาชีวศึกษา คือ การพัฒนาคน ผลผลิตของการอาชีวศึกษาคือนักศึกษาสายวิชาชีพ ซึ่งอาชีวะจะต้องพัฒนาคนเหล่านี้โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาที่ต้องเป็นทั้งความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติจนเกินเป็นทักษะพร้อม ๆ กับนำคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการเข้าไปด้วย จนเกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคมและเป็นผลผลิตที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมด้วยจิตวิญญาณของการให้บริการ (จิตสาธารณะ) เป็นคนคุณภาพของสังคม

การจะสร้างคนคุณภาพดังกล่าวได้ ก็ต้องสร้างความศรัทธาในอาชีพให้เกิดขึ้นกับครูผู้สอนก่อน โดยอาศัยกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาจิตใจ ซึ่งต้องทำไปพร้อม ๆ กันในสถานศึกษาทุกแห่ง มีโมเดลต้นแบบ มีการให้รางวัล มีการเสริมแรง

กระบวนการต่าง ๆ ข้างต้นก็ต้องมาจากนโยบายของส่วนกลางที่มุ่งใช้นโยบายในการสร้างสรรค์ให้บังเกิดคนคุณภาพที่แท้จริงในสังคม ส่วนกลางต้องมีวิสัยทัศน์ ทัศนคติที่อยู่บนพื้นฐานที่มุ่งหวังร่วมสร้าง ร่วมผลิตคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตนอยู่ในสังคมได้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและช่วยเหลือตัวเองและคนในสังคมได้ด้วยการใช้อาชีพที่ได้ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนมา

นฤมล ปิยะกมลนิรันดร์

สิ่งที่ได้จากการดูบทสนทนาระหว่างคุณพารณ

การบริหารองค์กรให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญอันดับต้นคือ การพัฒนาคน เพราะคนเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลือนองค์กรให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ตามภาวะกิจ

การพัฒนาคนไม่เพียงแต่จะทำการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ใหเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องเท่านั้น การพัฒนาคุณธรรมเพื่อให้คนเกิดความภูมิใจ จงรักภักดีต่ององค์กร รวมทั้งการรักษาและต่อยอดวัฒนธรรมที่ดีขององค์กรก็มีความสำคัญและต้องพัฒนาควบคู่กันไป

ถึงลูกศิษย์ที่รักทุกท่าน

ขอขอบคุณที่ท่านได้แสดงความสนุกสนานในงานเลี้ยงคืนวันพุธที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา และขอโทษที่ผมอยู่ร่วมงานได้ไม่นาน และต้องขอตัวกลับก่อน

อย่าลืมว่าความสำเร็จของการเรียนรู้ยุคนี้ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ต้อง Work hard & Play hard

การเรียนรู้ในระยะแรก 3 วันนี้กำลังจะจบ ผมอยากขอให้ท่านใช้เวลาคิดว่า หลังจากวันนี้แล้วเราคิดที่จะเชื่อมโยงงานของเรากับสิ่งที่ได้เรียนอย่างไร ท่านประธานรุ่นและคณะทำงานคงจะต้องมีบทบาทสำคัญต่อไป

สุดท้าย ผมขอชมเชยที่ทุกท่านตั้งใจเรียน และขอให้มีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ไปพัฒนางานและสังคมต่อไป

จีระ หงส์ลดารมภ์

การบ้านสำหรับการเรียนรู้ระยะที่ 2 (Self Study) ให้เวลาทำงาน 3 สัปดาห์

 

  1. จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก : ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา (อาจศึกษาควบคู่กับหนังสือ Think Again)
  2. จากบทความภาษาอังกฤษ “The new office social contract: Loyalty is out, performance is in” ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรของท่าน
  3. วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ขอให้ส่งงานภายในวันที่ 11 ตุลาคม 2552

ผ่านทาง Blog: www.gotoknow.org/blog/chiraacademy เลือก โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (ส่วนกลาง) รุ่นที่ 1 ระยะที่ 1 และ e-mail: [email protected] (ทั้ง 2 ช่องทาง)

หากมีข้อสงสัยติดต่อ 0-2619-0512-3 คุณเอราวรรณ หรือ คุณวราพร

*ขอให้ทุกท่านส่งให้ทันเวลาเนื่องจากจะเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการเข้ารับการเรียนรู้ในครั้งนี้สำหรับทุกท่าน

 

 

แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายของคุณพารณ อิศราเสนา ณ อยุธยา เพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาอาชีวะ

คนถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความสำคัญในการสร้างและการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีจะทำให้เกิดความสะดวกสบาย การร่วมนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่างๆ ได้ให้ความสนใจและให้โอกาในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง แต่คนมีกระบวนการคิด การรับข้อมูลและการกระจายการถ่ายทอดข้อมูลที่ต่างกับบางคนทำได้รวดเร็ว แต่บางคนอยู่กับการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรจึงการให้โอกาสในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแนวคิดการปลูกฝังให้มีความซื่อสัตย์และรักองค์กร

 

นฤมล ปิยะกมลนิรันดร์

ลักษณ์ของผู้นำระดับซี 8

1 ให้เกียรติเพื่อร่วมงานยอมรับความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้วยใจเป็นกลางเพื่อให้การทำงานมุ่งไปสู่ความสำเร็จขององค์กรซึ่งสอดคล้องกับความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้อการเป็นผู้นำไม่มีสิ่งใดถูกหรือผิด 100 %

2 มีมุมมองในทางบวก ใฝ่รู้ เสริมสร้างทักษะอย่างต่อเนื่อง ให้ความยอมรับไม่เลือกที่รัก ที่ชัง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้อความกล้าหาญ

3 มีความเป็นกลาง ไม่ทิฐิ มีความเอื้ออาทรกับผู้ร่วมงานให้ความยอมรับไม่เลือกที่รักที่ชัง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นผู้นำของ Mandela ในหัวข้อ การบริหารศัตรูอย่างมิตร

 

 

 

จากการดูเทปบทสนทนาระหว่าง นายพารณ อิศรเสา ณ อยุธยา กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ข้อคิดที่นำไปใช้กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังนั้

1 สอศ.ควรให้ความสำคัญกับข้าราชการใน สอศ.ทุกส่วนงาน เพื่อให้ข้าราชการเกิดความรักความศรัทธาในงานที่ทำ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานของ สอศ. มีประสิทธิภาพ

2 ควรส่งเสริมให้ข้าราชการมีความรักความผูกพันกับ สอศ. โดยคิดว่า สอศ.คือบ้านอีกแห่งหนึ่งของตน ไม่ใช่ทุกคนมาหาผลประโยชน์กับ สอศ.

3 การดำเนินงานอะไรก็ตาม ต้องดำเนินงานด้วยความเป็นธรรมเน้นประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่

คุณสมบัติของผู้นำ

1 กล้าพูดและแสดงความคิดเห็นในงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพ

2 มีความเป็นผู้นำ และคอยปกป้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่องานมีปัญหา (ไม่ปล่อยให้คิดและตัดสินใจคนเดียว)

3 มีความรอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ มีความใกล้ชิดผู้ใต้บังคับบัญชา ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

 

คุณลักษณะผู้นำ

1 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ โดยกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

2 ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ โดยไม่มีความอคติ

3 การมีภาพลักษณ์ที่ดี ไม่มีเบื้องหลังเสียหาย ซึ่งจะส่งผลต่อการเป็นผู้นำที่ขาดการยอมรับต่อบุคคลในองค์กร

 

1 จากการที่ได้ชมรายการที่อาจารย์ได้สนทนากับในความคิดเห็นของข้าพเจ้า มีเรื่องเกี่ยวกับอาชีวะ ในเรื่องการรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2 ในเรื่องของคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ ผู้นำควรจะมีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อผู้ตาม ในการที่จะให้ทำหน้าที่การปฏิบัติงาน โดยยังไม่คำนึงถึงผลงานที่ไม่ดี ของผู้ตามก่อน แต่เมื่อผู้ตามได้ทำหน้าที่นั้นแล้วเกิดผลในทางลบ ถึงจะนำผลงานที่ไม่ดีในอดีตมาร่วมพิจารณา

ประไพ พณนันท์ กลุ่ม 2

 

1 ได้อะไรบ้างในเทป ที่นำมาใช้ในอาชีวะ

  • ต้องมีการพัฒนาคนให้มีความพร้อมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในความสำเร็จของงานเป็นปัจจัยซึ่งเป็นตัวกำหนด
  • การสร้างระบบคุณธรรม เพื่อหล่อหลอมให้คนในองค์กรมีความเชื่อมั่นและผูกพันเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี
  • การบริหารวัฒนธรรมข้ามชาติ เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบเทคโนโลยีที่ทันสมัย

2       ถ้าจะสร้างผู้นำที่เป็น c8 ในบริบทของอาชีวะ ควรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร (ผู้นำที่ดี) เทียบเคียงกับ Mandela

  • ต้องรู้จักจังหวะ “พอ” หรือ “ถอย”
  • ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความเป็นกันเอง
  • การจัดการบริหารศัตรู เสมือนกับ “รู้เขา รู้เรา”ารมองไปข้างหน้า

 

จากการฟังเทปสัมภาษณ์คุณพารณ พบว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องให้ความสำคัญกับระบบบริหารและพัฒนาบุคลากร โดยต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและโลกภายนอกองค์กรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

วิเคราะห์ภาวะผู้นำกับอาชีวศึกษาส่วนกลางเปรียบเทียบกับแนวคิดของ Nelson Mandela

  1. ต้องเป็นผู้รู้สจักคิดสร้างสรรค์ในงานที่ต้องรับผิดชอบโดยเฉพาะคิดเพื่อแก้ปัญหางาน
  2. ต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ และเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี
  3. ต้องรู้จักเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ

เมื่อนำสิ่งที่คิด 3 เรื่องมาเปรียบเทียบกับ 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela แล้ว ระดับหัวหน้ากลุ่มมี 1 เรื่อง คือ เรื่องผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่ถ้าเป็นคุณลักษณะของผู้นำระดับ ผอ.สำนัก หรือระดับสูงกว่าหัวหน้ากลุ่มควรจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะทั้ง 8 ประเด็นความคิดของ Mandela

 

จุรีรัตน์ บินหะซัน

ภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่ม / หัวหน้างานที่พึงประสงค์

  1. คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ เพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรตลอดเวลา
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ
  3. มีการปรับตัวให้ก้าวทันการเปลียนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  4. หยุดทำเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นเรื่องยาก อย่าสร้างเงื่อนไขให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน
  5. เป็นนักประสานงานและทำงานเป็นทีม

 

 

จากการฟังเทปสัมภาษณ์คุณพารณ สิ่งที่จะนำไปใช้ในอาชีวศึกษา คือ การพัฒนาคน ผลผลิตของการอาชีวศึกษาคือนักศึกษาสายวิชาชีพ ซึ่งอาชีวะจะต้องพัฒนาคนเหล่านี้โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาที่ต้องเป็นทั้งความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติจนเกินเป็นทักษะพร้อม ๆ กับนำคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการเข้าไปด้วย จนเกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคมและเป็นผลผลิตที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมด้วยจิตวิญญาณของการให้บริการ (จิตสาธารณะ) เป็นคนคุณภาพของสังคม

การจะสร้างคนคุณภาพดังกล่าวได้ ก็ต้องสร้างความศรัทธาในอาชีพให้เกิดขึ้นกับครูผู้สอนก่อน โดยอาศัยกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาจิตใจ ซึ่งต้องทำไปพร้อม ๆ กันในสถานศึกษาทุกแห่ง มีโมเดลต้นแบบ มีการให้รางวัล มีการเสริมแรง

กระบวนการต่าง ๆ ข้างต้นก็ต้องมาจากนโยบายของส่วนกลางที่มุ่งใช้นโยบายในการสร้างสรรค์ให้บังเกิดคนคุณภาพที่แท้จริงในสังคม ส่วนกลางต้องมีวิสัยทัศน์ ทัศนคติที่อยู่บนพื้นฐานที่มุ่งหวังร่วมสร้าง ร่วมผลิตคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตนอยู่ในสังคมได้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและช่วยเหลือตัวเองและคนในสังคมได้ด้วยการใช้อาชีพที่ได้ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนมา

สิ่งที่ได้จาก cd และนำมาใช้กับอาชีวศึกษาได้คือ

เรื่องการสร้างคนให้มีความผูกพันธ์กับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาจกล่าวได้จำเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานซึ่งจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการจากหลักการธำรงรักษาคนในองค์กรที่กล่าวถึงใน Cd สามารถนำมาสร้างให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและบุคลากรอาชีวศึกษามีคุณลักษณะเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะการสร้างความผูกพันการมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ การสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ความรับผิดชอบ การพัฒนาตนเอง การมีส่วนรวมในการบริหาร กาปฏิบัติงาน ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

จากซีดี เรื่องที่นำไปใช้ใน สอศ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารบุคลากรในองค์กร สอศ. มีบุคลากรจำนวนมากและทำงานทั้งในส่วนกลางและอยู่ตามภูมิภาคทั่วประเทศ ปัญหาในการสื่อสารกับบุคลากรทุกระดับมักพบปัญหาอยุ่บ่อยครั้ง ดังนั้นควาแก้ปัญหา

1 กระจายอำนาจ ทั้งในส่วนกลาง คือในระดับสำนัก และไปยังส่วนภูมิภาค คือสถานศึกษา

2 สนับสนุนใช้ระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร

3 ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ให้มีคุณภาพทุกคนให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลพร้อมทั้งปรับพฤติกรรม

4 พัฒนาระบบการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์ของ สอศ. 9 ประการ

1 ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่ (Macro ไปสู่ Micro)

2 การมี vision และมองอนาคตให้ชัดเจน

3 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4 มีทัศนคติเป็นบวก

5 มีคุณธรรม จริยธรรม

6 กล้าตัดสินใจ

7 สร้างทีมงานและทำงานเป็นทีม

8 เป็นแม่แบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี

9 สร้างวัฒนธรรมการมีนวัฒนธรรมใหม่ ๆ

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

จาการดูเทปการสนทนาระหว่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยากับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พบสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับอาชีวะคือ

1 ขนาดขององค์กรมีผลต่อการบริหารคน สอศ. เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ นอกจากส่วนกลางซึ่งประกอบด้วย 7 สำนัก 2 หน่วยงานแล้ว ยังมีสถานศึกษาในสังกัดอีก 415 แห่ง และกำลังจะมีสถาบันการอาชีวศึกษาเกิดขึ้นอีก 19 สถาบันปัญหาที่ตามมาคคือการสื่อสาร ที่จะให้บุคลากรทุกคนใน สอศ. ทราบอย่างทั่วถึง และเข้าใจตรงกัน รวมทั้งการกระจายอำนาจเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน

2 กลวิธีสร้างความผูกพันในองค์กรและการรักษาคนในองค์กร เริ่มจากผู้บริหารต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน การให้ความสำคัญ การระดมความคิด เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกัน รวมทั้งการปลูกฝังจรรยาบรรณให้บุคลากรในองค์กรตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและการเป็นผู้ให้โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคขั้นสุดท้าย โดยส่วนกลางต้องคำนึงถึงสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษา ต้องคำนึงถึงสถานศึกษาในกลุ่มจังหวัด สถานศึกษาต้องคำนึงถึงผู้เรียน และชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งเมื่อชุมชนเข้มแข็ง ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงา ผลที่ตามมาคือสถานศึกษา ก็จะเป็นที่ยอมรับและชื่อชมของสังคม บุคลากรในองค์กรก็จะมีความภาคภูมิใจในองค์กร และพร้อมที่จะพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้และทั้ง ผู้บริหารทุกคนต้องประพฤติตามจรรยาบรรณโดยไม่มีข้อยกเว้น

จากเทปที่ได้ดูบทสนทนาระหว่างนายพารณ และศ.ดร.จีระ

ได้ข้อคิดที่มีสาระประโยชน์และน่าจะนำไปใช้กับการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังนี้

1 สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นในองค์กรให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติในส่วนกลางเพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อสอศ.อย่างสูงสุด

2 การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้อยู่เสมอๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิปัญญาและเสริมสร้างทักษะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเมื่อบุคลากรมีความร้และพัฒนาเองอยู่เสมอแล้ว จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

3 สร้างเสริมคุณธรรมในการบริหาร องค์กรจะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายก็ต้องมีการบริหารที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม การดูแลเอาใจใส่ ของผู้บริหารที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมเกิดผลดีต่อองค์กรเพราะองค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ก็ต้องอาศัยผู้ปฏิบัติซึ่งเปรียบเสมือนเพื่อองค์กรที่ขับเคลื่อน ดังนั้น สอศ. จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องได้รับความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน นักเรียนนักศึกษา

4 การให้ความสำคัญของบุคลากรในองค์กรจะตั้งเกณฑ์ว่าผู้อำนวยการการวิทยาลัยเท่านั้นที่มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารระดับกองระดับสำนักได้ หากปราศจากอคติดนี้แล้ว บุคลากรในส่วนกลางจะมีความเจริญในหน้าที่มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นายทรงธรรม กาญจนพิบูลย์

1 เทป้สัมภาษณ์ คุณพารณ และศ.ดร.จีระ เกี่ยวกับอาชีวะอย่างไร

- ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การสเรื่องนักเรียน นักศึกษาสายอาชีพท่มีคุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ

- ต้องมีการพัมนาบุคลากรให้มีความพร้อม ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

- เรื่องคุณธรรม สอดคล้องกับการอาชีวศึกษาที่ว่าฝีมือเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม

2 ลักษณะของผู้นำ c8 ที่สอดคล้องกับ 8 ประเด็นของเมนเดล่า

- ส่งเสริมสนับสนับลูกน้องด้วยความจริงใจในทางที่ถูกต้อง

- เป็นผู้นำที่ดีสามารถเป็นดั่งให้กับลูกน้องให้ไม่เป็นลูกน้องคนใดคนหนึ่ง

เจิดฤดี ชินเวโรจน์

เทปคุณพารณ สามารถนำไปใช้กับการบริหารของอาชีวศึกษาได้คือ เรื่องของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่องให้ได้คุณภาพซึ่ง คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ผู้บริหารต้องลงมาดูแลด้วยตนเอง เป็นการสร้างศรัทธาและเป็นขวัญและกำลังใจ โดยเน้นให้เกิดความสามัคคีเป็นนำหนึ่งใจเดียว ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงด้านสถานการณ์และเทคโนโลยี คนก็ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น และสามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน แต่การฝึกคารมและพัฒนาบุคลากรต้องเป็นการสร้างคนให้มีคุณภาพเข้าใจและสื่อสารเป็นในแนวทางเดียวกัน เพราะองค์กรอาชีวศึกษาถือว่าเป็นองค์กรใหญ่ ทำอย่างไรจึงจะจัดระบบให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายโดยจ้องสร้างคุณธรรมในการบริหารจัดการ และใช้อำนาจไปในทางที่ถูกด้วยและข้อสำคัญต้องสร้างความผูกพันกับองค์กร

อาชีวศึกษา

1 มีความมุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมายและแสวงหาสติและปัญญาอย่างไร

2 วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

3 มีคุณธรรมในการบริหารจัดการ

4 ยืดหยุ่น หาวิธีการสันติในการแก้ปัญหา

5 เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ไหวพริบ

6 ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์

7 มีความคิดสร้างสรรค์

8 สร้างคุณค่าที่ดีและพฤติกรรมที่เหมาะสม

9 มีความกล้าหาญ

Mandela

1ความกล้าหาญ

2 การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า

3 การนำอยู่ข้างหลัง

4 จัดการบริหารศัตรู

5 การจะอยู่อย่างผู้นำต้องใกล้ชิดกับเพื่อน

6 ต้องมีภาพลัษณ์ที่ดี

7 อย่าไปเน้นถูกหรือผิด 100%

8 รู้ว่าจังหวะไหน จะพอหรือจะถอย

2

แนวคิดของ แมนเดลา กับอาชีวศึกษาส่วนกลางมีส่วนเหมือนกันคือ

ความกล้าหาญไม่ใช่ไม่มีความกลัว แต่เป็นความสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้

นักศึกษาอาชีวะสังคมมองว่าเป็นจำเลย เป็นผู้กระทำความรุนแรง ก้าวร้าว ขาดสติ สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น

ตลอดเวลาชาวอาชีวะต้องใช้ความกล้าหาญทั้งๆที่กลัวเพราะวัยของนักศึกษาเป็นวันที่มีพละกำลังเหลือเฟือเป็นวัยที่มีความเชื่อมั่นในต้นแบบ พร้อมที่จะหลงเชื่อและมัวเมากับอบายมุข ธรรมชาติของวัยเป็นเช่นนั้น ยิ่งมาเรียนช่างอุตสาหกรรมมีอุปกรณ์ที่ดูเสมือนเป็นอาวุธทุ่นแรงยังน่ากลัว ก็อยู่กับความกลัวนี้ แต่ก็ต้องมีความกล้าหาญ ที่จะนำเอาสิ่งดีๆที่มีอยู่ในตัวนักศีกษา เหล่านี้ออกมาประกาศให้สังคมรับรู้โดยใช้กระบวนการจัดองค์ความรู้เข้าไปดึงออกมาทั้งเรียงของการแข่งขันทักษะ แข่งขันหุ่นยนต์ แข่งขันสร้างสิ่งประดิษฐ์การออกให้บริการ FIX IT Centre โครงการอาชีวะรวมด้วยช่วยประชาชน ฯลฯ การดึงความเด่นจากความด้อยโอกาสเป็นเรื่องยากแต่ชาวอาชีวะก็ต้องทำจะกี่ 10 ปี ก็ต้องทำต่อไปทั้งๆที่ น.ศ.สายสามัญก็มีความรุนแรงเหมือนกัน แต่สังคมมองข้าและให้อภัยตลอดมาเพราะถ้าไม่มีอุปกรณ์ข้าง ถ้ามีแต่ปากกา กระเป๋า กางเกงขาสั้นดูเป็นเด็กตลอด

ชาวอาชีวะจึงต้องใช้ความกล้าหาญทุกยุคทุกสมัยเพื่อดึงเอาสิ่งดีๆที่มีอยู่ในตัวน.ศ.ในตัววิชาชีพมาประกาศให้สังคมรับรู้ แม้จะเสมียนคลื่นกระทบฝั่ง แต่ก็ต้องทำตัวเป็นคลื่นตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นให้ น.ศ.มีผลงานสู่สังคมรุ่นแลวรุ่นเล่า จนกว่าจะเกิดความเป็นเลิศ ด้านวิชาชีพในตัวน.ศ. ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน

ผู้นำของอาชีวศึกษา ควรมีคุณลักษณะดังนี้ 1. การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สอศ.มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาไปข้างหน้า มีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมากมายที่ท้าทายผู้นำ ผู้นำต้องมีความกล้าหาญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการอาชีวศึกษา 2. การเป็นผู้นำที่มีเครือข่ายหรือมีพันธมิตร เพราะการจะทำงานใหญ่ให้สำเร็จได้ต้องมีทีมงานทั้งในองค์กรและนอกองค์กร ซึ่งมีทั้งเป็นผู้ปฏิบัติและฝ่ายสนับสนุนพร้องทั้งช่วยผลักดัน 3.การมีภาพลักษณ์ที่ดี ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งนอกจากบุคลิกภาพดีแล้ว การครองตนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ใต้บังคับบัญชาพร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 4. การเป็นผู้ไฝ่รู้ ทันเหตุการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดี มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง 5. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นนักคิด นักวางแผน 6. แสวงหาโอกาสใหม่ๆในการพัฒนาอยู่เสมอๆ
นายมนต์ชัย มนูธาราม

บทสนทนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย

สรุปประเด็น ดังนี้

1 ความเชื่อมั่น เชื่อมั่นในองค์กร สร้างความสำเร็จ ความสำเร็จเกิดจากคน

การบริหารคนจึงเป็นหัวใจที่สำคัญ

ในทางเศรษฐศาสตร์ คนคือสมบัติอื่นมีค่าเพราะคนเป็นผู้แก้ปัญหา สร้างปัญหา เสนอแนะ

2 วิสัยทัศน์ มีมุมมองที่กว้างไกล ธุรกิจระยะยาว ต้องมีประสิทธิภาพ

อดีต มองแต่ลูกน้อง

ปัจจุบัน ภายในองค์กร ภายนอกองค์กร

3 ขนาดของธุรกิจ ต้องคำนึงถึง

การติดต่อสื่อสาร

การกระจายอำนาจ (คนที่มีคุณภาพ)

การสร้างคนในองค์กรต้องสร้างทั้งระบบ

4 สร้างคุณธรรมในการบริหาร

ประเพณีและวัฒนธรรมสื่บทอด

ผู้นำต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี

การให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำมีความเอื้ออาทร

1 จาก ซีดี นำมาใช้ประโยชน์กับอาชีวะได้ 1 เรื่อ ได้แก่ การฝีกอบรมนักเรียนนักศึกษให้มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นกำลังสำคัญ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณธรรมมีทักษะฝีมือมีคุณภาพ แต่ต้องใช้ครู มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีก่อน

2 จากบทความของอ.จีระ 8 บทเรียนผู้นำ Mandela ที่นำมาใช้กับอาชีวะได้

1 ผู้นำต้องมีจุดยืนไม่ตามการเมืองมากไปจนผิดกฏระเบียบ และนำให้ข้าราชการประจำเดือนร้อย ต้องปกป้องผู้ตามได้

2 ผู้นำต้องคำนึงถึงหน้าที่หลัก วัตถุประสงค์หลักขององค์กร เป็นผลิตนักศึกษาอาชีวะที่มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือของตลาดแรงงาน ติดตามประเมินผลและมีผู้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบดูแลสถานศึกษาในสังกัดอย่างใกล้ชิด

3 ผู้นำระดับ ผ.อ.สถานศึกษาร่นใหม่ๆ ควรกล้าหาญ แต่มีความสุภาพเอาใจใส ลูกค้ามากๆ โดยเฉพาะต้องศึกษาการทำงานเพราะบางท่านก้าวข้ามขึ้นมามุ่งมั่นเอาชนะภาพลักษณะที่ไม่มีของนักศึกษาอาชีวะให้กว้างเป็นที่เชื่อถือของสังคม เพราะอยู่ใก้ลชิดนักศึกษาที่สุด

ผู้นำ ซี 8 ควรเน้นบริหารของอาชีวศึกษา 3 เรื่อง ได้แก่

1 เป็นฐานข้อมูลที่ดี แก่ผ.อ. สำนักซึ่งมาจากสถานศึกษา ยังไม่ทราบเรื่องการบริหารงานในส่วนกลาง โดยต้องระวัง เป็นผู้นำแต่อยู่เบื้องหลัง อย่าให้ผู้นำเบื้องหน้าเสียหน้า

2 เป็นผู้ใฝ่รู้ รู้รอบด้านมากกว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจและเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมีอัตราสูง

3 มีเครื่อข่ายที่จะช่วยในการปฏิบัติงานอย่างราบรื่น ไม่โดดเดี่ยว ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานและมีจิตบริการแก่สถานศึกษาที่มาติดต่องาน

อ.เจิดฤดี ชินเวโรจน์

จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งทั้ง 2 ท่านเป็นผู้ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมประสบการณ์มาจากบริษัทข้ามชาติ บริษัทต่างประเทศ โอกาสในการทำงานในองค์กรทางการศึกษา จากสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ดี มีคุณธรรมสูง การแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มากำหนดเป็นทฤษฏีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4 L’S 8R’S ขยายผลการพัฒนาสู่องค์กร ลูกศิษย์ ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเห็นเป็นรูปธรรม ได้แง่คิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาปรับใช้กับตนเองและการทำงานในองค์กร ทำให้เห็นแนวทางและทิศทางในการทำงานให้เป็นระบบ มีการเชื่อมโยงการทำงานและแชร์กันมากขึ้น ทั้งระดับแนวตั้งในองค์กรส่วนกลางระหว่างกลุ่มงานต่างๆ สำนักต่างๆภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งประเด็นหลักที่เห็นด้วยกับทั้ง 2 ท่านเป็นอย่างยิ่งคือ คนเป็นสมบัติที่มีค่าขององค์กรซึ่งคุณภาพของคนมีการเชื่อมโยงกับการเพิ่มผลผลิตและจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ต้องควบคู่ไปกับการดูแลคน ทำอย่างไรที่จะสร้างแรงจูงใจให้เขาเกิดความรักในองค์กรและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ผู้บริหารต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกและผู้สอนและพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถใช้ความรู้ความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่ สนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม นำเอาความรู้ความสามารถของแต่ละคนมาทำงานร่วมกัน การให้โอกาสคนโดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโส ทำอย่างไรที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ สร้างโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าคนไม่มีโอกาสพัฒนาก็จะเสื่อมได้ง่ายกว่าวัตถุ และยุคโลกาภิวัตน์เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะก้าวให้ทันและทัดเทียมกับผู้อื่น ซึ่งระบบราชการไทยต้องยอมรับว่าทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากมีปัจจัยหลายๆอย่างที่มาเกี่ยวข้อง แต่ก็เป็นจุดหนึ่งที่ดีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถึงแม้จะทีเล็กทีละน้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากตัวเองและคนรอบข้างซึ่งถ้าคนในองค์กรมีคุณภาพจะส่งผลถึง Productivity ขององค์กรและคุณภาพของผู้เรียนทั้งในและนอกระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักขององค์กรและเป็นการสร้างคนด้านวิชาชีพให้เป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต

สมจินตนา วิศิษฎอนุพงษ์

บทเรียนจากเรื่องจริง ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ครม.

การที่ข้าราชการประจำ ถูกการเมืองครอบงำนั้น จะหาทางออกได้อย่างไรในเมื่อตำแหน่งของนักการเมืองนั้นอยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชา และมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบาย และสามารถให้คุณให้โทษกับข้าราชการประจำได้

หากจะแก้ไข คงต้องสร้างจิตสำนึกให้กับนักการเมือง เมื่อมาดำรงตำแหน่งแล้วต้องมีคุณธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ข้าราชการเองก็ต้องมีจุดยืนในการทำงานเช่นกัน ทำงานด้วยความโปร่งใส ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ มีความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

สมจินตนา วิศิษฎอนุพงษ์

จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค ทำให้ได้ข้อคิดหลายประการที่ควรนำมาปรับใช้กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งสามารถยกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

ผู้บริหารที่ดีควรให้โอกาสลูกน้องได้แสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้พบปะหารือได้ตลอดเวลา ทำตัวเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องปฏิบัติตาม เปิดใจรับฟังการเตือนจากลูกน้องและนำไปพิจารณาอย่างรอบคอบ เมื่อให้นโยบายแล้ว ควรติดตามอย่างใกล้ชิด และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนจบ ผู้บริหารควรเป็นทั้งผู้ฝึกสอนและเป็นพี่เลี้ยง พัฒนาลูกน้องตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารควรแสดงความชื่นชม แสดงความกระตือรือร้นเมื่อได้เห็นผลงานของลูกน้อง และควรชมต่อหน้าลูกน้องและผู้อื่น ควรมีการเปลี่ยนหมุมเวียนให้เกิดการเรียนรู้หลากหลายด้าน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อร่วมคิดร่วมปฏิบัติ ควรสร้างบรรยากาศของครอบครัวให้เกิดขึ้นในองค์กร ดูแลเอาใจใส่ไม่เฉพาะเรื่องงาน แต่รวมถึงเรื่องส่วนตัวและครอบครัวด้วย ผู้บริหารควรมอบหมายงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ และเป็นงานที่ท้าทาย มีโอกาสก้าวหน้า ควรมีการสร้างเครือข่ายทั้งในองค์กรและนอกองค์กร ควรมีการพัฒนาคนทุกระดับและต่อเนื่อง ควรส่งเสริมความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร เพื่อให้องค์กรมีความมั่นคง

อย่างไรก็ตามแนวคิดจะดีอย่างไร ต้องนำไปปฎิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม จึงจะเกิดประโยชน์ หนังสือเล่มนี้เป็นการจุดประกายความคิดให้เกิดขึ้นกับผู้บริหารในองค์กร สมควรที่ผู้บริหารทุกระดับจะได้อ่านและนำสู่การปฏิบัติต่อไป

นายสานิตยื นาควัชระ

ส่งงานที่อาจารย์ได้มอบหมายจากการอบรมเมื่อวันที่ 15-17 กันยายน 2552 ณ โรงแรม รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

1.จากบทความในหนังสือพิมพ์ ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกับการชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ข้าพเจ้าขอนำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา นั้นข้าพเจ้าขอพิจารณาการกระทำของคุณยรรยงฯ ใน2 ประเด็นคือ

1. ในประเด็นในเรื่องการทำงาน ในประเด็นเรื่องการทำงานนี้ข้าพเจ้าจะพิจารณาบนพื้นฐานของกฎระเบียบต่างๆที่ข้าราชการต้องปฏิบัติตาม โดยพิจารณาว่า

1.1ในกรณีที่คุณยรรยงฯ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของทางราชการต่างๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวหรือ วิตกกังวล

1.2 ในกรณีที่คุณยรรยงฯไม่กระทำตามกฎระเบียบของทางราชการข้าพเจ้าก็ไม่คิดจะทำตาม เพราะจากการทำงานที่ผ่านมาเมื่อการทำงานเกิดปัญหาและเป็นคดีความแล้วนั้น ข้าราชการบางคนจะแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของความอยู่รอดของตนเอง

2. ในประเด็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงาน ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาของการทำงานก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฏระเบียบต่างๆที่ข้าราชการต้องปฏิบัติตาม ในบางเรื่องหรือบางกรณีจะอาศัยประสบการณ์มาช่วยในการแก้ไขไม่ได้ เนื่องจากในปัญหาเรื่องเดียวกันนั้นอาจจะอยู่ในบริบทที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด และข้อมูลก็มีความถูกต้องมากที่สุด เพราะข้อมูลจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยในการแก้ปัญหาได้

2.จากบทความภาษาอังกฤษ “The new office social contract: Loyalty is out, performance is in ” ข้าพเจ้าขอนำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและบริหารคนในองค์กรดังนี้

จากการอ่านบทความภาษาอังกฤษ “The new office social contract: loyalty is out, performance is in ” ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดในประเด็นที่จะนำไปใช้ในการทำงานในองค์กรคือในเรื่องของความสำเร็จของเป้าหมายขององค์กรนั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เป้าหมายประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับความจงรักภักดีของข้าราชการและบุคลากรที่มีต่อองค์กร และความจงรักภักดีนี้จะเกิดขึ้นได้ก้ต้องอาศัยความร่วมมือของข้าราชการและบุคลากรต่างๆในส่วนราชการนั้น โดยที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ความร่วมมืออย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ความเอาใจใส่และดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา จะตัองมีความเป็นกันเองต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความอดทนอย่างมากเนื่องจากจะต้องพบกับผู้ใต้บังคับบัญชาต่างๆ ที่มีความหลากหลายในเรื่องของค่านิยม ความคิดและนิสัย

3.วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไรนั้น

จากความรู้ที่ได้มาจาก Mind Mapping เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’ s และ 2 R’ s ของอาจารย์จีระ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสอดคล้องกันเนื่องจากเป็นการช่วยในเรื่องของการทำงาน ทำให้งานที่ทำเกิดประสิทธิภาพ มีการจัดวางระบบการทำงาน เมื่องานเกิดปัญหาก็จะสามารถจะรู้ในสาเหตุของปัญหาได้ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าปัญหาเกิดในขั้นตอนไหน 4 L’s ประกอบด้วย Learning Methodlogy เข้าใจวิธีการเรียนรู้ Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และ Learning Community สร้างชุมชนในการเรียนรู้

และ 2 R’s ของอาจารย์จีระ ประกอบด้วย Reality มองความจริง

Relevance ตรงประเด็น

4. ข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาจากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ดังนี้

ในเรื่องของสองแชมป์ ในเรื่องนี้ได้พูดถึงบุคคล 2 คน คือคนหนึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการเริ่มก่อตั้งสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 มกราคม 2537 คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ เมื่อปี 2523

โดยแนวทางของ คุณพารณ ฯ มีแนวคิดที่จะให้เด็กไทยก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลก Gobal Citizen โดยที่จะต้องเน้นในเรื่องของภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี่ ส่วน อาจารย์จีระ ฯ มีแนวคิดว่าทรัพยากรมนุษย์ต้องได้รับการยอมรับ เริ่มด้วยการสร้างกระแสให้เห็นว่าคนมีความสำคัญเท่าๆกับเงินและวัสดุ โดยอาศัยสื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุเป็นเครื่องมือในการนำพาความคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระจายสู่สังคม และในการสนทนาระหว่างอาจารย์จีระ ฯ กับคุณยุพา โดยพูดถึงคุณพารณฯ ว่าเป็นคนที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ

1.เป็นคนเก่ง-คนดี คนเก่งคือเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ส่วนคนดีคือ ประพฤติดีมีน้ำใจ ใฝ่รู้คู่คุณธรรม

2.มีความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน คนทุกคนเป็นทรัพสินที่มีค่ามากกว่าทรัพสินอื่นใดในองค์กร

3.ดูแลทุกข์สุขของผู้ร่วมงานอย่างใก้ลชิดเป็น holistic concern คือเชื่อว่าคนไม่ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองเพียงแต่อย่างเดียว

4.เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ high tech and high touch

5.ทำงานเป็นทีม เชื่อว่าสองหัวดีกว่าหัวเดียว

นอกจากนี้ยังพูดถึงการทำงานของอาจารย์จีระ ฯ ตั้งแต่เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าอาจารย์จีระฯ มีหลักอย่างหนึ่งในการทำงานคือ การทำงานอย่างเดียวไม่พอ จะต้องประสบความสำเร้จด้วย นอกจากนี้การทำงานของอาจารย์จะเป็นแบบการทำงานร่วมกันเป็น Network and Partnership

ในเรื่องของคัมภีร์พันธุ์แท้ อาจารย์จีระฯได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากในสังคมไทยเนื่องจากการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาว ใช้เวลามาก และให้ผลตอบแทนไม่ชัดเจน

ในบทนี้ให้แนวคิดในเรื่องความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน เนื่องจาก ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามเราจะต้องมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ สิ่งนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจ ซึ่งจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ คนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร ผู้นำขององค์กรนั้นต้องมีความเชื่อและศรัทธาในเรื่องคนและพร้อมจะกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง

ในบทจักรวาลแห่งการเรียนรู้ อาจารย์จีระฯ ได้พูดถึงการแก้ปัญหาหรือการวางแผนจะต้องเริ่มต้นจากความสามารถในการหาข้อมูล(data)มาจัดเรียงเป็นข่าวสาร(information)ที่เป็นประโยชน์แล้วถึงจะนำไปสู่ความรู้(knowledge) ในบทนี้ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำมาใช้กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ในเรื่องของการเรียนการสอนคืดการให้โอกาสเด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมและสร้างสรรสิ่งที่เขาสนใจเพราะการเรียนรู้ที่ดีมิได้มาจากการค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่าของตรูหากแต่เป็นการให้โอกาสในการสร้างความรู้ที่ดีให้แก่ผู้เรียน

ในบทสู่การเพิ่มผลผลิต ในบทนี้พอสรุปได้ว่าการที่จะเพิ่มผลผลิตได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ร่วมงานในองค์กรนั้นๆจะต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำจะต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างจริงจังต่อเนื่อง และต้องทำตัวเป็นต้นแบบ(Role Model)ที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

จิตรลดา นิธิภัทรารัตน์

1. ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

1) ไม่ควรทำเสมือนสอนมวยนักการเมืองหรือบุคคลภายนอกหน่วยงานทั้ง ๆ ที่บางท่านเป็นลูกหม้อเชี่ยวชาญงานมาก

2) นักการเมืองควรกรุยทาง ให้ข้าราชการก่อน

3) ไม่ว่ายุคสมัยใด นักการเมืองและผลประโยชน์ส่วนตัว แต่อ้างพรรค อยู่เหนือผลประโยชน์ของชาติเสมอ มักสั่งการทาง

อ้อม ให้ปฏิบัติผ่านบุคคลนอกวงการ นักธุรกิจ ...

4) ข้าราชการเสื่อมเสียศักดิ์ศรี เสียโอกาส เพราะมีอำนาจที่มองไม่เห็น

2. "The new office social contract:Loyalty is out, performance is in" ประเด็นที่เป็นประโยชน์ แง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กร มีความเห็นดังนี้

1) ราชการปัจจุบัน ก็เป็นเช่นเดียวกับเอกชน จะหาผู้ที่ยอมเสียสละ จงรักภักดีต่อหน่วยงานยากขึ้น คนรุ่นใหม่มีความรู้

ความสามารถ มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้บริหารต้องหาวิธีให้สมัครใจพอใจที่จะอยู่

2) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ผู้น้อยศรัทธา สร้าง ค่านิยมต่อการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและพัฒนาองค์กร

เพื่อให้บุคลากรภาคภูมิใจ

3) การมีบุคคลตามสัญญาจ้าง ยุติธรรมดีแต่เขามักอยู่ไม่นาน เมื่อมีงานที่มั่นคงกว่าจึงต้องทำสัญญาผูกมัดให้รัดกุม

3. วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิดของ 4L’s and 2R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร ปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร

1) Mind Mapping กับ 4L’s เหมือนกันที่ต้องคิดเป็นระบบ สามารถแตกแขนงไปได้ไม่สิ้นสุดตั้งแต่ระดับเล็ก ไปสู่ระดับ

ใหญ่ หรือจากระดับล่างสู่ระดับบน

2) Mind Mapping กับ 2R’s คล้ายกัน มองตามความเป็นจริงและมองให้ตรงประเด็น

3) สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้ตรงกับภาระหน้าที่หรือการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา จัดการศึกษาจากระดับต่างๆ

ทุกระดับตั้งแต่ระยะสั้น สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มสนใจ จนถึงระดับในระบบ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี การ

จัดการศึกษาโดยเรียนจากสถานการณ์จริง ฝึกงานในสถานประกอบการและปลายทางสู่การประกอบอาชีพทำธุรกิจ

และขยายวงกว้างสู่ระดับประเทศ

4. อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้และสรุปว่า ได้สาระที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีวศึกษา ดังนี้

1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องจำเป็นและต้องพัฒนาทุกระดับตั้งแต่นักเรียน จนถึงวัยทำงาน ในองค์กรต่างๆ โดย

เฉพาะภาคราชการ

2) ควรพัฒนาครูอาชีวศึกษาปลุกจิตสำนึกของครูบางท่านให้ใฝ่รู้ เป็นปูชนียบุคคล มุ่งให้ความรู้แก่เด็กอย่างแท้จริง เพราะมี

ค่าตอบแทนดีกว่าข้าราชการพลเรือนแล้ว

3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นการลงทุน มิใช่ค่าใช้จ่าย เห็นผลในระยะยาว หากไม่พัฒนาบุคลากรจะเสื่อมค่าลงตาม

ลำดับ และต้องพัฒนาระยะสั้นและระยะยาว อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยี และเตรียมความพร้อมเพื่อเป็น

สถาบัน เฉพาะทาง ครูเป็นสินทรัพย์ Asset ที่สำคัญ

4) ครูอาชีวศึกษาควรเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความสามารถ ในการสอนนักศึกษาสายอาชีพที่มุ่งเน้นด้านฝึก

ปฏิบัติจริง ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเช่นเดียวกับแนวคิดแบบ Constructionism ที่ให้เด็กเรียนรู้แบบคิดเองทำเอง

สมจินตนา วิศิษฎอนุพงษ์

The new office social contract : Loyalty is out, Performance is in.

การที่จะให้บุคลากรมีความรักและผูกพันต่อองค์กรนั้น ผู้บริหารต้องพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้บริหารเองที่จะต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง สร้างศรัทธา ความไว้วางใจให้เกิดขึ้น กฎระเบียบที่มีอยู่ ความเสมอภาค และความยุติกรรม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริหารต้องนำมาพิจารณาคือ การส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง การให้บุคลากรได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตน ที่สำคัญในการพิจารณาค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนหรือโบนัส ควรพิจารณาจากสมรรถนะของบุคคลและความรับผิดชอบที่มี ไม่ใช่เพราะความอาวุโส

สมจินตนา วิศิษฎอนุพงษ์

แนวคิดชอง Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด4L's และ 2R's ของอาจารย์จีระ

แนวคิด 4L's เพื่อการเรียนรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถจำแนกเป็น Leaning Methodology , Learning Environment, Learning Opportunities and Learning Communities และแนวคิด 2R's เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality and Relevance สามารถที่จะนำแนวคิดทั้งสองมาบูรณาการโดยใช้ Mind Mapping เพื่อให้เห็นภาพองค์รวมอันจะนำไปสู่การทำงานที่เป็นระบบ ครอบคลุมในทุกส่วน หากได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะส่งผลต่อความสำเร็จของผลงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก: ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม. เรื่องการประมูลข้าวโพด ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา ได้แก่

1. การทำงานให้ประสบความสำเร็จต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ได้แก่ข้อมูลในเรื่องที่จะดำเนินการทั้งที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน มีใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ บทบาทของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง บทบาทของตนเอง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นใครเป็นผู้ได้รับ ฯลฯ

2. การดำเนินงานที่ดีต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความรอบคอบ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นกับส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตัว

3. การอธิบายหรือการนำเสนอข้อมูลต้องใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ สิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด ซึ่งต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์ ต้องสร้างคนในอาชีวศึกษาให้มีประสบการณ์และความชำนาญในการนำเสนอหรือประชาสัมพันธ์งานต่างๆขออาชีวศึกษา

4. การอยู่รอดของข้าราชการ ต้องประเมินสถานะการณ์และมีปฏิภาณไหวพริบเพื่อให้อยู่ได้ด้วยกันทุกฝ่าย คือ แบบชนะ ชนะ หรือการเป็นข้าราชการต้องทำงานอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องถึงแม้อาจจะทำให้บางคนไม่พอใจ ไม่เป็นเครื่องมือให้กับคนที่หาประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม จะเลือกอยู่อย่างไรนั้นขึ้นอยู่ว่าในรัฐบาลไหนหรือยุคไหน

แนวคิดของ Mind Mapping กับแนวคิด 4 L’S และ 2 R’S มีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ความสอดคล้อง

- มีวิธีการเรียนรู้ที่ดีและตรงประเด็น

- สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

- สร้างโอกาสในการเรียนรู้

- มองความจริง

ความแตกต่างกัน

- มองเห็นภาพรวมหรือขอบเขตของเรื่องทั้งหมด

- มองเห็นความเชื่อมโยงว่าอะไรอยู่ตรงไหน

- กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์

- ง่ายต่อการจดจำ

การนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กร

- กระตุ้นให้คิดเป็นระบบและให้มองเห็นภาพรวม

- ใช้ในการนำเสนอหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ

- ใช้สรุปองค์ความรู้ในการทำงาน

- ใช้บรรทึกความจำในการทำงาน

จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดยพารน อิศรเสนา ณ อยุธยาและจีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์ในหลายแง่มุม ดังนี้

1. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร

2. คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ได้รับการดูแลและพัฒนา ก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุ

3. นโยบายการพัฒนาคนของปูนซีเมนต์ พัฒนาคนตั้งแต่เดินเข้ามางานจนเกษียณอายุออกไป

4. องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรแย่เพราะมีคนไม่เก่งและไม่ดี

5. คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน จึงมีแผนในการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

6. คุณภาพของ “คน” กับ “การเพิ่มผลผลิต” เป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

7. ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร เป็นปัจจัยหนึ่งในการทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ

8. คนไม่ใช่เครื่องจักรจะถอดย้ายไปไหนไม่ได้ง่ายๆมีอะไรต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่องกันก่อน

9. การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน(Investment) ไม่ใช่ต้นทุน(Cost) แต่คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจใส่ดูแลหมั่นพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา

10. จากสโลแกนที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ซึ่งผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยงพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อย ความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

11. การทำงานที่ดีคือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน

12. เวลาจะทำอะไรต้องมี “ความเชื่อ” ก่อนว่าสิ่งนี้ดีจึงจะทำ

13. ความสำเร็จขององค์กรที่เกี่ยวกับคน ได้แก่

- คนเก่ง-คนดี (โดยองค์กรต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า คนเก่ง-คนดี มีลักษณะอย่างไรแล้วประกาศให้ทุกคนในองค์กรทราบ) เช่น เก่ง 4 ดี4 (เก่ง4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิดและเก่งเรียน ดี4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

- ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน “คนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร”

- นโยบายการพัฒนาคน เช่น วิธีการพัฒนาคน งบประมาณในการพัฒนาคน การพัฒนาพนักงานในแต่ละระดับ รายงานการพัฒนาคนในองค์กร กำหนดเรื่องที่จำเป็นต้องพัฒนาสำหรับคนในองค์กร

- นอกจากให้ผลตอบแทนเป็นเงินทองแล้ว ต้องให้ผลตอบแทนทางใจ ด้วยการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้มีจุดร่วม มีใจตรงกัน มีศรัทธาซึ่งกันและกัน ด้วย เช่น มีสวัสดิการที่ดี มีความใกล้ชิดกับผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

- สภาพแวดล้อมในการทำงาน คือบรรยากาศของความเป็นมิตรเป็นทีมเวิร์คในการทำงาน

- การทำงานเป็นทีม

14. ปัญหาในการพัฒนาคน คือ การลงทุนในคุณค่าของคนนั้น จะวัดจากการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องดูด้วยว่า คนเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างเพิ่มผลผลิต หรื Productivity แค่ไหน

15. กรอบแนวคิด(ความเชื่อ)ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเครือซีเมนต์ไทย มี 4 ประเด็นหลัก

- ปรัชญาหรือแนวความคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- วิธีที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบผลสำเร็จ

- ปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

16. มีอุดมการณ์ในการดำเนินการธุรกิจ เช่นอุดมการณ์ในการดำเนินการธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทย มี4 ประการ ได้แก่ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน(คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร) ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

17. ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญมี 3 ประการ

- ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน

- ความรู้สึกว่าพนักงาน คือ คนในครอบครัวของเรา

- ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้งราคาและคุณค่าที่สอดคล้องกัน

18. ความเชื่อและความศรัทธาถึงงปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จของเครือซิเมนต์ไทยว่า ประกอบด้วย 4 ปัจจัย

- คุณภาพของคน คัดเลือกคุณเก่ง คนดี มาปฏิบัติงาน

- ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท จะต้องมีความเชื่อว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือหลักการทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง นอกจากความเชื่อแล้วต้องมีการพัฒนาอย่างจริงจังและต้องทำทั่วทั้งองค์กร

- ทัศนคติของฝ่ายจัดการ ให้คิดว่าการพัฒนาฝึกอบรมไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสีย เป็นการลงทุนระยะยาวที่จะคืนทุนให้องค์กรในระยะยาว

- การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง

จากความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือนี้ เห็นว่า ในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สิ่งที่ควรดำเนินการ ได้แก่

1. กำหนดทิศทางในการบริหารจัดการคนที่ชัดเจนและเป็นระบบให้ทุกคนได้รับทราบ

2. วางแผนพัฒนาคนอย่างมีทิศทางพร้อมทั้งลงทุนการพัฒนาคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

3. สร้างเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพคนอย่างเป็นระบบ

4. กำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัดของสอศ. จัดทำองค์กรให้เป็น Learning Organization

5. สนับสนุน กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนในองค์กรมีสมรรถนะด้าน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และคุณธรรม พร้อมทั้งความรู้และทักษะในวิชาชีพเพื่อให้เป็นคนเก่ง คนดี

6. สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตรหรือเป็นทีมเวิร์คในการทำงาน

7. กำหนดว่าคนเก่ง คนดี ของอาชีวะ เป็นอย่างไร เพื่อกำหนดทิศทางที่ต้องการให้ทราบโดยทั่วกัน

8. สร้างวัฒนธรรมให้คนเกิดความจงรักภักดี และความศรัทธาในองค์กร เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จ

9. กระตุ้นและสร้างแรงจูงให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเอง

เยาวลักษณ์ ดอนสุวรรณ์

1. จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของอาจาร์ยพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์จีระ

หงส์ลดารมภ์ ได้แนวคิดที่จะนำมาใช้ในอาชีวศึกษา ดังนี้

1.1 นำหลักการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ มาใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยการให้การศึกษา

บริหารจัดการ และพัฒนาคนให้มีความสามารถ ให้การดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพ มีการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ ถ้าคนมีคุณภาพจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

1.2 นำหลักของบริษัทเชลล์ในเรื่องการเปลี่ยนหมุนงานให้ได้เรียนรู้หลายด้านเข้ามาใช้ในการบริหารงานและหลักการสร้างความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร ความมีส่วนร่วมของคนในองค์กรซึ่งจะทำให้เกิดความผูกพันกับองค์กร ต้องมีการคุยกันอย่างสม่ำเสมอ

1.3 นำหลักในการพัฒนาคนของคุณพารณใน 4 เรื่องมาใช้ คือ

- คนเก่ง คนดี คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน

- ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน ต้องพัฒนาคนให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ต้องขัดมันอยู่เรื่อย ๆ ไม่ใช้ทิ้งไว้ให้เขลอะ แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด มีภาคบังคับว่าต้องเข้ารับการฝึกอบรม ถ้าเป็นผู้บริหารต้องเข้ารับการ

อบรม 10 วัน หรือพนักงานใช้เวลา 7 วันต่อปี

- ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิดเป็น holistic concern คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

- การทำงานเป็นทีม โดยยึดหลักที่ว่า “สองหัวดีกว่าหัวเดียว” คือให้หัวหน้าสายต่าง ๆ เข้ามาดูแลคน ดูแลระบบการบุคคล การทำงานเป็นทีมจะทำให้เกิดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของมาก ๆ เพราะเราได้มีส่วนที่จะตัดสินใจในการดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ

1.4 นำหลักนโยบายดึงคนเป็นพวก คือ นัดทีมงานมาพบปะกันเป็นประจำเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เมื่อมีปัญหาใด ๆ ก็สามารถแก้ไขโดยง่าย

1.5 นำระบบคุณธรรมเข้ามาใช้ในการรับคนเข้าทำงาน ถ้ารับคนเข้าทำงานโดยวิธีฝากคนเข้ามาทำงานและขอให้เป็นมติของบอร์ดด้วย จะทำให้ไม่มีเด็กฝาก และสอนให้หัวหน้าดูแลลูกน้อง สร้างกติกาว่าหากลูกน้องมีทุกข์และไม่แก้ไข คนนั้นไม่ใช่หัวหน้าที่ดี

1.6 นำหลักทฤษฎี 3 วงกลม

วงกลมที่ 1 เรื่อง Context หรือบริการลูกค้าเรื่อง IT ว่ามีความสำคัญการบริหารทรัพยกรนุษย์ต้องใช้ระบบสารสนเทศมากขึ้น การจัดระบบข้อมูลพื้นฐาน การทำงานแบบ Process และจัดองค์กรที่เหมาะสมเรียกว่าเป็นบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

วงกลมที่ 2 เรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา ซึ่งมีประโยชน์ทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่าเป็นทฤษฎีเพิ่มศักยภาพของคน ซึ่งไม่ได้วัดว่าจบจากที่ไหน จะต้องดูว่าทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี Competencies อย่างไร

วงกลมที่ 3 เป็นหลักทีดี คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีแรงบันดาลใจ ไม่งั้นจะฝ่อ เฉาตาย การใช้หลัก PM-Personnel Management ให้เกิดจริง

2. จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับ

การชี้แจง ครม. เรื่องการประมูลข้าวโพด ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงาน

ของอาชีวศึกษา (อาจศึกษาควบคู่กับกนังสือ Think Again)

- ประเด็นที่สำคัญของบทความสามารถนำข้อคิดในการวางตัว การปฏิบัติตนของผู้มีบทบาท

ในสังคมและผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคต ซึ่งล้วนแล้วจะต้องเกี่ยวข้องสัมกันธ์กันกับการเมืองของ

ข้าราชการประจำทั้งสิ้น รวทั้งการตัดสินใจเป็นพิเศษรวมถึงความรอบคอบ ฉลาดที่จะอยู่ในสภาวะความกดดันที่แอบแฝงของระบบการเมืองไทยของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยง่ายดังประเด็นขออนุมัติ ครม. การประมูลข้าวโพดของคุณยรรยง ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์และแง่คิดที่สำคัญต่อการทำงานของอาชีวศึกษาโดยเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่และผู้น้อยที่จะก้าวขึ้นมาในอนาคต

3. วิเคราะห์ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความ

สอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนในองค์กรได้อย่างไร

- แนวคิดทั้ง 3 แนวคิดนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วจะมีทั้งความสอดคล้องและความแตกต่างกันดังนี้

แนวคิดของ Mind Mapping เป็นแนวคิดที่สามารถรวบรวมประโยชน์ไว้ได้หลายประการ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ความสามัคคี การร่วมมือกันทางความคิดที่รวบรวมประโยชน์ไว้ได้หลายประการ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ความสามัคคี การร่วมมือกันทางความคิด ที่รวบรวมอยู่ในกระดาษเพียงแผ่นเดียว ซึ่งมองเห็นได้โดยทั่วกัน

ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s แล้วก็จะมีความสอดคล้องกับแนวคิด 4 L’s

ในบางข้อ เช่น เข้าใจวิธีการเรียนรู้ใน L ตัวที่ 1 คือการเรียนเป็นทีม การร่วมกันวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิด

L ตัวที่ 2, 3 และ 4 คือมีการสร้างบรรยากาศ มีการเปิดโอกาส และเป็นการสร้างชุมชนในการเรียนรู้ไปในตัว และแน่นอนเมื่อแนวคิด Mind Mapping มีความเกี่ยวพันและเป็นที่นิยมในการระดับสมองทางความคิดของกลุ่มคนจำนวนมาก ทุกคนย่อมยึดหลักการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง และตรงประเด็นในการเสนอความคิดของตนเองออกไปเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์ต่อองค์กรต่อไป ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิด

2 R’s เป็นต้น และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในองค์กรได้ในเรื่องที่สำคัญที่สุด และมีประโยชน์มากในปัจจุบันก็คือ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีม เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

4.จากบทความภาษาอังกฤษ ได้ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงาน การบริหารคนในอาชีวศึกษาคือ

การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จจะต้องทำให้คนในองค์กรเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร ทำให้คนในองค์กรคิดว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวมีการนำกลยุทธ์ในเรื่องของการจัดการโดยการให้โอกาสและสนับสนุนโดยการเพิ่มทักษะและเป้าหมายการเจริญเติบโตทางด้านอาชีพการงานของคนในองค์กรรวมถึงผลตอบแทนโดยขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอาวุโส และสนับสนุนให้คนในองค์กรได้รับการพัฒนาเพิ่มทักษะอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน

ทำให้คนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญขององค์กรว่าเป็นองค์กรที่เข็มแข็งมีความมั่นคงไม่ควรที่จะจากไปไหน ควรที่จะทำงานอยู่ที่นี่ นำรูปแบบใหม่ๆมาใช้ในการจ้างงาน มีการทำความตกลงกันขององค์กรกับพนักงานใหม่ต้องอยู่บนพื้นฐานความสำคัญและมีความชัดเจน

จากบทความ ภาษาอังกฤษ “The new office social contract: Loyalty is out, performance is in” ขอนำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรดังนี้

ความจงรักภักดีของคนในองค์กรเมื่อเกิดขึ้นกับองค์กรแล้วส่งผลให้คนทำงานอย่างมีความสุข มีความผูกพันกับองค์กรที่เขาทำงาน ส่งผลให้การปฎิบัติงานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงขึ้น ดังนั้นองค์กรควรตระหนัก เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ สร้างให้ทุกคนมีความจงรักภักดี นอกจากจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานแล้วควรมีสวัสดิการที่ดี มีระบบการดูแลเอาใจใส่ที่ดี ให้ความรัก มีการปกครองที่เป็นธรรม ให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการขององค์กร การที่จะทำให้ทุกคนเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรได้ ผู้นำและทุกคนต้องช่วยกันขับเคลื่อนจึงจะสำเร็จ

นางทิพากร รื่นบรรเทิง

1.  จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก : ศึกษากรณีคุณยรรยง  พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกับการชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด  ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา  ( อาจศึกษาควบคู่กับหนังสือ Think Again )

ตอบ  ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา  ได้แก่  ในการทำงานเป็นข้าราชการที่ดี  นอกจากจะมีความรู้ความสามารถ ความมุ่งมั่น  มานะอดทน  ใฝ่รู้แล้ว  ยังจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง  มีการหาข้อมูลให้ครบถ้วน  มีการปรึกษาหารือให้ละเอียดรอบคอบกับทีมงาน  หากมีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องเน้นธรรมาภิบาล  และหากมีการเล่นพักเล่นพวก  ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด

 

2.  จากบทความภาษาอังกฤษ“The new office social contract : Loyalty is out,performance is in”

ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรของท่าน

ตอบ  ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรของอาชีวศึกษา ได้แก่

การดูแลให้ผลตอบแทน การให้รางวัล หรือโบนัส ในสำนักงานหรือหน่วยงานยุคใหม่จะดูจากผลของการปฏิบัติงาน

 

3.  วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ2 R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร  และสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร 

ตอบ  แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ2 R’s ของอาจารย์จีระมีความเห็นว่ามีความสอดคล้องในบางประการ ได้แก่ เป็นแนวทางในการบริหารงานที่ดีเหมือนกัน 

 

4.  อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  และสรุปว่าอ่านแล้วได้อะไรที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีวศึกษา  1  หน้า 

ตอบ  หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก เพราะทำให้ผู้อ่านได้ทราบและเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดเหนือทรัพยากรอื่นใด  ทรัพยากรมนุษย์สามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้าง  ผู้พัฒนาและผู้ทำลายทรัพยากรอื่นๆ  ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงนับเป็นกระบวนการที่สำคัญ  นับตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งตาย  นอกจากนี้ยังได้แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากนักบริหารมืออาชีพ    คือคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา     และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ 

             

 

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

ศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม. จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2552

               ปัจจุบันข้าราชการประจำกับนักการเมืองจำเป็นต้องร่วมงานและปรึกษาข้อราชการกันมากขึ้น โดยเฉพาะข้าราชการประจำระดับสูง เนื่องจากต้องบริหารงานภายใต้นโยบายที่นักการเมืองกำหนด หากการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์เดียวกัน ทุกฝ่ายมองที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน มองที่ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ ความถูกต้องความโปร่งใสต้องเกิดขึ้นแน่นอน และถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดประสบการณ์ก็สามารถเรียนรู้จากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ถ้าข้อมูลไม่ครบแต่ละฝ่ายก็จะช่วยกันเติมให้เต็ม สุดท้ายข้าราชการประจำ นักการเมือง และประชาชน จะได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

               หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีวัตถุประสงค์แอบแฝง การช่วยกันเติมให้เต็มจะไม่เกิด แต่จะเป็นการเจาะหาช่องโหว่เพื่อประโยชน์ของตนเอง แน่นอนว่าความถูกต้องโปร่งใสจะเกิดขึ้นได้ยาก ประเทศชาติจะไม่ได้ประโยชน์สูงสุด อาจมีผู้ได้ประโยชน์มาก และ  ผู้ได้ประโยชน์น้อย แต่ไม่มีใครเสียประโยชน์ เพราะทุนที่ลงไปเป็นของประเทศชาติไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ข้าราชการประจำต้องทำจริง รู้จริง เพื่อสามารถชี้แจงและนำเสนอผลงานรวมทั้งปัญหาอุปสรรคได้อย่างถูกต้อง โดยใช้โอกาสจากการชี้แจง ครม. เป็นการช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรค ไม่ใช่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรค

               นอกจากนี้ การทำงานให้ประสบความสำเร็จต้องคิดในทางบวก ต้องมอง  ไปข้างหน้า ต้องให้เกียรติผู้ร่วมงาน และที่สำคัญคือต้องไม่ท้อ สิ่งสำคัญประการ      สุดท้ายที่จำเป็นสำหรับข้าราชการประจำ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของข้าราชการ   หน่วยงาน และประเทศชาติ คือ ข้าราชการประจำต้องรักเกียรติ มีศักดิ์ศรี ยืนและก้าวไปด้วยตนเอง ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของระบบราชการที่     เข้มแข็ง

นฤมล ปิยะกมลนิรันดร์

*** จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม. เรื่องการประมูลข้าวโพด แง่คิดที่ได้จากกรณีดังกล่าว คือ

1. การทำงานต้องมีเครือข่าย มีการศึกษา วางแผนอย่างรอบครอบ กำหนด เป้าหมาย ของการทำงานอย่างชัดเจน ติดตาม และประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

2. ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดถือความถูกต้อง โปร่งใส ภายใต้กฎ ระเบียบข้อบังคับ

*** จากบทความภาษาอังกฤษ "The new office social contract : Loyalty is out, performance is in" ประโยนช์และแง่คิดที่ได้คือ

การที่องค์กรซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบของบุคลากรในองค์กรที่แตกต่าง ทางด้านความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ เป็นการยาก ที่จะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมรับ ปรับตัว และปรับการทำงาน เข้าหาอีกฝ่ายโดยที่อีกฝ่าย ไม่เปลี่ยนแปลง

การบริหารหรือการปรับตัวขององค์กรเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในด้านความคิด จนกลายไปเป็นความขัดแย้ง หรือมีอคติต่อกันในระดับองค์กร ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญ อย่างจริงจัง ในการปรับเปลี่ยนทั้งสองฝ่าย โดยต้องให้เกรียติคนรุ่นเก่าซึ่งมากด้วยประสบการณ์ และต้องยอมรับแนวคิดการทำงานแบบใหม่ของคนรุ่นหลัง โดยให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจถึง เป้าหมายของการทำงาน และเป็นไปในทางเดียวกัน

เปิดโอกาส และสนับสนุนให้มีการทำงานหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิด การแลกเปลี่ยนทางความคิด และยอมรับซึ่งกันและกัน

*** วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 4L’s และ 2R’s

พบว่าแนวคิดของ Mind Mapping เป็นการมองภาพรวมของงาน ทำให้สามารถวิเคราะห์กระบวนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน อย่างมีแบบแผน ซึ่งมีความสอดคล้องและสามารถปรับใช้กับแนวคิด 4L’s และ 2R’s ที่เน้นการสร้างบรรยากาศในการทำงาน เพื่อการระดมความคิด เรียนรู้ร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ร่วมมือร่วมใจกันทำ เพื่อเป้าหมายอันเป็นประโยชน์สูงสุด

*** แง่คิดที่ได้จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ คือ

"ความสำเร็จขององค์กร ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของคนในองค์กร" คำว่าคนในองค์กร ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึง บุคลากรที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเพียงฝ่ายเดียว แต่หมายรวมถึง บุคคลทุกระดับที่มีมีบทบาท หน้าที่ มีความเกี่ยวข้องกับองค์กร

ในแง่ของผู้บริหารจะประสบความสำเร็จ ได้ไม่เพียงดูที่ตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ดูที่ต้องเป็นผู้บริหารที่สามารถในการบริหารคนให้ทุ่มเท กำลังกายกำลังใจให้กับการทำงาน อย่างจริงจัง เต็มความสามารถ จงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อองค์กร

ผู้บริหารที่สามารถบริหารผู้บังคับบัญชาให้ทุ่มเทได้นั้นต้องมี ความเป็นผูู้นำ เป็นตัวอย่างที่ดี มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ทุ่มเท ซื่อสัตย์ เปิดใจยอมรับ เป็นผู้ฟังที่ดี มีความเป็นธรรม ให้โอกาส สนับสนุนให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงใจ เอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เกรียติ และที่สำคัญ เชื่อในคุณค่าแห่งความเป็นคน

ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชา จะประสบความสำเร็จได้ไม่เพียงแต่ทุ่มเททำงาน อย่างเต็มความสามารถเพียงอย่างเดียว การเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี เอื้ออาทรและให้เกรียติเพื่อนร่วมงาน การหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งของคนที่จะประสบความสำเร็จในการทำงาน

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

“The new office social contract : Loyalty is out, performance is in”

การทำงานของคลื่นลูกเก่าซึ่งทำงานด้วยความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์กร เป็นการทำงานในระบบเกื้อหนุนพึ่งพาอาศัยกัน พนักงานจะสนใจในความสุข ความผูกพันในการทำงาน แต่การทำงานของคลื่นลูกใหม่เน้นที่ความมั่นคงขององค์กร โอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพคุ้มค่ากับสิ่งที่เขาทำให้กับองค์กร ยิ่งทำงานให้ได้มากก็จะได้รับผลตอบแทนมาก การจ่ายเงินรางวัลและโบนัสจะตัดสินจากผลงานมากกว่าความอาวุโสของการทำงาน ทำให้คนไม่มีความผูกพันกับองค์กร เกิดการย้ายงานมากขึ้น

ดังนั้น การบริหารในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับคนควบคู่กับการพัฒนา เพื่อให้คนทำงานอย่างมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ มีความผูกพันกับองค์กร และทำงานให้องค์กรอย่างเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 2 R’s และ 4 L’s

Mind Mapping เป็นการจัดวางระบบความคิดของคนในแต่ละเรื่อง โดยให้เรื่อง/ประเด็นที่ต้องการอยู่ศูนย์กลางของกระดาษ แล้วแตกแขนงไปเป็นกิ่งก้านย่อย ๆ โดยเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุมีผล Mind Mapping จะใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ผู้ทำจะต้องรู้จริงและต้องตรงประเด็น ซึ่งตรงกับทฤษฎี 2 R’sนอกจากนี้ การทำ Mind Mapping ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีการแบ่งงานกันทำ การระดมสมอง ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศ สร้างโอกาส และสร้างชุมชนในการเรียนรู้ได้อย่างดี ซึ่งตรงกับทฤษฎี 4 L’s

นางเจิดฤดี ชินเวโรจน์

1. The new office social contact; Loyalty is out performance is in.

เป็นบทความที่เน้นให้เห็นการทำงานและบริหารจัดการใน 2 ลักษณะ คือ

1.1. ลักษณะที่1 การทำงานและการบริหารจัดการ เป็นแบบ Loyalty หรือ Long term employment มีลักษณะเป็นครอบครัวและส่วนหนึ่งขององค์กร ซึ่งทำให้คนรักในองค์กร โดยไม่ได้เน้นที่ผลการดำเนินงานเป็นหลักอาจทำให้ Productivity เป็นไปได้ช้า ซึ่งอาจทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ ถ้าบุคคลนั้นอยู่นานเกินไปอาจสร้างอำนาจและใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ และถ้าบุคลากรนั้นๆอยู่ไปนานๆไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานถดถอยได้

1.2. ลักษณะที่2 การบริหารจัดการที่เน้นผลการดำเนินงานโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมหรือทำให้เกิดความรักในองค์กรเป็นลักษณะ Productivity contract commitment ซึ่งการบริหารจัดการแบบนี้จะเกิด Productivity สูง มี Achieves goal หรือ target ที่ชัดเจนสามารถปรับได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ แต่จะสอนให้

1.คนมุ่งเน้นการแข่งขัน

2.เห็นแก่ตัวทำเพื่อความอยู่รอดให้ได้รับการพิจารณาเงินเดือนมากๆ

3.ไม่เกิดการแบ่งปันข้อมูล ปิดบังกันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร

4.ไม่ทำให้เกิดความผูกพันหรือรักในองค์กร เพราะถ้าใครที่ให้ผลประโยชน์ที่สูงกว่าก็จะไปหาองค์กรนั้นๆ เกิดการซื้อตัวขึ้น

การบริหารงานในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ปรับเปลี่ยนมาใช้แบบหลังมากขึ้นเน้นที่ผลการดำเนินงาน ซึ่งในการทำงานควรต้องผสมผสานทั้ง2ส่วนให้ลงตัวในลักษณะงานขององค์กรที่สำคัญเป็นงานหลักหรือเป็น core เราต้องอาศัยการบริหารจัดการแบบแรก ควบคู่กับการตั้ง Achieves goal หรือ target ให้ชัดเจนโดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและรับทราบไปพร้อมกันตั้งแต่แรกมีการสื่อสารให้เข้าใจเป็นแนวเดียวกัน ตรงกัน มีการกระจายอำนาจไปให้ผู้ดำเนินงานแต่ละส่วนได้ดำเนินงานตามภารกิจหลักของแต่ละองค์กรย่อยภายใต้ องค์กรใหญ่จัดระบบการบริหารการจัดการให้เขาใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง งานอื่นๆที่เป็นเรื่องทั่วไป เช่น งานธุรการ ทำความสะอาด บริการรถรับส่ง ถ่ายเอกสาร อาจใช้ Contract out หมดได้เลย

2. เรื่อง โควตาประมูลข้าวโพดและโควตาประมูลข้าว ในเรื่องของการบริหารจัดการที่เกี่ยวพันและเกี่ยวเนื่องกับสายการเมือง ต้องมีความรอบคอบ ต้องมีคุณธรรม และธรรมาภิบาลมีประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างคุณธรรมในการบริหาร เก่งด้วยต้องดีด้วย โดยที่เราใช้บทบาทของข้าราชการจะเข้าไปสานสัมพันธ์กับการเมืองอย่างไรให้เราไม่เสียหาย เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุดเท่าที่จะดำเนินการได้ ซึ่งข้าราชการเองก็ต้องมีจุดยืนของตนเอง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและนักการเมือง ต้องมีวิจารณญาณที่รอบคอบบนพื้นฐานของระบบข้อมูลที่แน่นในเรื่องนั้นๆ โดยข้าราชการต้องหารือกับผู้มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวให้รอบคอบ ภายใต้กฎระเบียบแล้วความเป็นไปได้ และกำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานเป็นกลยุทธ์แผนการดำเนินงานให้ทุกคนยอมรับ มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ โดยเน้นการหาระบบข้อมูลที่แน่น แปลงเป็นข่าวสารให้ความรู้ ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องภายใต้ข้อมูลพิจารณาให้รอบคอบภายใต้กฎระเบียบก่อนตัดสินใจ

3. แนวคิดเรื่อง Mind Map เป็นเรื่องของจินตนาการและความเชื่อมโยงนำไปสู่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวคิดเรื่อง Mind Map จะทำให้เรารู้จักใช้ความคิดเชิงระบบ คิดกว้าง และสามารถคิดลึกไปได้เรื่อยๆ คิดความเห็น และเห็นความคิด รู้จักเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละเรื่องด้วยเหตุและผลช่วยให้เราจัดความคิดเชิงระบบและจดจำได้ง่าย

4L ของอ.จิระ

Learning Methenology เข้าใจในวิธีการเรียนรู้

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opputunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้

Learning community สร้างชุมชนการเรียนรู้

ทฤษฎี 2R’S เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้

Reality มองความจริง

Relevance มองประเด็น

ซึ่งในแนวคิดของ Mind Map และทฤษฎีทั้ง 4L และ 2R’S ของอ.จิระ เป็นรูปแบบของการเรียนรู้ซึ่งพอสรุปประเด็นที่สอดคล้องและเชื่อมโยงได้ดังนี้

วิธีการ Mind Map จะทำให้เข้าใจในวิธีการเรียนรู้ซึ่งเป็นเรื่องของการจินตนาการเชื่อมโยงความคิดในเชิงระบบที่สัมพันธ์กันด้วยเหตุและผลในเรื่องที่เราต้องการศึกษาหรือบริหารจัดการ โดยมองความจริง (Reality) ซึ่งจะตรงกับ 4L และ 2R’S และเป็นการช่วยความจำ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยในการนำเสนอ สื่อสาร วางแผนและบริหารงาน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ทำให้สนุกในการที่จะคิดเชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างเป็นระบบสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเรียนรู้อย่างตรงประเด็น (Relevance) เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ เกิดความคิดนอกกรอบ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มองไปในอนาคต เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการสื่อสารเชื่อมโยงการทำงานซึ่งการขยายผลต่อเนื่องจะทำให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ในที่สุด ช่วยให้เราสามารถทำงานหรือบริหารจัดการการทำงานด้วยความคิดเชิงระบบ เชื่อมโยงโดยเหตุและผล คิดนอกกรอบ ซึ่งถ้าทุกคนในองค์กรย่อยช่วยกันในเรื่องของ กลยุทธ์ แผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้ก็จะเกิด Productivity

นางสาวฉวีวรรณ ไชยญาธรรม

1. จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า: ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ได้ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา ดังนี้

-การทำงานต้องมีจุดยืนว่าทำงานเพื่ออะไร การเป็นข้าราชการต้องทำงานเพื่อสนองคุณของแผ่นดิน ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่นในกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-การทำงานจะต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วางแผนการทำงาน และต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการทำงาน และหากงานเกิดมีปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

2. จากบทความภาษาอังกฤษ “The new office social contract: Loyalty is out, performance is in”

ได้ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กร ดังนี้

ในแต่ละองค์กรจะมีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ซึ่งแตกต่างกันในเรื่องความคิด ดังนั้นการบริหารงานในองค์กรจึงต้องผสมผสานกันระหว่างการสร้างความรัก ความผูกพันในองค์กร มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีการพิจารณาความดีความชอบจากผลงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กรนั้น

3. วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระ ได้ดังนี้

การทำงานควรคิดแบบ Mind Mapping คือการคิดแบบมีลำดับขั้นตอน โดยคิดจากหัวข้อใหญ่ ๆ (สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว) กระจายสู่หัวข้อย่อย ๆ (สิ่งที่อยู่ไกลตัว) เพื่อให้ได้ความคิดในภาพรวม ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักความเป็นจริงจึงจะสามารถวางแผนลำดับความคิดได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระคือ การทำงานจะต้องทำงานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ มีการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศ สร้างโอกาสในการทำงาน เพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

4. ประโยชน์ต่ออาชีวศึกษาที่ได้จากอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

การพัฒนาบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ เพื่อให้ทันเหตุการณ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ตลอดจนให้ความสำคัญกับความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้ได้รับการเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรจะลดน้อยลง ผู้บริหารต้องมีคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปกับการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น องค์กรจะอยู่รอดเพราะการทำงานที่ประสานกับทุกระดับ การให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย การให้ความสำคัญกับบุคลากรระดับล่าง ย่อมเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

นางสาวปราณี จงศิริ

1. จากบทความศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกับการชี้แจงเรื่องการประมูลข้าวโพด ให้แง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา กล่าวคือ

การทำงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎ ระเบียบ ต้องสอดคล้องกับความมุ่งมั่น กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ เปิดเผย และโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทำให้อาชีวศึกษาก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

2. จากบาทความภาษาอังกฤษ ให้แง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กร

การทำงานที่มุ่งเน้นผลงาน เพื่อแลกกับเงินรางวัลเป็นค่าตอบแทนองค์กรเจริญก้าวหน้าก็จริงแต่จะขาดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในองค์กร การบริการลักษณะนี้อาจไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความภักดีต่อหน่วยงานก็ได้ แต่สำหรับการมุ่งเน้นการทำงานควบคู่กับกิจกรรมผสมผสานกับการให้ความรู้การฝึกอบรมให้กับคนในองค์กรจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานและความจงรักภักดีต่อองค์กร

3. แนวคิดของ Mind Mapping มีความสอดคล้องกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้ ดังนี้

จากการเรียนรู้โดยวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรที่เกิดขึ้น โดยดูจากข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเพราะอะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร ตรงไหนเป็นจุดอ่อนขององค์กรที่ก่อให้เกิดปัญหาสอดคล้องกับทฤษฎี 2 R’s จากนั้นนำปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรมาปรับใช้ เพื่อให้เข้ากับทฤษฎี 4 L’s โดยการสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไปและองค์กรก็จะก้าวต่อไปได้

4. เมื่ออ่านหนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” แล้วได้รับอะไร

“แม้กลยุทธ์ค่าจ้างเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากที่สุด แต่นโยบายเรื่องการกำหนดค่าจ้างไม่ใช่นโยบายที่ต้องเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับนโยบายทางด้าน HR และนโยบายโดยรวมขององค์กร”

จากข้อความดังกล่าว ทำให้รู้ว่า “เงิน” ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำพาองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายของความสำเร็จได้ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรคือ HR ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อบริหารจัดการกับบุคลากรในองค์กรไม่ได้ ก็อย่าหวังว่าองค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จ

แรงจูงใจ เป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กรมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายได้ก็จริง แต่องค์กรใดที่กำหนดแรงจูงใจเป็นเงินรางวัลตอบแทน องค์กรนั้นจะเกิดช่องว่างระหว่างคนเก่งงานกับคนไม่เก่งงาน ตามบทความดังกล่าว และความขัดแย้งจะรุนแรงมากขึ้น เพราะสังคมไทยยังยอมรับระบบอาวุโส และระบบอุปถัมภ์ แม้ว่าจะทำงานเก่งอย่างไรก็ตาม โอกาสได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นไปได้ยาก การที่จะปรับทัศนคติให้ยอมรับว่าผู้ที่เก่งงายย่อมได้รับเงินรางวัลตอบแทน จึงค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก

การให้เงินรางวัลตอบแทนและเป็นแรงจูงใจสำหรับคนที่ทำงานเก่ง ทำงานประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ดี หากแต่ว่าความเป็นจริงคนที่ทำงานเก่ง ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นรางวัลจูงใจก็มีอยู่มาก และเมื่อคนไม่แรงจูงใจในการทำงานแล้ว ผลที่ตามมาก็คือการแสวงหาองค์กรใหม่ ซึ่งในแต่ละปี องค์กรจะเสียบุคลากรที่ทำงานเก่งเป็นจำนวนมาก ดังนั้น องค์กรใดที่มีผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติเดิมแล้ว คือไม่ยึดติดกับระบบอาวุโส หรือระบบอุปถัมภ์ และมีแนวคิดใช้ความสามารถของคน และสำเร็จของงานเป็นตัววัดผล องค์กรนั้นก็จะก้าวไปสู่ความเจริญเติบโนในอนาคตต่อไป

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

“หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

“คน” เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร และเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ ในการบริหารคนนั้นจะต้องมีการทะนุบำรุง โดยใส่ใจดูแล มีความเอื้ออาทรสร้างความเข้าใจร่วมกัน บรรยากาศในองค์กรจะเป็นกันเองและอบอุ่น ซึ่งจะทำให้บุคลากรมีความรักภักดีต่อองค์กร พร้อมที่จะพัฒนาตนเองและผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องมีความชัดเจนและเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องให้ความเสมอภาคและต้องมองว่า “คน” ทุกคนเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีหลายมาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนมีวินัย มีการทำงานเป็นทีม และเกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป

ถึง ลูกศิษย์ส่วนกลาง รุ่น 1 และรุ่น 2 ทุกท่าน

ผมขอบคุณทุกๆท่านที่กรุณาส่งการบ้านมาครบถ้วน ต้องสารภาพว่า ก่อนพบกัน กับหลังพบกัน พวกเรามี Potential มากและก็ใฝ่รู้อย่างมาก

การพบกันอีก 3 วันในต่างจังหวัด คงจะมีความสุขที่ได้เรียนร่วมกัน ในหลักสูตรใหม่ ตัวผมจะเน้นทำ Workshop คือ จะแบ่งกลุ่ม เน้น

1.งานที่ทำสำเร็จแล้ว คือ ฝ่ายกลางกับฝ่ายภูมิภาคร่วมมือกัน

2’ งานที่กำลังสำเร็จ แต่ยังมีอุปสรรคอยู่

3’ งานที่ยังไม่ได้ทำ แต่ควรจะทำ

ส่วนตอนบ่าย ผมจะเชิญประธานรุ่นที่ 1 และ 2 ผ.อ.พิศ และ ผ.อ.เด่นดวง มา Share ความรู้สึก และวางแผนที่จะให้พวกเรา ฝังตัวในวิทยาลัย ดังกล่าว

ดีใจที่จะได้พบกันอีก

ต้องขอขอบคุณท่านเลขาเฉลียว ซึ่งขึ้นไปเป็นปลัด ขอขอบคุณท่านประเสริฐ, ท่านผ.อ.จรัญ คุณอนงค์และคุณเปีย ด้วยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

1 จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า “ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช กับการชี้แจง ครม. เรื่องการประมูลข้าวโพด” ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

ประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา ที่ได้รับจากการอ่านบทความดังกล่าว สามารถสรุปได้เป็น ข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 การทำงานต่าง ๆ ต้องหาข้อมูลมาสนับสนุนแนวคิด หรือสนับสนุนโครงการ ว่ามีส่วนไหนที่ต้องให้ความหมาย และอธิบายเพิ่มเติม ส่วนไหนต้องมีงานวิจัย หรือข้อมูลอื่น ๆ สนับสนุน ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถเข้าใจในแผนงาน โครงการได้เหมือน ๆ กัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

1.2 การทำงานต้องมีความละเอียดรอบคอบ เพราะการที่แผนงานโครงการต่าง ๆ จะต้องใช้งบประมาณแผนดิน ในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้นั้น จะมีขั้นตอนที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย ฉะนั้น จึงจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้งานดำเนินการไปได้อย่างสำเร็จลุล่วง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.3 การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ต้องดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบขั้นตอน วิธีการต่าง ๆ ได้ ตลอดจนผลของการดำเนินงานก็ต้องตรวจสอบได้เช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างผู้ดำเนินงานโครงการที่เป็นข้าราชการ กับผู้ประกอบการ และฝ่ายการเมือง

1.4 การดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ต้องมีการตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้งานดำเนินไปอย่างที่ควรจะเป็นและเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้

3 วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร

มีความสอดคล้องกับ แนวคิด 4 L’s และ 2 R’s เพราะแนวคิดของ Mind Mapping นั้นเราจะต้องของความจริงมาเขียนเป็นแผนผัง ซึ่งกิ่งก้านสาขาของแผนผังจะต้องตรงประเด็น มีความชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที่ อีกทั้งการที่จะทำแผนผังได้ครอบคลุ่ม ก็จะต้องมีการระดมสมอง ซึ่งก็เปรียบเสมือนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทุกคนสามารถเอาความคิดของตนมาใส่ได้ในแผนผังดังกล่าวได้ ซึ่งจะทำให้บรรยายกาศในการระดมสมองเป็นไปด้วยดี อีกทั้งทุกคนก็สามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้ตลอดเวลา

จาการศึกษาแนวคิดของ Mind Mapping สามารถปรับมาใช้ในการเรียนรู้ในองค์กรได้ โดยเมื่อมีการประชุม เพื่อขอความคิดเห็นก็สามารถให้ทุกคนสามารถที่จะเสนอแนวคิดต่าง ๆ ได้ หรือเมื่อมีการมอบหมายงานก็สามารถให้ผู้ใต้บังคับบัญชา นำเสนอในรูปแผนผังได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

4 อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และสรุปว่าได้อะไรที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีวศึกษา

การพัฒนาองค์กรที่ยังยืนนั้น การทำให้บุคลากรมีความจงรักภักดีต่อองค์กร การทำอย่างไรที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละ แก่องค์กร สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคลากรในองค์กร เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ และมีความก้าวหน้าในอาชีพ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานด้านการศึกษา มีสถานศึกษาอยู่ทั่วทั้งประเทศกว่า 415 แห่ง การจะทำให้หน่วยงาน และสถานศึกษามีการพัฒนานั้น สิ่งแรกต้องดำเนินการคือการพัฒนาบุคลากรในแต่ละหน่วยงานและสถานศึกษา ตั้งแต่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาต่าง ๆ ให้บุคลากรเหล่านี้ได้มีสมรรถนะ ที่พร้อมต่อการจัดการศึกษา อาจจะมาจากการอบรม การให้ความรู้ การมอบหมายงานให้ ตลอดจนการมอบอำนาจในบางเรื่องให้แก่ผู้บริหาร และการให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรเหล่านั้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และมีกำลังใจในการทำงาน

2 The new office social contact; Loyalty is out performance is in

นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงาน

จากบทความที่อ่าน สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นความเป็นการบูรณาการทั้งแบบที่เน้น Loyalty และแบบที่เน้น Performance เพราะแต่ละแบบมีข้อดีของตัวเอง และข้อเสีย แต่หากการทำงานที่สามารถเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างความรักในองค์กรและการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เพราะหาเราสามารถทำงานโดยอาศัยหลักการทั้งสองแบบองค์กร หรืองานก็จะประสบความสำเร็จได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปด้วยความเต็มใจ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

ถึงลูกศิษย์ชาวอาชีวะฯ ส่วนกลาง รุ่น 1

              ผมดีใจที่ทางสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษายังเห็นคุณค่าของการทำงานต่อเนื่อง และจัดการเรียนรู้ระต่อไปอีก 3 วัน ผมหวังว่าทุกท่านยังมีความประทับใจในการเรียนกับผม และก่อนจะพบกันอีกครั้ง ช่วยกรุณาเขียนถึงผมว่า

 ตัวเองปรับตัวอะไรบ้าง?

 องค์กรดีขึ้นหรือไม่?

 มองประเทศอย่างไร?

แล้วพบกันครับ คงได้ร้องเพลงร่วมกันอีก

                                                             จีระ หงส์ลดารมภ์

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท