พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นคุณประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีหลากหลายมากมายโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะ ให้ส่วนราชการ ร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยร่วมทรงงานกับหน่วยงานของส่วนราชการ ซึ่งมีทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงาน กปร. ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๕-๒๕๔๐ มีจำนวน ๑,๙๕๕ โครงการ แยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ๘ ประเภท คือ การเกษตร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาแหล่งน้ำ คมนาคมสื่อสาร สวัสดิการสังคม และอื่นๆ

 

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ
๒. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้
๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรที่ดิน
๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรประมง
๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร
๖. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 แนวคิดและทฤษฎี การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ    ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดจากพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขให้การพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นงานที่ดำเนินการไปได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศน์โดยส่วนรวม ของธรรมชาติ ตลอดจนสภาพทางสังคม ของชุมชนนั้น โครงการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมาย หลายประเภทแตกต่างกันไปตามลักษณะและวัตถุประสงค์ ของโครงการนั้น ซึ่งส่วนมากเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชากรเป็นสำคัญหลักสำคัญของ ทุกเรื่องก็คือความเรียบง่าย ทั้งนี้ได้ทรง ใช้คำว่า "Simplify" หรือ "Simplicity"ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้องสมเหตุผล ทำให้รวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนต้องมุ่งไปสู่วิถีแห่งการพัฒนายั่งยืน (Sustainability)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29705เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เนื้อหาค่อนข้างดี แต่ ต้องแก้ไขในการทำลิงค์ใหม่ ไม่มีใครทำแบบนี้

Blog น่าสนใจมากค่ะ

http://gotoknow.org/todsaporn

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท