พรรณไม้ในพุทธประวัติ - 5 หญ้ากุศะ


พรรณไม้ที่มีเหตุการณ์สัมพันธ์กับพุทธประวัติ

หญ้ากุศะ หรือหญ้าคา หญ้าที่เป็นประดุจบัลลังก์อันพระพุทธองค์ประทับนั่งตรัสรู้

วันที่พระองค์จะตรัสรู้นั้น กลางวัน ทรงประทับนั่งในดงไม้สาละ เวลาเย็น จึงเสด็จไปประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ (ซึ่งเดิมนั้น ยังไม่ได้ใช้ชื่อนี้)

ระหว่างทางที่เสด็จไปโคนต้นไม้ ได้ทรงสวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ ชื่อ โสตถิยะ พราหมณ์โสตถิยะถือหญ้าคามา 8 กำ จึงถวายกำหญ้าทั้ง 8 นั้นต่อพระพุทธองค์

พระองค์ทรงรับไว้ แล้วนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นไม้ใหญ่ ที่ที่ทรงผจญกับกิเลสเป็นครั้งสุดท้าย

paint

สำหรับหญ้าคาทั้ง 8 กำ มีคำอธิบายว่า เปรียบกับ มรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์นั้นเอง

.......................................................................

อ้างอิงเรื่อง และรูป

เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ

เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4

ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 297022เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 04:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์ ขอบพระคุณมากครับ คงจะต้องติดตามพรรณไม้ในพุทธประวัติต่อไป

อรุณสวัสดิ์ค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมเยียนและเรียนรู้ค่ะ
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • หญ้าคา ในความรู้สึกผม เห็นว่า...เป็นหญ้าครู เพราะ...

      ๑) เป็นหญ้าที่อดทนและทนอด..สอนเด็ก..มันยาก..จริงๆ ถ้าจะให้ได้ดี

      ๒) เป็นหญ้าที่ให้ความร่มเย็น ร่มรื่น(ใช้มุงหลังคา เดี๋ยวนี้แฝกไม่ค่อยมี ใช้หญ้าคาทั้งนั้น ครับ)

      ๓) เป็นหญ้าสมุนไพร เทียบกันครู ที่..รักษานักเรียนร้าย..ให้เป็นคนดี

      ๔) เป็นหญ้ามงคล...จุ่มประน้ำพุทธมนต์ เทียบครูดี.ย่อมนำชีวิตที่ดี

      ๕) ผมเคยบันทึกไว้เหมือนกันเรื่องหญ้าคา หญ้าครู

  • แวะมาเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาครับ..บางอย่าง..ผมก็ไม่รู้จริงๆ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมกันค่ะ

คุณสามสักคะ เห็นด้วยค่ะ หญ้าคาเปรียบดังหญ้าครู

ไปได้ความรู้จากที่บล็อคคุณสามสักกลับมาเหมือนกันค่ะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดา

วันนี้ชวนมาเรียนรู้สิ่งดีๆ อีกแล้ว

ผมอ่านบันทึกของคุณณับรดามาหลายครั้งแล้วทำให้อยากหาหนังสือมาอ่านบ้างแล้ว ในฐานะเป็นครูสังคมฯที่ไม่ค่อยประสาเรื่องพระพุทธศาสนา เพราะสอนแต่สาระอื่นที่ตนเองถนัด ตอนนี้ชักอาจเรียนรู้บางแล้ว

ขอบคุณที่ให้ความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นครับ

ผมเพิ่งทราบว่า สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับ"ไม้พุทธประวัติ"ด้วย ต้องหามาให้โรงเรียนบ้างแล้ว

ขอบคุณอีกครั้งครับ

 ได้ความรู้ดีมากค่ะ ที่มีโอกาสได้มาอ่านเรื่องนี้

สวัสดีค่ะ

ตามมาละเลียดอ่านอย่างมีความสุขสงบค่ะ

วันนี้ได้รู้จัก หญ้าคา หรือ หญ้ากุศะ ....

พราหมณ์โสตถิยะ นี้ภายหลังท่านได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาหรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท