หน่วยรังสีฯ การช่วยฟื้นคืนชีพ( 2) ภาคปฏิบัติ


ปฎิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

หลังจากที่พวกเราได้เรียนในภาคทฤษฏีไปแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องมาฝึกปฎิบัติการอย่างจริงจังแล้วล่ะค่ะ..........เราต้องมาทบทวนขั้นตอนต่างๆร่วมกันก่อนที่จะการฝึกปฎิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพล่าง เป็นขั้นตอนที่ต้องทบทวนก่อนจะเริ่มปฎิบัติการค่ะ

ภาพล่าง 4 ภาพ เป็นการสาธิต วิธีการวางมือ การใส่ที่ครอบปาก และการเชิดหน้าเชยคางที่ถูกต้องโดยคุณอึ่ง(เกยูร)..ผู้เขียนโครงการนี้ค่ะ......

ภาพบน อุปกรณ์ซ้ายมือ ที่เชื่อมต่อจากหุ่นอาจารย์ใช้สำหรับดูขณะทำการกดหน้าอกเมื่อลงน้ำหนักการกดอย่างมีประสิทธิภาพจะมีไปสีเขียวแสดงให้เห็น และเมื่อคลำชีพจรตรงCarotid ได้ตรงจะแสดงไฟเช่นกัน และขวาเป็นเครื่อง defibrillator เพื่อดู pulse และเป็นเครื่องช่วยในการ shock

ภาพบน ซ้ายการคลำชีพจรบริเวณลำคอ(Carotid A)โดยวัดจากลูกกระเดือกมาด้านข้าง 1 นิ้ว และ ขวาแนบหูฟังเสียงการหายใจตาสังเกตุว่าหน้าอกมีการเคลื่อนไหวหรือไม่(ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส)

ภาพบน ซ้ายฝึกใส่ที่ครอบปากเพื่อช่วยหายใจโดยการเป่าปาก และ ขวา การช่วยหายใจโดยการเป่าปากให้สังเกตุไฟสีเขียวที่แสดงและดูการกระเพื่อมของหน้าอก

บน และ ล่าง เป็นภาพบรรยากาศที่ทุกคนต้องฝึกการกดหน้าอก30 ครั้ง1รอบ (ทำ5 รอบ) สลับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง และประเมินชีพจรหลังช่วยหายใจ

วิธีการนับขณะทำการกดหน้าอกให้นับและพูดว่า 1และ2และ3และ4ไปจนถึง10เพื่อไม่ให้จังหวะการกดเร็วไป จาก 11ให้นับปกติไม่มีคำว่า และ

ภาพล่าง หลังจากทุกคนได้ฝึกปฎิบัติแล้วก็ต้องมีการสอบโดยวิทยากรเป็นคนให้ความเห็นและให้คำแนะนำ

ภาพล่าง ภาพแสดงขั้นตอนที่ต้องให้การช่วยเหลือ และ อีกปฎิบัติการหนึ่งที่ถูกจำลองขึ้นเมื่อผู้ป่วยมารับบริการ มีภาวะเสี่ยงเกิดขึ้น ต้องให้การช่วยเหลือด่วน เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพ โดย มี ทีมพยาบาล 3 คน รังสีเทคนิค1 คน เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์

ขณะที่ทำการกดหน้าอก แพทย์จะใส่ tube โดยที่ไม่มีการหยุดกด แต่ละคนก็ทำหน้าที่ของตนไป

ภาพบน แสดงการ shock โดยแพทย์ เมื่อประเมินสัญญาณชีพหลังการช่วยเหลือ

ภาพล่าง อีกปฎิบัติการหนึ่งที่จำลองขึ้น เมื่อรังสีเทคนิค 3 คน ต้องอยู่เวรนอกเวลา เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีพยาบาลคอยให้การช่วยเหลือ มีแพทย์ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ทำการ shock

ภาพบน และล่าง รังสีเทคนิค 1 คน กดหน้าอกและอีกคนทำช่วยหายใจโดยการบีบลม อีก 1คน ตามทีม และเตรียมขึ้นเปลี่ยนเพื่อช่วยกดหน้าอก

ภาพล่าง ตัวแทนรังสีเทคนิค กล่าว ขอบคุณวิทยากร และ สมาชิกที่มาร่วมฝึกปฎิบัติ (บางส่วน)ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน

สุดท้ายผู้เขียนเป็นตัวแทนมอบของที่ระลึกตอบแทนวิทยากร(คุณนิตยา)...และขอขอบคุณที่มาให้ความรู้มากมายกับพวกเราทีมงานรังสีวินิจฉัย..........ขอบคุณหลายๆๆเด้อค่ะ........

ภาพล่าง....เก็บตกจากผู้ที่ไม่ได้ฟังบรรยายเนื่องจากติดเวร และติดธุระ จึงจัดเสริมเพื่อความสมบูรณ์ของการจัดกิจกรรมค่ะ

หมายเลขบันทึก: 295558เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดูจากภาพแล้ว บุคลากรที่เข้าร่วมในวันนั้นคงจะสามารถนำไปปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมกันทุกท่านนะค่ะ

พวกเราก็หวังว่าเป็นอย่างนั้นค่ะคุณน้อง บาร์บี้

ต้องมีการทบทวนบ่อยๆค่ะ

ดีมากเลยคะ ทบทวนได้ดี คนไข้อุ่นใจแล้วคะ

ขอบคุณค่ะ คุณประกาย~natachoie ที่~natadee

ที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจพวกเราค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท