การบริหารงานวิชาการ 2


การบริหารงานวิชาการ

การบริหารงานวิชาการ

     ขอบข่ายและภารกิจการบริหารงานวิชาการตามหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
     1.  การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระ
หลักสูตรท้องถิ่น  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          1.1  วิเคราะห์กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำไว้
          1.2  วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อกำหนดจุดเน้นหรือประเด็นที่สถานศึกษาให้ความสำคัญ
          1.3  ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและชุมชนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
          1.4  จัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษาเพื่อนำไปจัดทำรายวิชาพื้นฐานหรือรายวิชาเพิ่มเติม จัดทำคำอธิบายรายวิชา  หน่วยการเรียนรู้  แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อจัดประสบการณ์และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน  ประเมินผลและปรับปรุง
          1.5  ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติ
     2.  การวางแผนงานด้านวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          2.1  วางแผนงานด้านวิชาการโดยการรวบรวมข้อมูล และกำกับ ดูแล  นิเทศและติดตามเกี่ยวกับงานวิชาการ  ได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
          2.2  ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
     3.  การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          3.1  จัดทำแผนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
          3.2  จัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกช่วงชั้น ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          3.3  ใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ 
          3.4  จัดกิจกรรมพัฒนาห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
          3.5  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
          3.6  ส่งเสริมการพัฒนาความเป็นเลิศของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนพิการ ด้อยโอกาสและมีความสามารถพิเศษ
     4.  การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          4.1  จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเป็นของตนเอง โดย
                4.1.1  จัดให้มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมและเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น
                4.1.2  จัดทำหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                4.1.3  จัดให้มีวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ   
                4.1.4  เพิ่มเติมเนื้อหาสาระของรายวิชาให้สูงและลึกซึ้งมากขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ การศึกษาด้านศาสนา  ดนตรี  นาฏศิลป์  กีฬา อาชีวศึกษา การศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศ  ผู้บกพร่อง พิการและการศึกษาทางเลือก
                4.1.5  เพิ่มเติมเนื้อหาสาระของรายวิชาที่สอดคล้องสภาพปัญหา ความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน  สังคมและโลก
          4.2. สถานศึกษาสามารถจัดทำหลักสูตร  การจัดกระบวนการเรียนรู้  การสอนและอื่น  ๆ  ให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
          4.3  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษา
          4.4  นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และรายงานผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารับทราบ

หมายเลขบันทึก: 295428เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท