สุนทรียปรัศนี : เครื่องมือดีที่ค้นหาศักยภาพของมนุษย์


สุนทรียปรัศนี ( Appreciative Inquiry)

            ที่ผ่านมา  ผมทดลองนำเอาสุนทรียปรัศนี  ( Appreciative Inquiry) ไปใช้ในการนิเทศติดตามผลการทำงาน  ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจครับ   จึงขอเล่าถึงหลักการและวิธีการของสุนทรียปรัศนี  ด้วยขั้นตอนของ อริยสัจ  4   ดังนี้ ครับ

 

        ทุกข์

        ศักยภาพของมนุษย์ต้องถูกทำลายลงด้วยวัฒนธรรมแห่งอำนาจ  และ  การทำลาย

 

        สมุทัย

        เพราะ มานะ และ ทิฐิ ของแต่ละคน  ที่ต้องการ ดี เด่น ดัง  เหนือคนอื่น  จึงต้องใช้อำนาจและการทำลายให้คนอื่น "ต่ำ" กว่าตนเอง

        นิโรธ

        การดึงศักยภาพของมนุษย์แต่ละคนออกมา  เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์  ภายใต้ฐานคิดว่าด้วยการให้ความสำคัญกับคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

 

      มรรค

      1. ความหมาย   สุนทรียปรัศนี   หมายถึง การตั้งคำถามเพื่อสร้างพลัง

 

      2. ศิลปะของการตั้งคำถาม   จะถามสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่ประสบผลสำเร็จ  โดยถามถึงผลลัพธ์ และ วิธีการ)

 

      3. ท่าทีของการตั้งคำถาม  ต้องถามด้วย สีหน้า แววตา ท่าทาง  แสดงความชื่นชม ด้วยการ คิดบวก  ถามบวก พูดบวก

 

    4. ท่าทีการฟัง ต้องฟังอย่างตั้งใจ ให้เข้าใจลึกซึ้งถึงข้อมูลและความรู้สึก ต้องฟังอย่างเอาใจเขามาใส่ใจเรา  และ ต้องใช้ปัญญาเชิงสังคม ในการเข้าใจความคิด ความรู้สึก  ความต้องการ และ วัฒนธรรม ของคู่สนทนา

 

       5. วิธีการฟัง  ต้องฟังอย่างเอาใจใส่ มีสติ สมาธิจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน  ใช้ประสาทสัมผัสทุกชนิด   และใช้การสื่อสารทุกรูปแบบ ที่ให้เขาเห็นว่าเราให้ความสำคัญต่อเขา

 

         หลักสำคัญที่เป็น หัวใจ ของสุนทรียปรัศนี  จึงอยู่ที่

 

                 ต้องไม่มีตัวเรา   ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ

      

 

หมายเลขบันทึก: 294783เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

* เยี่ยมเลยค่ะ ท่านรองฯ
* หลักการนี้ถือว่าเป็นจิตวิทยาขั้นสูงสุดเลยนะคะ 

                  

- สุนทรียปรัศนี คืออะไรเหรอคะ ยังไม่เคยได้ยินเลย...

- ได้ความรู้ใหม่อีกแล้วคะ ขอบคุณนะคะสำหรับบทความดี ๆ

Pคุณ Kpuallyครับ

              ขอบคุณมากครับ

Pคุณโมเมย์ครับ

   สุนทรียปรัศนี  ต้นตำรับเป็นของฝรั่งครับ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้  (KM)  เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง

                          ขอบคุณครับ

สวัสดีตอนเช้าค่ะ 

             ครูตาลอกเลียนแบบการนิเทศด้วยสุนทรียปรัศนี ...(เกือบจะเขียนเป็นปรัศนียสนทนาแย้ว...อิอิ)จากท่านรองค่ะ  นำไปใช้กับเพื่อนครูเพื่อติดตามงาน  และใช้กับเด็ก ๆ ด้วย  แต่ก็ยังไม่ได้100 %  นะคะ   แบบว่า...เป็ด  อยากฝึกเป็นนกอินทรีค่ะท่าน จึงลองผิด ๆ ถูก ๆ พลาดไปก็ ทำใหม่...ทำซ้ำ ..มักจะติดตรงการตั้งคำถามค่ะ  กฎทองที่ครูตาต้องทำมาก ๆ คือ

1.การตั้งคำถามเพื่อสร้างพลัง
2.ถามสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่ประสบผลสำเร็จ  โดยถามถึงผลลัพธ์ และ วิธีการ)
3.ต้องถามด้วย สีหน้า แววตา ท่าทาง  แสดงความชื่นชม ด้วยการ คิดบวก  ถามบวก พูดบวก
4.    ต้องไม่มีตัวเรา   ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ

                 เยี่ยมมากค่ะ 


 

 

Pครูตาครับ

    ขอบคุณมากครับ ที่ลองนำสุนทรียปรัศนีไปใช้ดู  ช่วยกันค้นหาศักยภาพของมนุษย์ครับ

   ผมดีใจครับ ที่นำไปใช้กับเด็กๆ  ด้วย

   ผมเองก็ลองไปแบบ "เป็ด" นี่แหละครับ  เพื่อหานกอินทรี

                           

  • จะลองนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพเด็กๆ ค่ะ

Pคุณnoktalayครับ

    ดีใจครับ ที่จะนำไปใช้กับเด็กๆ

             ได้ผลอย่างไร เบ่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

                         ขอบคุณครับ

“ต้องไม่มีตัวเรา ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ”

เห็นด้วยเลยค่ะท่าน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ดีจังค่ะ

ขอบคุณมากมายเลยค่ะ

ป้าแดงก็พยายามทำอยู่เหมือนกันค่ะ

ขอบคุณค่ะท่านรองฯที่มีบันทึกนี้

ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น

คิดว่าตัวเองสามารถ

นำไปใช้ในการทำงานได้

สำหรับประโยคนี้ ต้องไม่มีตัวเรา ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ”

คงต้องตั้งสติและใช้ความพยายามซักนิดค่ะ

Pขอบคุณครูจิ๋วมากครับ สำหรับ

   "ไม่มีตัวเรา ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ"

Ppadaengครับ

   ขอบคุณมากครับ ถ้าบทความนี้ จะพอมีประโยชน์บ้าง

          ผมเอง ก็นำไปใช้บางสถานการณ์เท่านั้นครับ

Pคุณมณีวรรณครับ

    ครับ คงต้องใช้ "สติ" ค่อนข้างมาก

    ได้ผลอย่างไร อย่าลืมเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

                 ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านรองP

ท่านสามารถนำสุนทรียปรัศนี มาลงกับหลักของ อริยสัจ  4  ได้อย่างเยอดเยี่ยมมากเลยครับ

              “ต้องไม่มีตัวเรา ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ”  

                        ยอดเยี่ยมจริง ๆ ค่ะ 

ไปกันได้ด้วยค่ะ ท่านรอง

สั้น ๆ เข้าใจง่าย

Pขอบคุณอาจารย์คมสันครับ

  

Pขอบคุณครูสุภาภรณ์มากครับ

Pคุณสุดสายป่านครับ

      ก็พอไปด้วยกันได้ครับ

               ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

สุนทรียปรัศนี มีความหมายมากสำหรับการค้นหาศักยภาพ จะนำไปใช้กับเด็กๆค่ะ

ชอบบทความนี้ค่ะ...เป็นอย่างที่ท่านกล่าว

“หัวใจ” ของสุนทรียปรัศนี “ต้องไม่มีตัวเรา ศักยภาพของเขาจึงปรากฏ”

Pคุณครูโบตั๋นครับ

   ดีใจครับ ที่จะนำไปใช้กับเด็ก

   ได้ผลอย่างไร นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

               ขอบคุณครับ

Pขอบคุณอาจารย์ vijมากครับที่เข้ามาชมสุนทรียปรัศนี

สวัสดีค่ะ  ท่านรองฯ

  • ที่ผ่านมาแป๋มมักจะพบกับตัว...ของ...
  • หายากมากที่จะพบว่า...
  • ไม่มีตัวเรา ศักยภาพเขาจึงจะปรากฏ
  • หากจะได้ผลคนที่อยู่สูงกว่า
  • น่าจะเป็นฝ่ายทำความเข้าใจ
  • คงง่ายกว่ากันเยอะเลยค่ะ
  • เพราะอำนาจอยู่ในมือคุณอยู่แล้ว
  • ขอบคุณบันทึกแสนดีเช่นนี้ค่ะ

Pครูแป๋มครับ

    ครับ คนที่อยู่สูงกว่า ก็น่าที่จะต้อง "ไม่มีตัวเรา"  ด้วยเหมือนกันครับ

    เรื่องนี้  ถ้าผู้บริหารนำไปใช้บ้าง ก็คงจะดีเหมือนกันนะครับ

                  ขอบคุณครับ

                 

  • พึ่งกลับมาจากการไปวัดที่ต่างจังหวัดค่ะ  กลับมา ก็ได้เห็นข่าวดี  ขอแสดงความยินดึด้วยนะคะ 
  • ชื่นชมความเพียรของท่านอาจารย์ Small Man ค่ะ 
  • ดอกไม้สวย ๆ จากวัดสวนสันติธรรมค่ะ

Pอาจารย์ศิลาครับ

   หลวงพ่อปราโมทย์  เป็นอาจารย์สอนธรรมะของผมท่านหนึ่งเหมือนกันครับ (ผมแอบศึกษาจากหนังสือที่ท่านเขียน  นำมาปฏิบัติได้บ่างนิดหน่อย ตามประสาคนห่างวัด)

   อาจารย์ศิลานำดอกไม้จากสวนสันติธรรมมาฝาก  ถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ผมมากเลยครับ

                  ขอบคุณครับ

ขอบคุณนะคะสำหรับคำอธิบายที่มาของ "สุนทรียปรัศนี" แล้วจะคอยติดตามผลงานของท่านรอง ฯ ต่อไปนะคะ เป็นกำลังใจให้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดี ๆ คะ

เยี่ยมมากเลยค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท