ปัจจัยที่มีผลกระทบจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ โดย lab manorom


SPECIMEN COLLECTION VARIABLES

ปัจจัยที่มีผลกระทบจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ   [SPECIMEN COLLECTION VARIABLES]

 การเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผลการทดสอบทางเคมีคลินิกผิดพลาด  ตัวอย่างของการเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องได้แก่  เทคนิคในการเจาะเลือดไม่เหมาะสม  การรัดเข็นผู้ป่วยนานเกินไป  การใช้สารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้อง  ท่าทาง (posture) ของผู้ป่วย

Posture

การเปลี่ยนแปลงท่าทางของผู้ป่วยจากท่านอนเป็นท่านั่ง  ทำให้มีการเคลื่อนที่ของน้ำออกจากหลอดเลือด  ทำให้โปรตีนในพลาสมาและสารบางชนิดที่ยึดอยู่กับโปรตีนมีปริมาณสูงขึ้น  การทดสอบที่มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นได้แก่  total protein, albumin, lipids, enzymes, calcium, iron

การเปลี่ยนแปลงจากท่านั่งเป็นท่านอนมีผลในทางตรงกันข้ามกล่าวคือ  จะมีการเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่หลอดเลือดทำให้มีการเจือจางของสารภายในหลอดเลือด  ระดับของโปรตีนและสารที่ยึดอยู่กับโปรตีนจะลดต่ำลง วิธีการที่จะลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงท่าทางทำได้โดยก่อนการเจาะเลือดให้ผู้ป่วยนั่งพักอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้มีการปรับสมดุลย์ต่างๆในร่างกาย

การรัดแขนผู้ป่วย

การใช้ tourniquet รัดแขนผู้ป่วยนานเกินไปหรือภาวะ venous stasis มีผลทำให้น้ำและสาร ที่มีมวลโมเลกุลต่ำซึมผ่านผนังหลอดเลือด ทำให้ระดับของโปรตีนและสารที่ยึดกับโปรตีนมีปริมาณเพิ่มขึ้น  การรัดแขนผู้ป่วยนานๆมีผลเพิ่ม anaerobic glycolysis  ทำให้ปริมาณ lactate เพิ่มขึ้นและ blood  pH ลดลง    นอกจากนี้การที่เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนมีผลทำให้มีการหลั่ง potassium จากเซลเข้าสู่พลาสมา

การใช้สารกันเลือดแข็ง

Lithium heparin ในทางเคมีคลินิกนิยมใช้ lithium heparin เป็นสารกันเลือดแข็ง  เนื่องจากทำให้การแยกพลาสมาสะดวก รวดเร็ว 

EDTA นิยมใช้เป็นสารกันเลือดแข็งในงานโลหิตวิทยา เนื่องจากช่วยในการรักษาสภาพของเซลล์ได้ดี

Sodium Fluoride (NaF) ในการส่งตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนิยมใช้ sodium fluoride เป็นสารรักษาสภาพเนื่องจากยับยั้ง glycolysis โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ enolase ตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้สารยับยั้งการสลายกลูโคส จะมีระดับของกลูโคสลดลง 10 mg/dL ต่อชั่วโมงที่อุณหภูมิ 25 °C

Hemolysis

ในการเจาะเลือดอาจเกิดภาวะ  hemolysis  สาเหตุที่ทำให้เกิด hemolysis เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านเข็มช้าหรือเร็วเกินไป  การฉีดเลือดออกจาก syringe อย่างแรง  การที่ไม่ปล่อยให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนการเจาะเลือด  ระดับของสารเคมีบางชนิดในเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากกว่าในพลาสมา   (ตารางที่ 1)  ดังนั้นการเกิดภาวะ hemolysis มีผลทำให้สารที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดงถูกปล่อยออกสู่ซีรัมหรือพลาสมา  ทำให้ความเข้มข้นของสารบางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น potassium, magnesium, LDH, AST, ALT, ACP, total protein, iron, phosphate ภาวะ hemolysis ทำให้ phosphate สูงขึ้น

ฮีโมโกลบินที่ถูกปล่อยออกจากเม็ดเลือดแดงสามารถดูดกลืนแสงได้  จึงอาจรบกวนการตรวจวัดสารบางชนิดเช่น  cholesterol, triglycerides, creatine kinase ทำให้ค่าสูงกว่าความเป็นจริง

Intravenous fluid

การเจาะเลือดจากหลอดเลือดที่ให้ intravenous fluid จะทำให้การตรวจวัดสารบางชนิดมีค่าผิดปกติ  ผู้ป่วยที่ได้รับกลูโคสหรือโปตัสเซียมอาจมีผลการตรวจวัดสารดังกล่าวสูงกว่าความเป็นจริงหลายเท่า  ดังนั้นจึงควรเจาะเลือดจากแขนข้างที่ไม่ได้ให้ intravenous fluid

                  ตารางที่ 1 ระดับของสารเคมีในเม็ดเลือดแดงและในพลาสมา

 สารเคมี                                                                          เม็ดเลือดแดง                          พลาสมา

Glucose (mg/dL)                                                                    74.0                                         90.0

Nonprotein nitrogen  (mg/dL)                                               44.0                                     25.0

Urea nitrogen (mg/dL)                                                            14.0                                     17.0

Creatinine (mg/dL)                                                                     1.8                                      1.1

Uric acid (mg/dL)                                                                       2.5                                       4.6

Total cholesterol (mg/dL)                                                    139.0                                  194.0

Sodium (mmol/L)                                                                    16.0                                  140.0

Potassium (mmol/L)                                                             100.0                                       4.4

Chloride (mmol/L)                                                                   52.0                                  104.0

Bicarbonate (mmol/L)                                                            19.0                                    26.0

Calcium (mg/dL)                                                                        1.0                                    10.0

Inorganic phosphate (mg/dL)                                                  2.5                                       3.2

Acid phosphatase (Units)                                                     200.0                                       3.0

 

 

หมายเลขบันทึก: 294148เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...ได้ความรู้เกี่ยวกับการเจาะเลือดผู้ป่วยมากเลยค่ะ...

...ขอบคุณนะค่ะ...

ใส่บลอกผิดหรือเปล่า บลอกนี้ไม่ได้เครดิตนะ จะย้ายก้ได้ เข้าไปใน "ย้ายบันทึก " แล้วย้ายไปเก็บเครดิต ก็จะได้แต้ม / boss

ขอบคุณคะ อยากถามว่า เจาะเลือดทิ้งไว้นานกว่า 3 ชั่วโมง มีผลให้เลือด hemolysis รึป่าวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท