โครงงานสำรวจคุณภาพน้ำในแม่น้ำลพบุรีช่วงตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


โครงงานสำรวจคุณภาพน้ำ

          เมื่อศิริวรรณก้าวเข้าสู่โรงเรียนวัดกระโจมทอง ความประทับใจนอกจากนักเรียน-ครู-ภารโรงแล้ว ก็คือ บรรยากาศ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี มีต้นไม้ร่มรื่น มีนกนานาชนิด เมื่อได้สอน ก็ชวนนักเรียนทำโครงงานสำรวจสิ่งใกล้ตัว นักเรียนของศิริวรรณ มี ๘ คน ป.๔ มี ๑ คน ป.๕ มี ๓ คน และป.๖ มี ๔ คน ทั้งสามชั้นเรียนรวมกัน การทำโครงงานชิ้นแรก ต่างคนต่างทำตามความสนใจ ได้งาน ๘ ชิ้น แต่เมื่อมีการประกวดโครงงานระดับจังหวัด เขาทำกันเป็นทีม ทีมละ ๓ คน ก็เลยมีการรวมกลุ่มกันทำใหม่ นักเรียนกลุ่มนี้ ทำโครงงาน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง(๓ คน เหมือนกัน)ทำหนังสือเล่มเล็ก(วันหลังจะนำมาลงให้ชม) อีก๑ คนลงแข่งประกวดวาดภาพ มีเพียง ๑ คนที่ไม่ลงแข่ง แต่รับหน้าที่เป็นตากล้อง คือน้องป.๔ ที่ได้รางวัลกลับมาคือโครงงาน ได้รางวัลเหรียญทอง ระดับช่วงชั้นที่ ๒

           อุปกรณ์สำคัญของการสำรวจ คือ คู่มือนักสืบสายน้ำ ของดร.สรณรัชฎ์และนิรมล มูนจินดา จากมูลนิธิโลกสีเขียว เป็นคู่มือที่ศิริวรรณใช้พานักเรียนและครูสำรวจสัตว์เล็กน้ำจืดเมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต

           หากท่านใดได้อ่านแล้วจะเสนอแนะอะไรก็ตามศิริวรรณขอน้อมรับและจะนำเสนอให้เด็กๆ ได้รับทราบด้วย เนื่องจากเร็วๆ นี้ เราจะนำเสนอโครงงานสำรวจพันธ์ไม้/นก หรืออาจมีเพิ่มเติมตามความสนใจของเด็กๆ ก็จะได้นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง/พัฒนาให้โครงงานมีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป

           โครงงานที่จะนำเสนอต่อไปนี้มีชื่อว่าโครงงานสำรวจคุณภาพน้ำในแม่น้ำลพบุรีช่วงตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดทำโดยนักเรียนโรงเรียนวัดกระโจมทอง อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓ คน คือ ด.ญ.สุพรรณี ธรรมเพียร ป.๖ ด.ญ.เสาวลักษณ์ ทำเสร็จ ป.๖ และด.ช.ภัทรพล กองนึก ป.๕

๑. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

          แม่น้ำลพบุรีเป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี (เขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี) ไหลผ่านแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  เข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อำเภอบ้านแพรก แล้วไหลต่อมายังอำเภอมหาราชที่ตำบลพิตเพียน  โดยไหลผ่านทั้งเจ็ดหมู่บ้าน ของตำบลพิตพียน และผ่านที่ตั้งของโรงเรียนวัดกระโจมทองด้วย     ช่วงที่แม่น้ำลพบุรีไหลผ่านตำบลพิตเพียนซึ่งมีประชากรประมาณ   ๑,๓๐๐  คน หมู่บ้านแรกคือ หมู่บ้านบางขายหมู  บ้านเกาะ บ้านพิตเพียน   บ้านกรอกขวดและชุมชนวัดเกาะ   ตามลำดับ ได้ให้ประโยชน์กับผู้คนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีมาแสนนาน ทั้งในการอุปโภคและบริโภค  แต่ปัจจุบันมีการทิ้งของเสียลงในแม่น้ำ ทั้งที่เป็นขยะที่ไม่ย่อยสลาย และมูลสัตว์ ซากสัตว์ รวมทั้งสารเคมีจากทุ่งนา ผู้จัดทำจึงอยากทราบว่าคุณภาพของน้ำในแม่น้ำลพบุรีช่วงที่ไหลผ่านตำบลพิตเพียนนี้จะมีคุณภาพดีหรือไม่ เพียงใด และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนได้เห็นความสำคัญของแม่น้ำลพบุรีว่าเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์เพียงใด สมควรที่จะได้รับการดูแลให้มีคุณภาพที่ดีตลอดไป

๒. วัตถุประสงค์

  • สำรวจพันธุ์ปลาต่างๆในลำน้ำลพบุรี ตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยใช้เกณฑ์ประเภทของปลาที่สำรวจพบ

๓. ปัญหา

 น้ำในแม่น้ำลพบุรีในเขตตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคุณภาพในระดับใด

๔. ขอบเขตของการทำโครงงาน

  • พื้นที่ในการสำรวจประเภทของปลาจะดำเนินการเฉพาะในเขตตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ระดับคุณภาพของน้ำขึ้นกับประเภทของปลาที่พบในแต่ละกลุ่ม(คู่มือนักสืบสายน้ำ:ดร.สรณรัชฎ์และนฤมล มูนจินดา) ดังนี้
            ก. ปลากลุ่มที่ ๑ แสดงถึงสภาพลำน้ำ ดีมาก ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาจิ้งจก ปลาแต้ ปลาค้อ ปลาหมูลาย ปลาน้ำหมึก ปลาจาด ปลาพลวง ปลาอีดูด และปลาเลียหิน
            ข. ปลากลุ่มที่ ๒ แสดงถึงสภาพลำน้ำ ดี ได้แก่ ปลามะไฟ ปลาแก้มช้ำ ปลาซิวแก้ว ปลากระสูบขีด ปลาขี้ยอก ปลากระทิง และปลาสลาด 
            ค. ปลากลุ่มที่ ๓ แสดงถึงสภาพลำน้ำ พอใช้ได้ ได้แก่ ปลาก้าง ปลากริม ปลาไหล ปลาเข็ม และปลาหมอ 
            ง. ปลากลุ่มที่ ๔ แสดงถึงสภาพลำน้ำ ไม่ดี ได้แก่ ปลานิล และปลากินยุง

 ๖. อุปกรณ์ ในการสำรวจและประเมินคุณภาพลำน้ำ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

        ๑) คู่มือปลาน้ำจืด ของ ดร.ชวลิต วิทยานนท์
        ๒) คู่มือหาชื่อปลา ของ ดร.ชวลิต วิทยานนท์
        ๓) คู่มือนักสืบสายน้ำ ของ ดร.สรณรัชฎ์ และนิรมล มูนจินดา
        ๔) อุปกรณ์หาปลา ได้แก่ ยอ ลอบ เบ็ด อวน จั่น ข่าย ข้อง กระป๋อง สุ่มและแห
        ๕) ผู้ปกครอง/ผู้รู้ในชุมชน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลำน้ำ สัตว์น้ำ และปลาต่างๆ

๗. วิธีการ ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการ ดังนี้

        ๑) สำรวจปลาที่ผู้ปกครองและชาวบ้านจับได้โดยอุปกรณ์ต่างๆ แล้วน้ำมาเทียบกับคู่มือหาชื่อปลา และคู่มือปลาน้ำจืด เพื่อให้ทราบชื่อปลา
        ๒) สอบถามจากผู้ปกครองและผู้รู้ในท้องถิ่นว่ามีปลาอะไรอีกบ้างที่จับได้ในช่วงนี้
        ๓) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปลาจากหนังสือคู่มือปลาน้ำจืดและเวปไซต์ต่างๆ
        ๔) กรอกแบบสำรวจปลาในคู่มือนักสืบสายน้ำ
        ๕) ประเมินคุณภาพของน้ำในแม่น้ำจากเกณฑ์ที่กำหนดในหนังสือนักสืบสายน้ำ

๘. ผลการสำรวจ

                ปลาที่สำรวจพบในกลุ่มต่างๆ เป็นดังนี้

                ปลากลุ่มที่ ๑ พบ ๒ ใน ๑๐ ชนิด(คิดเป็นร้อยละ ๒๐) ได้แก่ ปลาหมูลาย และปลาอีดูด 
                ปลากลุ่มที่ ๒ พบ ๔ ใน ๘ ชนิด(คิดเป็นร้อยละ ๕๐)  ได้แก่ ปลาแก้มช้ำ  ปลากระสูบขีด  ปลากระทิง  และปลาสลาด              
                ปลากลุ่มที่ ๓ พบ ๔ ใน ๕ ชนิด(คิดเป็นร้อยละ ๘๐)  ได้แก่ ปลากริม  ปลาไหล  ปลาเข็ม  และปลาหมอ
                ปลากลุ่มที่ ๔ พบ ๑ ใน ๒ ชนิด(คิดเป็นร้อยละ ๕๐)  คือ ปลานิล

                นอกจากนี้ ยังพบปลาอื่นๆ อีก ๘๗ ชนิด คือ

 ๑. ปลากระเบนบัว ๒. ปลากราย ๓. ปลาแปบควาย ๔. ปลาแปบ ๕. ปลาอ้าว ๖. ปลาซิวใบไผ่เล็กแถบขาว ๗. ปลากระโห้ ๘. ปลาเวียน ๙. ปลาตะโกกหน้าสั้น ๑๐. ปลาตะกาก ๑๑. ปลาไส้ตันตาแดง ๑๒. ปลาตะโกก ๑๓. ปลาไส้ตันตาขาว ๑๔. ปลากะมัง ๑๕. ปลาตะเพียนทอง ๑๖. ปลาตะเพียนขาว ๑๗. ปลากะแห ๑๘. ปลาซิวควาย ๑๙. ปลาไส้ตัน ๒๐. ปลาตามิน ๒๑. ปลากระสูบจุด ๒๒. ปลาตะเพียนทราย ๒๓. ปลาสร้อยขาว ๒๔. ปลานวลจันทร์ ๒๕. ปลากาดำ ๒๖. ปลาบัว ๗. ปลาสร้อยลูกกล้วย ๒๘. ปลาสร้อยนกเขา ๒๙. ปลาพรม ๓๐. ปลาส่อ ๓๑. ปลารากกล้วยสาละวิน ๓๒. ปลาหมูลายเสือ ๓๓. ปลาหมูขาว ๓๔. ปลาหมูคอก ๓๕. ปลาอีกา ๓๖. ปลาแขยงเขา ๓๗. ปลาแขยงหิน ๓๘. ปลาแขยงข้างลาย ๓๙. ปลาแขยงหนู ๔๐. ปลาแขยงหางจุด ๔๑. ปลาแขยงใบข้าวสาละวิน ๔๒. ปลากดเหลือง ๔๓. ปลากดดำ ๔๔. ปลากดแก้ว ๔๕. ปลาดุกมูน ๔๖. ปลาคางเบือน ๔๗. ปลาสายยู ๔๘. ปลาดังแดง ๔๙. ปลาน้ำเงิน ๕๐. ปลาแดง ๕๑. ปลาเนื้ออ่อนหนวดยาว ๕๒. ปลาสยุมพร ๕๓. ปลาเค้าขาว ๕๔. ปลาเค้าดำ ๕๕. ปลาสังกะวาดขาว ๕๖. ปลาสังกะวาดท้องคม ๕๗. ปลาสังกะวาดเหลือง ๕๘. ปลาเทโพ ๕๙. ปลาเทพา ๖๐. ปลาดุกด้าน ๖๑. ปลาดุกอุย ๖๒. ปลาลำพัน ๖๓. ปลาไหลนา ๖๔. ปลาหลด ๖๕. ปลาหลดหลังจุด ๖๖. ปลากระทิง ๖๗. ปลาแป้นแก้ว ๖๘. ปลาแป้นแก้วยักษ์ ๖๙. ปลาเสือตอลายใหญ่ ๗๐. ปลาเสือตอลายเล็ก ๗๑. ปลาหมอช้างเหยียบ ๗๒. ปลาหมอ ๗๓. ปลากัดไทย ๗๔. ปลากัดเขียว ๗๕. ปลาบู่ทราย ๗๖. ปลากระดี่นาง ๗๗. ปลาสลิด ๗๘. ปลากระดี่หม้อ ๗๙. ปลากริมสี ๘๐. ปลาหมอตาล ๘๑. ปลาแรด ๘๒. ปลากะสง ๘๓. ปลาชะโด ๘๔. ปลาช่อน ๘๕. ปลาใบไม้ ๘๖. ปลายอดม่วง ๘๗. ปลาปักเป้าหน้ายาว ๘๘. ปลาปักเป้าดำ

             จากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่า แม่น้ำลพบุรีในเขตตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปลาในทุกกลุ่ม แต่กลุ่มที่มีมากคือ กลุ่มที่ ๒ และ กลุ่มที่ ๓ อีกทั้งยังพบปลาอื่นๆ อีกหลายประเภท แสดงว่าแม่น้ำลพบุรีในเขตตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีสภาพลำน้ำอยู่ในระดับดี

หมายเลขบันทึก: 293858เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ได้องค์ความรู้
  • ออกมาเต็มเลย
  • ถ้าให้นักเรียนวาดปลา
  • ทำเป้นหนังสือเล่มเล็กๆๆถ้าจะดี
  • เอามาฝากหนังสือเล่มเล็กของคุณครูตราด
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/269985

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

  • ขอบคุณมากค่ะที่มาให้กำลังใจ
  • หนังสือเล่มเล็กก็มีค่ะ แต่ศิริวรรณไม่รู้จะนำเสนออย่างไร นอกจากจะถ่ายภาพทุกหน้า แล้วแทรกเรียงกันไป คงจะกินพื้นที่น่าดู
  • หากมีคำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอก็จะขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท