หวัด2009ไม่กลายพันธุ์แต่จะยึดครองโลก


 

...

อ.ดร.แอนโตนี เฟาซิ จากสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ US (NIH) กล่าวว่า โอกาสที่ไข้หวัดหมู H1N1 จะกลายพันธุ์มีแนวโน้มน้อยลงไปเรื่อยๆ

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ US ทำในสัตว์คล้ายพังพอน (ferrets) โดยการฉีดเชื้อโรคหวัด 2009 (H1N1), และไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่า (H3N2) เข้าไปพบว่า

...

ไวรัสทั้งสองชนิดทำให้สัตว์ป่วยได้ แต่หวัด 2009 หรือ H1N1 กระจายไปยังสัตว์ตัวอื่นได้เพียงอย่างเดียว แสดงว่า หวัด 2009 มีแนวโน้มจะ "แย่งส่วนแบ่งการตลาด" จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าแบบ "กินรวบ"

กลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ หวัด 2009 เป็นเชื้อโรคชนิดใหม่ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน "ไม่รู้จัก" และทำลายเชื้อได้น้อยกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดิม

...

การทดลองในสัตว์บอกเราด้วยว่า หวัด 2009 มีแนวโน้มจะ "ดุ" มากกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดิม เนื่องจากมันทำให้เกิดอาการลึกลงไปถึงระดับปอดได้ ขณะที่สายพันธุ์เก่าอยู่แค่จมูก

WHO (องค์การอนามัยโลก) ประมาณการณ์ว่า คนบนโลกเบี้ยวๆ ใบนี้จะติดเชื้อเพิ่มไปเรื่อยๆ จนยอดสะสมเพิ่มถึง 1/3 ของคนทั่วโลก

...

ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือสายพันธุ์เก่าทำให้ประชากรโลกติดเชื้อ 5-20% ทุกปี แต่ 90% ของคนไข้ป่วยหนักและตายเป็นคนสูงอายุ ยอดคนเสียชีวิต = 250,000-500,000 คน/ปี

อ.ดร.เปเรซ ซึ่งทำการศึกษาติดตามหวัด 2009 มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 ทำการทดลองในสัตว์พบว่า เชื้อไข้หวัดใหญ๋แบบเดิมและหวัด 2009 ทำให้สัตว์ทดลองติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารได้ทั้งคู่

...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า สัตว์ทดลองที่ได้รับเชื้อปริมาณมาก มีแนวโน้มจะป่วยหนักกว่าสัตว์ทดลองที่ได้รับเชื้อปริมาณน้อย

การล้างมือด้วยสบู่ ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และไม่เข้าไปในห้องแอร์โดยไม่จำเป็น ยังคงเป็นมาตรการป้องกันโรคที่สำคัญไปอีก 6 เดือน - 3 ปีนับตั้งแต่เชื้อเริ่มระบาด

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 2 กันยายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 293753เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณคุณหมอนะคะที่เขียนเรื่องดีๆ

มีประโยชน์มาอย่างยาวนาน ติดตามอ่านอยู่เสมอ

คุณหมอคะ เป็น SLE ค่ะ คุณหมอมีคข้อแนะนำอะไรไหมคะ

ตอนนี้ดูแลตัวเองประมาณไข่ในหิน ไม่รับประทานยาค่ะ

ไม่อยากตัวบวมอ้วนกลม แต่มักจะง่วงนอนตลอดเวลา

ทำให้นอนเยอะมากค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ควรทำตามที่หมอเจ้าของไข้แนะนำครับ....... // ที่ต้องระวังเพิ่มคือ จำเป็นต้องล้างมือ + ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์มากหน่อย เพราะภูมิต้านทานโรคลดลง // แนะนำให้กินยาตามที่หมอแนะนำ

ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้ไม่ได้ทานยาแล้วค่ะ

พยายามดูแลสุขภาพตามแบบบัลวีของคุณหมอลลิตา-คุณหมอบรรจบอยู่ค่ะ

ซึ่งผลการตรวจของคุณหมอประจำที่ดูแล คุณหมอก็พอใจค่ะ

ร่างกายดึขึ้นมาก แต่ก็ยังแพ้แดดอยู่ ซึ่งต้องหลบเลี่ยงกันสุดชีวิต

เพราะเมืองไทยไปไหนๆ ก็ไม่พ้นแดด ใช้ทั้งยาทากันแดด เสื้อแขนยาว กางร่ม

ถ้าไม่ถูกแดดตรงๆ ก็โอเคค่ะ ไม่งั้นจะเป็นผื่แดง แสบคัน และเหมือนแบตเตอรี่หมด

ส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็นค่ะ

เวลานัดใครก็นัดหลังห้าโมงเย็น จะออกแนวผีดิบนิดนึง

ยาที่ทานตอนนี้เป็นพวกวิตามินเสียมากกว่าค่ะ

อาหารก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นอาหารสุขภาพ คุณหมอให้ทานเนื้อสัตว์น้อยๆ

แต่ไม่ให้งด เน้นผัก ผลไม้ และนมจากพืช

ให้นอนกลางวันด้วยค่ะ ซึ่งตรงกับนิสัยชอบง่วงนอนพอดี

ออกกำลังกายในฟิตเนส เล่นโยคะด้วยค่ะ

ไปซาวน่า นวดอโรมาอาทิตย์ละครั้ง

ชีวิตยุ่งยากค่ะ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของอาหาร และอื่นๆ

จะติดเชื้อค่อนข้างง่าย ต้องทำอาหารทานเองตลอด

หรือไม่ก็เป็นร้านประจำที่ไว้ใจได้

ขอบคุณคุณหมอนะคะ

โชคดีนะครับ.......... / ขอให้วิกฤตนี้กลายเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาครับ

ขอบคุณมากนะคะ ได้ประโยชน์มาจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท